2.31k likes | 2.96k Views
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ เกณฑ์การประเมินอาคารเขียวภาครัฐ . โครงการจัดทำระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อมของ ภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ. ความเป็นมาโครงการ.
E N D
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ เกณฑ์การประเมินอาคารเขียวภาครัฐ
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ ความเป็นมาโครงการ เนื่องด้วยสังคมปัจจุบันให้ความสำคัญกับภาวะโลกร้อนมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศ หน่วยงานภาครัฐ เป็นองค์กรสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้เกิดการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้ลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ และพลังงาน เพื่อลดการปล่อยคาร์บอน (Carbon Emission) ออกสู่บรรยากาศ นอกจากนี้ เพื่อให้การดำเนินโครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสามารถขยายผลไปในวงกว้าง เน้นการประชาสัมพันธ์เพื่อลดการใช้พลังงานและมลภาวะของอาคาร มุ่งเน้นให้หน่วยงานภาครัฐมีแนวทางปฏิบัติเพื่อนำไปสู่การเป็นอาคารเขียว และให้อาคารราชการ หน่วยงานภาครัฐ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมต่อไป
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ ความเป็นมาโครงการ การดำเนินโครงการอาคารเขียว (Green Building) สามารถช่วยลดผลกระทบของอาคารที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของผู้ใช้อาคาร สำหรับการดำเนินงานที่ผ่านมา ในปี 2551 ได้มีการกำหนดเกณฑ์อาคารสำนักงานราชการเขียว เกณฑ์สำหรับอาคารเดิมและเกณฑ์สำหรับอาคารที่จะมีการก่อสร้างใหม่ โดยจัดให้มีการให้คำปรึกษากับอาคารเขียว(นำร่อง)จำนวน 10 อาคาร การส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐนำเกณฑ์อาคารเขียวไปปฏิบัติให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม จะเป็นตัวอย่างที่ดีกับภาคเอกชนเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการต่อไป
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. สร้างกลไกผลักดันให้ภาครัฐตระหนักและเข้าร่วมการประเมินอาคาร ตามเกณฑ์อาคารเขียว 2. กำหนดแนวทางในการลดผลกระทบของการใช้อาคารที่มีต่อ สิ่งแวดล้อม และสุขภาพของมนุษย์ 3. เสริมสร้างศักยภาพบุคลากรด้านอาคารเขียวเพื่อให้เข้าใจและ มีความสามารถในการประเมินอาคารตามเกณฑ์อาคารเขียว 4. เผยแพร่ประชาสัมพันธ์เกณฑ์และแนวทางในการจัดการสิ่งแวดล้อม ของอาคารเขียวของหน่วยงานภาครัฐที่ได้จัดทำขึ้นไปสู่หน่วยงาน ราชการต่างๆ
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ 1. ทุกส่วนราชการมีความเข้าใจเกณฑ์การประเมินตนเองเพื่อมุ่งสู่การเป็น อาคารเขียวและสามารถประเมินตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ส่วนราชการไม่น้อยกว่า 10 แห่ง เข้าร่วมโครงการประเมินตนเองและมี แนวทางการพัฒนาความเป็นอาคารเขียว 3. อาคารที่เข้าร่วมโครงการฯ ตั้งแต่ปี 2551-2553 มีแนวทางการพัฒนา และวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และแนวทางการแก้ไข เพื่อเป็นต้นแบบ การมุ่งสู่ความเป็นอาคารเขียวภาครัฐ เป้าหมายและตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เสนอกลไกผลักดันเพื่อให้อาคารส่วนราชการสามารถประเมินตนเอง 2. จัดให้มีทีมงานเพื่อให้คำปรึกษา แนะนำ และทดลองนำร่อง 3. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้บุคลากรซึ่งเป็นผู้แทนจากทุกส่วนราชการ โดยมีผู้เข้าอบรมไม่น้อยกว่า 350 คน 4. จัดทำเอกสารเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และคู่มือต้นแบบผลการ ดำเนินงานของหน่วยงานนำร่องทั้ง 10 หน่วยงาน
