1 / 41

ระบบต่อมไร้ท่อ

ระบบต่อมไร้ท่อ. น.ส ปริญ ดา วงศ์เจริญ ม. 4/15 เลขที่ 21. ระบบต่อมไร้ท่อคืออะไร. ระบบต่อมไร้ท่อ เป็น ระบบที่ สำคัญในการควบคุม การทำงานของร่างกาย  ระบบ ต่อมไร้ท่อประกอบด้วยกลุ่มเซลล์หรือ อวัยวะที่ มีหน้าที่สร้างและหลั่งสารเคมีที่ เรียกว่า ฮอร์โมน. ฮอร์โมนคืออะไร.

Download Presentation

ระบบต่อมไร้ท่อ

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. ระบบต่อมไร้ท่อ น.สปริญดา วงศ์เจริญ ม.4/15 เลขที่ 21

  2. ระบบต่อมไร้ท่อคืออะไรระบบต่อมไร้ท่อคืออะไร • ระบบต่อมไร้ท่อ เป็นระบบที่สำคัญในการควบคุมการทำงานของร่างกาย ระบบต่อมไร้ท่อประกอบด้วยกลุ่มเซลล์หรืออวัยวะที่มีหน้าที่สร้างและหลั่งสารเคมีที่เรียกว่าฮอร์โมน

  3. ฮอร์โมนคืออะไร •  ฮอร์โมน คือ สารเคมีที่หลั่งมาจากต่อมไร้ท่อ แล้วเข้าไปในกระแสเลือด เพื่อไปมีผลต่ออวัยวะหรือเซลล์เป้าหมาย ที่มีตัวรับที่เฉพาะเจาะจงต่อฮอร์โมนนั้น

  4. ต่อมไร้ท่อที่ร่างกายขาดไม่ได้ต่อมไร้ท่อที่ร่างกายขาดไม่ได้ • ต่อมไทรอยด์ (thyroidgland) • ต่อมพาราไทรอยด์ (parathyroid gland) • ต่อมหมวกไตส่วนนอก (adrenal cortex) • ตับอ่อน (pancreas)

  5. ต่อมไร้ท่อที่สำคัญ

  6. ต่อมไพเนียล (Pineal gland) อยู่บริเวณกึ่งกลางระหว่างรอยต่อของสมองส่วนซีรีบรัมซ้ายและขวา ฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมนี้คือ ฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin) โดยเมลา-โทนินจะไปยับยั้งการเจริญของอวัยวะสืบพันธุ์ และไปยับยั้งการหลั่งโกนาโดโทรฟิน ทำให้การเติบโตเป็นหนุ่มสาวช้า ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งนํ้าและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดพบว่าฮอร์โมนเมลาโทนินมีผลทำให้สีผิวของสัตว์มีสีจางลง ในสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิด ต่อมนี้ยังทำหน้าที่เป็นกลุ่มเซลล์รับแสงคล้ายเนื้อเยื่อเรตินาของนัยน์ตาอีกด้วย

  7. ต่อมใต้สมอง (Pituitary gland) มีขนาดประมาณ 1 - 1.5 เซนติเมตร เป็นต่อมที่อยู่ติดกับส่วนล่างของสมองส่วนไฮโปทาลามัส แบ่งได้ 3 ส่วน คือ ต่อมใต้สมองส่วนหน้า ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ต่อมใต้สมองส่วนหลัง

  8. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ควบคุมการหลั่งฮอร์โมนโดยไฮโปทาลามัส และผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ได้แก่ โกรทฮอร์โมน (Growth hormone)  โกนาโดโทรฟิน(Gonadotrophin hormone) โพรแลกทิน (Prolactin) อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิน(Adrenocorticotrophin) ไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน (Thyroid stimulating hormone)  เอนดอร์ฟิน (Endorphin)

  9. โกรทฮอร์โมน (Growth hormone)  เรียกย่อว่า GH หรือ โซมาโตโทรฟริน (Somatotrophin)เรียกย่อว่า STH  • อวัยวะเป้าหมาย : อวัยวะทุกส่วนของร่างกาย ได้แก่ กระดูก กล้ามเนื้อที่เป็นส่วนประกอบของร่างกายทั้งหมดโดยฮอร์โมนจะมีผลทำให้เซลล์เพิ่มการนำกรดอะ-มิโนเข้าสู่เซลล์และเพิ่มการสังเคราะห์โปรตีนของเซลล์ • หน้าที่ : ควบคุมการเจริญเติบโตของร่างกายทั่วๆไป

