780 likes | 1.14k Views
บทที่ 7 ( ต่อ ). IP Protocol. Data (Transport Layer). Header. ลำดับข้อมูล. IP. IP. แพ็คเกต (Packet). แพ็คเกต (Packet) เป็นลักษณะของข้อมูลที่อยู่ในชั้น Network Layer ลักษณะของ Packet จะมีการ Encapsulation ในส่วน Header เข้าไปกับตัวข้อมูลที่ส่งมาจากชั้น Transport Layer.
E N D
บทที่ 7 (ต่อ) IP Protocol
Data (Transport Layer) Header ลำดับข้อมูล IP IP แพ็คเกต (Packet) • แพ็คเกต (Packet) เป็นลักษณะของข้อมูลที่อยู่ในชั้น Network Layer • ลักษณะของ Packet จะมีการ Encapsulation ในส่วน Header เข้าไปกับตัวข้อมูลที่ส่งมาจากชั้น Transport Layer
Internet Protocal (IP) • โปรโตคอล IP ทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับส่งแพ็กเกจหรือเรียกว่า “datagram” ซึ่งเป็นหน่วยข้อมูลที่รับมาจากโปรโตคอลที่อยู่ชั้นที่สูงกว่า • IP จะรับผิดชอบในการจัดเส้นทาง (Routing) ให้แพ็กเกจส่งไปยังเครือข่ายที่โฮสต์นั้นอยู่โดยใช้เราเตอร์ในการเชื่อมต่อเครือข่าย • โปรโตคอล IP ให้บริการการเชื่อมต่อแบบ Connectionless ที่มีความเชื่อถือน้อย เนื่องจากไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อก่อนที่จะทำการรับส่งข้อมูล • ในการส่งข้อมูลแต่ละครั้ง โฮสต์ส่งจะไม่ทำการติดต่อโฮสต์ปลายทางเพื่อตกลงเกี่ยวกับการรับส่งข้อมูลก่อน แต่โฮสต์ที่ต้องการส่งข้อมูลจะทำการส่งแพ็กเก็ตออกไปทันที โดยคาดหวังว่าโฮสต์ปลายทางจะได้รับแพ็กเก็ตนั้น • แพ็กเก็ตที่ถึงปลายทางอาจไม่เรียงลำดับหรือมีการซ้ำกันหรือมาถึงล่าช้าได้ การแก้ปัญหาจะเป็นหน้าที่ของโปรโตคอลในชั้นทีสูงกว่ารับผิดชอบ
Internet Protocal (IP) • เป็นโปรโตคอลที่ทำหน้าที่ในการจัดส่งข้อมูลจากเครื่องต้นทางไปยังเครื่องปลายทางโดยอาศัย IP Address • คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP Address ประจำเครื่อง ซึ่งเป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลก • IP Address ไม่ใช่หมายเลขที่ใช้อ้างอิงเครื่องใดเครื่องหนึ่งจริงๆ แต่การอ้างอิงถึงตำแหน่งเครื่องจะเป็น MAC Address • หน่วยงานที่รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก • แต่การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center)
Header Data รูปแบบของแพ็กเกจ IP
