280 likes | 697 Views
Introduction to Law (LA100). นิติกรรมสัญญา. นิติกรรม. ในทางแพ่ง (เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล) บุคคลอาจมีความสัมพันธ์ทางกฎหมายได้จาก 2 สาเหตุ 1. โดยทางนิติกรรม 2. โดยทางนิติเหตุ. นิติกรรม. นิติกรรมคืออะไร
E N D
Introduction to Law (LA100) นิติกรรมสัญญา
นิติกรรม ในทางแพ่ง (เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลกับบุคคล) บุคคลอาจมีความสัมพันธ์ทางกฎหมายได้จาก 2 สาเหตุ 1. โดยทางนิติกรรม 2. โดยทางนิติเหตุ
นิติกรรม • นิติกรรมคืออะไร การใดๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล เพื่อจะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 149)
นิติกรรม • นิติเหตุคืออะไร เหตุที่ก่อให้เกิดผลทางกฎหมาย (ก่อให้บุคคลมีนิติสัมพันธ์กัน) ซึ่งอาจเกิดจากเหตุการณ์ทางธรรมชาติ เช่น การเกิด การตาย การสาบสูญ หรือ เกิดจากการกระทำของบุคคลที่ไม่ใช่เป็นการทำนิติกรรม)
นิติกรรม • สาระสำคัญของนิติกรรม ตามมาตรา 149 • การใดๆ อันทำลง • การแสดงเจตนาทำโดยใจสมัคร • วิธีหรือลักษณะการแสดงเจตนาต้องชอบด้วยกฎหมาย • ผู้แสดงเจตนามุ่งโดยตรงที่จะก่อให้เกิดความผูกพันตามกฎหมาย • มีความเคลื่อนไหวในสิทธิ
นิติกรรม • 1. การใดๆอันทำลง หมายถึง การกระทำโดยการแสดงเจตนาออกมาให้ปรากฏว่าตนต้องการทำอะไร ผ่านวิธีการแสดงออก เช่น การพูด การเขียน การชี้ การทำท่าทาง และกรณีการนิ่งในเหตุการณ์บางอย่างที่กฎหมายถือว่าเป็นการแสดงเจตนา (เช่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 570 เรื่องเกี่ยวกับสัญญาเช่าไม่มีกำหนดระยะเวลา, และตาม ป.พ.พ. มาตรา 508 เกี่ยวกับเรื่องการขายเผื่อชอบ)
นิติกรรม • 2. การแสดงเจตนาทำโดยใจสมัคร หมายความว่า ผู้แสดงเจตนาต้องทำในขณะรู้สึกตัว มีสติสัมปชัญญะจึงจะนับได้ว่าการนั้นเป็นนิติกรรม แต่ถ้ากระทำการในขณะละเมอ หรือถูกสะกดจิต กรณีเหล่านี้จะถือว่าไม่มีนิติกรรมใดๆเกิดขึ้นเลย ไม่มีความผูกพันใดๆ ตามกฎหมายทั้งสิ้น ทั้งนี้ หากผู้แสดงเจตนาได้กระทำลงเพราะถูกข่มขู่ หรือถูกกลฉ้อฉลจะถือว่ามีนิติกรรมเกิดขึ้น แต่มีผลเป็นโมฆียะ
นิติกรรม • 3.วิธี หรือลักษณะการแสดงเจตนาต้องชอบด้วยกฎหมาย หมายถึง ตัววิธีหรือลักษณะการแสดงเจตนามิใช่วัตถุประสงค์ของนิติกรรม เนื่องจากแม้ว่าวัตถุประสงค์ของนิติกรรมจะมิชอบด้วยกฎหมายแต่ถ้าวิธีการแสดงเจตนาถูกต้องตามกฎหมาย การกระทำนั้นก็เป็นนิติกรรมได้ หากแต่ผลทางกฎหมายของนิติกรรมนั้นว่าสมบูรณ์หรือไม่เป็นอีกประเด็นหนึ่ง
นิติกรรม • 4. ผู้แสดงเจตนามุ่งโดยตรงที่จะก่อให้เกิดความผูกพันตามกฎหมาย (นิติสัมพันธ์) หมายความว่า การแสดงเจตนาจะต้องมีความมุ่งหมายให้ก่อให้เกิดความผูกพันตามกฎหมาย มิใช่เป็นเพียงคำปรารภ พูดล้อเล่น หรือการแสดงอัธยาศัยไมตรีทางสังคม โดยมิได้มุ่งจะก่อความผูกพันตามกฎหมาย ที่ไม่เป็นนิติกรรม
นิติกรรม • 5. มีความเคลื่อนไหวในสิทธิ คือ • ก่อ • เปลี่ยนแปลง • โอน • สงวน • ระงับสิทธิ
นิติกรรม • นิติกรรม อาจแบ่งออกได้หลายประเภท ในที่นี้จะขอแบ่งเป็น 2 แบบ • แบบที่1: นิติกรรมฝ่ายเดียว (Unilateral Act) vs. นิติกรรมสองฝ่าย (Bilateral Act) • แบบที่2: นิติกรรมที่มีผลระหว่างผู้ทำมีชีวิต (Inter Vivos) vs. นิติกรรมที่มีผลเมื่อผู้ทำตาย (Mortis Causa)
