170 likes | 303 Views
การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพระบบงานคอมพิวเตอร์. ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง. สุขภาวะทางกาย สุขภาวะทางอารมณ์ ความปลอดภัยของคนทำงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงที่สุดและมีผลเชิงลบต่อคนทำงานน้อยที่สุด
E N D
การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพระบบงานคอมพิวเตอร์การจัดสิ่งแวดล้อมทางกายภาพระบบงานคอมพิวเตอร์
ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงปัจจัยที่ต้องคำนึงถึง • สุขภาวะทางกาย • สุขภาวะทางอารมณ์ • ความปลอดภัยของคนทำงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพสูงที่สุดและมีผลเชิงลบต่อคนทำงานน้อยที่สุด ซึ่งพบว่า สภาพแวดล้อมทางกายภาพที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดความเครียดในการทำงาน ส่งผลเสียต่อสุขภาพทางร่างกายและจิตใจ
สิ่งที่ต้องพิจารณาในสภาพแวดล้อมทางกายภาพสิ่งที่ต้องพิจารณาในสภาพแวดล้อมทางกายภาพ • อุณหภูมิ • แสงสว่าง ที่อยู่โดยรอบคนทำงานในขณะปฏิบัติงาน • รูปแบบการจัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์
อุณหภูมิและสภาพอากาศในการทำงานคอมพิวเตอร์อุณหภูมิและสภาพอากาศในการทำงานคอมพิวเตอร์ • ปกติคนจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและอยู่สภาวะสบายเมื่อสภาพอุณหภูมิที่พอเหมาะคือ ไม่ร้อนอบอ้าวจนเกินไปและไม่หนาวเย็นจนเกินไป อุณหภูมิที่สบาย • ปัจจัยสำคัญเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยคือ ความชื้น และ การเคลื่อนที่ของอากาศ โดยพบว่า ในสภาพที่มีลม คนจะรู้สึกหนาวกว่าสภาพที่ไม่มีลม ดังนั้นไม่ควรจัดโต๊ะทำงานอยู่ใต้เครื่องปรับอากาศโดยตรง และ ในห้องที่มีอุณหภูมิสูง คนสามารถทนทำงานได้ถ้าห้องถ่ายเทอากาศได้ดี
เนื่องจากอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์อิเลคทรอนิกส์ ดังนั้นจึงมีความร้อนจากตัวเครื่องอยู่ตลอดเวลาที่มีการใช้งาน ทำให้อุณหภูมิห้องสูง ห้องทำงานคอมพิวเตอร์ จึงควรจัดห้องให้มีสภาพอากาศหมุนเวียนได้ดี เช่น พัดลม หรือเครื่องปรับอากาศ จัดให้ห้องทำงานมีการระบายอากาศได้ดี อัตราการหมุนเวียนของอากาศภายใน 3-6นิ้วต่อวินาที และระดับความชื้นของอากาศอยู่ในช่วง 30-60% • โดยปกติเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละรุ่นจะมีอุณหภูมิที่สามารถทนได้แตกต่างกัน เช่น Pentium D805 ช่วง 3.2-3.5 GHz อุณหภูมิปกติคือ 42 องศาเซลเซียส และ full load ที่ 55 องศาเซลเซียส หากเกินจากนี้อาจทำให้เกิดไฟลัดวงจรได้ ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีพัดลมภายในเพื่อระบายความร้อน ดังนั้นการวางเครื่องคอมพิวเตอร์จะต้องไม่วางติดผนัง ควรห่างออกมาประมาณ 1 ฟุต เพื่อให้อากาศเคลื่อนที่ได้