  10. โกรทฮอร์โมนมากเกินไป ผู้ใหญ่:ร่างกายไม่สูงใหญ่กว่าปกติมากนักแต่ส่วนที่เป็นกระดูกตามแขน ขา คาง กระดูกขากรรไกรและกระดูกแก้ม ยังตอบสนองต่อฮอร์โมนนี้อยู่ทำให้เกิดความผิดปกติของกระดูกตามบริเวณใบหน้า นิ้วมือ นิ้วเท้า เรียกอาการดังกล่าวนี้ว่า อะโครเมกาลี (Acromegaly) วัยเด็ก:ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายสูงผิดปกติเรียกว่า ไจแกนทิซึม (Gigantism) พบในวัยรุ่นไม่ค่อยพบในวัยเด็ก 

  11. โกรทฮอร์โมนน้อยเกินไปโกรทฮอร์โมนน้อยเกินไป วัยเด็ก:ทำให้การเจริญเติบโตของร่างกายน้อยผิดปกติเกิดลักษณะเตี้ยแคระเรียกว่า Dwarfism ผู้ใหญ่:ไม่มีอาการปรากฏเด่นชัดแต่พบว่าระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดจะต่ำกว่าคนปกติทำให้ร่างกายไม่สามารถทนต่อความเครียดต่างๆทางอารมณ์ได้

  12. โกนาโดโทรฟิน(Gonadotropin) เป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการสืบพันธุ์ และควบคุมลักษณะทางเพศ ต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะเริ่มต้นหลั่งโกนาโดโทรฟินเมื่อเริ่มเข้าวัยหนุ่มสาว โดยไฮโปรทาลามัสจะเริ่มต้นหลั่งโกนาโดโทรฟินรีลิสซิงฮอร์โมน ซึ่งจะกระตุ้นต่อมใต้สมองให้หลั่งโกนาโดโทรฟิน โกนาโดโทรฟินประกอบด้วยฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน ลูทิไนซิงฮอร์โมน

  13. ฟอลลิเคิลสติมิวเลติงฮอร์โมน (Follicle stimulating hormone) เรียกย่อว่า FSH เป็นฮอร์โมนที่ไปมีผลต่ออวัยวะเป้าหมายโดยตรงไม่ได้กระตุ้นให้อวัยวะเป้าหมายสร้างฮอร์โมน ในผู้ชาย อวัยวะเป้าหมาย : อัณฑะ และ หลอดสร้างอสุจิหน้าที่ : กระตุ้นการเจริญของอัณฑะ และ หลอกสร้างอสุจิให้สร้างอสุจิ ในผู้หญิง อวัยวะเป้าหมาย : ฟอลลิเคิล ( follicle ) ที่อยู่ในรังไข่หน้าที่ : กระตุ้นให้ฟอลลิเคิลแบ่งเซลล์และสร้าง ฮอร์โมนอีสโทรเจน (estrogen)

  14. ลูทิไนซิงฮอร์โมน(Luteinizing hormone) • เรียกย่อว่า LH     • ในผู้ชาย อวัยวะเป้าหมาย : กลุ่มเซลล์อินเตอร์สติเชียล (Interstitial cell) หรือ เซลล์เลย์ดิก (Leydig cell) ที่แทรกอยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจิให้หลั่งฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน (testosterone) • ในผู้หญิง อวัยวะเป้าหมาย : ฟอลลิเคิล ( follicle ) ในรังไข่หน้าที่ : กระตุ้นการตกไข่จากฟอลลิเคิลและกระตุ้นให้เกิดคอปัสลูเทียมและสร้างฮอร์โมนโพรเจสเทอโรนทำหน้าที่ร่วมกับฮอร์โมนเอสโทรเจน ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงที่รังไข่และมดลูกเพื่อรอรับการฝังตัวของเอ็มบริโอ

