240 likes | 614 Views
แนวทางพัฒนา. สถานศึกษาต้นแบบการเรียนรวม. ( Inclusive Education ). และ ศูนย์ SSS (Student Support Service). โดย... นางสัจจา ฝ่ายคำตา. ผอ.กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา. สพป. กาฬสินธุ์ เขต 3. แนวคิดในการจัดการเรียนรวม. --.
E N D
แนวทางพัฒนา สถานศึกษาต้นแบบการเรียนรวม (Inclusive Education) และ ศูนย์ SSS (Student Support Service) โดย... นางสัจจา ฝ่ายคำตา ผอ.กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สพป.กาฬสินธุ์ เขต 3
แนวคิดในการจัดการเรียนรวมแนวคิดในการจัดการเรียนรวม -- ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 ได้มีการประชุมครั้งสำคัญที่จัดขึ้นที่จอมเทียน ประเทศไทย ในการประชุมครั้งนี้ มีการประกาศปฏิญญาโลกว่าด้วยการศึกษาเพื่อปวงชน (World Declaration on Education for All) ของ 155 ประเทศ เป้าหมายคือ การศึกษาเพื่อคนทุกคน รวมทั้งเด็กที่มีความต้องการพิเศษ หรือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ (children with special needs)
แนวคิดในการจัดการเรียนรวมแนวคิดในการจัดการเรียนรวม -- เมื่อ ค.ศ.1994 ได้มีการรับรองจากที่ประชุมระดับโลก เรื่องการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษที่ ซาลามันกา ประเทศสเปน โดยมีการออกแถลงการณ์ ซาลามันกา เรื่อง หลักการ นโยบาย และการปฏิบัติเกี่ยวกับการศึกษาสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ (Salamanca Statement on Principle, Policy and Practice in Special Needs Education) สาระสำคัญของแถลงการณ์ ได้แก่ การสนับสนุนให้มีการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมอย่างจริงจัง โดยประกาศว่า
แนวคิดในการจัดการเรียนรวมแนวคิดในการจัดการเรียนรวม -- 1 เด็กทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการศึกษา สิทธินี้เป็นสิทธิ ขั้นพื้นฐานของเด็กทุกคน แต่ละคนมีลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนใคร มีความสนใจ ความสามารถและความต้องการในการเรียนรู้แตกต่างกัน 2 การจัดการศึกษาสำหรับเด็กจะต้องจัดให้สอดคล้องกับลักษณะที่หลากหลายของเด็กแต่ละคน 3
แนวคิดในการจัดการเรียนรวมแนวคิดในการจัดการเรียนรวม -- 4 เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะต้องมีส่วนในการได้รับการศึกษา ในโรงเรียนปกติทั่วไป ทางโรงเรียนจะต้องจัดบริการ ทางการศึกษาให้แก่เด็กเหล่านี้ด้วย 5 การให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้มีโอกาสเรียนรวมกับเด็กปกติ เป็นการขจัดการแบ่งแยกทางสังคมอย่างหนึ่ง การเรียนรวมเป็นการสอนทุกคนให้ดำรงชีวิตร่วมกัน ดังนั้น การศึกษาจึงเป็นลักษณะของการศึกษาเพื่อทุกคน (Education for all) ไม่ใช่การศึกษาที่จัดให้เด็กปกติในโรงเรียนหนึ่งและเด็กที่มีความต้องการพิเศษในอีกโรงเรียนหนึ่ง
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities : CRPD) ต่อมาในปี พ.ศ.2551 ได้มีการลงนามความร่วมมือในอนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (CRPD) ซึ่งถือเป็นอนุสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศฉบับแรกที่ให้หลักประกันในสิทธิ เสรีภาพ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ต่อคนพิการอย่างเสมอภาคกับบุคคลทั่วไปและเป็นสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติฉบับแรกของศตวรรษที่ 21 ได้กำหนดไว้ในหมวดการศึกษาว่ารัฐภาคีรับรองสิทธิของคนพิการในด้านการศึกษา และเพื่อให้บรรลุตามสิทธินี้โดยปราศจากการเลือกปฏิบัติและบนพื้นฐานโอกาสที่เท่าเทียมกัน รัฐภาคีจะจัดให้มีระบบการศึกษาที่ทั่วถึงในทุกระดับและการเรียนรู้ตลอดชีวิต