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ เกณฑ์การประเมินอาคารในปัจจุบัน • เกณฑ์กรมควบคุมมลพิษ • เกณฑ์ Leadership in Energy and Environmental Design(LEED) • เกณฑ์กระทรวงพลังงาน • เกณฑ์การประเมินความยั่งยืนทางพลังงานและสิ่งแวดล้อมไทย (TREES) • ของสถาบันอาคารเขียวไทย
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ เกณฑ์ของกรมควบคุมมลพิษ แบ่งระดับการให้การรับรองอาคารสำนักงานเขียวไว้ 4 ระดับ - ผ่าน ร้อยละ 60 - 69 - เหรียญทองแดง (ดี) ร้อยละ 70 - 79 - เหรียญเงิน (ดีมาก) ร้อยละ 80 - 89 - เหรียญทอง (ดีเด่น) ตั้งแต่ร้อยละ 90 ขึ้นไป
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ 2 สำหรับเกณฑ์ที่ใช้ประเมิน แบ่งเป็น ประเภท คือ เกณฑ์ที่ต้องผ่าน (Prerequisite) หมายถึง เกณฑ์ที่อาคารต้องดำเนินการให้ได้ตามที่ระบุไว้ทุกเกณฑ์ จึงจะได้รับการประเมินตามเกณฑ์ที่ให้คะแนนต่อไป โดยค่าที่ใช้อ้างอิงในเกณฑ์ส่วนนี้ ได้จากค่ามาตรฐานหรือที่ระบุไว้ในกฎหมาย หรือข้อบังคับต่างๆ เกณฑ์ที่ให้คะแนน (Credit) หมายถึง เกณฑ์ใช้พิจารณาให้คะแนน เพื่อประเมินว่าอาคารดังกล่าว เป็นอาคารสำนักงานเขียวหรือไม่
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ (กรณีอาคารเดิม) การประเมินอาคารสำนักงานเขียว กรณีอาคารเดิม มีแนวคิดในการประเมินมุ่งเน้นด้านการใช้งานและบำรุงรักษาอาคาร (Operation & Maintenance) และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ โดยอาศัยเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมา ซึ่งแบ่งออกเป็น หมวด ได้แก่ 7 หมวดที่1การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว หมวดที่2ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม หมวดที่3การใช้น้ำ หมวดที่4พลังงาน หมวดที่5สภาวะแวดล้อมภายในอาคาร หมวดที่6การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร หมวดที่7นวัตกรรม
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) เกณฑ์การประเมินอาคารเขียวภาครัฐ กรณีอาคารเดิม สำหรับรายละเอียดเกณฑ์การประเมินใหม่ที่ผ่านการพิจารณาปรับปรุง และเห็นชอบจากคณะกรรมการโครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) เกณฑ์แต่ละข้อ จะมีการแบ่งตามระยะเวลาการประเมินออกเป็น 2ประเภท PC – Pre-Certification เป็นการประเมินที่สามารถประเมินได้ทันที C – Certification เป็นการประเมินที่ต้องใช้ระยะเวลาในการติดตามข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมิน
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) การประเมินผลการเป็นอาคารสำนักงานเขียว
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) การประเมินอาคารสำนักงานเขียว กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่ การประเมินอาคารสำนักงานเขียว กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่ ครอบคลุมตั้งแต่ช่วงการออกแบบ การก่อสร้างอาคาร และการใช้งานอาคารเพื่อบรรลุการเป็นอาคารสำนักงานเขียว โดยอาศัยเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นมาซึ่งแบ่งออกเป็น หมวด ได้แก่ 8 หมวดที่ 1 การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว หมวดที่ 2 สถานที่ตั้ง ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม หมวดที่ 3 การใช้น้ำ หมวดที่ 4 พลังงาน หมวดที่ 5 สภาวะแวดล้อมภายในอาคาร หมวดที่ 6 การป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมภายนอกอาคาร หมวดที่ 7 วัสดุและการก่อสร้าง หมวดที่ 8นวัตกรรม 13