  15. โพรแลกทิน(Prolactin) เรียกย่อว่า PRL • อวัยวะเป้าหมาย: เซลล์ต่อมน้ำนม • หน้าที่ : กระตุ้นต่อมน้ำนมให้สร้างน้ำนมในผู้หญิงที่ตั้งครรภ์และขณะเลี้ยงทารกและพบว่าขณะที่ทารกดูดนมแม่จะมีการกระตุ้นให้หลั่ง ฮอร์โมนนี้เพิ่มมากขึ้นทำให้มีน้ำนมเลี้ยงทารกตลอดเวลาแต่ถ้ามารดาที่ไม่ให้นมทารกการหลั่งฮอร์โมนนี้จะน้อยลงมีผลทำให้ต่อมน้ำนมหยุดสร้างน้ำนม

  16. อะดรีโนคอร์ติโคโทรฟิกฮอร์โมน(Adrenocorticotrophic hormone) เรียกย่อว่า ACTH • อวัยวะเป้าหมาย : ต่อมหมวกไตส่วนนอก • หน้าที่ : กระตุ้นต่อมหมวกไตส่วนนอกให้สร้างและหลั่งฮอร์โมนตามปกติ

  17. ไทรอยด์สติมิวเลติงฮอร์โมน (Thyroid stimulating hormone)  เรียกย่อว่า TSH • อวัยวะเป้าหมาย : ต่อมไทรอยด์ • หน้าที่ : กระตุ้นต่อมไทรอยด์ให้สร้างและหลั่งฮอร์โมนตามปกติ

  18. เอนดอร์ฟิน (Endorphin) เป็นสารที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีนพบว่ามีแหล่งสร้างจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า และอาจสร้างจากเนื้อเยื่อส่วนอื่นๆอีกด้วย เป็นสารที่ทำหน้าที่ระงับความเจ็บปวดและเชื่อกันว่าเอนดอร์ฟีนยังเป็นสารที่ทำให้เรามีความคิดในทางสร้างสรรค์ ช่วยเพิ่มความตื่นตัวมีชีวิตชีวาและความสุข ซึ่งสารนี้จะหลั่งเมื่อเราออกกำลังกายหรือเมื่อเรามีอารมณ์แจ่มใส จึงเรียกสารที่หลั่งมานี้ว่า สารแห่งความสุข

  19. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลางฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนกลาง จะมีความสำคัญและหน้าที่เด่นชัดเฉพาะในสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังบางชนิดเท่านั้น โดยทำหน้าที่ผลิตและหลั่งเมลาโนไซต์สติมิวเล-ติงฮอร์โมน (Melanocyte-stimulating hormone) ในสัตว์จำพวกปลา สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำและสัตว์เลื้อยคลานบางชนิดสามารถเปลี่ยนสีผิวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมเพื่อการพรางตัวได้อย่างรวดเร็ว ในคนต่อมใต้สมองส่วนกลางจะมีขนาดเล็กมาก และจัดเป็นส่วนหนึ่งของต่อมใต้สมองส่วนหน้า ทำหน้าที่ผลิตและหลั่ง MSH ซึ่งมีสูตรโครงสร้างคล้ายกับ ACTH มาก แต่ไม่มีบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจน

  20. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลังฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง เจริญมาจากเนื้อเยื่อประสาท ต่อมใต้สมองส่วนหลังเป็นที่เก็บฮอร์โมนสองชนิดที่หลั่งจากของใยประสาทแอกซอน (Axon) ของนิวโรซีครีทอรีเซลล์ที่ตัวเซลล์อยู่ที่สมองส่วนไฮโพทาลามัสฮอร์โมนจะเคลื่อนที่ตามเส้นประสาทแอกซอนและมาเก็บไว้ที่ต่อมใต้สมองส่วนหลัง และผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ได้แก่ • แอนตี้ไดยูเรติกฮอร์โมน (Antidiuretic hormone)  • ออกซิโทซิน (Oxytocin)

  21. วาโซเพรสซินหรือแอนตี้ไดยูเรติกฮอร์โมน (Antidiuretic hormone) เรียกย่อว่า  ADH • อวัยวะเป้าหมาย: ท่อหน่วยไตและหลอดเลือดแดง • หน้าที่: กระตุ้นการดูดน้ำกลับเข้าสู่ท่อหน่วยไตเมื่อปริมาณน้ำในเลือดลดลงจึงควบคุมการเกิดน้ำปัสสาวะ  • ความผิดปกติ : ถ้าขาดจะเป็นโรคเบาจืด จะปัสสาวะบ่อยเนื่องจาก ท่อหน่วยไตดูดน้ำกลับเข้าสู่ท่อได้น้อย

