1 / 40

ชุดควบคุมไฮดรอลิก วงจรไฮดรอลิก

ชุดควบคุมไฮดรอลิก วงจรไฮดรอลิก. คำอธิบาย. คลัตช์และเบรกที่ใช้งานชุดเฟืองเพลนเนตตารีทำงานโดยใช้แรงดัน ไฮดรอลิกชุดควบคุมไฮดรอลิกสร้างและปรับแรงดันไฮดรอลิกและ เปลี่ยนเส้นทางการกระจาย ภาพทางซ้ายแสดงให้เห็นวงจรไฮดรอลิกสำหรับรุ่น A140Eแรงดัน ไฮดรอลิกทำงานผ่านท่อแรงดันไฮดรอลิกหลายท่อ.

cruz-lyons
Download Presentation

ชุดควบคุมไฮดรอลิก วงจรไฮดรอลิก

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ชุดควบคุมไฮดรอลิกวงจรไฮดรอลิกชุดควบคุมไฮดรอลิกวงจรไฮดรอลิก

  2. คำอธิบาย คลัตช์และเบรกที่ใช้งานชุดเฟืองเพลนเนตตารีทำงานโดยใช้แรงดัน ไฮดรอลิกชุดควบคุมไฮดรอลิกสร้างและปรับแรงดันไฮดรอลิกและ เปลี่ยนเส้นทางการกระจาย ภาพทางซ้ายแสดงให้เห็นวงจรไฮดรอลิกสำหรับรุ่น A140Eแรงดัน ไฮดรอลิกทำงานผ่านท่อแรงดันไฮดรอลิกหลายท่อ

  3. ชุดควบคุมไฮดรอลิก

  4. หน้าที่ของชุดควบคุมไฮดรอลิกหน้าที่ของชุดควบคุมไฮดรอลิก 1. เพื่อสร้างแรงดันไฮดรอลิก ปั๊มน้ำมันเกียร์มีหน้าที่สร้างแรงดันไฮดรอลิกปั๊มน้ำมันเกียร์จะสร้างแรงดันไฮดรอลิกที่ต้องการสำหรับการทำงานของเกียร์อัตโนมัติด้วยการขับทอร์คคอนเวอร์เตอร์ (เครื่องยนต์) 2. เพื่อปรับแรงดันไฮดรอลิก แรงดันไฮดรอลิกที่ถูกอัดโดยปั๊มน้ำมันเกียร์จะถูกปรับให้เข้ากับวาล์วควบคุมแรงดันปฐมภูมินอกจากนี้ ลิ้นเร่งจะสร้างแรงดันไฮดรอลิกที่เหมาะสมกับกำลังของเครื่องยนต์ 3. เพื่อเปลี่ยนเกียร์ (เพื่อให้คลัตช์และเบรกทำงาน) เมื่อมีการเปลี่ยนการทำงานของคลัตช์และเบรกของชุดเฟืองเพลนเนตตารี ก็จะมีกาเปลี่ยนเกียร์ แมนวลวาล์วจะสร้างเส้นทางการไหลของของเหลวให้สอดคล้องกับตำแหน่งการเปลี่ยนเกียร์ เมื่อความเร็วของรถยนต์เพิ่มขึ้น ก็จะส่งสัญญาณจากเครื่องยนต์ไปยังโซลินอยด์วาล์วด้วย Engine & ECT ECU (ชุดควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์)โซลินอยด์วาล์วจะบังคับวาล์วแต่ละตัวเพื่อเปลี่ยนเกียร์

  5. ชิ้นส่วนหลักของชุดควบคุมไฮดรอลิกชิ้นส่วนหลักของชุดควบคุมไฮดรอลิก 1.ปั๊มน้ำมันเกียร์ 2. ตัวเรือนวาล์ว 3. วาล์วควบคุมแรงดันปฐมภูมิ 4. แมนวลวาล์ว 5. วาล์วเปลี่ยนเกียร์(ชิฟท์วาล์ว) 6. โซลินอยด์วาล์ว 7. ลิ้นเร่ง