แสงสว่างในการทำงานคอมพิวเตอร์แสงสว่างในการทำงานคอมพิวเตอร์ • ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการมองเห็น • ระดับความเข้มและคุณภาพของแสงสว่าง มีผลกระทบต่อการทำงาน 2 สภาวะคือ สภาวะที่ความเข้มของแสงน้อยเกินไป และสภาวะของแสงที่มากเกินไป • ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยที่ว่าด้วยระดับความเข้มของแสงตามลักษณะงานที่ต้องการความละเอียดปานกลาง เช่นงานเขียน อ่านหนังสือ กำหนดให้มีระดับความเข้ม 300 lux • จำนวนของดวงไฟ, ระยะห่างระหว่างสายตาและหน้าจอ, ความชัดเจนของข้อมูลบนจอภาพ, ความถูกต้องของสายตาของคนทำงาน ปัจจัยเหล่านี้จำเป็นต้องนำมาพิจารณาในการจัดสภาพแสงสว่างให้เหมาะสมในการทำงาน หากจัดสภาพไม่เหมาะสมอาจก่อให้เกิดการรบกวนการทำงาน หรือการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตา(eyestrain)และกระบอกตาได้
ข้อแนะนำในการจัดสภาพแสงในพื้นที่ทำงานข้อแนะนำในการจัดสภาพแสงในพื้นที่ทำงาน 1. จัดให้ด้านข้างของจอภาพขนานกับช่องหน้าต่างของห้อง เพราะหากช่องหน้าต่างอยู่ด้านหลังจอภาพ จะทำให้แสงส่องเข้าตา และหากช่องหน้าต่างอยู่ด้านหลัง อาจเกิดเงาหรือจุดมืดของผู้ใช้งานตกกระทบบนจอภาพหรืออาจเกิดจุดสว่างที่จอภาพทำให้มองเห็นข้อมูลไม่ชัดเจน 2. ปริมาณแสงในห้องทำงาน ควรมีความสม่ำเสมอทั่วห้อง ไม่มีจุดสว่างหรือมืดแตกต่างกันมากนัก เพราะหากเกิดสภาพแสงสว่างไม่สม่ำเสมอ เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะอ่อนล้าของดวงตา
3. ทำการขจัดแสงเงาที่จะเกิดขึ้น โดยปรับความสูงของจอไม่ให้เกิดเงาสะท้อน และเงาของแสงไฟ รวมถึงการย้ายสิ่งที่เป็นตัวสะท้อนเงาให้พ้นไปจากระดับสายตา เช่นกระดาษหรือเฟอร์นิเจอร์สีขาว ที่จะสะท้อนไปยังจอภาพ ทำให้ความชัดเจนของข้อมูลบนจอภาพลดลง 4. จัดให้แสงจากหลอดไฟ ฉายตรงบนชิ้นงานเอกสาร แต่ไม่ฉายตรงบนจอภาพหรือเข้าตาผู้ทำงาน เนื่องจากแสงไฟที่จ้าเข้าตาผู้ทำงาน มีผลทำให้แสบตา ตาแห้ง หรือปวดศีรษะได้ 5. ผนังของห้องทำงานที่อยู่ด้านหลังของจอภาพ ไม่ควรเป็นสีขาวสะท้อนแสงจ้าเข้าตา หากใช้สีขาวก็ควรเป็นสีขาวนวล หรือสีโทนเย็น 6. หากมีช่องแสง ควรใช้ม่านหรือมู่ลี่ เพื่อควบคุมปริมาณแสงในห้อง ลดปริมาณความเข้มแสงที่เข้าสู่ดวงตา
รูปแบบการจัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์รูปแบบการจัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์ • โครงสร้างหลักของร่างกายที่ถูกใช้ในการทำงาน ได้แก่ มือและข้อมือ, แขนและไหล่, เข่าและขา, ดวงตา หากเกิดความไม่สะดวกสบายในการทำงาน อวัยวะเหล่านี้อาจเกิดอาการผิดปกติขึ้นได้แก่ ปวดหลัง, เคล็ดคอและบ่า, แขนเกร็งอ่อนล้า, นิ้วมือยึดเกร็งอ่อนแรง, ปวดขา
โต๊ะทำงานคอมพิวเตอร์ • พื้นที่วางบนโต๊ะควรมีเนื้อที่เพียงพอที่จะวางจอคอมพิวเตอร์ได้ ห่างจากสายตา 18-30 นิ้ว ซึ่งเป็นระยะห่างระหว่างสายตาและจอภาพ ที่เหมาะสมในการมองเห็นได้ชัดเจน • ความสูงของโต๊ะ จะต้องคำนึงด้วยว่าเมื่อวางจอคอมพิวเตอร์แล้ว จอคอมพิวเตอร์จะอยู่ในระดับสายตาพอดี เพราะหากต่ำหรือสูงกว่า ทำให้ต้องก้มหรือเงย ส่งผลให้เกิดอาการเมื่อยล้าของคอและบ่า
เก้าอี้ทำงานคอมพิวเตอร์เก้าอี้ทำงานคอมพิวเตอร์ • ปรับความสูงของเก้าอี้ให้เหมาะสมกับลักษณะการเคลื่อนไหวของแขนและเท้า โดยคำนึงถึงความสามารถของแขนในการทำงานบนโต๊ะได้สะดวกสบาย และเท้าควรแตะพื้นหรือฐานรองเท้า เท้าไม่ลอยห้อยอยู่เพราะเมื่อทำงานเป็นเวลานานจะมีผลต่อกล้ามเนื้อขาและเข่าได้
