240 likes | 473 Views
“เจาะลึกอุตสาหกรรมเหล็ก ผ่านแว่นตานักเศรษฐศาสตร์ ”. รศ.ดร.ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม 12 พฤศจิกายน 2550 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. การค้าโลก : เหล็กและเหล็กกล้า. หน่วย : พันล้านดอลลาร์, ร้อยละ. ที่มา : WTO 2006. การค้าโลก : เหล็กและเหล็กกล้า ปี 2548. ที่มา : WTO 2006.
E N D
“เจาะลึกอุตสาหกรรมเหล็ก ผ่านแว่นตานักเศรษฐศาสตร์ ” รศ.ดร.ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม 12 พฤศจิกายน 2550 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การค้าโลก: เหล็กและเหล็กกล้า หน่วย: พันล้านดอลลาร์, ร้อยละ ที่มา: WTO 2006
การค้าโลก: เหล็กและเหล็กกล้า ปี 2548 ที่มา: WTO 2006
ปริมาณการผลิตเหล็ก ที่มา: International Iron and Steel Institute
ปริมาณการผลิตเหล็ก: จำแนกตามประเทศ ที่มา: International Iron and Steel Institute
ประเทศผู้ส่งออกและนำเข้ารายใหญ่ของโลก ปี 2548 หน่วย: ล้านตัน ที่มา: International Iron and Steel Institute หมายเหตุ: 1 Excluding intra-European Union (25) trade 2 Data for individual European Union (25) countries include intra-European trade
Raw Material - อุตสาหกรรมก่อสร้าง - อุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ - อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า - อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ - อุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ เหล็กแท่งยาว - ผลิตภัณฑ์รูปทรงยาว อุตสาหกรรมต่อเนื่อง เหล็กถลุง การรีด /รีดซ้ำ /หล่อ เหล็กขั้นกลาง เหล็กขั้นปลาย การหลอมเหล็กและหล่อเหล็ก เหล็กขั้นต้น สินแร่เหล็ก การถลุง - ผลิตภัณฑ์รูปทรงแบน เหล็กแท่งแบน เหล็กพรุน - ผลิตภัณฑ์เหล็กโครงสร้างรูปพรรณขนาดใหญ่ เหล็กแท่งใหญ่ เศษเหล็ก - ผลิตภัณฑ์เหล็กหล่อ ห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมเหล็ก
อุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นอุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้น • การผลิตเหล็กขั้นต้นเป็นการนำสินแร่เหล็ก (Iron Ore) มาผ่านกระบวนการถลุง (วิธี Blast Furnace และวิธี Direct Reduced)เหล็กที่ได้จากการถลุงเรียกว่า เหล็กถลุง (Pig Iron) และเหล็กพรุน (Sponge Iron) เป็นวัตถุดิบในการผลิตเหล็กทุกชนิด • เคยมีผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อผลิตเหล็กขั้นต้นจำนวน 9 ราย (ปี 2537: บริษัทนครไทยสตริปมิล จำกัด (มหาชน), บริษัทอุตสาหกรรมเหล็กกล้าไทย จำกัด (มหาชน) ปี 2538: บริษัทสหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน), บริษัท Nippon Denro Ispat จำกัด, บริษัทร่วมทุนเหล็กไทย จำกัด, กลุ่มบริษัทอิตาเลียนไทย ปี 2547: บริษัทจีสตีลจำกัด (มหาชน) ปี 2550: บริษัทเหล็กสยามยามาโตะ จำกัดและบริษัท เอ็น.ที.เอส.สตีลกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)) แต่ปัจจุบันยังไม่มีรายใดเปิดดำเนินการผลิต บางรายชะลอโครงการออกไปเพื่อดูแนวโน้มตลาด ขณะที่บางรายประกาศยกเลิกโครงการ
อุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลายอุตสาหกรรมเหล็กขั้นปลาย • เหล็กเส้น มีผู้ประกอบการที่มีเตาหลอม 12 ราย ไม่มีเตาหลอม 39 ราย • เหล็กลวด มีผู้ประกอบการที่มีเตาหลอม 5 ราย ไม่มีเตาหลอม 5 ราย • เหล็กโครงสร้างรูปพรรณรีดร้อนขนาดเล็ก มีผู้ประกอบการที่มีเตาหลอม 2 ราย ไม่มีเตาหลอม 5 ราย • เหล็กแผ่นเคลือบดีบุกและโครเมียม มีผู้ประกอบการ 2 ราย • เหล็กแผ่นเคลือบสังกะสี มีผู้ประกอบการ 7 ราย • ท่อเหล็ก มีผู้ประกอบการ 7 ราย • เหล็กโครงสร้างรูปพรรณขึ้นรูปเย็น มีผู้ประกอบการ 6 ราย
นโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของรัฐบาลไทยนโยบายอุตสาหกรรมเหล็กของรัฐบาลไทย • การส่งเสริมโดย BOI • การคุ้มครองโดยภาษีนำเข้า • การคุ้มครองโดยมาตรการ Surcharge (ในปี 2545) • การคุ้มครองโดยมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด • นโยบายเอฟทีเอ :JTEPA • ข้อเสนอของสถาบันเหล็ก
นโยบายของรัฐที่ส่งเสริมนโยบายของรัฐที่ส่งเสริม • ส่งเสริมโดย BOI
นโยบายของรัฐ: การคุ้มครอง • ภาษีนำเข้า ที่มา: กรมศุลกากร
นโยบายของรัฐ : การคุ้มครอง • ตัวอย่างมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดที่ไทยใช้กับประเทศคู่ค้า หมายเหตุ : * ยกเว้นการใช้มาตรการกรณีนำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออกภายใต้การนิคมฯ , BOI และ กรมศุลกากร ที่มา: กรมการค้าต่างประเทศ
มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด • นักเศรษฐศาสตร์เห็นว่า การตอบโต้การทุ่มตลาดควรใช้ในกรณีที่เป็นการทุ่มตลาดเพื่อทำลายคู่แข่ง แต่อย่างไรก็ตาม งานวิจัยหลายชิ้นศึกษาพบว่า การใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดไม่ใช่เพื่อป้องกันหรือตอบโต้การทุ่มตลาดแบบทำลายคู่แข่ง หากแต่เป็นการคุ้มครองกลุ่มผู้ผลิตที่ครอบงำตลาดในประเทศ และมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดเป็นเพียงมาตรการกีดกันทางการค้า • นักเศรษฐศาสตร์พบว่า การตอบโต้การทุ่มตลาดมีผลทำให้ (1) สวัสดิการโดยรวมของประเทศลดลง (2) บริษัทที่ยื่นคำร้องขอให้มีการตอบโต้การทุ่มตลาดมีผลตอบแทนต่อหุ้นสูงกว่าปกติ (3) อุตสาหกรรมภายในได้รับความเสียหายจากการทุ่มตลาดค่อนข้างน้อย (4) มีการนำเข้าสินค้าชนิดนั้นลดลงและมีการผลิตในประเทศมากขึ้น ขณะเดียวกัน มีการนำเข้าจากแหล่งที่ไม่ถูกตอบโต้การทุ่มตลาดเพิ่มขึ้น (5)ราคาสินค้าที่ถูกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดสูงขึ้นมากกว่าอัตราอากรตอบโต้การทุ่มตลาด และ (6) ทำให้มีการลงทุนโดยตรงเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาด (เอกสารวิชาการ“มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด : ข้อตกลงและประสบการณ์” ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม)
มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด • อุตสาหกรรมที่ได้รับการปกป้องคุ้มครองด้วยมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด เป็นอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตเพียงรายเดียว (Monopoly) และอุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตน้อยราย (Oligopoly) เนื่องจากเหตุผลดังนี้ • ประการแรก พ.ร.บ.การตอบโต้การทุ่มตลาดและการอุดหนุนซื้อสินค้าของต่างประเทศ พ.ศ. 2542 กำหนดว่า ในการเริ่มดำเนินกระบวนการพิจารณาตอบโต้การทุ่มตลาด การยื่นคำขอให้พิจารณา ต้องได้รับการสนับสนุนจากผู้ผลิตสินค้าชนิดเดียวกันในประเทศที่มีการผลิตรวมเกินกึ่งหนึ่งของปริมาณการผลิตทั้งประเทศ • ประการที่สอง การยื่นคำขอให้พิจารณาการตอบโต้การทุ่มตลาด การเข้าร่วมไต่สวน ตลอดจนการล็อบบี้ผู้มีอำนาจในการพิจารณาและตัดสินคำขอ ล้วนแต่ต้องการข้อมูลด้านต้นทุนและระบบบัญชีที่มีมาตรฐาน มีบุคลากรที่มีความสามารถ และในบางกรณีอาจต้องมีความสัมพันธ์พิเศษกับผู้มีอำนาจ • อุตสาหกรรมที่มีผู้ผลิตน้อยรายและเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ย่อมมีความพร้อมทั้งระบบบัญชี มีข้อมูลด้านต่างๆ มีบุคลากรที่มีความสามารถและกำลังทรัพย์ที่จะดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ตามที่กำหนดไว้
นโยบายเอฟทีเอ :JTEPA • ไทยยอมยกเลิกภาษีการนำเข้าเหล็กรีดร้อนทันทีสำหรับรายการที่ไม่มีการผลิตในประเทศหรือมีภาษีต่ำอยู่แล้ว • ไทยให้โควตาปลอดภาษีแก่ญี่ปุ่นสำหรับ • เหล็กกัดกรดเคลือบน้ำมัน 440,000 ตัน ในปีแรก • เหล็กแผ่นหน้ากว้าง 230,000 ตัน ในปีแรก • เหล็กที่นำเข้าเพื่อผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนรถยนต์ 280,000 ตัน ในปีแรก ไทยจะกำหนดปริมาณโควตาเหล็กสำหรับแต่ละปีตั้งแต่ปีที่ 2 เป็นต้นไป จนกว่าจะยกเลิกในปีที่ 11 สำหรับภาษีนอกโควตา คงภาษีไว้ 10 ปีและยกเลิกภาษีในปีที่ 11
JTEPA • เหล็กรีดร้อนอื่นๆ คงภาษีไว้ 10 ปี และยกเลิกภาษีในปีที่ 11 • เหล็กอื่นๆ และผลิตภัณฑ์เหล็ก • ยกเลิกภาษีทันที • คงภาษีไว้ 6 ปีและยกเลิกภาษีในปีที่ 7 • คงภาษีไว้ 8 ปีเริ่มลดในปีที่ 9 และยกเลิกในปีที่ 10
โครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมเหล็กไทย-ญี่ปุ่นโครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมเหล็กไทย-ญี่ปุ่น • การเสริมสร้างรากฐานเทคโนโลยีให้กับอุตสาหกรรมเหล็กไทย • การเสริมสร้างเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมของอุตสาหกรรมเหล็กไทยให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น • การพัฒนาความเชี่ยวชาญของผู้เชี่ยวชาญภาคสนามที่โรงงานเหล็กไทย • การสนับสนุนการศึกษาสำหรับและการพัฒนาความเชี่ยวชาญของวิศวกรด้านเหล็ก
นโยบายของรัฐ : ข้อเสนอของสถาบันเหล็ก • เมื่อ วันที่ 21 มิถุนายน ที่ประชุมคณะกรรมการสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยมีมติให้ทำหนังสือถึงนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อนำเสนอต่อรัฐบาลให้เปลี่ยนท่าทีต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กต้นน้ำ หรือโรงถลุงเหล็กในประเทศ จากเดิมที่รัฐประกาศจุดยืนชัดเจนว่าจะไม่เข้ามาเกี่ยวข้อง นอกจากการให้สิทธิประโยชน์การลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) สูงสุด เป็นมาช่วยลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งท่าเรือและถนนให้ หรือเข้ามาร่วมลงทุน เพื่อให้มั่นใจว่ารัฐบาลหนุนให้โครงการนี้เกิดโดยเร็ว (มติชน, 23 มิถุนายน 2550)