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities : CRPD) จากการที่ประเทศไทยได้เข้าร่วมประชุมเจ้าหน้าที่ระดับสูงของประเทศในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิกซึ่งเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติในเดือนตุลาคม พ.ศ.2545 ที่ประชุมได้ขยายทศวรรษคนพิการแห่งเอเชียและแปซิฟิกออกไปอีกทศวรรษหนึ่ง คือ ระหว่าง พ.ศ.2546-2555 รวมทั้งรับรองกรอบการปฏิบัติงานแห่งสหัสวรรษจากทะเลสาบบิวาสู่สังคมบูรณาการ ปลอดจากอุปสรรคและตั้งอยู่บนฐานของสิทธิสำหรับคนพิการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (UN ESCAP, 2002)
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities : CRPD) จากกรอบปฏิบัติการดาการ์ที่เป็นผลการประชุม ระดับโลก เรื่อง การศึกษา ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองดาการ์ ประเทศสาธารณรัฐเซเนกัล เมื่อ พ.ศ.2543 ได้ระบุ อย่างชัดเจนว่า การศึกษาถือเป็นสิทธิมนุษยชน ขั้นพื้นฐาน ยิ่งกว่านั้นยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของ การปฏิบัติการด้านสิทธิมนุษยชนของรัฐเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการศึกษาเพื่อปวงชน
อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ (Convention on the Rights of Persons with Disabilities : CRPD) จากรายงานพิเศษด้านสิทธิทางการศึกษาของสหประชาชาติที่ได้นำเสนอในการประชุมเชิงปฏิบัติการ Regional Workshop on Universalizing the Right to Education of Good Quality : A Rights-based Approach to Achieving Education for All จัดที่กรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ วันที่ 29-31 ตุลาคม พ.ศ.2545 สาระสำคัญของกรอบแนวทางพัฒนาการศึกษา คำนึงถึงหลักการสิทธิมนุษยชนหรือ 4-A ซึ่งทุกประเทศยึดเป็นแนวทางการจัดการศึกษา คือ 1) โอกาสในการเข้ารับการศึกษา 2) การเข้าถึงบริการทางการศึกษา 3) การปรับเปลี่ยนกระบวนการทำงานให้เหมาะสมกับผู้เรียน และ 4) คุณภาพการจัดการศึกษาเป็นที่ยอมรับ (Tamasevski,2004)
คำที่เกี่ยวข้องกับการเรียนร่วม การเรียนรวม -- เด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติในโรงเรียนทั่วไปรวมถึง การจัดชั้นเรียนเฉพาะหรือห้องเสริมวิชาการ (Resource Room) ที่มีอุปกรณ์พิเศษที่จะให้บริการในลักษณะนี้ มักเป็นเด็กเล็กและเด็กที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก Mainstreaming หมายถึง การเรียนร่วมในชั้นเรียนปกติเต็มเวลาของเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติในโรงเรียนทั่วไป เด็กจะได้รับบริการทางการศึกษาเช่นเดียวกับเด็กอื่นๆทุกประเภท เด็กที่จะเข้าเรียนร่วมแบบนี้ต้องมีความพิการไม่มากนัก มีระดับสติปัญญาและความพร้อมทางการเรียน มีวุฒิภาวะสมวัย
การเรียนรวม (Inclusion) -- คือ กระบวนการในการจัดการศึกษา เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับสิทธิที่จะได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ได้สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพื้นฐานทางการเรียนและการมีชีวิตที่ดีขึ้น เพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนร่วม (Intergrade) โดยได้มีการค้นหาวิธีการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการจำเป็นพิเศษที่หลากหลายของเด็กพิการแต่ละคน เพื่อให้เด็กทุกคนได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ เป้าหมายปลายทางของการเรียนรวม คือ การที่เด็กทุกคนได้เรียนในชั้นเรียนปกติในโรงเรียนทั่วไป โดยได้รับสิทธิทางการศึกษาอย่างเสมอภาคและมีคุณภาพ ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
การเรียนรวม (Inclusion) -- รวมถึงได้พัฒนาชีวิตและมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆทางสังคม เช่น สมาชิกคนหนึ่งของชุมชน โดยถือเป็นหน้าที่ของระบบการศึกษาที่จะต้องสนับสนุนให้สถานศึกษาสามารถดำเนินการเพื่อยกระดับสู่การเรียนรวม โดยมีการจัดเตรียม วางแผนและปรับกระบวนการบริหารจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อแน่ใจว่าเด็กไม่มีคนใดถูกทิ้งให้ไม่ได้รับการศึกษา ตกหล่น หรือไม่มีเด็กต้องออกกลางคันหรือจบการศึกษาอย่างไม่มีคุณภาพ แต่ทุกคนสามารถพัฒนาไปพร้อมกันในสังคมนั้น