ควรมีพื้นที่ว่างเพียงพอสำหรับให้เข่าและขาเคลื่อนไหวได้สะดวก หลีกเลี่ยงการวางสิ่งของขวางเพราะอาจเกิดอุบัติเหตุของขาและเข่า หรือมีการเอี้ยวบิดตัวทำให้เกิดอาการผิดปกติของกล้ามเนื้อได้ • เก้าอี้ทำงานคอมพิวเตอร์ควรมีพนักพิงหลัง เพื่อให้รองรับกับกระดูกสันหลัง อาจมีหมอนรองหนุนหลังรองรับความโค้งงอของโครงสร้างกระดูกสันหลัง เพราะหากใช้เก้าอี้ที่ไม่รับกับส่วนหลัง อาจเกิดอาการปวดหลังหรือเอวได้ • เก้าอี้ทำงานที่มีที่เท้าแขน จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถวางพักแขนได้ขณะที่ไม่ได้พิมพ์งานบนแป้นพิมพ์ เพื่อลดแรงกดดันและการทำงานของกล้ามเนื้อช่วงบ่าและท่อนแขน แต่ไม่ควรเลือกแบบเท้าแขนที่ไปขัดข้อศอกเวลาทำงาน
การจัดวางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์การจัดวางอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ • ส่วนที่ใช้งานบ่อยได้แก่ เมาส์,แป้นพิมพ์,โทรศัพท์ควรจัดในส่วนใช้งานบ่อย(Primary Work Zone) เพื่อหยิบจับใช้งานได้สะดวก หลีกเลี่ยงการวางอุปกรณ์ที่ทำให้ผู้ทำงานต้องเอื้อมมือ ซึ่งมีผลกระทบต่อความไม่สะดวกสบายของแขน ไหล่ และหลัง
จัดวางตำแหน่งแป้นพิมพ์ลึกเข้าไปจากขอบโต๊ะ เพื่อให้มีเนื้อที่เพียงพอที่จะสามารถวางข้อมือหรือท่อนแขนลงบนโต๊ะโดยไม่ทำให้เกิดการเมื่อยล้าของข้อมือ ระดับความสูงของโต๊ะและเก้าอี้ต้องสัมพันธ์ เพราะตำแหน่งของคีย์บอร์ดควรทำมุมกับข้อมือและข้อศอกในระดับระนาบ ไม่บิดงอ
จัดวางเมาส์ให้อยู่ในตำแน่งที่สามารถขยับมือไปมาได้ ควรจัดให้แป้นพิมพ์และเมาส์อยู่ใกล้กัน เพื่อให้สามารถขยับมือไปมาระหว่าง 2 อุปกรณ์ได้รวดเร็ว และเป็นการหลีกเลี่ยงไม่ให้ผู้ใช้ต้องยกมือขึ้นลงบ่อยๆ
แหล่งอ้างอิง • จรัณ ภาสุระ. 2539. เออร์กอนอมิกส์ (Ergonomics) ศาสตร์เพื่อปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน ประจำวัน. กรุงเทพ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน). • สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. เพื่อสุขภาพและความปลอดภัย[ออนไลน์] [อ้าง เมื่อ 1 พฤษภาคม 2549] เข้าถึงได้จาก: http://oho.ispt.ac.th/health/. • สิทธิ์ ศรีบูรพา. 2540. เออร์โกโนมิกส์ : วิศวกรรมมนุษยปัจจัย. กรุงเทพ : บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด(มหาชน). • Occupational Safety and Health Administration:U.S. Department of Labor. 1997. Computer Workstation. [Online] [Cited 26 May 2006] Available from http://www.osha.gov/SLTC/etools/computerworkstations/index.html • PCS:Public&Commercial Services Union. 1992. Temperature at work: Minimum and Maximum temperatures for indoor workplaces. [Online] [Cited 9 May 2006] Available from: http://www.pcs.org.uk • Siamhealth. 2548. ความเครียดจากการทำงาน [ออนไลน์] [อ้างเมื่อ 8 พฤษภาคม 2549] เข้าถึงได้จาก : http://www.siamhealth.net/Disease/neuro/psy/stress/work_stress.htm