  6. ปั๊มน้ำมันเกียร์ ปั๊มน้ำมันเกียร์ถูกขับโดยทอร์คคอนเวอร์เตอร์ (เครื่องยนต์) เพื่อส่งแรงดันไฮดรอลิกที่ต้องการสำหรับ การทำงานของเกียร์อัตโนมัติ ข้อแนะนำ: ใช้ก้านวัดระดับสำหรับวัดระดับของเหลว และต้อง แน่ใจว่าเครื่องยนต์กำลังทำงานอยู่ที่รอบเดินเบา และอุณหภูมิของน้ำมัน ATF (Automatic Transaxle Fluid) อยู่ในระดับใช้งานปกติ

  7. ข้อควรระวัง เมื่อลากรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ เนื่องจากปั๊มน้ำมันเกียร์ไม่ทำงาน สารหล่อลื่นในเกียร์อาจมีไม่พอและอาจทำให้เกียร์ติดและเสียหายได้ด้วยเหตุผลนี้ จึงควรลากรถยนต์เกียร์อัตโนมัติด้วยความเร็วต่ำ (ไม่เกิน 30 กม./ชม.) และเป็นระยะทางไม่เกิน 80 กม. ในแต่ละครั้ง สำหรับวิธีที่ดีกว่าคือ ควรลากรถยนต์เกียร์ อัตโนมัติโดยให้ล้อขับเคลื่อนอยู่เหนือพื้นถนนหรือ ให้ถอดเพลากลางออก

  8. เรือนวาล์ว

  9. เรือนวาล์วประกอบด้วยเรือนวาล์วด้านบนและเรือนวาล์วด้านล่างเรือนวาล์วมีลักษณะเหมือนเขาวงกต โดยมีเส้นทางมากมายให้น้ำมันเกียร์ไหลผ่านและมีวาล์วหลายชิ้นอยู่ในเส้นทางเหล่านี้ โดยจะควบคุมแรงดันของเหลวและเปลี่ยนเส้นทางการไหลจากทางหนึ่งไปอีกทางหนึ่ง โดยทั่วไป เรือนวาล์วจะมี • วาล์วควบคุมแรงดันปฐมภูมิ • แมนวลวาล์ว • วาล์วเปลี่ยนเกียร์ (1-2, 2-3, 3-4) • โซลินอยด์วาล์ว (หมายเลข 1, 2) • ลิ้นเร่ง จำนวนวาล์วจะขึ้นอยู่กับรุ่นและบางรุ่นมีวาล์วมากกว่าจำนวนข้างต้น

  10. วาล์วควบคุมแรงดันปฐมภูมิวาล์วควบคุมแรงดันปฐมภูมิ

  11. 1. หน้าที่ของส่วนประกอบ วาล์วควบคุมแรงดันปฐมภูมิจะปรับแรงดันไฮดรอลิก (แรงดันท่อ) ต่อชิ้นส่วนแต่ละชิ้นโดยให้สอดคล้องกับกำลังเครื่องยนต์เพื่อป้องกันการ สูญเสียกำลังของปั๊มน้ำมันเกียร์ 2. การทำงาน เมื่อแรงดันไฮดรอลิกจากปั๊มน้ำมันเกียร์เพิ่มขึ้นสปริงวาล์วจะถูกกด ท่อระบายของเหลวจะเปิดออก และจะมีการรักษาแรงดันท่อให้คงที่นอกจากนี้ แรงดันลิ้นเร่งจะทำงานภายใต้วาล์วและเมื่อมุมเปิดของคันเร่งเพิ่มขึ้น แรงดันท่อจะเพิ่ม ขึ้นเพื่อป้องกันการลื่นไถลของคลัตช์และเบรกในตำแหน่ง “R” แรงดันท่อจะเพิ่มขึ้นเพื่อป้องกันการลื่นไถลของคลัตช์และเบรก