นิติกรรม • นิติกรรมจะสมบูรณ์ (ไม่เป็นโมฆะ หรือโมฆียะ) ต้องพิจารณาอะไรบ้าง? • ความสามารถของผู้ทำนิติกรรม • วัตถุประสงค์ของนิติกรรม • แบบของนิติกรรม • การแสดงเจตนาทำนิติกรรม
โมฆะกรรม เป็นการกระทำที่เสียเปล่ามาแต่ต้นไม่มีผลอย่างใดในกฎหมาย เสียเปล่าโดยไม่จำเป็นต้องบอกล้างแต่อย่างใด ผู้มีส่วนได้เสียทุกคนต่างมีสิทธิกล่าวอ้างความเสียเปล่าได้ ไม่อาจให้สัตยาบันได้ เพราะเสียเปล่ามาแต่ต้น การกล่าวอ้างความเสียเปล่าไม่มีกำหนดเวลาหรืออายุความ โมฆียะกรรม เป็นนิติกรรมที่สมบูรณ์ใช้ได้จนกว่าจะถูกบอกล้าง เสียเปล่าต่อเมื่อมีการบอกล้างให้ตกเป็นโมฆะ ผู้มีสิทธิบอกล้างต้องเป็นบุคคลที่กฎหมายบัญญัติให้สิทธิ์ไว้โดยเฉพาะ อาจให้สัตยาบันได้ มีกำหนดเวลาบอกล้าง ถ้าไม่บอกล้างภายในกำหนดเป็นอันหมดสิทธิ นิติกรรม
นิติกรรม • ความสามารถของผู้ทำนิติกรรม กล่าวคือ ในการแสดงเจตนาในการทำนิติกรรม ผู้แสดงเจตนาจะต้องมีความสามารถตามกฎหมาย คือ ต้องไม่เป็นผู้หย่อนความสามารถตามกฎหมาย (ไม่เป็น ผู้เยาว์ คนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ) หรือคนวิกลจริตในบางกรณี มิฉะนั้นนิติกรรมดังกล่าวจะตกเป็นโมฆียกรรม (ตามป.พ.พ. มาตรา 153)
นิติกรรม • วัตถุประสงค์ของนิติกรรม “วัตถุประสงค์” หมายถึง ประโยชน์สุดท้ายที่ผู้แสดงเจตนาประสงค์จะได้รับ ตามกฎหมาย มาตรา 150 และ 151 ของ ป.พ.พ. วางหลักไว้ว่า • กฎหมายยอมให้บุคคลแสดงเจตนาทำนิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์ในเรื่องใดๆก็ได้ เว้นแต่จะเข้ากรณีดังต่อไปนี้ นิติกรรมดังกล่าวจะตกเป็นโมฆะ • ก. วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย • ข. วัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย • ค. วัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
นิติกรรม *** ฎ.1500/2531 นิติกรรมจะเป็นโมฆะได้นั้นจะต้องให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายรู้ ถ้าฝ่ายเดียวรู้อีกฝ่ายหนึ่งเขาไม่รู้ด้วย นิติกรรมนั้นก็สมบูรณ์
นิติกรรม • ก. วัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย • ถ้าเป็นข้อห้ามตามกฎหมายมหาชน คู่กรณีจะทำสัญญาฝ่าฝืนไม่ได้เลย มิฉะนั้นนิติกรรมจะตกเป็นโมฆะ • ถ้าเป็นกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ หากมิใช่กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนแล้ว คู่กรณีก็สามารถตกลงกันเป็นอย่างอื่นได้ ตามมาตรา 151
นิติกรรม • ข. วัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย หมายความว่า คู่กรณีได้แสดงเจตนาทำนิติกรรมแต่ประโยชน์สุดท้ายที่ผู้แสดงเจตนาประสงค์จะได้รับนั้น ไม่อาจอยู่ในวิสัยที่จะประสบผลสำเร็จได้เลยอย่างแน่แท้ ***การพ้นวิสัยอันจะทำให้นิติกรรมตกเป็นโมฆะเพราะมีวัตถุประสงค์เป็นการพ้นวิสัย จักต้องเกิดขึ้นแล้วอย่างสมบูรณ์ ตั้งแต่ก่อนหรือขณะที่มีการแสดงเจตนา