แพ็กเกจ IP • Version : หมายเลขเวอร์ชันของโปรโตคอล ที่ใช้งานในปัจจุบันคือ เวอร์ชัน 4 (IPv4) และเวอร์ชัน 6 (IPv6) • Header Length : ความยาวของเฮดเดอร์ โดยทั่วไปถ้าไม่มีส่วน option จะมีค่าเป็น 5 (5*32 bit) • Type of Service (TOS) : ใช้เป็นข้อมูลสำหรับเราเตอร์ในการตัดสินใจเลือกการเราต์ข้อมูลในแต่ละดาต้าแกรม • Length : ความยาวทั้งหมดเป็นจำนวนไบต์ของดาต้าแกรม ซึ่งด้วยขนาด 16 บิตของฟิลด์ จะหมายถึงความยาวสูงสุดของดาต้าแกรม คือ 65,535 byte (64k) แต่ในการส่งข้อมูลจริง ข้อมูลจะถูกแยกเป็นส่วนๆตามขนาดของ MTU ที่กำหนดในลิงค์เลเยอร์ และนำมารวมกันอีกครั้งเมื่อส่งถึงปลายทาง แอพพลิเคชั่นส่วนใหญ่จะมีขนาดของดาต้าแกรมไม่เกิน 512 byte
แพ็กเกจ IP • Identification : เป็นหมายเลขของดาต้าแกรมในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรมเมื่อข้อมูลส่งถึงปลายทางจะนำข้อมูลที่มี identification เดียวกันมารวมกัน • Flag : ใช้ในกรณีที่มีการแยกดาต้าแกรม • Fragment offset : ใช้ในการกำหนดตำแหน่งข้อมูลในดาต้าแกรมที่มีการแยกส่วน เพื่อให้สามารถนำกลับมาเรียงต่อกันได้อย่างถูกต้อง • Time to live (TTL) : กำหนดจำนวนครั้งที่มากที่สุดที่ดาต้าแกรมจะถูกส่งระหว่าง hop (การส่งผ่านข้อมูลระหว่างเน็ตเวิร์ค) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการส่งข้อมูลโดยไม่สิ้นสุด โดยเมื่อข้อมูลถูกส่งไป 1 hop จะทำการลดค่า TTL ลง 1 เมื่อค่าของ TTL เป็น 0 และข้อมูลยังไม่ถึงปลายทาง ข้อมูลนั้นจะถูกยกเลิก และเราเตอร์สุดท้ายจะส่งข้อมูล ICMP แจ้งกลับมายังต้นทางว่าเกิด time out ในระหว่างการส่งข้อมูล • Protocol : ระบุโปรโตคอลที่ส่งในดาต้าแกรม เช่น TCP ,UDP หรือ ICMP
แพ็กเกจ IP • Header checksum : ใช้ในการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลในเฮดเดอร์ • Source IP address : หมายเลข IP ของผู้ส่งข้อมูล • Destination IP address : หมายเลข IP ของผู้รับข้อมูล • Data : ข้อมูลจากโปรโตคอลระดับบน
IP Address • IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเราท์เตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมาย จุด ขั้นระหว่างชุด ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1 • ขนาดความยาวของ IP Address ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีความยาวที่ 32 บิต หรือ 4 ไบต์ • ลักษณะของ IP Address จะมีการจำแนกออกเป็น Class จำนวน 5 class ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลัก คือ 1. ส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) - เป็นส่วนที่ใช้กำหนดหมายเลขของเครือข่าย - ใช้สำหรับการวางเส้นทางแพ็คเกตระหว่างเครือข่าย - ในส่วนนี้สามารถระบุ Class ของ IP Address ได้ 2. ส่วนของหมายเลขโฮสต์ (HostID) - เป็นส่วนที่ใช้กำหนดหมายเลขของเครื่องคอมพิวเตอร์ - เป็นการระบุตำแหน่งที่เฉพาะเจาะจงของอุปกรณ์หรือโฮสต์บนเครือข่าย