นโยบายอุตสาหกรรม : เศรษฐศาสตร์การเมือง • นโยบายอุตสาหกรรมเป็นสินค้าสาธารณะ (Public Good) • นโยบายอุตสาหกรรมเป็นสินค้าที่ให้อรรถประโยชน์เชิงบวก (Positive Utility) แก่ประชาชนบางกลุ่มในสังคม แต่ให้อรรถประโยชน์เชิงลบ (Negative Utility) แก่ประชาชนกลุ่มอื่นๆ • นโยบายอุตสาหกรรมมีต้นทุนที่ต้องจ่าย โดยทั่วไป ประชาชนผู้เสียภาษีอากรเป็นผู้แบกภาระรายจ่ายในการดำเนินนโยบาย • (รังสรรค์ ธนะพรพันธุ์ “กระบวนการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจในประเทศไทย” 2546)
นโยบายอุตสาหกรรม : เศรษฐศาสตร์การเมือง ปัจจัยที่มีบทบาทต่อนโยบายอุตสาหกรรมไทย • อุปทานของนโยบาย (ครม. และกระทรวงอุตสาหกรรม รวมทั้งสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย) • อุปสงค์ของนโยบาย (ผู้ผลิตเหล็ก ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์เหล็ก ผู้บริโภค ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อม)
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย (สลท.) เป็นสถาบันอิสระ ที่จัดตั้งขึ้นโดยกระทรวงอุตสาหกรรมในเดือนพฤศจิกายน 2543 อยู่ภายใต้ "อุตสาหกรรมพัฒนามูลนิธิ" ซึ่งเกิดจากความต้องการของรัฐบาลและเอกชนที่ต้องการให้มีหน่วยงานอิสระที่ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้กรอบของความร่วมมือระหว่างกัน เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้าของประเทศให้มีความเข้มแข็ง.
สถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทยสถาบันเหล็กและเหล็กกล้าแห่งประเทศไทย ภารกิจหลัก • เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมเหล็ก • ประสานงานและร่วมมือในการจัดทำแผนแม่บทแนวทางการพัฒนา และการนำแผนงานไปปฏิบัติ • รวบรวมและประมวลข้อมูล เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรม การค้าและการกำหนดนโยบายของรัฐ • สร้างสมดุลให้กับการผลิต และความต้องการ • ส่งเสริมให้เกิดการประสานงานและร่วมมือกันระหว่างผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเหล็ก ภาครัฐและต่างประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการพัฒนา • ให้บริการแก่อุตสาหกรรมเหล็กในด้านต่าง ๆ เช่น การส่งเสริมการตลาด ด้านข้อมูล การฝึกอบรม การบริการด้านเทคนิค และการทดสอบผลิตภัณฑ์ • ส่งเสริมให้สมาชิกประกอบธุรกิจอย่างโปร่งใส และมีจรรยาบรรณ
คำถาม • การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้-เสียในกระบวนการกำหนดนโยบายเป็นอย่างไร? • ไทยควรมีนโยบายอุตสาหกรรมนี้แบบใด? • อุตสาหกรรมเหล็กขั้นต้นในไทยจะมีอนาคตอย่างไร? • บทบาทของบรรษัทข้ามชาติและการลงทุนจากต่างชาติในอุตสาหกรรมนี้เป็นอย่างไร? • หลังจากที่มีข้อตกลง JTEPA อุตสาหกรรมเหล็กจะมีอนาคตอย่างไร? • มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด ?? (ผลกระทบ)