1.05k likes | 1.3k Views
วิธีการซื้อจ้างตามระเบียบพัสดุ. ความหมาย : การซื้อ. การซื้อทุกชนิดที่มีการติดตั้ง ทดลอง และบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง. การซื้อโดยระบุยี่ห้อสินค้าได้หรือไม่ ?.
E N D
วิธีการซื้อจ้างตามระเบียบพัสดุวิธีการซื้อจ้างตามระเบียบพัสดุ
ความหมาย: การซื้อ การซื้อทุกชนิดที่มีการติดตั้ง ทดลอง และบริการอื่นที่เกี่ยวเนื่อง การซื้อโดยระบุยี่ห้อสินค้าได้หรือไม่? ตามมติ ครม. แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ สร 0203/ว 52 ลงวันที่ 28 มีนาคม 2520 กำหนดห้ามมิให้ส่วนราชการระบุยี่ห้อสินค้าที่จะซื้อ หรือกำหนดคุณลักษณะเฉพาะให้ใกล้เคียงยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง ข้อยกเว้นเว้นแต่เป็นพัสดุที่โดยลักษณะของการใช้งานหรือมีข้อจำกัดทางเทคนิคที่จำเป็นต้องระบุยี่ห้อเป็นการเฉพาะตามระเบียบฯ ข้อ ๒๓ (๖) ดังนั้น ในกรณีจำเป็นต้องระบุยี่ห้อ ต้องใช้วิธีพิเศษจะใช้สอบราคาหรือประกวดราคามิได้
ความหมาย: การจ้าง จ้างทำของ รับขน จ้างเหมาบริการ แต่ไม่รวมถึงการจ้าง ลูกจ้างของส่วนราชการ การรับขนในการเดินทางไปราชการ การจ้างที่ปรึกษา การจ้างออกแบบและควบคุมงาน และการ จ้างแรงงาน จ้างมูลนิธิได้หรือไม่ ? กวพ. มูลนิธิไม่มีวัตถุประสงค์ในการรับจ้าง จึงจ้างมูลนิธิไม่ได้
ความหมาย:งานก่อสร้าง • หมายถึง งานก่อสร้างตามหลักทั่วไปที่มีกฎหมาย ระเบียบ มติคณะรัฐมนตรีหรือหนังสือเวียนที่เกี่ยวข้องอ้างอิงได้ สัญญาซื้อขายงานก่อสร้าง และหรือพร้อมติดตั้งโครงสร้างพื้นฐาน ให้หน่วยงานพิจารณาว่า หากลักษณะของสัญญามีงานก่อสร้างเป็นสาระสำคัญ ซึ่งมีราคาสูงกว่าราคาพัสดุที่ติดตั้งก็ให้ถือว่าเป็นงานก่อสร้าง มติคณะรัฐมนตรี วันที่ 2 ธันวาคม 2551
ความหมาย:งานก่อสร้าง • หมายความรวมถึง • 1. งานเคลื่อนย้ายอาคาร • 2. งานดัดแปลง งานต่อเติม งานรื้อถอนและงาน • ซ่อมแซมซึ่งส่วนราชการเห็นว่ามีความจำเป็นจะต้องมี • การควบคุม และดูแลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้าง • ตลอดเวลาดำเนินการตามความเหมาะสม • (ว 1939 ลว 24 ก.พ.2537)
งานก่อสร้าง งานปรับปรุงอาคารที่เป็นการปรับปรุงภายในอาคารไม่กระทบต่อโครงสร้างเดิม โดยการรื้อผนังเดิมกั้นใหม่เป็นกระจกกั้นห้องประชุม ย้ายดวงไฟ ย้ายเครื่องปรับอากาศ ติดตั้งมู่ลี่กั้นปรับแสง กั้นเป็น Partition ปูกระเบื้องยาง ปรับปรุงห้องประชุม ห้องสมุด ถือเป็น งานดัดแปลง • หากจำเป็นต้องมีการควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้รับจ้างตลอดเวลา จึงถือเป็น งานก่อสร้าง
