300 likes | 739 Views
วิชา MTE 411. เอกสารประกอบการสอน. การจัดองค์การและการบริหาร โรงฝึกงานและโรงประลอง. อาจารย์ ทวีวัฒน์ สุภารส. บทที่ 1 ทฤษฎีพื้นฐานด้านการจัดการ. 1.1 ความหมายของการจัดการ. การจัดการคืออะไร ? การจัดการกับการบริหารนั้นเหมือนกัน นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ 3 ประการหลักๆ คือ.
E N D
วิชา MTE 411 เอกสารประกอบการสอน การจัดองค์การและการบริหาร โรงฝึกงานและโรงประลอง อาจารย์ ทวีวัฒน์ สุภารส
บทที่ 1 ทฤษฎีพื้นฐานด้านการจัดการ 1.1 ความหมายของการจัดการ การจัดการคืออะไร ? การจัดการกับการบริหารนั้นเหมือนกัน นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้ 3 ประการหลักๆ คือ 1.1.1 การจัดการ เป็นศิลปะการใช้บุคคลทำงานให้กับองค์การให้ 1.1.2 การจัดการ เป็นกระบวนการแปรเปลี่ยนจุดมุ่งหมายให้เป็นการ ปฏิบัติจริงโดยผ่านกระบวนการที่เป็นระบบ ( Systematic) ประกอบด้วย การวางแผน, การจัดองค์การ, การจัดบุคคลเข้าทำงาน, การสั่งการ, การควบคุม
ดังนั้นการจัดการตามความหมายนี้จึงมีลักษณะเป็นวัฏจักรดังนั้นการจัดการตามความหมายนี้จึงมีลักษณะเป็นวัฏจักร ดังรูปที่ 1.1 รูปที่ 1.1 การจัดองค์การเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง
1.1.3 การจัดการ เป็นกลุ่มของผู้จัดการหมายถึงองค์การเป็นบุคคล ที่ทำหน้าที่บริหารหรือจัดกิจการต่างๆ ในองค์การ ซึ่งกลุ่มของ ผู้จัดการนั้นจะแบ่งได้ 3 กลุ่ม คือ ผู้จัดการระดับสูง ระดับกลาง และ ระดับต้น ดังรูปที่ 1.2 Top management Middle management Lower management รูปที่ 1.2 การจักการคือกลุ่มของผู้จัดการระดับต่างๆ
1.2 แนวความคิดทางการ จัดการเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และศิลปะที่เป็นวิทยาศาสตร์เพราะการจัดการมีองค์ความรู้ที่มีลักษณะเป็นระบบและหลักการต่างๆได้ผ่านกระบวนการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ส่วนที่เป็นศิลปะเพราะเป็นการนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้ให้บรรลุผลที่ตั้งไว้ 1.2.1ความสำคัญของการจัดการ • - การจัดการเป็นสมองขององค์การ • การจัดการเป็นเทคนิคที่ทำให้สมาชิกในองค์การร่วมมือใน • การปฏิบัติงาน • การจัดการเป็นการกำหนดขอบเขตของการทำงานของสมาชิก • เพื่อไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน • - แสวงหาวิธีที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานขององค์กร
Fayol กำหนดหลักการจัดการไว้ 14 ข้อ 1. แบ่งงานกันทำ 2. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ 3. ความมีระเบียบวินัย 4. เอกภาพในการบังคับบัญชา 5.เอกภาพในการสั่งการ 6. ผลประโยชน์ส่วนบุคคลเป็นรองผลประโยชน์ขององค์การ 7. ผลตอบแทนที่ได้รับ 8. การรวมอำนาจ 9. สายบังคับบัญชา 10. การจัดลำดับ 11. ความเสมอภาค 12. ความมั่นคงในการทำงาน 13. ความคิดริเริ่ม 14. ความสามัคคี
Human Relations School ในปี ค.ศ. 1930-1950 เป็นช่วงที่นักบริหารเน้นการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีภายในองค์การ เพื่อแก้ไขข้อบกพร่องของการบริหารแบบวิทยาศาสตร์ที่เน้นเฉพาะประสิทธิ์ภาพของการทำงาน โดยไม่คำนึงถึงบุคคลในองค์การโดยเชื่อว่าพฤติกรรมของมนุษย์มีบทบาทสำคัญ ในการจัดการทุกองค์การ • George Elto Mayo ได้ทำการทดลอง ในหัวข้อ “ ผลกระทบของ • แสงสว่างที่มีต่อผลผลิตของคนงาน ” โดยแบ่งการทดลองออกเป็น • 3 ประเภทใหญ่ๆ • Room Studies • Interviewing Studies • Observational Studies
จากผลการวิจัย สามารถสรุปเป็นประเด็นหลักๆ ได้ดังนี้ • องค์การต้องได้รับการมองว่าเป็นองค์การทางสังคมมากกว่าที่จะเป็นเพียงระบบ • ที่ประกอบด้วยความสัมพันธ์ของคนกับเครื่องจักร • 2. องค์การมักมีภาระกิจ 2 ด้าน • - ผลิตสินค้าและบริการ (เอกชน) หรือบริการและรับผิดชอบต่อสังคม (ราชการ) • - สร้างความพอใจให้เกิดในหมู่มวลสมาชิกขององค์การ • ในองค์การใดๆจะเหมือนกับระบบสังคม มีการแยกผู้นำและผู้ตาม • พฤติกรรมของมนุษย์ไม่สามารถจูงใจในรูปที่เป็นตัวเงินเท่านั้น จะขึ้นอยู่กับค่านิยม ความเชื่อถือ และอารมณ์ความรู้สึก