ประเภทของ IP Address • IPv4 แบ่งหมายเลขไอพีออกเป็น 5 ประเภทคือ A, B, C, D, และ E • หมายเลขไอพีแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือกลุ่มบอกหมายเลขเครือข่าย (Network ID) และกลุ่มบอกหมายเลขโฮสต์
ลักษณะไอพีแอดเดรส • เขียนด้วยตัวเลข 4 ชุดติดกัน และคั่นด้วย เครื่องหมาย “.” เช่น 202.28.38.130 , 10.1.1.222. • ตัวเลขแต่ละชุดมีค่าระหว่าง 0 -255 • หมายเลขลงท้ายด้วย 0 และ 255 จะไม่กำหนดเป็นไอพีแอดเดรสสำหรับอุปกรณ์ เช่น 202.44.210.0 และ 202.44.210.255 • ระบบเครือข่ายเดียวกันกำหนดไอพีแอดเดรสซ้ำกันไม่ได้ • แต่ละเครือข่ายในระบบอินเตอร์เน็ตจะมีไอพีแอดเดรสเป็นของตนเอง โดยจัดให้มีหน่วยงานกลางทำหน้าที่กำหนดไอพีแอดเดรสเพื่อไม่ให้ซ้ำกัน
ลักษณะของ IP Address • IP Address ขนาด 32 บิตนี้ สามารถใช้แทนหมายเลขแอดเดรสของอุปกรณ์ได้ถึง 4 พันล้านเครื่อง เท่ากับ 232 (4,294,967,296) • แต่ไม่ได้นำ IP มาใช้งานทั้งหมด เนื่องจากมีการสงวนไว้บางส่วนเพื่องานเฉพาะอย่าง • มีการเขียนให้อยู่ในรูปของเลขฐานสิบ เพื่อง่ายต่อการจดจำ 10000000 . 00001011 . 00000011 . 00011111 128 . 11 . 3 . 31 • ในแต่ละไบต์เมื่อนำมาแปลงเป็นเลขฐานสิบ จะมีค่าอยู่ระหว่าง 0 - 255
Class ของ IP Address • Class ที่ใช้งานอยู่ มี 5 ชนิด คือ Class A - Class D • โดยแต่ละ Class ออกแบบมาเพื่อรองรับความต้องการที่แตกต่างกันของแต่ละองค์กร • ปัจจุบัน Class A และ Class B ถูกนำมาใช้งานเต็มหมดแล้ว • เหลือแต่เพียง Class C ที่ยังสามารถใช้งานได้ • ส่วน Class D ถูกใช้เป็น Multicast Address • และ Class E สงวนไว้เพื่อใช้งานในอนาคต • ในตำแหน่งไบต์แรก จะบ่งบอกว่า IP Address นั้นอยู่ใน Class ใด
IP Address : Class A 7 bit 24 bit • บิตซ้ายสุดเป็น 0 ใช้ 7 บิตถัดมากำหนดเลขเครือข่าย มีเลขเครือข่ายได้ 27 หรือ 128 ค่า • อีก 24 bit เป็นเลข Host • Address 0.0.0.0 default route 127.0.0.0 loop back ตัวอย่าง 9.0.0.0 [ibm.com] 15.0.0.0 [hp.com]
Class A : 0.0.0.0 – 127.255.255.255 • บิตแรกของไบต์แรกต้องมีค่าเป็น 0 เพื่อใช้แทนว่าเป็น Class A • มีส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) มีขนาด 7 บิต • มีส่วนของหมายเลขโฮสต์ (HostID) มีขนาด 24 บิต