  22. ออกซิโทซิน(Oxytocin) • อวัยวะเป้าหมาย : กล้ามเนื้อมดลูกและกล้ามเนื้อรอบๆต่อมน้ำนม • หน้าที่ : กระตุ้นกล้ามเนื้อมดลูกให้บีบหรือหดตัวเป็นระยะๆเพื่อให้ทารกคลอด กระตุ้นการหดตัวของกล้ามเนื้อรอบๆต่อมน้ำนมทำให้มีการหลั่งน้ำนมเพื่อเลี้ยงทารก

  23. ต่อมไทรอยด์ (Thyroid gland) ทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนธัยรอยด์ ช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก สมองและระบบประสาท ในเด็กที่กำลังเจริญเติบโต และยังควบคุมอัตราการเผาผลาญพลังงานในร่างกายและผลิตฮอร์โมนที่สำคัญ ได้แก่ • ฮอร์โมนไทรอกซิน (thyroxin) • ฮอร์โมนคัลซิโตนิน (calcitonin)

  24. ไทรอกซิน(thyroxin) แหล่งที่สร้าง : ไทรอยด์ฟอลลิเคิลอวัยวะเป้าหมาย : อวัยวะในร่างกายทั่วไป • ฮอร์โมนไทรอกซินมากเกินไปในผู้ใหญ่ : เกิดอาการที่เรียกว่าไทรอยด์เป็นพิษหรือโรคคอพอกเป็นพิษ (Toxic goiter) จะทำให้ร่างกายมีอัตราการเกิดเมแทบอลิซึมสูงกว่าปกติ ทำให้มีเส้นเลือดไปเลี้ยงที่ผิวหนังมากเพื่อลดอุณหภูมิของร่างกาย  ทำให้กินจุ น้ำหนักลด มีการเคลื่อนไหวของลำไส้มาก ตัวอุ่นชื้นเนื่องจากเส้นเลือดแดงคลายตัว ตาโปน เนื่องจากเนื้อเยื่อเกี่ยวพันหลังลูกตาอ่อนกำลังลง • วิธีรักษา : ทำได้โดย กินยายับยั้งการสร้างฮอร์โมน ผ่าตัดเอาบางส่วนของต่อมออก กินไอโอดีนที่เป็นสารกัมมันตรังสีเพื่อทำลายเซลล์ที่สร้างฮอร์โมน อาการตาโปน

  25. อาการขาดฮอร์โมนไทรอกซินอาการขาดฮอร์โมนไทรอกซิน วัยเด็ก:การเจริญเติบโตของสมองพัฒนาการทาง ด้านสติปัญญาด้อยมาก ปัญญาอ่อน แขน ขาสั้น หน้าและมือบวม ผิวหยาบแห้ง ผมบาง ไม่เจริญเติบโต รูปร่างเตี้ยแคระซึ่งแตกต่างจากเด็กที่ขาดโกรทฮอร์โมน เรียกกลุ่มอาการนี้ว่า โรคเอ๋อหรือเครทินิซึม (Cretinism) ผู้ใหญ่:อ่อนเพลียเหนื่อยง่าย เคลื่อนไหวช้า กล้ามเนื้ออ่อนแรงติดเชื้อได้ง่าย หัวใจเต้นช้า ทนหนาวไม่ได้ มีคอเลสเทอรอลสูง อ้วน ทำให้น้ำหนักเพิ่ม ผมและผิวแห้ง สมองจะทำงานช้าลง ประจำเดือนผิดปกติ เรียกกลุ่มอาการดังกล่าวนี้ว่า มิกซีดีมา(Myxedema)

  26. แคลซิโทนิน(calcitonin) • แหล่งที่สร้าง : สร้างจากเซลล์พาราฟอลลิคิวลาร์หรือเซลล์ซี • อวัยวะเป้าหมาย : กระดูก, ท่อหน่วยไต และ ลำไส้เล็ก • หน้าที่ : ลดระดับแคลเซียมในเลือดให้ต่ำลงถ้าในเลือดมีระดับแคลเซียมสูงกว่าปกติ ทำได้โดย การเพิ่มการสะสมแคลเซียมที่กระดูกและการลดการดูดแคลเซียมกลับจากท่อหน่วยไต (ขับแคลเซียมทิ้งทางน้ำปัสสาวะ) • แคลซิโทนิน จะทำหน้าที่ร่วมกับฮอร์โมน จากต่อม พาราไทรอยด์ และวิตตามิน D ในการรักษาสมดุล ของแคลเซียมและฟอสเฟสในร่างกาย

