490 likes | 763 Views
ละเมิด. การกระทำละเมิด. หมายถึง การทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นโดยไม่มีสิทธิ ดังที่ ป.พ.พ.มาตรา 420 บัญญัติว่า. การกระทำละเมิด.
E N D
การกระทำละเมิด • หมายถึง การทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่นโดยไม่มีสิทธิ ดังที่ ป.พ.พ.มาตรา 420 บัญญัติว่า
การกระทำละเมิด • ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงชีวิต แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นละเมิด จำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น
1.ลักษณะการกระทำละเมิด1.ลักษณะการกระทำละเมิด • มีการกระทำ • โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ • โดยผิดกฎหมาย • มีความเสียหาย • มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล
มีการกระทำ • การละเมิดต้องมีการกระทำหรืองดเว้นการกระทำอันเป็นผลให้เกิดความเสียหายด้วย
ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 240/2535 จำที่ 2 ดำเนินกิจการให้บริการสระว่ายน้ำโดยมีค่าตอบแทนแก่บุคคลทั่วไป จำเลยที่ 2 จึงจัดหาพนักงานช่วยชีวิตประจำสระว่ายน้ำที่มีความสามารถและเพียงพอ ฯลฯ
โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ • มีการกระทำโดยจงใจ คือ กระทำโดยสำนึกถึงการกระทำว่าจะเป็นผลเสียหายต่อบุคคลอื่น
ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 11404/2509 • จำเลยถูกาลพิพากษาลงโทษ ฐานฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ถือว่าจำเลยได้กระทำละเมิดต่อผู้ตายแล้ว เพราะการที่จำเลยใช้มีดแทงผู้ตายก็เป็นการกระทำโดยจงใจทำร้ายโดยผิดกฎหมายอยู่ในตัวแล้วแม้ไม่ได้เจตนฆ่าก็ได้ชื่อว่าละเมิดฯลฯ
กระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำโดยประมาทเลินเล่อ • คำพิพากษาฎีกาที่ 2342/2527 • การขับรถยนต์จะผ่านทางรถไฟ แม้ไม่มีป้ายสัญญาณ “หยุด” บอกไว้ แต่ก็มีป้ายบอกเครื่องหมายว่ามีทางรถไฟข้างแสดงไว้ ซึ่งควรใช้ความระมัดระวังดูความปลอดภัยให้แน่เสียก่อนโดยชะลอความเร็วและหยุดรถมองซ้ายและขวา ต่อเมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วจึงขับต่อไป แต่ไม่ปรากฏว่าได้ปฏิบัติดังกล่าวเมื่อรถยนต์ที่จำเลยขับชนกับรถไฟ จึงเป็นความประมาทของจำเลย
กระทำโดยประมาทเลินเล่อกระทำโดยประมาทเลินเล่อ • คำพิพากษาฎีกาที่709/2510 • จำเลยเป็นหญิงอายุ 28 ปี ขับรถมาคนเดียวขณะหยุดรถรอสัญญาณไฟเมื่อเวลา 21 นาฬิกา ได้มีคนร้ายเปิดประตูเข้าไปทั้งคู่ และใช้ระเบิดมือขู่ให้ขับรถไป จำเลยตกใจขับรถฝ่าฝืนสัญญาณๆไฟออกไปชนรถที่แล่นสวนมาโดยไม่ได้เจตนาตามพฤติการณ์เช่นนี้จะว่าการชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยไม่ได้ฯลฯ
กระทำโดยผิดกฎหมาย • การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อนั้นเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจหรือไม่มีสิทธิหรือทำโดยมิชอบด้วยกฎหมายไม่ว่ากฎหมายอาญาหรือกฎหมายแพ่ง
ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 2390/2529 • จำเลยว่าจ้างโจทย์เลี่ยมกรอบพระเครื่อง เมื่อไม่ไปรับและชำระค่าจ้าง โจทย์ชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องค่าจ้างจากจำเลย แต่กลับเอาพระเครื่องไปขาย จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีแก่โจทย์ฐานยักยอกการตั้งข้อหา ควบคุมตัวดำเนินการสอบสวนฟ้องโจทย์ต่อศาลเป็นเรื่องที่จำเลยใช้สิทธิตามกฎหมายโดยสุจริตไม่เป็นการละเมิดต่อโจทย์
ตัวอย่าง 1 • คำพิพากษาฎีกาที่ 1291/2517 • โจทย์ใช้น้ำจาลำเหมืองซึ่งไหลผ่านนาของจำเลยทำมามากว่า 10 ปีแล้ว ลำเหมืองตอนที่ไหลผ่านนาของจำเลยเพื่อมิให้โจทย์ได้ใช้น้ำเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นๆตามมาตรา 421 แห่ง ป.พ.พ.