  12. แมนวลวาล์ว

  13. แมนวลวาล์วเชื่อมต่ออยู่กับคันเกียร์และข้อต่อหรือสายเคเบิลการเปลี่ยน ตำแหน่งคันเกียร์จะเป็นการเปลี่ยนการไหลของของเหลวในแมนวลวาล์ว และเกิดการทำงานในเกียร์แต่ละตำแหน่ง ตำแหน่งคันเกียร์ ชุดเฟืองเพลนเนตตารี P B3 R C2, B3 N - D C1 2 C1, B1 L C1, B3 ข้อแนะนำ: โดยทั่วไป จะใช้สายเคเบิลในรถ FF (เครื่องยนต์หน้า, ขับเคลื่อนล้อ หน้า) และใช้ข้อต่อในรถ FR (เครื่องยนต์หน้า, ขับเคลื่อนล้อหลัง)

  14. 1. หน้าที่ของส่วนประกอบ เกียร์ถูกเปลี่ยนโดยเปลี่ยนการทำงานของคลัตช์และเบรก วาล์วเปลี่ยนเกียร์จะเปลี่ยนเส้นทางการไหลของของเหลวซึ่งก่อให้เกิดแรงดันไฮดรอลิกเพื่อนำไปใช้กับเบรกและคลัตช์วาล์วเปลี่ยนเกียร์คือ 1- 2,2-3, และ 3-4. 2. การทำงาน ตัวอย่าง:วาล์วเปลี่ยนเกียร 1-2 เมื่อมีแรงดันไฮดรอลิกที่ด้านบนสุดของวาล์ว เปลี่ยนเกียร์ เกียร์จะถูกยึดไว้ที่เกียร์หนึ่งเพราะวาล์วเปลี่ยนเกียร์อยู่ที่ด้านล่างสุดและมีการปิดเส้นทางการไหลของของเหลวสู่คลัตช์และเบรก อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่มีแรงดันไฮดรอลิกจากการทำงานของโซลินอยด์วาล์ว แรงดันสปริงจะทำให้วาล์วเคลื่อนที่ขึ้น จึงเปิดเส้นทางการไหลของของ เหลวสู่ B2 ทำให้ B2 ทำงาน, และเกียร์ถูกเปลี่ยน เป็นเกียร์ 2

  15. วาล์วเปลี่ยนเกียร์

  16. โซลินอยด์วาล์ว

  17. โซลินอยด์วาล์ว ทำงานโดยรับสัญญาณจากเครื่องยนต์& ECT ECU เพื่อควบคุมวาล์วเปลี่ยนเกียร์และแรงดันไฮดรอลิก โซลินอยด์วาล์วมีสองชนิดโซลินอยด์วาล์วเปลี่ยนเกียร์ทำหน้าที่เปิดและปิดเส้นทางไหลของของเหลวตาม สัญญาณจาก ECU (เปิดตามสัญญาณเปิดและปิดตามสัญญาณปิด)โซลินอยด์วาล์วเชิงเส้นจะควบคุมแรงดันไฮดรอลิกในลักษณะเชิงเส้นตามกระแสไฟฟ้าที่ถูกส่งมาจาก ECUโซลินอยด์วาล์วเปลี่ยนเกียร์ใช้สำหรับควบคุมการเปลี่ยนเกียร์ และโซลินอยด์วาล์วเชิงเส้นใช้สำหรับการ ทำงานเช่นควบคุมแรงดันไฮดรอลิก ข้อแนะนำ: นอกจากนี้ ยังมีโซลินอยด์วาล์วเปลี่ยนเกียร์ชนิดที่ยกแกนขึ้น เพื่อเปิดทางให้ของเหลวไหลเมื่อปิด สัญญาณและปิดเส้นทางเมื่อเปิดสัญญาณดังกล่าวนอกจากนี้ โซลินอยด์วาล์วมีหมายเลข 1 และ 2 ขณะที่โซลินอยด์วาล์วเชิงเส้นมี SLT ซึ่งใช้แทนลิ้นเร่งและ SLU เพื่อควบคุมการล็อค

