380 likes | 1.79k Views
กายวิภาคและสรีรวิทยา 1 Anatomy and Physiology 1. รหัสรายวิชา 8011101 Lecture#1 บทนำ ความรู้เบื้องต้น อ.ภัทรภร เจริญบุตร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มรภ. อุบลราชธานี. คำอธิบายรายวิชา.
E N D
กายวิภาคและสรีรวิทยา 1 Anatomy and Physiology 1 รหัสรายวิชา 8011101 Lecture#1 บทนำ ความรู้เบื้องต้น อ.ภัทรภร เจริญบุตร คณะสาธารณสุขศาสตร์ มรภ.อุบลราชธานี
คำอธิบายรายวิชา • ความหมาย ความสำคัญ คำศัพท์ทางกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา การจัดระบบของร่างกายมนุษย์ ความรู้เบื้องต้นของเซลล์และเนื้อเยื่อ โครงสร้างและหน้าที่การทำงานของอวัยวะในร่างกายมนุษย์ รูปร่าง ลักษณะ ตำแหน่งและหน้าที่การทำงานของอวัยวะในระบบโครงร่าง ระบบห่อหุ้มร่างกาย ระบบกล้ามเนื้อ และระบบประสาท
ความสำคัญ ประโยชน์ • ความสำคัญของวิชากายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาของมนุษย์จะเป็นความรู้พื้นฐานในการศึกษาศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการป้องกันดูแลสุขภาพของมนุษย์เอง ให้มีชีวิตอันยืนยาวต่อไป
ข้อตกลงด้านคุณธรรม จริยธรรม • นักศึกษาทุกคนควรมีความซื่อสัตย์สุจริต ไม่ทุจริตในการสอบ การลอกการบ้านหรือรายงานของผู้อื่น • นักศึกษาควรเข้าเรียนตรงเวลา และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
คำแนะนำในการเรียนให้ประสบโชค AStudy Suggestions: • ควรมีเอกสารประกอบการสอน กายวิภาคและสรีรวิทยา 1 โดย ผศ.นภาภรณ์ สันพนวัฒน์ (พ.ศ.2547) ซึ่งอาจารย์จะสอนตามเนื้อหาในนั้น • ศึกษาเอกสารประกอบการสอน อ่านเพิ่มในเว็บไซต์ที่แนะนำมาก่อน และหากมีข้อสงสัยให้ปรึกษาอาจารย์ อาจทางอีเมล หรือในชั่วโมงเรียน • อ่านศึกษาทำความเข้าใจเนื้อหาแต่ละบทอย่างละเอียด • ทำแบบฝึกหัดด้วยตนเอง ประเมินคะแนน จากเฉลยของอาจารย์ หมั่นทบทวนตอบคำถาม จนสามารถตอบคำถามได้เองถูกต้อง • เก็บรวบรวมแบบฝึกหัดใส่ แฟ้มสะสมงาน ให้ครบทุกบท ส่งก่อนสอบ final • การปรึกษาอาจารย์ได้ทางอีเมล หากต้องการพบให้นัดล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน วันเวลาที่อาจารย์สามารถนัดให้คำปรึกษาได้คือ • พุธ และ พฤหัสบดี เวลา 8.00-10.00 น.
บทที่ 1 ความรู้เบื้องต้น
LESSON OBJECTIVES • LESSON 1 ความรู้เบื้องต้น คำศัพท์สำคัญ • หลังเรียนหัวข้อนี้จบ นักศึกษาสามารถ : 1-1. บอกนิยามของ กายวิภาคศาสตร์ และ สรีรวิทยา 1-2. ยกตัวอย่างแขนงวิชาของการศึกษาทางกายวิภาคศาสตร์ได้สัก 2-3 แขนง 1-4. อธิบาย การจัดระบบของร่างกายมนุษย์ได้ 1-5. บอกความหมายคำศัพท์สำคัญทางกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาได้ 1-6. อธิบาย บอกความหมาย ท่ายืนทางกายวิภาคศาสตร์ได้ (anatomical position) 1-7. บอกส่วนต่างๆของร่างกายมนุษย์ได้ (4 ส่วน) 1-8. บอกความคาดหวังถึงการนำไปใช้ประโยชน์ของรายวิชานี้ในวิชาชีพสาธารณสุข
Vitruvian Manby Leonardo da Vinci • “Proportion of the Human Figure” ศึกษาสัดส่วนกายวิภาคมนุษย์อย่างละเอียด จนพิสูจน์ทฤษฎีบทของ "วิทรูเวียน" ผู้เป็นสถาปนิกยุคจักรวรรดิโรมันได้สำเร็จว่า "ร่างคนยืนกางแขนขาจะตกเป็นรูปทรงเรขาคณิตที่สมบูรณ์เสมอ" และนับเป็นการเปิดประตูสู่ศาสตร์กายวิภาคครั้งสำคัญ
วิชานี้ศึกษาเกี่ยวกับ??????วิชานี้ศึกษาเกี่ยวกับ?????? • Anatomy is the science of the structure of the body. • วิชากายวิภาคศาสตร์ (Anatomy)เป็นการศึกษาถึงโครงสร้าง (structure) และส่วนต่าง ๆของร่างกายมนุษย์ ซึ่งประกอบเป็นรูปร่าง รวมทั้งลักษณะ ตำแหน่ง ของส่วนนั้นๆ และชิ้นส่วนของอวัยวะนั้นๆ ประกอบขึ้นเป็นรูปร่างได้อย่างไร
คำว่า Anatomy คำนี้มีความหมายว่าอย่างไร? • มาจากภาษากรีกคือ anatome (ana = up, apart, tome = cutting) มีความหมายว่า to cut up โดยความหมายนี้ anatomy จึงเป็นคำที่มีความหมายเหมือนกับ (synonym) dissection ในภาษาลาตินซึ่งมีความหมายว่า to cut up เช่นเดียวกัน (dis = asunder, secare = to cut) • แต่ในปัจจุบันคำทั้งสองนี้ไม่เป็น synonym กันอีกต่อไป เพราะ • dissection เป็นคำที่ใช้เรียกเทคนิคในการเรียน gross anatomy หมายถึง เทคนิคของการตัดที่แท้จริง (actual cutting up) เพื่อที่จะศึกษาส่วนต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต • แต่ anatomy เป็นคำที่ใช้เรียกชื่อวิชาดังกล่าวแล้วข้างต้น
สรีรวิทยา (Physiology) • เป็นวิทยาศาสตร์แขนงหนึ่งซึ่งศึกษาเกี่ยวกับหน้าที่(Function) ของอวัยวะต่างๆไม่เพียงแต่หน้าที่ใหญ่ๆของอวัยวะเท่านั้น แต่ยังศึกษาถึงหน้าที่ของส่วนย่อยของอวัยวะเหล่านั้นอีกด้วย นอกจากนี้ยังศึกษาถึงกระบวนการต่างๆที่เกิดขึ้นซึ่งอาจเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงทางเคมีและทางกายภาพในอวัยวะ • Physiology • The scientific discipline that studies the function of body structures. ****Structure and function cannot be completely separated.