ตัวอย่าง 2 • คำพิพากษาฎีกาที่ 28/2534 • จำเลยสร้างถนนหน้าโรงแรมของจำเลยสูงกว่าถนนอื่นภายในบริเวณศูนย์การค้าของโจทย์และทำคันซีเมนต์เพื่อไม่ให้นำไหลเข้าไปที่หน้าโรงแรมจำเลยเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยฝ่ายเดียวโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนของผู้อื่น โจทย์จึงได้รับความเสียหายจากกระทำของจำเลย จำเลยต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทย์
มีความเสียหาย • เมื่อมีการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อโดยผิดกฎหมายแล้ว ต้องปรากฏว่าเกิดความเสียหาย ด้วยจึงจะเป็นละเมิด • ความเสียหายได้แก่ เสียหายถึงชีวิต แก่ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ได้
ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 686/2512 • การที่โจทย์แบ่งนาพิพาทให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุตรและบุตรอื่นทำกิน มิได้ทำให้โจทย์หมดสิทธิหรือขาดประโยชน์ในที่พิพาท เมื่อจำเลยที่ 2 เข้าทำนาพิพาท โจทย์ห้ามแต่จำเลยที่ 2ไม่ฟัง เป็นการกระทำให้โจทย์เสียหายไม่ได้ทำนา แม้โจทย์อายุมากทำนาเองไม่ได้ ก็ไม่เป็นเหตุอ้างได้ว่าโจทย์ไม่เสียหาย
เรื่องความเสียหายมีหลักประการหนึ่งว่า“ความยินยอมไม่เป็นการละเมิด”เรื่องความเสียหายมีหลักประการหนึ่งว่า“ความยินยอมไม่เป็นการละเมิด” มาจากสุภาษิตกฎหมายที่ว่า ความยินยอมไม่ถือว่ามีความเสียหาย การให้ความยินยอมต้องมีก่อนหรือขณะกระทำ อีกทั้งต้องสมัครใจ และมีขอบเขต หากกระทำเลยขอบเขตเป็นการละเมิด
ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 576/2488 • การที่หญิงยินยอมร่วมประเวณีกับชายโดยถูกหลอกลวงว่าจะรับเลี้ยงดูและจดทะเบียนนั้น ไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานละเมิด (เป็นการจูงใจให้ร่วมประเวณีแล้วหญิงยินยอม ไม่ใช่หลอกลวง)
ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 74/2517 • โจทย์ จำเลยสมรสกันตามประเพณี โดยตกลงกันว่าหากจำเลยสำเร็จการศึกษาแล้วจำเลยจะไปจดทะเบียนสมรสกับโจทย์ แต่เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษา ไม่ยอมไปจดทะเบียนสมรสกับโจทย์ ดังนี้การที่โจทย์ต้องสูเสียความเป็นสาวและอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดยไม่จดทะเบียนสมรสกัน เกิดจากความสมัครใจ
ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 673/2510 • การที่โจทย์ท้าจำเลยฟันเพื่อทดลองคาถาอาคม ซึ่งตนเชื่อถือ เป็นการที่โจทย์ได้ยอมหรือสมัครใจให้จำเลยทำต่อร่างกาย เป็นการยอมรับผลเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ตนเอง ตามกฎหมายจึงถือไม่ได้ว่าโจทย์ได้รับความเสียหาย โจทย์จึงฟ้องจำเลยชำระค่าเสียหายให้โจทย์ไม่ได้
มีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผลมีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล • การกระทำอันเป็นละเมิดนั้น แม้จะได้ข้อเท็จจริงครบทุกประการ แต่หากไม่อาจพิสูจน์ได้ว่าผลเสียหายทีเกิดขึ้น เป็นผลมาจากการกระทำของจำเลยแล้ว ย่อมเรียกค่าเสียหายจากจำเลยฐานละเมิดไม่ได้ • ความเสียหายเป็นผลโดยตรงและไม่ไกลเกินกว่าเหตุ