  27. ต่อมพาราไทรอยด์ (Parathyroid gland) ผลิตฮอร์โมนที่สำคัญชื่อพาราธอร์โมน ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวกับการ ควบคุมเมตาบอลิซึมของแคลเซียมและฟอสฟอรัสในร่างกาย การสร้างกระดูกและควบคุมบทบาท ของวิตามินดีในร่างกาย 

  28. ความผิดปกติของฮอร์โมนพาราทอร์โมนความผิดปกติของฮอร์โมนพาราทอร์โมน • ระดับฮอร์โมนต่ำเกินไป : จะเกิดสภาวะเรียกว่าไฮโปพาราไทรอยดิสซึม (Hypoparathyroidism) ทำให้การดูดแคลเซียมกลับที่ท่อของหน่วยไตลดน้อยลง มีฟอสฟอรัสมากขึ้น ทำให้เกิดตะคริวชักกระตุก กล้ามเนื้อเกร็ง • ระดับฮอร์โมนสูงเกินไป : จะเกิดสภาวะที่เรียกว่าไฮเปอร์พาราไทรอยด์ดิสซึม (Hyperparathyroidism) มีผลให้มีการดึงฟอสฟอรัสออกจากเลือดแคลเซียมถูกดึงออกจากกระดูกและฟันเข้าสู่กระแสเลือด แคลเซียมในเลือดสูงกว่าปกติ กระดูกผิดปกติ กระดูกบาง ฟันหักและผุง่าย

  29. ตับอ่อน(pancreas) เป็นต่อมที่มีท่อและไร้ท่อ ส่วนที่เป็นต่อมไร้ท่อทำหน้าที่ผลิตฮอร์โมนที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเส้นเลือดนั่นคือ • อินซูลิน (Insulin) • กลูคากอน (Glucagon)

  30. ฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อนฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน ฮอร์โมนอินซูลิน(lnsulin)  แหล่งสร้าง : จากเบต้าเซลล์ อวัยวะเป้าหมาย : ตับ , กล้ามเนื้อ หน้าที่ : ลดระดับน้ำตาลในเลือด ความผิดปกติ : ทำให้เกิดโรคเบาหวาน( diabetes mellitus)โรคนี้เกิดจากตับอ่อนสร้าง ฮอร์โมนอินซูลิน(lnsulin) ได้น้อยหรือไม่ได้เลย ฮอร์โมนกลูคากอน(Glucagon) แหล่งที่สร้าง : จากแอลฟาเซลล์  อวัยวะเป้าหมาย : ตับ , กล้ามเนื้อ หน้าที่ : กระตุ้นให้เซลล์ตับและเซลล์กล้ามเนื้อเปลี่ยนไกลโคเจนให้เป็นกลูโคสปล่อยเข้าสู่กระแสเลือดและเพิ่มการสังเคราะห์กลูโคสจากกรดอะมิโนและกรดไขมัน

  31. ต่อมหมวกไต(ADRENAL GLAND) ต่อมหมวกไตอยู่ด้านบนของไตทั้งสองข้าง แต่ละต่อมประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชั้น ซึ่งทั้งสองส่วนจะผลิตฮอร์โมนพวกสารสเตอรอยด์ที่ทำหน้าที่ต่างกันคือ • ต่อมหมวกไตด้านนอก (Adrenal cortex) • ต่อมหมวกไตด้านใน (Adrenal medulla)

  32. ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอกฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนนอก 1.ฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ (Glucocorticoids)  ฮอร์โมนที่สำคัญในกลุ่มนี้ได้แก่คอร์ติซอล (Cortisol) • อวัยวะเป้าหมาย : เซลล์ตับ • หน้าที่ : เพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด • ความผิดปกติ : ถ้ามีฮอร์โมนกลุ่มนี้มากเกินไปจะทำให้เกิด โรคคูชชิง ( Cushing’s syndrome) เกิดขึ้นได้ทั้งชายและหญิงโดยมีความผิดปกติเกี่ยวกับเมทาบอลิซึมของคาร์โบไฮเดรต ไขมันและโปรตีนทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น กล้ามเนื้อ อ่อนแรงเนื่องจากมีการสลายโปรตีนและไขมันตามบริเวณแขนขา โรคคูชชิง