ดังนั้น ในบิตแรกของ Class A จะมีค่าเป็น 0 เสมอ • สามารถมีจำนวนเครือข่ายได้เท่ากับ 126 (27 - 2) เครือข่าย • มีจำนวนของโฮสต์ได้ถึง 24 บิต (224 – 2)หรือเท่ากับ 16,777,214 เครื่อง • นิยมนำไปใช้กับองค์กรขนาดใหญ่มากๆ ที่มีจำนวนเครื่องจำนวนมาก • สาเหตุที่ต้องลบออก 2 ออกจาก HostID เนื่องจาก • Host ที่มี IP เป็น 0 ทั้งหมด จะถูกสงวนไว้สำหรับอ้างอิงหมายเลขเครือข่าย เช่น 121.0.0.0 • Host ที่มี IP เป็น 1 ทั้งหมด จะถูกสงวนไว้สำหรับการทำ Broadcast Address เช่น 121.255.255.255 • สาเหตุที่ต้องลบออก 2 ออกจาก NetID ของ Class A เนื่องจาก • NetID ที่มี IP เป็น 0 ทั้งหมด และ 1 ทั้งหมด จะไม่นำมาใช้งาน
Class B IP Address : Class B 14 bit 16 bit • บิตแรกเป็น 10 ใช้ 14 บิตถัดมากำหนดเลขเครือข่าย มีเลขเครือข่ายได้ 214- 2หรือ 16,382 128.1.0.0 – 191.254.0.0 • อีก 16 bit เป็นเลข Host 216- 2 0.1 – 255.254 • จัดสรรให้กับหน่วยงานขนาดกลาง ตัวอย่าง 158.108.0.0 [ku.ac.th]
Class B : 128.0.0.0 – 191.255.255.255 • 2 บิตแรกของไบต์แรกต้องมีค่าเป็น 1 กับ 0 เพื่อใช้แทนว่าเป็น Class B • มีส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) มีขนาด 14 บิต • มีส่วนของหมายเลขโฮสต์ (HostID) มีขนาด 16 บิต
ดังนั้น ในบิตแรกของ Class B จะมีค่าเป็น 1 0 เสมอ • สามารถมีจำนวนเครือข่ายได้เท่ากับ 16,382 (214 - 2) เครือข่าย • มีจำนวนของโฮสต์ได้ถึง 16 บิต (216 – 2)หรือเท่ากับ 65,534 เครื่อง • นิยมนำไปใช้กับองค์กรขนาดกลาง เช่นสถาบันการศึกษา หน่วยงานของรัฐ • สาเหตุที่ต้องลบออก 2 ออกจาก HostID เนื่องจาก • Host ที่มี IP เป็น 0 ทั้งหมด จะถูกสงวนไว้สำหรับอ้างอิงหมายเลขเครือข่าย เช่น 190.180.0.0 • Host ที่มี IP เป็น 1 ทั้งหมด จะถูกสงวนไว้สำหรับการทำ Broadcast Address เช่น 190.180.255.255 • สาเหตุที่ต้องลบออก 2 ออกจาก NetID ของ Class B เนื่องจาก • NetID ที่มี IP เป็น 0 ทั้งหมด และ 1 ทั้งหมด จะไม่นำมาใช้งาน
Class C IP Address : Class C 21 bit 8 bit • บิตแรกเป็น 110 ใช้ 21 บิตถัดมากำหนดเลขเครือข่าย มีเลขเครือข่ายได้ 192.0.1.0 – 223.255.254.0 • อีก 8 bit เป็นเลข Host 1 – 254 • จัดสรรให้กับหน่วยงานขนาดเล็ก ตัวอย่าง 203.144.152.0 [mcot.or.th]
Class C : 192.0.0.0 – 223.255.255.255 • 3 บิตแรกของไบต์แรกต้องมีค่าเป็น 1 1 0 เพื่อใช้แทนว่าเป็น Class C • มีส่วนของหมายเลขเครือข่าย (NetID) มีขนาด 21 บิต • มีส่วนของหมายเลขโฮสต์ (HostID) มีขนาด 8 บิต
ดังนั้น ในบิตแรกของ Class C จะมีค่าเป็น 1 1 0 เสมอ • สามารถมีจำนวนเครือข่ายได้เท่ากับ 2,097,150 (221 - 2) เครือข่าย • มีจำนวนของโฮสต์ได้ถึง 8 บิต (28 – 2)หรือเท่ากับ 254 เครื่อง • นิยมนำไปใช้กับองค์กรขนาดเล็กที่มีจำนวนเครื่องไม่มาก • สาเหตุที่ต้องลบออก 2 ออกจาก HostID เนื่องจาก • Host ที่มี IP เป็น 0 ทั้งหมด จะถูกสงวนไว้สำหรับอ้างอิงหมายเลขเครือข่าย เช่น 192.168.4.0 • Host ที่มี IP เป็น 1 ทั้งหมด จะถูกสงวนไว้สำหรับการทำ Broadcast Address เช่น 192.168.4.255 • สาเหตุที่ต้องลบออก 2 ออกจาก NetID ของ Class C เนื่องจาก • NetID ที่มี IP เป็น 0 ทั้งหมด และ 1 ทั้งหมด จะไม่นำมาใช้งาน