ตัวอย่าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 400/2534 • การที่จำเลยที่1 ละเลยต่อหน้าที่โดยไม่บอกกล่าว ให้จำเลยที่ 2 จัดเวรยามแทนในเมื่อตนจะต้องไปราชการตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา และไม่อาจอยู่เวรยามตามกำหนด ทำไม่มีเวรยามอยู่ดูแล เป็นโอกาสให้คนร้ายเอาทรัพย์สินที่เก็บไว้ในคลังพัสดุไป ดังนี้ การละเลยต่อหน้าที่ของจำเลยที่ 1 จึงเป็นเหตุโดยตรงต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่โจทย์ ต้องถือว่าจำเลยที่ 1 ได้กระทำละเมิดต่อโจทย์ด้วย
ตัวอย่าง คำพิพากษาฎีกาที่ 1358/2506 การที่คนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ในโรงเรียนที่จำเลยเป็นครูไม่ได้อยู่เวรตามหน้าที่ แม้จะเป็นการผิดวินัย แต่ถือว่าเป็นเหตุโดยตรงที่ทำให้โรงเรียนถูกลักทรัพย์ขึ้นไม่ได้ เนื่องจากจำเลยไม่มีหน้าที่เป็นคนยามคอยตรวจตราเฝ้าขโมย แต่มีภารโรงทำหน้าที่เป็นยมเฝ้าขโมยอยู่แล้ว
2.การละเมิดโดยหมิ่นประมาท2.การละเมิดโดยหมิ่นประมาท • ป.พ.พ. มาตรา 423 • ผู้ใด กล่าวหรือไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความเป็นจริง เป็นที่เสียหายแก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่นก็ดี หรือเป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญของเขาประการอื่นก็ดี ท่านว่านั้นจะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่เขาเพื่อความเสียหายใดๆอันเกิดจากการนั้น แม้ทั้งเมื่อตนมิได้รู้ข้อความนั้นไม่จริงแต่หาควรจะได้รู้ได้ • ผู้ใดส่วนข่าวสาสน์อันตนมิได้รู้ว่าเป็นความไม่จริง หากว่าตนเองหรือผู้รับสาสน์นั้นมีทางได้เสียโดยชอบในการนั้นแล้ว ท่านว่าเพียงที่สงสาสน์เช่นนั้นหาทำให้ผู้นั้นต้องรับผิดชอบใช้ค่าสินไหมทดแทนไม่
การไขข่าว คือ การพูดหรือการกระทำด้วยประการใดๆที่ทำให้บุคคลอื่นเข้าใจความหมายของผู้กล่าวหรือไขข่าวนั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 3023/2533การที่จำเลยพิมพ์โฆษณาข้อความซึ่งไม่เป็นความจริงที่ทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่าโจทย์ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมกลั่นแกล้งบริษัท ม. มิใช่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อความใดโดยสุจริตหรือติชมด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของบุคคลในฐานะเยี่ยงจำเลยพึงกระทำ แต่เป็นการไขข่าวแพร่หลายซึ่งข้อความอันฝ่าฝืนต่อความจริงตาม ป.พ.พ. 423
3. การกระทำละเมิดร่วมกัน • คือ มีการร่วมกันก่อให้เกิดความเสียหาย ตลอดจนการยุยงส่งเสริมช่วยเหลือในการทำละเมิดด้วย ทั้งกฎหมายให้ผู้กระทำละเมิดร่วมต้องรับผิดชอบต่อผู้เสียหาบในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนดุจดังเป็นหนี้ร่วมต่อผู้ถูกทำละเมิด
คำพิพากษาฎีกาที่ 1188/2502สมคบหลอกลวงเจ้าของรถยนต์ว่าขอเช่ารถยนต์ไปเล่นการพันใกล้ๆ (ในจังหวัดเชียงใหม่) แต่กลับนำรถยนต์ไปถึงกรุงเทพฯ โดยเจาของรถมิได้ยินยอมเมื่อรถไปชนโคเกิดเสียหายขึ้นย่อมถือว่าพวกหลอกลวงเอารถไปร่วมกันทำละเมิดต่อเจ้าของรถ จึงต้องร่วมกันใช้ค่าเสียหายแก่เจ้าของรถยนต์
4. ความรับผิดเพื่อละเมิดในการกระทำของผู้อื่น • 1. นายจ้างต้องร่วมรับผิดในละเมิดของลูกจ้างกระทำในทางการจ้าง • 2. ตัวการร่วมรับผิดในละเมิดที่ตัวแทนในทางการที่ทำแทน • 3. บิดา มารดา หรือผู้อุบาลร่วมกันรับผิดในละเมิดผู้เยาว์หรือผู้ไร้ความสามารถหรือวิกลจริตทำ • 4. ผู้ดูแลบุคคลไร้ความสามารถต้องร่วมรับผิดในละเมิดที่ผู้ไร้ความสามารถทำ