  33. 2.ฮอร์โมนมินเนอราโลคอร์ติคอยด์ (Mineralocorticoid) ฮอร์โมนที่สำคัญในกลุ่มนี้ ได้แก่ แอลโดสเตอโรน (Aldosterone) ทำหน้าที่ในการควบคุมความสมดุลของน้ำและแร่ธาตุในร่างกาย • อวัยวะเป้าหมาย : ไต (ท่อหน่วยไต) • หน้าที่ : ช่วยในการทำงานของไตในการดูดน้ำและNa+ กลับเข้าสู่ท่อหน่วยไต ขับ K+ ออกจากท่อหน่วยไต และควบคุมความสมดุลของฟอสเฟต • ความผิดปกติ : ถ้าขาด แอลโดสเตอโรน จะทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและโซเดียมไปพร้อมกับปัสสาวะส่งผลให้เลือดในร่างกายลดลงจนอาจทำให้ผู้ป่วยตายเพราะความดันเลือดต่ำ

  34. 3.ฮอร์โมนเพศ (Sex hormone) ซึ่งสร้างปริมาณเพียงเล็กน้อย เท่านั้นเมื่อเปรียบเทียบกับที่สร้างจาก อวัยวะเพศดังนั้น ในวัยผู้ใหญ่ เมื่อหลั่งฮอร์โมนนี้ออกมามากจะไม่พบความผิดปกติแต่ในวัยเด็กถ้าเป็นผู้ชาย จะทำให้เป็นหนุ่มเร็วกว่ากำหนดส่วนในเพศหญิงเนื่องจากต่อมหมวกไตส่วนนอกนี้ผลิตแอนโดรเจน (androgen) ถ้ามีการผลิตฮอร์โมนนี้มากซึ่งอาจเกิดจากมีเนื้องอกที่ต่อมหมวกไต จะทำให้เกิดลักษณะของเพศชายได้ ถ้าต่อมหมวกไตด้านนอก ถูกทำลายจะไม่สามารถสร้างฮอร์โมนทำให้เป็น โรคแอดดิสัน (Addison’s disease) ผู้ที่เป็นโรคนี้ร่างกายจะซูบผอม ผิวหนังตกกระ ร่างกายไม่สามารถรักษาสมดุลของแร่ธาตุได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคแอดดิสัน

  35. ฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนในฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตส่วนใน ฮอร์โมนเอพิเนฟริน (Epinephrine hormone) หรือ อะดรีนาลิน (Adrenalin hormone) • แหล่งที่สร้าง : ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal medulla) • อวัยวะเป้าหมาย : ตับ, หลอดเลือดแดงขนาดเล็ก, หัวใจ • หน้าที่ : เปลี่ยนไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดทำมีระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นในกระแสเลือด ฮอร์โมนนอร์เอพิเนฟริน (Norepinephrine hormone) หรือ นอร์อะดรีนาลิน (Noradrenalin hormone) • แหล่งที่สร้าง : ต่อมหมวกไตด้านในหรืออะดรีนัลเมดัลลา (Adrenal medulla) • อวัยวะเป้าหมาย : ตับ, หลอดเลือดแดงขนาดเล็ก, หัวใจ • หน้าที่ : ฮอร์โมนนี้จะหลั่งออกมาจากปลายประสาทซิมพาเทติกได้ด้วย ฮอร์โมนชนิดนี้คล้ายกับอะดรีนาลินมากคือเปลี่ยน ไกลโคเจนในตับให้เป็นกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดทำมีระดับกลูโคสเพิ่มขึ้นในกระแส

  36. ต่อมเพศ (GONAD)  แหล่งสร้างฮอร์โมนจากอวัยวะเพศ ได้แก่ • รังไข่ • อัณฑะ

  37. รังไข่ รังไข่ เป็นต่อมไร้ท่อที่เปลี่ยนแปลงโครงสร้างและหน้าที่ไปมากที่สุด มีรูปร่างคล้ายเมล็ดถั่วอยู่ 2 ข้างของมดลูก ฮอร์โมนที่สำคัญมี 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ • เอสโตรเจน (estrogen) • โปรเจสเตอโรน (progesterone)