Class D : 224.0.0.0 – 239.255.255.255 • 4 บิตแรกของไบต์แรกต้องมีค่าเป็น 1 1 1 0 เพื่อใช้แทนว่าเป็น Class D • ใช้สำหรับเป็น Multicast Address
Class E : 240.0.0.0 – 255.255.255.255 • 4 บิตแรกของไบต์แรกต้องมีค่าเป็น 1 1 1 1 เพื่อใช้แทนว่าเป็น Class E • Class นี้ได้สงวนไว้ใช้ในอนาคต
แสดงช่วงความกว้างของไอพีแอดเดรสในแต่ละคลาสแสดงช่วงความกว้างของไอพีแอดเดรสในแต่ละคลาส
สรุปรายละเอียดไอพีแอดเดรสคลาส A, B และ C • จำนวนเครื่องของ IP Address Class ต่างๆ ต้องหักออก 2 เครื่องเนื่องมาจาก • IPที่มีส่วนที่เป็น Host ID เป็น 0 ทั้งหมดจะใช้สำหรับอ้างถึงหมายเลขเครือข่าย เช่น 158.108.0.0 • IP ที่มีส่วนที่เป็น Host ID เป็น 1 ทั้งหมดจะใช้สำหรับการส่งข้อมูลแบบ Broadcast เช่น 158.108.255.255
Private/Public Internet • การเชื่อมต่อคอมฯ เข้ากับอินเตอร์เน็ตต้องร้องขอหมายเลขไอพีจาก InterNIC ซึ่งเป็นองค์กรดูแลการแจกจ่ายไอพี • เครือข่ายส่วนบุคคล (Private network) ที่ไม่มีการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต ไม่จำเป็นต้องร้องขอหมายเลขไอพีและสามารถใช้หมายเลขอะไรก็ได้ที่ไม่ซ้ำกันในเครือข่าย • แต่เมื่อมีการเชื่อมต่อเครือข่ายส่วนบุคคลเข้ากับอินเตอร์เน็ต อาจทำให้หมายเลขไอพีที่ใช้ ไปซ้ำกับโฮสต์อื่นในอินเตอร์เน็ตได้ จึงได้มีการกำหนดหมายเลขไอพีส่วนบุคคลเพื่อ ป้องกันปัญหาดังกล่าว
Network Address • Network Address คือ หมายเลขเครือข่าย (NetID) • ตัวอย่างเช่น IP Address : 123.4.67.76 Network Address : 123.0.0.0 IP Address : 172.54.13.121 Network Address : ___________ IP Address : 201.128.42.53 Network Address : ___________
Subnet • ปัญหาของ IPv4 คือหมายเลขไอพีอาจถูกใช้หมด (หนทางแก้ไขคือเพิ่มจำนวนบิตให้มากกว่า 32 บิต IPv6) • การแบ่งซับเน็ตเป็นวิธีการหนึ่งในการใช้หมายเลขไอพีอย่างคุ้มค่า โดยการแบ่งเป็นเครือข่ายย่อย • หลักการ: แบ่งเลขไอพีของกลุ่มหมายเลขโฮสต์ออกเป็นเครือข่ายย่อย โดยเริ่มจากเลขส่วนที่มีความสำคัญมาก่อน • จุดประสงค์หลักของการแบ่งเครือข่ายใหญ่ให้เป็นหลายเครือข่ายย่อยคือ • ด้านประสิทธิภาพและการรักษาความปลอดภัย
การแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อย (Subnetting) • ในทางปฏิบัติ เราไม่สามารถเชื่อมต่อโฮสต์เป็นจำนวนมากๆ บนเครือข่ายเดียวกันได้ • การเชื่อมต่อโฮสต์เป็นจำนวนมากๆ บนเครือข่ายเดียวกัน จะทำให้เกิดความคับคั่งของข้อมูลในเครือข่ายสูง • แก้ปัญหา คือ ทำการแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อย หรือเรียกว่า การทำซับเน็ต (Subnetting) • เครือข่ายที่มีขนาดเล็กลง เรียกว่า เครือข่ายย่อย (Subnetworks)
การแบ่งเครือข่ายออกเป็นเครือข่ายย่อย (Subnetting) • เป็นการแบ่งเครือข่ายขนาดใหญ่ให้เป็นเครือข่ายขนาดเล็กหลายๆเครือข่าย แต่เครือข่ายเล็กๆเหล่านั้นยังคงมี Network ID เดียวกันอยู่ โดยใช้เทคนิคการดึงเอา bit ส่วนที่เป็น Host ID แถวซ้ายสุดออกมา n bit เพื่อไว้ใช้กำหนดเป็นหมายเลขเครือข่ายย่อย เช่น ถ้าดึง Host ID ออกมา 3 bit จะแบ่งเครือข่ายย่อยได้ 6 เครือข่าย ( 000 และ 111 ใช้ไม่ได้ ) • การแบ่งเป็นเครือข่ายย่อยๆ นี้จะถูกจัดการโดย Router หรือ Gateway ของเครือข่ายนั้นๆเท่านั้น โดยที่เครื่องอื่นๆที่อยู่นอกเครือข่ายจะมองเห็นเครือข่ายนี้เป็นเครือข่ายเดียวเท่านั้น
กฎของ subnetwork • ส่วนที่เป็น subnet ไม่สามารถกำหนดให้เป็น 0 ทั้งหมด • ส่วนที่เป็น subnet ไม่สามารถกำหนดให้เป็น 1 หมด • แต่บางที่ก็ใช้ได้
เครือข่ายคลาส B ที่มีลำดับชั้นเพียงสองระดับ โดยไม่มีการแบ่งซับเน็ตหรือเครือข่ายย่อย
เครือข่ายคลาส B ที่มีการแบ่งซับเน็ต
การทำซับเน็ต (Subnetting) การทำซับเน็ต จะมีการแบ่ง IP Address ออกเป็น 3 ส่วน คือ • หมายเลขเครือข่าย (NetID) - เป็นระดับแรกสุดที่ใช้ระบบไซต์ และ Class • หมายเลขเครือข่ายย่อย (SubnetID) - ใช้ระบุ Physical Subnetwork • หมายเลขโฮสต์ (HostID) - ใช้แทนหมายเลขโฮสต์ = 2n-2 เมื่อ n คือจำนวนบิตของ subnet ดังนั้นการเดินทางของ Packet จะเป็นแบบ Site -> Sub network -> Host
IP Address แบบปกติ (Class B) • IP Address แบบที่มีการแบ่งซับเน็ต (Class B)
Subnet Mask • Subnet Maskจะทำควบคู่ไปกับการทำซับเน็ต • Subnet Maskหรือเรียกว่า การทำมาสกิ้ง (Masking) เป็นกระบวนการที่บอกให้รู้ว่าครือข่ายได้มีการแบ่งเป็น Subnet แล้ว • Subnet Maskสามารถบ่งบอกจำนวนบิตที่ใช้ในการแบ่งเครือข่ายย่อย เพื่อใช้ระบุเป็นหมายเลขเครือข่ายย่อย และมีส่วนของโฮสต์เป็นอะไร • ดังนั้น ในการออกแบบเครือข่าย จึงจำเป็นต้องมีการระบุ Subnet Mask • หากไม่มีการทำซับเน็ต ค่าของ Subnet Mask จะมีการระบุเป็นค่า Default อยู่แล้ว ตาม Class ต่างๆ ของ IP Address