  18. ลิ้นเร่ง

  19. ลิ้นเร่งจะสร้างแรงดันลิ้นเร่งเพื่อตอบสนองต่อมุมคันเร่ง ผ่านทางสายลิ้นเร่งและลูกเบี้ยวลิ้นเร่งโดยจะส่งแรงดันลิ้นเร่งไปในวาล์วควบคุมแรงดันปฐมภูมิ และจะควบคุมแรงดันให้สอดคล้องกับการเปิดลิ้นเร่ง รถบางรุ่นจะใช้โซลินอยด์วาล์วเชิงเส้น (SLT)ควบคุมแรงดันลิ้นเร่งแทนสายลิ้นเร่ง ซึ่งรถรุ่นเหล่านั้นจะควบคุมแรงดันลิ้นเร่งโดยEngine & ECT ECUโดยจะส่งสัญญาณไปยังโซลินอยด์วาล์วเชิงเส้นตามสัญญาณจากเซ็นเซอร์ตรวจตำแหน่งลิ้นเร่ง (มุมการเปิดของคันเร่ง) การทำงานของลิ้นเร่ง

  20. วาล์วอื่นๆ ในระบบเกียร์อัตรโนมัติจะประกอบด้วยวาล์วอื่นๆอีกดังนี้ 1. ล็อคอัพรีเลย์วาล์วและวาล์วสัญญาณล็อคอัพ 2. วาล์วควบคุมแรงดันทุติยภูมิ 3. วาล์วลดแรงดันน้ำมัน 4. วาล์วควบคุมแรงดันน้ำมันลิ้นเร่ง 5. แอคคิวมูเลเตอร์

  21. 1. ล็อคอัพรีเลย์วาล์วและวาล์วสัญญาณล็อคอัพ การทำงานของล็อคอัพรีเลย์วาล์วและวาล์วสัญญาณล็อคอัพวาล์วเหล่านี้จะทำหน้าที่สับเปลี่ยนการล็อคโดย ล็อคอัพรีเลย์วาล์วจะทำให้ของเหลวไหลกลับผ่านคอนเวอร์เตอร์ (ล็อคอัพคลัตช์) ตามแรงดันสัญญาณจากวาล์วสัญญาณล็อคอัพ - เมื่อมีแรงดันสัญญาณในล็อคอัพรีเลย์วาล์วด้านล่างสุด จะทำให้ ล็อคอัพรีเลย์วาล์วถูกดันขึ้นซึ่งเป็นการเปิดช่องทางการไหลของของเหลวไปยังล็อคอัพคลัตช์ด้านหลัง ทำให้มีการส่งกำลัง - ถ้าตัดแรงดันสัญญาณ แรงดันท่อจะกดล็อคอัพรีเลย์วาล์วลง และจะมีแรงดันสปริงที่ด้านบนของรีเลย์วาล์ว ซึ่งเป็นการเปิดช่องทางการไหลของของเหลวไปยังล็อคอัพคลัตช์ด้านหน้า ทำให้ไม่มีการส่งกำลัง

  22. ภาพแสดงลักษณะขณะที่ล็อคอัพยังไม่ทำงานภาพแสดงลักษณะขณะที่ล็อคอัพยังไม่ทำงาน

  23. ภาพแสดงลักษณะขณะที่ล็อคอัพทำงานภาพแสดงลักษณะขณะที่ล็อคอัพทำงาน

  24. 2. วาล์วควบคุมแรงดันทุติยภูมิ วาล์วควบคุมแรงดันทุติยภูมินี้จะควบคุมแรงดันคอนเวอร์เตอร์และแรงดันหล่อลื่น ซึ่งความสมดุลของแรงทั้งสองจะควบคุมแรงดันของของเหลวคอนเวอร์เตอร์และแรงดันหล่อลื่น โดยมีการส่งแรงดันคอนเวอร์เตอร์จากวาล์วควบคุมแรงดันปฐมภูมิ และส่งต่อไปยังล็อคอัพรีเลย์วาล์ว