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) สำหรับกรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่มีการประเมินแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ประเมินการออกแบบ การประเมินแบบแปลนและเอกสารประกอบของโครงการ เพื่อให้การรับรองว่าหากก่อสร้างตามแบบนี้แล้ว จะบรรลุการเป็นอาคารสำนักงานเขียวในระดับที่ต้องการ หากพิจารณาแล้วเห็นว่ายังไม่บรรลุเป้าหมายตามต้องการ ผู้ประเมินจะให้คำแนะนำต่อไป ระยะที่ 2 ประเมินการก่อสร้างโครงการ การตรวจสอบภาคสนามเพื่อเก็บข้อมูลผลการดำเนินการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตามมาตรการที่กำหนดไว้ ก่อนนำมาประมวลกับรายงานผลการป้องกันแก้ไขผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากหน่วยงานเจ้าของโครงการ แล้วพิจารณาให้การรับรอง “การก่อสร้างอาคารมุ่งสู่อาคารสำนักงานเขียว” ระยะที่ 3 ประเมินอาคาร การประเมินจะกระทำต่อเมื่อได้รับการประเมินให้ผ่านทั้งการออกแบบและการก่อสร้างโครงการ โดยประเมินให้คะแนนตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้เมื่อใช้อาคารได้ครบ 1 ปี นับจากวันที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ 14
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) การประเมินผลการเป็นอาคารสำนักงานเขียว 15
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 1 (กรณีอาคารเดิม) การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 1 การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 1 การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1 ความมุ่งมั่นในการเป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1.1มีการประกาศนโยบายและได้ทำกิจกรรมต่างๆ เพื่อผลักดันให้เป็นอาคารสำนักงานเขียวมาอย่างต่อเนื่อง แนวทางในการตรวจประเมิน ตรวจสอบสื่อที่ใช้ประกาศนโยบายและวิสัยทัศน์ของผู้บริหาร และตรวจสอบแผนปฏิบัติการและผลการดำเนินการตามแผน การประเมินราคา ไม่มีราคาต่อหน่วยและค่าใช้จ่ายสำหรับเกณฑ์ในข้อนี้ เนื่องจากเป็นการประกาศแผนนโยบายและประชาสัมพันธ์เบื้องต้นของอาคาร
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 1 การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1 ความมุ่งมั่นในการเป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1.2ให้การอบรมตามคู่มือแนะนำการใช้งานและบำรุงรักษาระบบต่างๆ ที่เหมาะสม กับการเป็นอาคารสำนักงานเขียว สำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของอาคาร แนวทางในการตรวจประเมิน ตรวจสอบว่ามีคู่มือใช้งานและรักษาระบบต่อไปนี้ (1) ระบบปรับอากาศ (2) ระบบไฟฟ้า (3) ระบบสุขาภิบาล (4) ระบบบำบัดน้ำเสีย การประเมินราคา ราคาต่อหน่วยคิดจากราคาการจัดทำคู่มือการใช้งานประมาณ 2,000บาท และการจัดการอบรมภายในหน่วยงานสำหรับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ราคา 8,000บาท รวมเป็นราคาต่อหน่วย 10,000 บาทต่อครั้ง
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 1 การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1 ความมุ่งมั่นในการเป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1.3มีการสื่อสาร เช่น กระจายเสียง ติดโปสเตอร์ เป็นต้น เพื่อสร้างความตระหนัก และความร่วมมือในการประกอบกิจกรรมของเจ้าหน้าที่ของอาคาร แนวทางในการตรวจประเมิน สังเกตจากโปสเตอร์หรือสิ่งอื่นๆที่ใช้สื่อสารประชาสัมพันธ์ภายในอาคารและสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานในอาคารเพื่อตรวจสอบการรับทราบข้อมูลข่าวสารและการเข้าร่วมกิจกรรม การประเมินราคา ราคาต่อหน่วยคิดจากราคาการจัดทำโปสเตอร์ 1,200บาท การจัดทำแผ่นพับโบรชัวร์ 600บาทการจัดทำแบบสอบถาม 2,000บาท และค่าใช้จ่ายอื่นๆ 4,000 บาท รวมเป็นราคาต่อหน่วย 7,800 บาทต่อครั้ง
