100 likes | 247 Views
N. S. P. ใครว่า เงินบาทแข็ง ทำให้ส่งออกพัง. ประกาศจาก สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.). บรรจุช้าอาจเจอค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม. รู้พิกัดล่วงหน้า. มาตรการภาษี และสิทธิประโยชน์เพื่อการส่งออก. MD Says.
E N D
N S P ใครว่า เงินบาทแข็ง ทำให้ส่งออกพัง ประกาศจาก สำนักงานมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) บรรจุช้าอาจเจอค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม รู้พิกัดล่วงหน้า มาตรการภาษี และสิทธิประโยชน์เพื่อการส่งออก MD Says
เราได้ยินกันบ่อย ๆ ว่าค่าเงินบาทที่แข็ง ทำให้การส่งออกลดลง เพราะว่าเป็นการเพิ่มต้นทุนให้ผู้ซื้อต่างประเทศ คือต้องใช้จำนวนเงินมากดอลลาร์มากขึ้นในการซื้อสินค้า ซึ่งเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ซื้อต่างชาติ แต่หากดูข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว พบว่า การที่ค่าเงินบาทแข็ง มิใช่สาเหตุของการที่ทำให้การส่งออกชะลอตัวแต่อย่างใด ดังเช่นประเทศใต้หวันที่มีการขยายตัวในด้านการส่งออกลงลงมากที่สุด คือ 35.1% แต่การแข็งค่าของเงินดอลลาร์ใต้หวัน แข็งค่าขึ้นเพียง 0.9%, ค่าเงินวอนของเกาหลีแข็งค่าเป็นสกุลเงินที่ปรับตัวแข็งค่าขึ้นมากที่สุด 8.8% เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ การส่งออกลดลง 24.7% ส่วนเงินดอลลาร์สิงคโปร์ แข็งค่าขึ้น 1.1% การส่งออกลดลง 32.3% ขณะที่ค่าเงินโซ ฟิลิปปินส์ แข็งขึ้น 1.1% เท่ากัน แต่การส่งออกลดลงมากกว่า -34.5% ส่วนประเทศไทยเราค่าเงินบาทของไทยแข็งค่ามาเป็นอันดับ 3 ของกลุ่ม 1.3% การส่งออกลดลง -23% ในช่วงที่ผ่านมาหาก ธปท.ไม่เข้าไปดูแลค่าเงินบาท ค่าเงินบาทอาจจะแข็งค่ากว่าในปัจจุบัน เพราะเงินทุนต่างชาติยังคงไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องในตลาดหุ้น และตลาดพันธบัตร ค่าเงินบาทของไทยตั้งแต่เดือน มิ.ย. ยังคงแข็งค่าต่อเนื่อง โดยแข็งขึ้น 2% แต่แนวโน้มการไหลเข้าของเงินต่างประเทศ และการส่งออกสุทธิก็ยังเป็นบวกขึ้นเรื่อย ๆ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
การนำเข้าสินค้าสู่ประเทศไทย เป็นที่รู้กันว่า มีสินค้าบางอย่างที่ทางราชการกำหนดไว้ว่า จะต้องได้รับการดูแลภายใต้หน่วยงานๆ หนึ่ง โดยทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับสินค้าแต่ละประเภทด้วย ตัวอย่างเช่น อาหาร หรือยา จะต้องผ่าน หน่วยงาน อาหารและยา (อย.) หรือ สินค้าบางอย่างที่ต้องใช้งานกับร่างกาย ต้องผ่านกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีหน้าที่ดูแลสินค้าที่เกี่ยวข้องกับเครื่องใช้ไฟฟ้าเป็นต้น มีประกาศจากทางสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม แจ้งถึงผู้นำเข้าสินค้า ดังต่อไปนี้ 1. เหล็กเส้นกลม มก. 20 เหล็กข้ออ้อย และเหล็กชนิดรีดร้อนและเย็นทั้งหมด 2. ของเล่นชนิดที่เป็นพลาสติก 3. รถยนต์ รถจักรยานยนต์ 4. ยางในรถจักรยานยนต์ 5. หม้อหุงข้าวไฟฟ้า พัดลม และกระทะไฟฟ้า ว่า จะต้องมีหนังสือแจ้งให้ตรวจปล่อยสินค้าจากสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มายื่นต่อเจ้าหน้าที่ศุลกากรทุกครั้ง ที่ทำการตรวจปล่อยสินค้า หากไม่มีหนังสือดังกล่าว จะต้องกักสินค้าไว้ก่อน (หนังสือแจ้งให้ตรวจปล่อยสินค้า สมอ. จะออกให้เป็นรายๆ แต่ละครั้งไป ให้ติดต่อ สมอ.