นิติกรรม • ค.วัตถุประสงค์เป็นการขัดขวางต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน • ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงในแต่ละกรณี ทั้งนี้ต้องพิจารณาจากความรู้สึกของคนส่วนใหญ่ในสังคม ว่าการนั้นๆขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือไม่ ซึ่งค่านิยมและความเชื่อดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงไปได้ตามยุคสมัย
นิติกรรม • แบบของนิติกรรม • หมายถึง แบบเพื่อความสมบูรณ์ของนิติกรรม กล่าวคือ หากนิติกรรมมีกฎหมายกำหนดแบบเอาไว้ การทำนิติกรรมนั้นจะต้องทำให้ถูกต้องตามแบบที่กฎหมายได้กำหนดเอาไว้ด้วย มิฉะนั้น นิติกรรมนั้นจะตกเป็นโมฆะ (มาตรา 152) • โดยทั่วไปแล้ว การทำนิติกรรมไม่มีแบบ เว้นแต่มีกฎหมายกำหนดไว้ชัดแจ้งให้ทำตามแบบ เมื่อไม่มีกฎหมายกำหนดแบบไว้ คู่สัญญาจะทำนิติกรรมต่อกันอย่างใดก็ได้
นิติกรรม • แบบของนิติกรรม • ก. แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ • ข. แบบที่ต้องจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ • ค. แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือ • 1. แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือต่อเจ้าพนักงาน • 2. แบบที่ต้องทำเป็นหนังสือในระหว่างคู่สัญญา • ง. แบบพิเศษ
นิติกรรม • แบบ vs. หลักฐานเป็นหนังสือ • ตามมาตรา 152 ในเรื่องแบบ ถ้าไม่ทำตามแบบให้ถูกต้องสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ได้ตกลงทำสัญญา สัญญานั้นย่อมไม่สมบูรณ์ ตกเป็นโมฆะทันที • ในกรณีที่กฎหมายต้องการให้มีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ถ้าผู้ใดฝ่าฝืนไม่กระทำตาม นิติกรรมนั้นไม่เป็นโมฆะ เพียงแต่กฎหมายห้ามมิให้นำนิติกรรมนั้นมาฟ้องร้องต่อศาลเท่านั้น
นิติกรรม • หลักฐานเป็นหนังสือ • หลักฐานเป็นหนังสือไม่ใช่แบบของนิติกรรม • หลักฐานเป็นหนังสือ เป็นเพียงพยานหลักฐานที่กฎหมายกำหนดขึ้นเพื่อใช้ยืนยันในกรณีที่มีการฟ้องร้องดำเนินคดีกัน โดยมิได้กำหนดรูปแบบตายตัวไว้ จะมีเพียงแค่ข้อความที่ฟังได้ว่ามีการตกลงทำสัญญากันจริงและมีลายมือชื่อของฝ่ายที่ต้องรับผิดก็เพียงพอแล้ว อีกทั้งหากไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ สัญญาดังกล่าวก็ไม่สูญเปล่าไป หากแต่ไม่อาจฟ้องร้องขอให้ศาลบังคับให้เท่านั้น
นิติกรรม • ลักษณะของหลักฐานเป็นหนังสือ • เอกสาร ที่ระบุข้อความ หรือถ้อยคำอะไรก็ตามที่แสดงให้เห็นว่านิติกรรมนั้นเกิดขึ้นจริง • ไม่จำเป็นต้องมีขณะทำนิติกรรม อาจเกิดขึ้นตอนหลังก็ได้ เช่น บันทึกรายงานการประชุม, ใบเสร็จรับเงิน, จดหมายโต้ตอบ, ใบสั่งซื้อ, ใบวางสินค้า ฯลฯ • ต้องลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญ
นิติกรรม • นิติกรรมดังต่อไปนี้ กฎหมายกำหนดว่าต้องหลักฐานเป็นหนังสือจึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ • การกู้ยืมเงินเกินกว่า 50 บาทขึ้นไป • การเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี • การทำสัญญาประกันภัย • การทำสัญญาประนีประนอมยอมความ • การทำสัญญาค้ำประกัน • การทำสัญญาจะซื้อจะบาย (อสังหาริมทรัยพ์ และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ) • การทำสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตกลงกันตั้งแต่ 500 บาทขึ้นไป