งานก่อสร้าง งานก่อสร้าง จะต้องคำนวณราคากลางตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2550 แจ้งตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0506 / 2362 ลงวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2550 และหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0408.5 / ว 9 ลงวันที่ 7 มีนาคม 2550 ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 มีนาคม 2550 เป็นต้นไป
ความหมาย: ราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการ ราคาค่าก่อสร้างในงานก่อสร้างของทางราชการในแต่ละโครงการ ซึ่งได้จากการประเมินหรือคำนวณตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ราคากลางงานก่อสร้างของทางราชการจึงไม่ใช่ราคามาตรฐานของงานก่อสร้าง แต่เป็นราคาที่ ทางราชการยอมรับไม่สูงจนผู้ประกอบการได้กำไรมากเกินกว่าที่ควรได้รับ และเป็นราคาที่ไม่ต่ำจนผู้ประกอบการไม่สามารถที่จะดำเนินการก่อสร้างได้
งานก่อสร้าง • งานก่อสร้าง จะต้องกำหนดค่า K • มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2532แจ้งตาม หนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0203/ ว 109 ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2532 เรื่องการพิจารณาช่วยเหลือผู้ประกอบอาชีพ งานก่อสร้าง • งานก่อสร้าง หรืองานซ่อมแซมอาคารวงเงินไม่เกิน 1 แสนบาท จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการกำหนดราคาหรือไม่ ? • มติ ครม. 6 ก.พ. 50 กำหนดให้งานก่อสร้างทุกงานต้องแต่งตั้งคณะกรรมการ กำหนดราคากลาง
คณะกรรมการในการซื้อ/จ้างคณะกรรมการในการซื้อ/จ้าง • คณะกรรมการเปิดซองสอบราคา • คณะกรรมการรับ และเปิดซองประกวดราคา • คณะกรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา • คณะกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษ • คณะกรรมการจัดจ้างโดยวิธีพิเศษ • คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ • คณะกรรมการตรวจการจ้าง • คณะกรรมการกำหนดราคากลาง(มติคณะรัฐมนตรี)
ข้อห้าม !! • แต่งตั้งกรรมการรับและเปิดซองประกวดราคา • เป็น กรรมการพิจารณาผลการประกวดราคา • แต่งตั้งกรรมการเปิดซองสอบราคาหรือพิจารณาผล • การประกวดราคาเป็น กรรมการตรวจรับพัสดุ
องค์ประกอบของคณะกรรมการองค์ประกอบของคณะกรรมการ • ประธาน 1 คน • กรรมการอย่างน้อย 2 คน • แต่งตั้งจากข้าราชการตั้งแต่ระดับ 3 หรือเทียบเท่าขึ้นไป ** หนังสือกรมบัญชีกลาง ด่วนที่สุด ที่ กค (กวพ) 0421.3/ว 448 ลว. 26 ธ.ค. 51 กำหนดให้แต่งตั้งจากข้าราชการ โดยคำนึงถึง ลักษณะงาน หน้าที่ และความรับผิดชอบเป็นสำคัญ ** การแต่งตั้งคณะกรรมการจะต้องแต่งตั้งเป็นครั้ง ๆ ไป (ไม่จำเป็นต้องมีรูปแบบ)