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 1 การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1 ความมุ่งมั่นในการเป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1.4 มีผลการดำเนินงานและติดตามประเมินผลการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อเป็นอาคาร สำนักงานเขียว แนวทางในการตรวจประเมิน ตรวจสอบคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานและติดตาม ประเมินผลการจัดการสิ่งแวดล้อมหรืออยู่ในคณะกรรมการอื่นๆที่มีบทบาททางด้านสิ่งแวดล้อม การประเมินราคา ไม่มีราคาต่อหน่วยและค่าใช้จ่ายเนื่องจากเป็นการติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผลจากการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ทำอยู่แล้ว
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 1 การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1 ความมุ่งมั่นในการเป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1.5 มีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินการเพื่อเป็นอาคารสำนักงานเขียวอย่างต่อเนื่อง แนวทางในการตรวจประเมิน ตรวจสอบแผนงานและจัดสรรงบประมาณในการดำเนินการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียวในปีปัจจุบันและล่วงหน้าอย่างน้อย 1 ปี นับจากวันรับการประเมิน การประเมินราคา ไม่มีราคาต่อหน่วยและค่าใช้จ่ายเนื่องจากเป็นการออกงบประมาณที่ใช้สนับสนุนการดำเนินการเพื่อเป็นอาคารเขียว
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) หมวดที่ 1 (กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว 23
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) หมวดที่ 1 การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียวสำนักงานเขียว 24
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) หมวดที่ 1 การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1 ความมุ่งมั่นในการเป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1.1 มีการกำหนดให้อาคารที่จะก่อสร้างเป็นอาคารสำนักงานเขียวและประชาสัมพันธ์ให้สังคมรับทราบ แนวทางการตรวจประเมิน ตรวจสอบรายละเอียดและหลักฐานในขอบเขตการดำเนินงาน (Terms of References) ว่าได้ใช้เกณฑ์การจัดการสิ่งแวดล้อมสำนักงานเขียว กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่ ในการออกแบบ และกำหนดระดับการเป็นอาคารสำนักงานเขียว การประเมินราคา ไม่มีราคาต่อหน่วยและค่าใช้จ่ายสำหรับเกณฑ์ในข้อนี้ เนื่องจากเป็นการประกาศแผนนโยบายและประชาสัมพันธ์เบื้องต้นของอาคาร 25
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) หมวดที่ 1 การบริหารจัดการให้เป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1 ความมุ่งมั่นในการเป็นอาคารสำนักงานเขียว 1.1.4 มีผลการดำเนินงานและติดตามประเมินผลการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อการเป็นอาคารสำนักงานเขียวขณะก่อสร้างและการใช้งานอาคาร แนวทางการตรวจประเมิน - ตรวจสอบคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานและติดตามประเมินผลขณะก่อสร้างโครงการ และใช้งานอาคาร - สัมภาษณ์ผู้แทนคณะทำงานและติดตามประเมินผล การประเมินราคา ไม่มีราคาต่อหน่วยและค่าใช้จ่ายสำหรับเกณฑ์ในข้อนี้เนื่องจากเป็นการติดตามผลการดำเนินงานและประเมินผลจากการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ทำอยู่แล้ว 26