องค์ประกอบที่จะทำให้การเรียนรวมระหว่างเด็กที่มีองค์ประกอบที่จะทำให้การเรียนรวมระหว่างเด็กที่มี ความต้องการพิเศษกับเด็กปกติประสบผลสำเร็จ มี 10 ประการ -- ครูการศึกษาพิเศษและครูปกติจะต้องทำงานประสานกันและร่วมมือกันอย่างดี 1 หากครูที่สอนเด็กปกติมีปัญหาในการสอนเด็กที่มีความต้องการพิเศษหรืออุปสรรคอยู่ตรงไหน ทางโรงเรียนควรหาทางแก้ไข 2 ครูผู้สอนควรมีเจตคติเชิงบวกต่อการเรียนรวม กล่าวคือ ครู มีความเชื่อว่าเด็กทุกคนต้องมีสิทธิได้รับการศึกษา ครูมีความตั้งใจ ในการสอน ครูมีการวางแผนการศึกษาอย่างรอบคอบและครู จัดการเรียนการสอนให้มีความยืดหยุ่น 3 4 ครูตระหนักว่าพัฒนาการของเด็กด้านอารมณ์ สังคม มีความสำคัญเช่นเดียวกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
องค์ประกอบที่จะทำให้การเรียนรวมระหว่างเด็กที่มีองค์ประกอบที่จะทำให้การเรียนรวมระหว่างเด็กที่มี ความต้องการพิเศษกับเด็กปกติประสบผลสำเร็จ มี 10 ประการ -- การอบรมครูปกติให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มี ความต้องการพิเศษ 5 การเรียนรวมควรได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารโรงเรียน 6 การประเมินผลการเรียน ความก้าวหน้าในการเรียนของเด็ก ควรกระทำอย่างสม่ำเสมอ 7 การใช้ประโยชน์แห่งทรัพยากรจากชุมชนให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ 8 ผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมและรับรู้เกี่ยวกับการเรียนรวม 9 โรงเรียนควรมีความพร้อมก่อนลงมือจัดการเรียนรวม 10
ดัชนีสำหรับโรงเรียนเรียนรวม โดย UNESCO -- นักเรียนเข้าสู่การเป็นส่วนหนึ่งและทุกเรื่องในกิจกรรม การสอนและการเรียนถูกวางแผนร่วมกับนักเรียนทุกคน ซึ่งต้องเตรียมไว้อย่างดี การพัฒนาหลักสูตรอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจและเน้นสำหรับ ความแตกต่างระกว่างบทเรียนทุกคนมีส่วนร่วม ความหลากหลายของสไตล์การสอนของครูและยุทธศาสตร์ที่นำมาใช้ ประสบการณ์ของนักเรียนที่บรรลุผลทางการเรียน หลักสูตรต้องการที่จะพัฒนาความเข้าใจถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมในสังคม ความยากในการเรียนคือโอกาสสำหรับการพัฒนาการปฏิบัติ
นำสู่การปฏิบัติในปี 2556 ถึง 2558 -- 1 พัฒนาสถานศึกษาต้นแบบการเรียนรวม (Inclusive School) ปี 2555 สนับสนุนงบประมาณสนับสนุนสถานศึกษาต้นแบบ การเรียนรวม ทั้งในการเตรียมการและนำนโยบายสู่การปฏิบัติ โดยดำเนินการตามแนวทางที่ได้รับการอบรม และตามหนังสือ สพฐ. ที่ ศธ 04007.09/1733,1734 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2555 การพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนางานทั้งระบบ (Whole School Approach) เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (change Agent) มีทีมงานและคณะกรรมการชุดต่างๆรวมทั้งการทำงานร่วมกับ สหวิชาชีพ เพื่อให้การเรียนรวมประสบผลสำเร็จ ทั้งในด้านหลักสูตร การเรียนการสอนและการวัดประเมินผล
นำสู่การปฏิบัติในปี 2556 ถึง 2558 -- การจัด Support Unit ในสถานศึกษา และเป็นศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ และให้บริการในพื้นที่ศูนย์ SSS (Students Support Service) การนิเทศ ติดตาม ช่วยเหลือ ประเมิน และรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายและยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรวม 2 ขยายการอบรมบุคลากรในทุกเขตพื้นที่การศึกษา โดยปรับใช้หลักสูตรการอบรมวิทยากรแกนนำของ สพฐ. จัดโดยทีมวิทยากรแกนนำ (ส่งแผนการอบรมและ ขยายผลการอบรมให้ สพฐ.)
นำสู่การปฏิบัติในปี 2556 ถึง 2558 -- 3 การประเมินมาตรฐานการเรียนร่วม/เรียนรวม เพื่อการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษาแบบเรียนรวม (Self Assessment Report : SAR) การวิจัยและพัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาแบบเรียนรวมให้ได้มาตรฐาน
สวัสดี --