  38. ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิงฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศหญิง อิสโทรเจน (Estrogen) : ฮอร์โมนนี้มีหน้าที่กระตุ้นและควบคุมลักษณะขั้นที่สองของเพศหญิง โดยกระตุ้นให้ต่อมน้ำนมเจริญเติบโตขึ้น กระตุ้นการเจริญของอวัยวะเพศ กระตุ้นมดลูก ท่อนำไข่ เมื่อปริมาณอิสโทรเจนสูงขึ้น จะมีผลให้ LH สูงขึ้น และกระตุ้นให้เกิดการตกไข่ โพรเจสเทอโรน (Progesterone) : สร้างมาจากคอร์พัสลูเทียม (Corpus luteum) ของรังไข่ เมื่อไข่ตกแล้ว ผนังของฟอลิเคิลที่ไข่ตกจะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเนื้อเยื่อสีเหลือง โดยการกระตุ้นของ LH จากต่อมใต้สมองส่วนหน้าเนื้อเยื่อสีเหลืองคือ คอร์พัสลูเทียม ฮอร์โมนนี้มีผลในการกระตุ้น ผนังในมดลูกให้หนาขึ้น (ร่วมกับอิสโทรเจน)

  39. ฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศชายฮอร์โมนจากอวัยวะสืบพันธุ์เพศชาย ฮอร์โมนเพศชายสร้างมาจากอัณฑะ (Testis) ภายในอัณฑะมีกลุ่มเซลล์ซึ่งทำหน้าที่ในการสร้างฮอร์โมนคือ อินเตอร์สติเชียลเซลล์ออฟเลย์ติก อยู่ระหว่างหลอดสร้างอสุจิจะสร้างฮอร์โมนเพศชายที่เรียกว่า แอนโดรเจน (Androgen) ตัวที่สำคัญที่สุด คือ เทสโทสเตอโรน (Testosterone) มีหน้าที่ควบคุมการเจริญเติบโตของอวัยวะสืบพันธุ์ และควบคุมลักษณะชั้นที่สองของเพศชาย ซึ่งได้แก่ การมีเสียงแตก นมขึ้นพาน มีหนวดเครา มีขนที่อวัยวะเพศ มีความต้องการทางเพศ มีผลในการกระตุ้นให้มีการสร้างโปรตีนมากขึ้น และเกิดการสะสมของโปรตีนในเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ

  40. ต่อมไทมัส(Thymus gland) ต่อมไทมัสเป็นต่อมขนาดเล็ก เป็นพูของเนื้อเยื่อที่คล้ายกับต่อมน้ำเหลือง มี 2 พู อยู่ที่ขั้วหัวใจ มีความสำคัญในช่วงอายุน้อย ในผู้ใหญ่ต่อมาจะฝ่อสลายไป จึงเป็นต่อมไร้ท่อที่มีเฉพาะในเด็กเท่านั้น สร้างฮอร์โมนไทโมซิน ( thymosin ) เพื่อกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีจากพลาสมาเซลล์ในม้าม และต่อมน้ำเหลือง • อวัยวะเป้าหมาย : เนื้อเยื่อต่อมไทมัส • หน้าที่ : กระตุ้นให้เนื้อเยื่อต่อมไทมัสเอง ซึ่งเป็นอวัยวะน้ำเหลืองสร้าง T-lymphocyte หรือ T-cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย และพัฒนา T-lymphocyte หรือ T-cell ซึ่งเป็นเซลล์ที่สำคัญในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย 

  41. ไทโมซิน(Thymosin) เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากต่อมไทมัส ซึ่งมีโครงสร้างเป็นสาย พอลิเปปไทด์ ที่มีกรดอะมิโนต่อกัน    เป็นสาย มีโครงสร้างหลายแบบ เช่น ไทโมซินแอลฟาหนึ่ง และไทโมซินเบตาสี่ เป็นต้น • หน้าที่ : กระตุ้นการแบ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวประเภทลิมโฟไซท์ (Lymphocyte หรือ T-cell) ที่ยังอ่อนอยู่ (Immature lymphocyte) แล้วปรับสภาพไปเป็นลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่ (Mature lymphocyte)ลิมโฟไซท์ที่เจริญเต็มที่แล้วจะออกจากต่อมไทมัสไปอยู่บริเวณม้ามและ ต่อมน้ำเหลืองทั่วร่างกาย ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโรคเนื่องจากการกระทำของเซลล์ (Cellular immunity)

More Related