ทุกครั้งที่มีการนำเข้าสินค้า ไม่ใช่หนังสืออนุญาตนำเข้าสินค้ามาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม) ซึ่งท่านผู้นำเข้าหลายๆท่าน มักจะเข้าใจว่า เพียงใช้แค่ใช้ใบอนุญาตนำเข้าสินค้าก็เพียงพอแล้ว จึงขออนุญาตเรียนให้ท่านผู้นำเข้าทราบและเข้าใจตรงกันว่า ต้องมีหนังสือแจ้งให้ตรวจปล่อยสินค้าด้วย หากท่านผู้ประกอบการท่านใดมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้โดยตรงที่ สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม (สมอ.) ที่คุณสมเจตน์ สินสถาพรพงศ์ โทรศัพท์ 02-202-3475 หรือคุณ ศิริลักษณ์ บุญไชโย 02-202-3392 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีผู้ส่งออกรายหนึ่งส่งออกโดยการลากตู้ โดยนำตู้ container เข้าโรงงานในวันที่ 24 กรกฎาคม และจะต้องนำตู้ container ไปคืนที่ท่าเรือลาดกระบังในวันเดียวกันก่อนเวลา 18.00 น. แต่ปรากฏว่าทางผู้ส่งออกบรรจุสินค้าช้าทำให้ไม่สามารถนำตู้สินค้ามาคืนที่ท่าเรือลาดกระบังได้ทันเวลา จึงต้องนำตู้ container ไปคืนที่ท่าเรือแหลมฉบังแทน ซึ่งทำให้ผู้ส่งออกต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมในการนำตู้ container ไปคืนที่ท่าเรือแหลมฉบังอีก 3,500 บาท จากกรณีที่ได้ยกมานั้น จะเห็นได้ว่า การวางแผนในการโหลดของเข้าตู้นั้นเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง การวางแผนที่ดีจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดเวลาในการบรรจุของลงไปได้มากซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่อาจจะเกิดขึ้นได้อีกด้วย หากท่านผู้ประกอบการท่านใดต้องการสอบถามเพิ่มเติมหรือขอคำแนะนำในเรื่องการวางระบบในการบรรจุของ สามารถติดต่อสอบถามมาได้ที่ คุณธวัชชัย ไทยประเสริฐ โทร 02-333-1199 ต่อ 501 ได้ตลอดเวลาทำการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
ผู้ประกอบการหลายๆท่านอาจจะได้ทราบแล้ว แต่เพื่อเป็นการย้ำเตือนหรือเผื่อท่านใดที่อาจจะยังไม่ทราบว่าทางกรมศุลกากรได้เปิดบริการให้ผู้ประกอบสามารถยื่นคำร้องขอทราบพิกัดล่วงหน้าได้ ตามประกาศกรมศุลกากรที่ 54/2551 ลงวันที่ 10 กรกฎาคม 2551 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถทราบพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้าที่จะนำเข้าล่วงหน้าได้ และเป็นการอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้เป็นไปได้รวดเร็ว ถูกต้อง และเป็นมาตรฐานสากล โดยผู้ที่มีความประสงค์จะขอให้จำแนกประเภทพิกัดอัตราศุลกากรของสินค้านำเข้าล่วงหน้า จะต้องยื่นคำร้องขอไม่น้อยกว่า 30 วันทำการ ก่อนที่จะนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักร ณ สำนักพิกัดอัตราศุลกากร อาคาร 120 ปี กรมศุลกากร และสามารถดาวน์โหลดคำร้องได้จากเว็บไซต์กรมศุลกากร www.customs.go.thหัวข้อ ห้องกฎหมาย: ประกาศกรมศุลกากรปี 