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 2 (กรณีอาคารเดิม) ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 2 ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 2 ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 2.1 ผังบริเวณ 2.1.1 มีผังบริเวณของอาคารและองค์ประกอบหลักที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นใน อนาคตในพื้นที่โครงการ แนวทางในการตรวจประเมิน ตรวจสอบการมีผังบริเวณของอาคารตามพื้นที่รับผิดชอบและตรวจสอบความถูกต้องของรายละเอียดในผังเทียบกับสภาพจริงในปัจจุบัน และพิจารณาส่วนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคตว่าจะมีผลกระทบต่อความเป็นอาคารสำนักงานเขียวหรือไม่ การประเมินราคา ราคาต่อหน่วยคำนวณจากราคาค่าเขียนแบบ 1,000 บาท และค่าการทำ Surveyสำรวจผังบริเวณ5,000 บาท รวมเป็นราคาต่อหน่วย 6,000บาท /ครั้ง
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 2 ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 2.2 งานภูมิสถาปัตยกรรม 2.2.1 มีต้นไม้ยืนต้นไม่น้อยกว่า 1 ต้นต่อพื้นที่เปิดโล่ง 100 ตารางเมตร แนวทางในการตรวจประเมิน สำรวจจำนวนต้นไม้ยืนต้นที่มีความสูง 7.5 เมตรขึ้นไป หรือที่มีขนาดความกว้างเส้นผ่านศูนย์กลางของเรือนยอด เมื่อโตเต็มที่ไม่น้อยกว่า 4.5 เมตร แล้วนำมาเทียบเฉลี่ยกับขนาดพื้นที่เปิดโล่งทั้งหมด การประเมินราคา ไม่มีราคาต่อหน่วยและค่าใช้จ่ายเนื่องจากไม่สามารถนำต้นไม้ที่ได้จากการขุดล้อมมาใช้ในการประเมินได้ หากจะปลูกต้นไม้ใหม่จะเสียเวลาหลายปี จึงไม่สามารถคำนวณราคาต่อหน่วยได้
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 2 ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 2.2 งานภูมิสถาปัตยกรรม 2.2.2มีพื้นที่ที่น้ำสามารถซึมผ่านลงดินได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของขนาดพื้นที่โครงการ แนวทางในการตรวจประเมิน ตรวจสอบจากแบบหรือสำรวจขนาดพื้นที่น้ำซึมผ่านลงดินได้จริงแล้วเปรียบเทียบสัดส่วนกับขนาดพื้นที่โครงการ การประเมินราคา ราคาต่อหน่วยพิจารณาค่าทรายปรับระดับ ค่าปูหญ้า และค่าหญ้านวลน้อย รวมทั้งหมด คิดเป็น ราคาต่อหน่วย 50 บาท ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 2 ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 2.2 งานภูมิสถาปัตยกรรม http://www.greenroofs.com/ 2.2.3สัดส่วนขนาดพื้นที่หลังคาเขียวหรือดาดฟ้าที่ปกคลุมด้วยพืชพรรณเปรียบเทียบกับหลังคาหรือดาดฟ้าทั้งหมด - ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 - ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 - ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 แนวทางในการตรวจประเมิน ตรวจสอบจากแบบหรือสำรวจพื้นที่จริงจัดทำเอกสารที่ระบุถึงชนิดของพืชพรรณ การประเมินราคา ราคาต่อหน่วยคำนวณจากการปลูกไม้เลื้อยหรือไม้ประดับที่นำมาวางเพื่อปกคลุมพื้นที่ดาดฟ้า คิดเป็นราคาต่อหน่วย 500 บาท ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 2 ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 2.2 งานภูมิสถาปัตยกรรม 2.2.4มีพื้นที่ดาดแข็งที่อยู่ภายนอกอาคารซึ่งโดนแดดไม่เกินร้อยละ 50 ของขนาดพื้นที่ดาดแข็งทั้งหมด แนวทางในการตรวจประเมิน ตรวจสอบจากแบบหรือสำรวจพื้นที่จริง จัดทำแผนผังและคำนวณสัดส่วนพื้นที่ดาดแข็งที่อยู่ภายนอกอาคารที่โดนแดดเปรียบเทียบกับขนาดพื้นที่ดาดแข็งทั้งหมดของโครงการ การประเมินราคา ราคาต่อหน่วยคำนวณจากราคากันสาดเมทัลชีท คิดเป็นราคาต่อหน่วย 1,900บาท ต่อพื้นที่ 1ตารางเมตร
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 2 ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 2.2 งานภูมิสถาปัตยกรรม 2.2.5มีต้นไม้หรือพืชพรรณให้ร่มเงาแก่อาคาร แนวทางในการตรวจประเมิน สำรวจพืชพรรณที่ให้ร่มเงาแก่อาคารโดยปลูกต้นไม้อย่างน้อย 1 ต้น ต่อความยาว 4เมตร ของความยาวอาคารในแต่ละด้าน การประเมินราคา ราคาต่อหน่วยคำนวณจากการเลือกใช้ต้นโนราและต้นไดคอนด้าซึ่งเป็นไม้เลื้อย รวมทั้งหมด คิดเป็นราคาต่อหน่วย 60 บาท ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) หมวดที่ 2 (กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) สถานที่ตั้ง ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 35