  25. ลักษณะของวาล์วควบคุมแรงดันทุติยภูมิลักษณะของวาล์วควบคุมแรงดันทุติยภูมิ

  26. 3. วาล์วลดแรงดันน้ำมัน วาล์วนี้จะควบคุมแรงดันน้ำมันที่เกิดขึ้นกับลิ้นเร่ง โดยแรงดันท่อและแรงดันลิ้นเร่งจะเป็นตัวกระตุ้นการทำงานของวาล์วนี้ การส่งแรงดันน้ำมันแก่ลิ้นเร่งลักษณะนี้จะช่วยลดแรงดันลิ้นเร่งเพื่อป้องกันการสูญเสียกำลังจากปั๊มน้ำมันเกียร์โดยไม่จำเป็น

  27. 4. วาล์วควบคุมแรงดันน้ำมันลิ้นเร่ง วาล์วนี้จะสร้างแรงดันควบคุมลิ้นเร่งโดยแรงดันควบคุมน้ำมันลิ้นเร่งจะต่ำกว่าแรงดันลิ้นเร่งเล็กน้อย เมื่อลิ้นเร่งเปิดกว้างจะทำให้มีแรงดันควบคุมน้ำมันลิ้นเร่งในวาล์วควบคุมแรงดันปฐมภูมิ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงในแรงดันท่อสอดคล้องกับกำลังเครื่องยนต์มากขึ้น

  28. 5. แอคคิวมูเลเตอร์ แอคคิวมูเลเตอร์ทำหน้าที่เป็นส่วนรับแรงสั่นสะเทือนจากการเปลี่ยนเกียร์ การทำงานของแอคคิวมูเลเตอร์นั้นจะทำงานโดย อาศัยความแตกต่างกันของพื้นที่ผิวของลูกสูบแอคคิวมูเลเตอร์ด้านทำงานและด้านแรงดันย้อนกลับ โดยเมื่อด้านทำงานมีแรงดันท่อจากแมนวลวาล์ว ลูกสูบจะเคลื่อนขึ้นอย่างช้าๆ และจะมีการส่งแรงดันท่อไปยังคลัตช์ และเบรกจะถูกยกขึ้นทีละน้อย

  29. ลักษณะและการทำงานของแอคคิวมูเลเตอร์ลักษณะและการทำงานของแอคคิวมูเลเตอร์ รถบางรุ่นจะควบคุมแรงดันไฮดรอลิกที่จ่ายให้กับแอคคิวมูเลเตอร์ด้วยโซลินอยด์วาล์วเชิงเส้นเพื่อการเปลี่ยนเกียร์ที่ราบรื่นกว่า

  30. ข้อมูลอ้างอิง วาล์วกัฟเวอร์เนอร์ ในระบบเกียร์อัตโนมัติที่ควบคุมด้วยไฮดรอลิกทั้งหมดนั้น จะใช้วาล์วกัฟเวอร์เนอร์ตรวจจับความเร็วของรถยนต์และวาล์วกัฟเวอร์เนอร์ก็จะสร้างแรงดันกัฟเวอร์เนอร์ตามความเร็วของการหมุนของเพลาส่งกำลัง และความเร็วของเครื่องยนต์ที่ต้องการสำหรับการเปลี่ยนเกียร์ก็จะตรวจจับจากระดับของแรงดันกัฟเวอร์เนอร์นี้

  31. ลักษณะและตำแหน่งที่อยู่ของวาล์วกัฟเวอร์เนอร์ลักษณะและตำแหน่งที่อยู่ของวาล์วกัฟเวอร์เนอร์

  32. การทำงานของเกียร์

  33. การทำงานของเกียร์(เกียร์1)การทำงานของเกียร์(เกียร์1)

  34. การทำงานของเกียร์(เกียร์2)การทำงานของเกียร์(เกียร์2)

  35. การทำงานของเกียร์(เกียร์3)การทำงานของเกียร์(เกียร์3)

  36. การทำงานของเกียร์(เกียร์O/D)การทำงานของเกียร์(เกียร์O/D)

  37. คันเกียร์

  38. กลไกล็อคคันเกียร์

  39. กลไกล็อคคันเกียร์

  40. กลไกล็อคคันเกียร์

More Related