Subnet Mask • Subnet mask คือตัวเลขขนาด 32 บิตที่บ่งชี้ว่าส่วนไหนของเลขไอพีเป็นหมายเลขเครือข่ายและส่วนไหนเป็นหมายเลขโฮสต์ • Subnet mask มีส่วนช่วยในการส่งข้อมูล โดยช่วยในการหา Network address ของ IP address เพื่อจะได้รู้ว่าควรจะส่งไปในเส้นทางไหน โดยดูจาก Network address ของ IP ต้นทางกับปลายทาง • ถ้า Network address ตรงกัน เครื่องทั้งสองอยู่ในเครือข่ายเดียวกัน • ถ้า Network address ต่างกัน เครื่องทั้งสองอยู่คนละเครือข่ายกัน
การทำซับเน็ตใน Class C • นำ Host Address จำนวน 8 บิต มาแบ่งเป็น 2 ส่วน • ดังตัวอย่าง จะแบ่ง 3 บิตซ้าย เป็นตัวกำหนดเครือข่ายย่อย ส่วน 5บิตขวามือเป็นตัวกำหนด Host Address ดังนั้น Ip Address 1 ชุดสามารถแบ่งเครือข่ายย่อยได้ 8 เครือข่าย ซึ่งแต่ละเครือข่ายจะมีเครื่องลูกข่ายได้ถึง 32 เครื่อง ดังตารางต่อไปนี้
การทำซับเน็ตใน Class C ดังนั้นจากตารางเราจะได้เครือข่ายย่อยทั้งหมด 6 เครือข่าย แต่ละเครื่องจะมีเครื่องลูกข่ายได้สูงสุด 30 เครื่อง
การทำซับเน็ตใน Class C • การแบ่ง Subnet จะช่วยให้การใช้งาน IP Address ได้อย่างมีประสิทธิภาพและไม่เสีย IP Address โดยไม่จำเป็น แต่การแบ่งเครือข่ายย่อยนี้ Router จะต้องทราบข้อมูลในการแบ่งซับเน็ตของเราด้วยว่าใช้ข้อมูลไปกี่บิตเป็นซับเน็ต และใช้ข้อมูลกี่บิตเป็น Host จะได้ส่งข้อมูลให้เครือข่ายได้อย่างถูกต้อง เรียกข้อมูลการแบ่งซับเน็ตนี้ว่า “Subnet Mask” ซึ่งจะกำหนดให้ • ค่าของ Net ID และ Subnet ID มีค่าเป็น 1 • ส่วน Subnet Mask ของ Host ID มีค่าเป็น 0 ดังตารางต่อไปนี้
Class C Subnet * Subnet 0 ทั้งหมด และ 1 ทั้งหมดจะถูกจองไว้ใช้สำหรับการควบคุมระบบเครือข่าย และ Subnet ที่มีจำนวนเครือข่ายย่อยเท่ากับ 1 จะใช้งานไม่ได้เนื่องจากไม่มีจำนวนบิตเหลือนำไปใช้ทำ Subnetดังนั้น Host Address ขนาด 8 บิตจึงเหลือทำ Subnet ได้เพียง 5 แบบเท่านั้น **ในการใช้งานจริงจะแบ่งเครือข่ายย่อยออกเป็น 6 เครือข่ายจะได้ลูกข่าย 30 เครื่อง หรือ เครือข่ายย่อย 14 เครือข่าย จะได้เครือข่ายย่อย 14 เครื่องเท่านั้นสำหรับ Subnet ใน Class C
กรณีมีการทำ Subnet แล้วไม่กำหนดเป็น 255 หรือ 0 • ตัวอย่างเช่น IP Address 213.23.47.37 Mask 255.255.255.240 Subnetwork Address 213.23.47.32 **สังเกตได้ว่า ตำแหน่ง 3 ไบต์แรกสามารกำหนดได้ทันที ในขณะที่ตำแหน่งไบต์สุดท้ายต้องใช้วิธีเทียบบิตด้วยลอจิก AND ดังนี้ 37 = 0 0 1 0 0 1 0 1 240 = 1 1 1 1 0 0 0 0 32 = 0 0 1 0 0 0 0 0 เปรียบเทียบด้วยลอจิก AND
Subnet Mask • Subnet Mask ที่เป็นค่า Default Network Id + subnet เป็น 1 ทั้งหมด Host Id เป็น 0 ทั้งหมด
ตัวอย่างการหาค่า IPของเครื่องคอมพิวเตอร์