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) หมวดที่ 2 สถานที่ตั้ง ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 36
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) หมวดที่ 2 สถานที่ตั้ง ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 37
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) หมวดที่ 2 สถานที่ตั้ง ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 2.1 การเลือกที่ตั้งโครงการ 2.1.1 สร้างอาคารหรือพัฒนาที่ดินบนพื้นที่ที่มีคุณค่าทางระบบนิเวศต่ำหรือตามที่กำหนดไว้ในผังเมือง แนวทางการตรวจประเมิน จัดทำเอกสารประเมินโดยระบุตำแหน่งที่จะก่อสร้างอาคาร พร้อมทั้งเอกสารแสดงว่าพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในพื้นที่ที่มีคุณค่าทางระบบนิเวศต่ำหรือเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในผังเมือง การประเมินราคา ไม่มีราคาต่อหน่วยและค่าใช้จ่ายสำหรับเกณฑ์ในข้อนี้เนื่องจากเป็นเกณฑ์ข้อบังคับที่ต้องผ่านและไม่สามารถปรับปรุงได้ หากมีการก่อสร้างอาคารไปแล้ว 38
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) หมวดที่ 2 สถานที่ตั้ง ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 2.1 การเลือกที่ตั้งโครงการ 2.1.2ใช้พื้นที่หรืออาคารที่เคยมีการใช้งานมาแล้ว - ใช้พื้นที่ที่เคยมีการใช้งานมาแล้ว - ใช้อาคารที่เคยมีการใช้งานมาแล้ว แนวทางการตรวจประเมิน จัดทำเอกสารประเมินแสดงว่าการก่อสร้างอาคารใช้พื้นที่หรืออาคารที่เคยมีการใช้งานมาแล้ว การประเมินราคา ไม่มีราคาต่อหน่วยและค่าใช้จ่ายสำหรับเกณฑ์ในข้อนี้ เนื่องจากไม่สามารถเปลี่ยนแปลงการใช้งานของพื้นที่และอาคารได้ 39
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) หมวดที่ 2 สถานที่ตั้ง ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 2.1 การเลือกที่ตั้งโครงการ 2.1.3 ระยะห่างจากระบบขนส่งมวลชนไม่เกิน 500 เมตร หรือมีที่จอดจักรยาน ไม่ต่ำกว่า 5% ของที่จอดรถ หรือ มีระบบรถรับส่ง แนวทางการตรวจประเมิน ประเมินจากแผนผังที่ดินของสถานที่ตั้งโครงการ การประเมินราคา ไม่มีราคาต่อหน่วยและค่าใช้จ่ายสำหรับเกณฑ์ในข้อนี้หากอาคารมีระยะทางห่างจากระบบขนส่งมวลชนเกิน 500 เมตร รางจอดจักรยานราคา 5,400 บาท สามารถจอดได้ 20 คัน คิดเป็นราคาต่อหน่วย 270 บาทต่อคัน และจำนวนจักรยานที่ต้องการ คือ 5% ของจำนวนที่จอดรถในโครงการ (เป็นคัน) 40
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) หมวดที่ 2 สถานที่ตั้ง ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 2.3 งานภูมิสถาปัตยกรรม 2.3.1สัดส่วนของพื้นที่ว่างหรือพื้นที่เปิดโล่งนอกอาคารไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของขนาดพื้นที่โครงการ แนวทางการตรวจประเมิน ตรวจสอบผังบริเวณและจัดทำเอกสารประกอบการประเมิน โดยคำนวณสัดส่วนของพื้นที่เปิดโล่งเปรียบเทียบกับขนาดพื้นที่โครงการจากผังบริเวณ การประเมินราคา ไม่มีราคาต่อหน่วยและค่าใช้จ่ายสำหรับเกณฑ์ในข้อนี้ เนื่องจากไม่สามารถทำการปรับสัดส่วนของพื้นที่เปิดโล่งภายในโครงการได้ 41