5. คนงานไม่ได้ทำงานในลักษณะอิสระแต่เป็นสมาชิกกลุ่ม6. ระดับผลผลิตไม่ได้ถูกกำหนดโดยฝ่ายบริหารเท่านั้น แต่กลุ่มมีส่วน กำหนดด้วย7. ในองค์การใดๆ จะมีทั้งองค์การที่เป็นราชการ มีการกำหนดนโยบาย ระเบียบแบบแผนปฏิบัติเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างคนกับงาน
Social System School Chester L Barnard บิดาการจัดการที่ยึดหลักระบบสังคม มีแนวความคิดดังนี้ • มนุษย์แต่ละคนมีขีดจำกัดด้านกายภาพและชีวภาพจึงทำให้เกิดความร่วมแรงร่วมใจทำงานเป็นกลุ่ม และขณะเดียวกันขณะที่มนุษย์รวมเป็นกลุ่ม ปัจจัยทางด้านจิตวิทยา และ สังคมก็มีส่วนสำคัญในการร่วมแรงร่วมใจในการทำงาน • การร่วมแรงร่วมใจทำงานทำให้เกิดระบบความร่วมแรงร่วมใจในการทำงานให้องค์การเกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล • Cooperation system แบ่งได้ 2 ส่วน คือ องค์การและส่วนอื่นๆ
องค์การแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ องค์การที่มีรูปแบบเป็นองค์การ • ที่มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมด้วยการประสานงานกันของสมาชิกเพื่อ • กำหนดจุดมุ่งหมายร่วมกันและองค์การไร้รูปแบบที่เกิดแฝงขึ้นมา • เพื่อลดความตึงเครียด • 5. องค์การที่มีรูปแบบประกอบด้วย การติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกัน ความตั้งใจในการทำงานเป็นกลุ่ม • องค์การที่มีรูปแบบทุกๆองค์การจะต้องประกอบด้วย • - ระบบการกำหนดหน้าที่ตามความสามารถของบุคคล • - ระบบของประสิทธิผลและประสิทธิภาพที่กระตุ้นสมาชิกทำงาน • เป็นกลุ่ม • - ระบบของอำนาจหน้าที่จะทำให้สมาชิกยอมรับการตัดสินใจของ • ฝ่ายบริหาร
7. หน้าที่ของฝ่ายบริหารในองค์การที่มีรูปแบบประกอบด้วย - การธำรงรักษาระบบการติดต่อสื่อสารภายในองค์การที่มี ความสอดคล้องกัน - ให้ความคุ้มครองแก่บุคคลที่ให้บริการพิเศษแก่องค์การ - การกำหนดวัตถุประสงค์ขององค์การให้เด่นชัด 8. ฝ่ายบริหารจะวางตำแหน่งบุคคลต่างๆ ในองค์การให้มีความสมดุล 9. ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบสูง
Mathematical School การจัดการเป็นกระบวนการทางตรรกะ ที่มีเหตุผลแล้วต้องสามารถแสดงออกมาในรูปของสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ได้ เช่น Y=f(x) เป็นต้น พื้นฐานแนวความคิดด้านนี้เป็นการสร้างรูปแบบขึ้น โดยผ่านกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา และแสดงออกมาในรูปของความสัมพันธ์ และในรูปวัตถุประสงค์ที่เลือกสรรค์แล้ว เช่น นักวิจัยเชิงปฏิบัติการหรือนักวิทยาศาสตร์การจัดการ System School แนวความคิดด้านสังคมเป็นการจัดการที่เน้นกลยุทธ์ ศึกษาส่วนต่างๆ ของระบบภายในระบบจะมีธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกัน และกัน มีความสัมพันธ์กัน การวิเคราะห์เชิงระบบเป็นความพยายามที่จะ กำหนดธรรมชาติของความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ที่อยู่ภายในระบบ ถึงแม้ระบบอาจแบ่งแยกออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ แต่ก็ยังมีความเกี่ยวข้องขององค์ประกอบต่างๆ
1.3 ทักษะด้านการจัดการ (Management Skills) ทักษะที่จำเป็นที่ควรปลูกฝังและพัฒนาแก่ฝ่ายจัดการ คือ • Technical Skill เป็นการมุ่งให้ฝ่ายจัดการมีความรู้ ความเข้าใจ และความสามารถในการทำงานที่ใช้ฝีมือ เพื่อเป็นที่ปรึกษาและสาธิตวิธีการต่างๆให้คนงานในกลุ่มที่ตัวเองรับผิดชอบได้เรียนรู้ • Human Skill เนื่องจากการจัดการกระทำกับมนุษย์โดยตรง ฉะนั้นจะให้เกิดความร่วมมือจำเป็นต้องเข้าใจเรื่องราวเกี่ยวกับมนุษย์เป็นอย่างดี • Conceptual Skill เกี่ยวกับความสามารถในการมององค์การในภาพรวม • พิจารณาหน้าที่ต่างๆในองค์การ และผลกระทบจากสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอกที่มีต่อองค์การ