2544-ปัจจุบัน ซึ่งผู้ยื่นคำร้องสามารถนำผลการจำแนกพิกัดอัตราศุลกากรที่ได้นั้น ไปใช้อ้างอิงในการสำแดงประเภทพิกัดอัตราศุลกากรในใบขนสินค้า สำหรับสินค้าที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรซึ่งต้องเป็นของที่เหมือนกันทุกประการ ภายในระยะเวลา 1 ปี หากท่านต้องการข้อเสนอแนะหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสธร เกิดบุญมาก เบอร์โทร 02-333-1199 ต่อ 105 โทรสาร 02-333-1166 S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก
S เรื่อง ขอเสนอการจัดกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศไทยประจำภาคทั้ง 5 ภาค ในแต่ละเดือน เรียน ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สำเนาเรียน 1. ท่านนายกรัฐมนตรี 2. ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง 3. ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ 4. ท่านนายกสมาคมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย 5. บรรณาธิการหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ 6. บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ การที่เศรษฐกิจของประเทศตกต่ำจากสภาวะเศรษฐกิจโลกนั้น ไม่ว่าผลจะเกิดขึ้นในทางตรงหรือทางอ้อม ย่อมส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจทุกภาคส่วนของประเทศไทยโดยรวม บริษัทฯ ในฐานะผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์และขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ เห็นว่า หากรัฐบาลโดยกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สามารถจัดงานหรือกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ซึ่งอาจเป็นลักษณะ “Event” ของแต่ละภาค จัดทุกเดือน โดยเลือกจังหวัดที่มีลักษณะเด่นในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และมีศักยภาพที่จะจัดได้ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาเพียงทำหน้าที่ส่งเสริม จัดทำปฏิทินการท่องเที่ยวล่วงหน้าระยะยาว และทำการตลาด โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ออกไปอย่างหนัก กว้างไกลกระจายไปทั่วโลก ด้วยความร่วมมือของ สถานฑูตต่าง ๆ บริษัทฯ คาดว่าผลที่ได้รับจะเป็นดังนี้ N P ต่อหน้า 2
หน้า 2 1. ผลทางเศรษฐกิจ เกิดการรับรู้ของประชาชนทั่วไปของประเทศไทยและของโลก เกี่ยวกับเหตุการณ์ล่วงหน้าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ประชาชนจะลงทุนอะไร เตรียมการจะซื้อ จะขาย เพื่อธุรกิจการท่องเที่ยวจะมีข้อมูลเตรียมการณ์ล่วงหน้า นักธุรกิจเกี่ยวกับการท่องเที่ยว จะเห็นอนาคตออกอย่างลาง ๆ แม้ไม่กระจ่างชัด แต่ก็สามารถโฆษณาประชาสัมพันธ์การบริการของตน นักท่องเที่ยวที่เตรียมการท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศจะรู้ว่า ประเทศไทยกำลังจะมีอะไร และเมื่อไร เมื่อการท่องเที่ยวเริ่มขยับ ภาคการขนส่งคน ขนส่งสินค้า โลจิสติกส์และอุตสาหกรรมก็ย่อมขยายตัวตามไปด้วยอันเนื่องมาจากนักท่องเที่ยวต้องเดินทาง และต้องซื้อสินค้าและบริการ 2. ผลทางสังคม การที่ประชาชนรับรู้ปฏิทินกิจกรรมการท่องเที่ยวของประเทศโดยการตลาด และการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างกว้างขวางทั้งระยะสั้นและระยะยาว ประชาชนย่อมมีทางเลือกในการอพยพย้ายถิ่นฐานเพื่อทำอาชีพมากขึ้นแทนการเลือกอพยพเข้าเมืองเศรษฐกิจด้านเดียว เชื่อว่าหากเลือกได้ ประชาชนผู้อพยพเพื่อเศรษฐกิจของครอบครัวจะเลือกจังหวัดที่ใกล้ภูมิลำเนาเดิมของตนให้มากที่สุดหากมี อาชีพที่ดีให้ตนทำ เพื่อให้อยู่ใกล้ครอบครัว ญาติพี่น้อง ให้มากที่สุด การที่ประชาชนทราบปฏิทินกิจกรรมและเลือกอาชีพที่อยู่ใกล้ครอบครัว ย่อมทำให้ครอบครัวเกิดความอบอุ่น ปัญหาครอบครัวที่ตามมาแม้ไม่สามารถหมดไป แต่ประชาชนส่วนที่ต้องการรักษาครอบครัวด้วยการอยู่ให้ใกล้ที่สุด ย่อมเป็นทางเลือกให้แก่ประชาชนกลุ่มนี้ S N P ต่อหน้า 3
หน้า 3 3. ผลทางการเมือง เป็นที่ทราบกันดีว่า ความรุนแรงทางการเมืองที่ประเทศไทยประสบอยู่ขณะนี้จากการแบ่งเป็นฝ่าย เป็นสีนั้น ยากที่จะจบลงในเวลาอันสั้น การที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาประกาศให้กิจกรรมการท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ ทำการโฆษณาประชาสัมพันธ์อย่างหนักตลอดทุกเดือน ตลอดทั้งปี ประชาชนที่ร่วมกิจกรรมทางการเมืองย่อมรับรู้ว่า ในภาคของตน ในจังหวัดของตน กำลังจะมีกิจกรรมอะไรที่สร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจให้แก่ตนเองและครอบครัว ประชาชนเหล่านี้จะมีทางเลือกมากขึ้นคือ เลือกที่จะมาชุมนุมทางการเมือง หรือเลือกที่จะเตรียมการทำมาหากินกับกิจกรรมการท่องเที่ยวในภาคหรือในจังหวัดของตน กิจกรรมที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยวทำในภาค ทำในจังหวัด ย่อมไม่มีการเมืองหรือการแบ่งสีเข้ามาเกี่ยวข้อง ก็สุดแล้วแต่ประชาชนในภาค หรือในจังหวัดนั้นจะเลือก ซึ่งเชื่อว่า ส่วนหนึ่งของประชาชนย่อมเลือกเศรษฐกิจ หากแนวคิดนี้ประสบความสำเร็จ ก็จะมีผู้เข้าร่วมมากขึ้น แทนการไปชุมนุมทางการเมือง ด้วยข้อเสนอดังกล่าว แม้บริษัทฯ จะอยู่ในธุรกิจการขนส่งและโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ แต่บริษัทฯ เล็งเห็นว่า หากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาสามารถผลักดันให้แต่ละภาค จัดงานกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ได้ทุกเดือน ประเทศไทยจะมีกิจกรรมการท่องเที่ยวแต่ละเดือนเฉลี่ย 5 งานทั่วทุกภาค บริษัทฯ เชื่อว่า สถานการณ์ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของเอกชน ไม่ว่าจะเป็นภาคอุตสาหกรรม ภาคการขนส่ง ภาคการบริการ และภาคอื่น ๆ ก็จะสามารถสร้างแผนงานและกิจกรรมของตนให้เดินหน้าไปเพื่อรองรับโครงการที่รัฐบาลเป็นผู้ผลักดันได้ S N P ต่อหน้า 4
หน้า 4 บริษัทฯ จึงเรียนเป็นข้อเสนอแนะมาเพื่อพิจารณายังกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากหากกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา จะสามารถเริ่มกิจกรรมตั้งแต่เดือนตุลาคม 2552 นี้เป็นต้นไป และขออนุญาตส่งสำเนาหนังสือนี้ ไปยังภาคส่วนอื่น ๆ ที่สามารถให้ข้อแนะนำต่อไป ขอแสดงความนับถือ สิทธิชัย ชวรางกูร กรรมการผู้จัดการ S N P กลับเข้าสู่หน้าหลัก