องค์ประกอบของคณะกรรมการต้องเป็นองค์ประกอบของคณะกรรมการต้องเป็น ข้าราชการเท่านั้นหรือไม่ ? • หลักการ • ประธาน / กรรมการ ต้องเป็นข้าราชการ • ผู้ตรวจรับ ข้าราชการ / ลูกจ้างประจำ • (กรณีซื้อ / จ้าง ไม่เกิน 10,000 บาท) • กวพ. ยกเว้น ตามหนังสือ กค (กวพ) 0408.4/ว 155 ลว. 1 พ.ค. 50 ดังนี้ • กรณีมหาวิทยาลัย ให้พนักงานมหาวิทยาลัยเป็น • กรรมการหรือผู้ตรวจรับพัสดุ / งานจ้างได้ • กรณีส่วนราชการอื่น ให้พนักงานราชการเป็น • ผู้ตรวจรับพัสดุ / งานจ้างได้
กรณีประธานไม่มาปฏิบัติหน้าที่กรณีประธานไม่มาปฏิบัติหน้าที่ เมื่อถึงกำหนดเวลาเปิดซองสอบราคา หรือ รับซองประกวดราคาให้กรรมการที่มาเลือกกรรมการคนหนึ่งทำหน้าที่ประธาน โดยให้ปฏิบัติหน้าที่เฉพาะข้อ ๔๑ (๑) หรือข้อ ๔๙ แล้วรายงานประธาน
การประชุมของคณะกรรมการการประชุมของคณะกรรมการ
ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อ / สั่งจ้าง นอกจากวิธีพิเศษ / กรณีพิเศษ 1. หัวหน้าส่วนราชการ (ไม่เกิน 50 ล้านบาท) 2. ปลัดกระทรวง (เกิน 50 ล้านบาท ไม่เกิน 100 ล้านบาท) 3. รัฐมนตรี (เกิน 100 ล้านบาท) 4. ผู้ได้รับมอบอำนาจ
ผู้มีอำนาจอนุมัติสั่งซื้อ / สั่งจ้าง โดยวิธีพิเศษ 1. หัวหน้าส่วนราชการ (ไม่เกิน 25 ล้านบาท) 2. ปลัดกระทรวง (เกิน 25 ล้านบาท ไม่เกิน 50 ล้านบาท) 3. รัฐมนตรี (เกิน 50 ล้านบาท) โดยวิธีกรณีพิเศษ หัวหน้าส่วนราชการไม่จำกัดวงเงิน
โครงสร้างของอำนาจตามระเบียบโครงสร้างของอำนาจตามระเบียบ • อำนาจดำเนินการ • - อำนาจในการให้ความเห็นชอบในการซื้อจ้าง • - อำนาจในการแต่งตั้งคณะกรรมการ • อำนาจสั่งซื้อสั่งจ้าง • อำนาจลงนามในสัญญา
วิธีการจัดซื้อหรือจ้างวิธีการจัดซื้อหรือจ้าง • วิธีตกลงราคา ไม่เกิน 100,000 บาท • วิธีสอบราคา เกิน100,000 บาท ไม่เกิน 2,000,000 บาท • วิธีประกวดราคา เกิน 2,000,000 บาท • วิธีพิเศษ เกิน 100,000 บาท แต่มีเงื่อนไข • วิธีกรณีพิเศษ ไม่มีกำหนดวงเงิน แต่มีเงื่อนไข • วิธีประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Auction) • ตามระเบียบฯ พัสดุ ปี 49
วิธีการจัดซื้อหรือจ้าง(6 วิธี) กรณี1: ใช้วงเงินเป็นตัวกำหนดวิธีการ • 1. วิธีตกลงราคา ครั้งหนึ่งไม่เกิน 100,000 บาท • 2. วิธีสอบราคา ครั้งหนึ่งเกินกว่า 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 2,000,000 บาท • 3. วิธีประกวดราคาครั้งหนึ่งเกินกว่า 2,000,000 บาทขึ้นไป
กรณี2: ใช้วงเงินและเงื่อนไขเป็นตัวกำหนดวิธีการ • 4. ซื้อโดยวิธีพิเศษ • วงเงินเกินกว่า 100,000 บาท • เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ ๒๓ • จ้างโดยวิธีพิเศษ • วงเงินเกินกว่า 100,000 บาท • เงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งตามข้อ ๒๔
กรณี3: ใช้เงื่อนไขเป็นตัวกำหนด 5. วิธีกรณีพิเศษ ได้แก่ การซื้อ/จ้างจากส่วนราชการ, รัฐวิสาหกิจ, หน่วยงานตามกฎหมายท้องถิ่น เงื่อนไข: 5.1) เป็นผู้ทำ/ผลิตเองและนายกรัฐมนตรีอนุมัติหลักการแล้ว 5.2) มีกฎหมาย/มติคณะรัฐมนตรี ให้ผู้ซื้อ / จ้าง