4.1 นายจ้าง ลูกจ้าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 1716-1717/2503 • นายจ้างใช้ลูกจ้างซึ่งเป็นคนขับรถไปรับหัวหน้าคนงานที่ถนนลาดพร้าวมาปฏิบัติงานที่ถนนราชวิถี ลูกจ้างขับรถออกไปแล้วได้เอารถรถไปเอากางเกงที่ตัดไว้ที่ตลาดบางแคเสียก่อน ระหว่างทางไปชนคนตายและบาดเจ็บดังนี้ ก็ยังถือว่าเป็นการปฏิบัติที่ลูกจ้างได้กระทำไปในทางการจ้าง นายจ้างจึงต้องรับผิดร่วมกับนายจ้าง
4.1 นายจ้าง ลูกจ้าง • คำพิพากษาฎีกาที่ 1484/2499 • นายจ้างให้ลูกจ้างนำมะพร้าวไปส่งให้ผู้ซื้อ ในระหว่างส่งมะพร้าวแก่กันนั้น ผู้ซื้อโต้เถียงด่าว่าลูกจ้าง ลูกจ้างโกรธจึงชกต่อยผู้ซื้อบาดเจ็บ ถือว่าเป็นเหตุการณ์อีกอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่กิจการที่นายจ้างมอบให้ลูกจ้างไปทำ นายจ้างไม่ต้องรับผิดฐานละเมิดร่วม
4.2 ตัวตาย ตัวแทน • ตัวการต้องรับผิดในละเมิดที่ตัวแทนกระทำขึ้นในทางการที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทน โดยเมื่อตัวการได้ใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลภายนอกแล้วย่อมมีสิทธิไล่เบี้ยเอาจากตัวแทน
คำพิพากษาฎีกาที่ 1049/2505 • มารดาเป็นเจ้าของรถยนต์โดยสารได้มอบหมายให้บุตร (อายุ 27 ปี)เป็นตัวแทนในการรับส่งผู้โยสารเก็บผลประโยชน์ให้แก่มารดา แม้มารดาจะไม่ใช่นายจ้างบุตร แต่เมื่อบุตรขับรถโดยประมาททำให้รถคว่ำและผู้โดยสารบาดเจ็บ ก็เป็นการทำละเมิดในการเป็นตัวแทนมารดา มารดาจึงต้องรับผิดร่วมด้วย
4.3 ความรับผิดของบิดามารดาหรือผู้อนุบาลในละเมิดของผู้เยาว์หรือวิกลจริตกระทำ • มาตรา 429 บุคคลใดแม้ไความสามารถเพราะเหตุเป็นผู้เยาว์หรือวิกลจริต ก็ยังต้องรับผิดในผลที่ตนละเมิด บิดามารดาหรือผู้อนุบาลของบุคคลเช่นนี้ย่อมต้องรับผิดร่วมกับเขาด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่หน้าที่ดูแลซึ่งทำอยู่นั้น
คำพิพากษาฎีกาที่ 1788/2499 • บิดา มารดา ซึ่งเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์รู้เห็นยินยอมให้บุตรผู้เยาว์ขับขี่รถจักรยานยนต์และรถยนต์มาช้านานมิได้ห้ามปรามตามสมควรแก่หน้าที่ดูแล เมื่อผู้เยาว์ขับรถจักรยานยนต์ชนรถผู้อื่นเสียหายอันเป็นละเมิด บิดามารดาต้องรับผิดร่วมด้วย
4.4 ความรับผิดของครู อาจารย์ นายจ้าง หรือผู้ดูแลบุคคลไร้ความสามารถ • มาตรา 430 ครูบาอาจารย์หรือบุคคลอื่นซึ่งรับดูแลบุคคลไร้ความสามารถอยู่เป็นนิตย์ก็ดี ชั่วคราวก็ดี จำต้องรับผิดร่วมกับผู้ไร้ความสามารถในการละเมิดซึ่งเขาได้กระทำลงไปในระหว่างที่อยู่ในความดูแลของตน ถ้าพิสูจน์ได้ว่าบุคคลนั้นๆมิได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควร
คำพิพากษาฎีกาที่ 356/2511 • มารดาปล่อยให้บุตรผู้เยาว์เล่นไม้กระบอกพลุที่บ้านและโรงเรียนมาก่อน จนบุตรมีความสามารถทำหบุคคลอื่นแล่นได้และนำไปเล่นที่โรงเรียนเป็นเหตุให้เด็กนักเรียนผู้หนึ่งตาบอด เช่นนี้ มารดาต้องรับผิดกับบุตรในผลการทำละเมิดนั้นด้วยแต่ครูประจำชั้นของเด็กผู้ทำละเมิด ซึ่งในตอนเช้าเด็กนักเรียนเอากระบอกพรุมาเล่นกันเกรงจะเกิดอันตรายได้เก็บไปทำลาย และห้ามมิให้เล่นต่อ แต่เด็กใช้พลุยิงกันในเวลาหยุดพักกลางวัน และนอกห้องเรียนถือว่าได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้ว จึงไม่ต้องรับผิดร่วม
คำพิพากษาฎีกาที่ 1488/2515 • ครูใหญ่ให้ครูรองควบคุมเด็กนักเรียน บันไดโหนของโรงเรียนสำหรับเด็กอนุบาลอยู่ในสภาพเรียบร้อยและห้ามเด็กชั้นโตเข้าไปเล่น เด็กอายุ 10 ปีเข้าไปเล่นอย่างผาดโผน ครูรองเห็นก็ห้าม พอดีบันไดล้มทับโจทย์เด็กอายุ 12 ปี ครูใหญ่ไม่ต้องรับผิด