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) หมวดที่ 2 สถานที่ตั้ง ผังบริเวณ และงานภูมิสถาปัตยกรรม 2.3 งานภูมิสถาปัตยกรรม 2.3.3 ใช้พืชพรรณในงานภูมิสถาปัตยกรรมที่เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝน อย่างน้อยร้อยละ 75 ของพื้นที่ที่เป็นพืชพรรณ (Soft Scape) ทั้งหมด แนวทางการตรวจประเมิน สำรวจขนาดพื้นที่ปลูกพืชพรรณทั้งหมดแล้วนำมาเปรียบเทียบเฉลี่ยกับขนาดพื้นที่ปลูกพืชพรรณทั้งหมด การประเมินราคา ไม่มีราคาต่อหน่วยและค่าใช้จ่ายสำหรับเกณฑ์ในข้อนี้ เนื่องจากพืชพรรณที่ใช้ในงานภูมิสถาปัตยกรรมเกือบทั้งหมด ที่ใช้เป็นพืชพรรณที่มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางภูมิอากาศและปริมาณน้ำฝน 42
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 3 (กรณีอาคารเดิม) การใช้น้ำ
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 3 การใช้น้ำ
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) ราคาต่อหน่วยคิดจากการทำโปสเตอร์และป้ายประชาสัมพันธ์ต่างๆ ภายในหน่วยงาน คิดเป็นราคาต่อหน่วย 2,500 บาทต่อครั้ง หมวดที่ 3 การใช้น้ำ 3.1 การใช้น้ำ 3.1.1มีการรณรงค์/ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับการประหยัดน้ำ แนวทางในการตรวจประเมิน - ตรวจสอบนโยบาย แผนปฏิบัติการ และผลการดำเนินการตามแผน - สังเกตจากโปสเตอร์ หรือสื่ออื่นๆ ที่ใช้สื่อประชาสัมพันธ์ภายในอาคาร - สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานในอาคาร โดยการสุ่มสัมภาษณ์
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 3 การใช้น้ำ ไม่มีราคาต่อหน่วยและค่าใช้จ่ายเนื่องจากเป็นการจัดทำนโยบาย แผนการปฏิบัติการ และผลการดำเนินงานตามแผนของอาคาร 3.1 การใช้น้ำ 3.1.2 มีการนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ใหม่ แนวทางในการตรวจประเมิน - ตรวจสอบนโยบาย แผนปฏิบัติการ และผลการดำเนินการตามแผน
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) ราคาต่อหน่วยคิดจากราคามาตรวัดน้ำ โดยนำจำนวนผู้ใช้อาคารไปหาอัตราการใช้น้ำของอาคาร (Qmax) หมวดที่ 3 การใช้น้ำ 3.1 การใช้น้ำ 3.1.3 มีการติดตามตรวจสอบการใช้น้ำของอาคาร แนวทางในการตรวจประเมิน - ตรวจสอบการติดตั้งมาตรวัดน้ำย่อยในส่วนที่ใช้กับอาคารและท่อเมน Qmax. = จำนวนผู้ใช้อาคารx70lpcdx1.5x1.5/1,000/8
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 3 การใช้น้ำ 3.1 การใช้น้ำ 3.1.4 สัดส่วนปริมาณการใช้น้ำที่ลดลงได้ เมื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของอาคารประเภทนั้นๆ - ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 - ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 - ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30 % ลดลง = (std. - lpcd.)x100 std. แนวทางในการตรวจประเมิน - ตรวจสอบปริมาณการใช้น้ำของอาคารในแต่ละเดือนจากใบเสร็จค่าน้ำประปา (หักน้ำใช้ในส่วน อื่นๆ ออก) ย้อนหลัง 1 ปี นับจากวันตรวจประเมิน แล้วนำมาเฉลี่ยกับพื้นที่อาคารทั้งหมดหรือจำนวนผู้ใช้อาคาร โดยนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานของอาคารแต่ละประเภท เช่น อาคารสำนักงานมีเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำเท่ากับ 3.8 ลิตร/ตารางเมตร/วัน หรือ 70 ลิตร/คน/วัน เป็นต้น
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีอาคารเดิม) หมวดที่ 3 การใช้น้ำ 3.1 การใช้น้ำ 3.1.4 สัดส่วนปริมาณการใช้น้ำที่ลดลง… • ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 10 (1 คะแนน) • ราคา = 105 x จำนวนเจ้าหน้าที่ภายในอาคารไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 (2 คะแนน ) • ราคา = 201 x จำนวนเจ้าหน้าที่ภายในอาคารไม่น้อยกว่า ร้อยละ 30 (3 คะแนน ) • ราคา = 315 x จำนวนเจ้าหน้าที่ภายในอาคาร
โครงการจัดทำระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมของภาครัฐ (อาคารเขียว) กรมควบคุมมลพิษ(กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) หมวดที่ 3 (กรณีที่จะมีการก่อสร้างอาคารใหม่) การใช้น้ำ 50