กรณี4: อื่นๆ • การจัดซื้อ / จ้างด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ปัจจุบันใช้บังคับตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2549 • การซื้อ / การจ้างครั้งหนึ่งมีราคาตั้งแต่ 2,000,000 บาท • ต่ำกว่า เป็นดุลพินิจ
วิธีการซื้อจ้าง แบ่งเป็น 2 กลุ่ม 1. กลุ่มที่ใช้วิธีการทางเอกสาร 2. กลุ่มที่ใช้วิธีการเสนอราคาทางระบบ อิเล็กทรอนิกส์
1. กลุ่มที่ใช้วิธีการทางเอกสาร
2. กลุ่มที่ใช้วิธีการเสนอราคาทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ • วิธีเสนอราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามระเบียบฯ 49
การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง การแบ่งซื้อ แบ่งจ้าง หมายถึง การลดวงเงินที่จะซื้อ หรือจ้างในครั้งเดียวกัน ออกเป็นหลายครั้ง โดยไม่มีเหตุผลความจำเป็น และมีเจตนาที่จะหลีกเลี่ยง 1) แบ่งวงเงิน ให้ลดลงเพื่อเปลี่ยนวิธีจัดหาพัสดุ 2) ให้ผู้มีอำนาจสั่งซื้อ สั่งจ้าง เปลี่ยนไป
วงเงินที่ได้รับมาพร้อมกันหรือไม่วงเงินที่ได้รับมาพร้อมกันหรือไม่ พัสดุที่จะจัดหาเป็นประเภทเดียวกันหรือไม่ พิจารณาจากความต้องการของผู้ใช้ พัสดุว่าต้องการใช้พร้อมกันหรือไม่ แนวทางการพิจารณาเรื่องแบ่งซื้อแบ่งจ้าง
การแบ่งซื้อแบ่งจ้าง การจัดซื้อพัสดุประเภทชนิดเดียวกัน แม้ต่างขนาดและราคา เมื่อมีการประมาณการความต้องการในการใช้งานของทั้งปีแล้ว จะต้องจัดซื้อรวมในครั้งเดียวกัน เว้นแต่มีเหตุผลที่ชัดเจนที่จำเป็นต้องแยกซื้อที่ไม่ใช่เป็นการแบ่งซื้อแบ่งจ้าง เพื่อประโยชน์ในการบริหารการพัสดุ จะต้องกำหนดเงื่อนไขในการดำเนินการจัดซื้อโดยใช้สัญญาจะซื้อจะขายแบบราคาคงที่ไม่จำกัดปริมาณ เพื่อออกใบสั่งซื้อเป็นคราว ๆ ให้สอดคล้องกับการใช้งานจริง
กรณีที่ส่วนราชการได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณค่าซ่อมแซมถนน โดยจำแนกเป็นรายถนน ถือว่า เงินงบประมาณค่าซ่อมแซมของแต่ละถนน แยกออกจากกัน การดำเนินการจัดจ้างซ่อมแซมถนน จึงสามารถเลือกกระทำได้ในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังนี้ • เป็นรายครั้ง ๆ ละถนน • เป็นรายครั้ง ๆ ละกลุ่มถนน • เป็นรายครั้ง ๆ ละหลายกลุ่มถนน • ครั้งเดียวกันทุกถนน ความเห็น กวพ.
กรณีที่ส่วนราชการได้รับการจัดสรรเงินงบประมาณค่าก่อสร้างอาคาร โดยจำแนกเป็นอาคาร ถือว่า เงินงบประมาณค่าก่อสร้างอาคารของแต่ละอาคารแยกออกจากกัน การดำเนินการจัดจ้างก่อสร้างอาคาร สามารถดำเนินการได้ในลักษณะหนึ่งลักษณะใดดังนี้ • เป็นรายครั้ง ๆ ละอาคาร • เป็นรายครั้ง ๆ ละกลุ่มอาคาร • เป็นรายครั้ง ๆ ละหลายกลุ่มอาคาร • ครั้งเดียวกันทุกอาคาร ความเห็น กวพ.
ขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้างขั้นตอนการจัดซื้อจัดจ้าง
การทำรายงานความเห็นชอบการทำรายงานความเห็นชอบ
รายงานขอซื้อ – จ้าง (ข้อ ๒๗) หลักการ ก่อนการซื้อ – จ้างทุกวิธีต้องทำรายงาน ข้อยกเว้นข้อ ๓๙ วรรคสอง ไม่ต้องมีรายงาน ตามระเบียบฯ ข้อ ๒๗
รายละเอียดของรายงาน • เหตุผลความจำเป็น • รายละเอียดของพัสดุ • ราคามาตรฐาน หรือ ราคากลาง หรือ ราคา • ครั้งหลังสุดไม่เกิน 2 ปี • วงเงินที่จะซื้อ / จ้าง • กำหนดเวลาที่ต้องใช้ • วิธีจะซื้อ / จ้าง • ข้อเสนออื่น ๆ • - การแต่งตั้งคณะกรรมการ • - การออกประกาศสอบราคา หรือ • ประกวดราคา
ข้อยกเว้น • การซื้อ/จ้าง โดยวิธีตกลงราคาในกรณีจำเป็นและเร่งด่วน เกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน และไม่อาจดำเนินการตามปกติได้ทัน ตามข้อ ๓๙ วรรคสอง ไม่ต้องรายงานขอซื้อหรือขอจ้าง แต่ต้องทำรายงานขอความเห็นชอบ
การดำเนินการโดยวิธีตกลงราคาการดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา 3 เจ้าหน้าที่ พัสดุ 4 ติดต่อ 1 เสนอราคา รายงาน (๒๗) 5 ใบสั่ง ผู้ขาย/ผู้รับจ้าง หัวหน้าเจ้าหน้าที่พัสดุ ส่งของ/งาน 6 เห็นชอบ (๒๙) 2 คณะกรรมการตรวจรับพัสดุ/ ตรวจการจ้าง ผู้ตรวจรับพัสดุ/ผู้ตรวจรับการจ้าง หัวหน้าส่วนราชการ
การดำเนินการโดยวิธีตกลงราคาการดำเนินการโดยวิธีตกลงราคา ข้อยกเว้น วิธีการ • เจ้าหน้าที่พัสดุ หรือผู้รับผิดชอบ • ดำเนินการไปก่อน • รายงานขอความเห็นชอบหัวหน้า • ส่วนราชการ • ใช้รายงานเป็นหลักฐานการตรวจรับ • วงเงินไม่เกิน 10,000 บาท • ทำรายงานเฉพาะรายการที่จำเป็นได้ • กรณีจำเป็นเร่งด่วน • ไม่ได้คาดหมายไว้ก่อน • ดำเนินการตามปกติไม่ทัน
วิธีตกลงราคา e - Shopping • จัดทำรายงาน • เลือกประเภทสินค้า • เลือกผู้ค้า • ผู้ค้า ยื่นข้อเสนอ • พิจารณาผู้ค้า • จัดทำ PO
e - Shopping กทม./ปริมณฑล เครื่องโทรสาร / โน้ตบุ๊ค / เลเซอร์พริ้นเตอร์ / โทรทัศน์ / เครื่องดิจิตอลโปรเจคเตอร์
มติ ครม. e - Shopping • มติ ครม. เมื่อวันที่ 29 พ.ย. 48 ตามหนังสือสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ที่ นร 0505/18166 ลงวันที่ 8 ธ.ค. 2548 • “...การจัดซื้อจัดจ้างทั่วไปที่มีมูลค่าไม่สูงมากนักให้ใช้วิธี e-Shopping…”
กรอกรหัสผู้ใช้ และรหัสผ่าน ซึ่งเป็นรหัสเดียวกับที่ใช้จัดทำประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
ค้นหาสินค้า ที่ต้องการ ระบบจะแสดง catalog สินค้าที่ค้นหา ผู้ซื้อสามารถเลือกสินค้ารุ่นที่ต้องการ
กรอกรายละเอียด เลือกผู้จัดจำหน่าย
ตรวจสอบข้อเสนอของผู้จัดจำหน่ายแต่ละรายตรวจสอบข้อเสนอของผู้จัดจำหน่ายแต่ละราย
การตรวจสอบผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน(ระเบียบข้อ ๕ ประกอบข้อ ๑๕ ตรี วรรคสอง) ผู้เสนอราคาที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน หมายถึง 1. บุคคล /นิติบุคคล เป็นผู้มีส่วนได้เสีย (ทางตรง/อ้อม) รวมคู่สมรส/บุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะ ได้แก่ - มีความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร - มีความสัมพันธ์ในเชิงทุน - มีความสัมพันธ์ในลักษณะไขว้กัน 2. เข้าเสนอราคา /เสนองาน ในคราวเดียวกัน
ความสัมพันธ์ในเชิงทุนความสัมพันธ์ในเชิงทุน • หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ • หุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดใน หจก. • ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บจก., บ.มหาชน (>25% / กวพ.กำหนด) • หุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญ/หจก. • ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน บจก./บมจ.
ความสัมพันธ์ในเชิงบริหารความสัมพันธ์ในเชิงบริหาร • ผู้จัดการ • หุ้นส่วนผู้จัดการ • กรรมการผู้จัดการ • ผู้บริหาร • ผู้มีอำนาจในการดำเนินงาน มีอำนาจหรือสามารถใช้อำนาจ ในการบริหารจัดการกิจการ บุคคลหรือนิติบุคคลอีกรายหนึ่งหรือหลายราย