แขนงวิชา KINDS OF ANATOMICAL STUDIES 1. Macroscopic anatomy หรือ Gross anatomy เป็นการศึกษาโครงสร้างต่างๆ ของร่างกายด้วยตาเปล่า, Gross anatomy สามารถนำไปสัมพันธ์กับสาขาวิชาอื่น ได้แก่ • Applied anatomy เป็นการเชื่อมโยง anatomy กับทางเวชกรรม (medicine) • Surgical anatomy ศึกษาเพื่อใช้ทางศัลยกรรม (surgery) • Comparative anatomy ศึกษาความสัมพันธ์โครงสร้าง (structural relation) ของสัตว์ชนิดหนึ่งกับอีกชนิดหนึ่ง • Pathological anatomy ศึกษาผลของโรคที่มีต่อโครงสร้างร่างกาย
2.จุลกายวิภาคศาสตร์ (Microanatomy) • เป็นวิชาเกี่ยวกับส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องขยายดูด้วยกล้องจุลทรรศน์แบ่งเป็น 2 สาขาย่อย คือ • เนื้อเยื่อวิทยา (Histology) เป็นการศึกษารายละเอียดของเนื้อเยื่อต่าง ๆ รวมทั้งเนื้อเยื่อที่ประกอบกันเป็นอวัยวะ • เซลล์วิทยา (Cytology) เป็นวิชาเกี่ยวกับโครงสร้างและหน้าที่ของส่วนประกอบต่าง ๆ ภายในเซลล์ ส่วนมากต้องศึกษาจากกล้องจุลทรรศน์อีเล็กตรอน • ประสาทกายวิภาคศาสตร์ (Neuroanatomy) เป็นการศึกษาโครงสร้างและหน้าที่เกี่ยวกับส่วนประกอบ รูปร่าง ลักษณะการทำงานของระบบประสาทของสมองและไขสันหลัง รวมถึงอวัยวะรับสัมผัส
Anatomical position • หมายถึง ท่ายืนกายวิภาค แสดงถึงการยืนตรง ศีรษะและลำตัวตรง ใบหน้ามองตรงไปข้างหน้า แขนสองข้างแนบลำตัว ฝ่ามือทั้งสองหันหรือแบออกไปด้านหน้า • เป็นท่าที่ anatomists ทั่วโลกได้ตกลงกันไว้ไม่ว่าคนที่ยังมีชีวิตหรือศพ จะยืน นั่ง นอนในท่าใดก็ตาม เวลาพูดว่า structure ใดอยู่บน ล่าง ขวา ซ้าย หน้า และหลัง ให้เสมือนว่าคนหรือศพนั้นอยู่ในท่า anatomical position
Planes of the body • แนวหรือระนาบของร่างกาย ได้แก่ แนวสมมติที่ผ่านร่างกายใน ท่ามาตรฐาน (anatomical position)ได้แก่ median, sagittal, coronal, horizontal และ transverse planes
Median plane (midsagittal or median sagittal plane) • ระนาบการผ่า เป็นแนวสมมติในแนวตั้ง (vertical imaginary plane) ที่ตัดผ่านตามความยาวของร่างกาย ทำให้แบ่งร่างกายออกเป็นครึ่งซ้าย และครึ่งขวา ที่มา student.brighton.ac.uk
Sagittal planes • เป็นแนวสมมติในแนวตั้งที่ตัดผ่านร่างกายโดยขนานกับ median plane • sagittal plane ที่ผ่าน median plane ของร่างกายเรียก median sagittal plane หรือ midsagittal plane, • Sagittal plane ที่แบ่งร่างกายออกเป็น right และ left portions แต่ไม่ผ่าน median plane บางครั้งเรียก paramedianหรือ parasagittal plane นั่นคือ ผ่าในแนวถัดจากแนวกลางลำตัวออกมาให้ได้ซีกซ้ายขวาไม่เท่ากัน ที่มารูป student.brighton.ac.uk
Transverse or Horizontal plane • ระนาบการผ่า ผ่าตามขวางเป็นการผ่าตามขวาง หรือผ่าตามแนวระดับขนานกับพื้น ที่มาภาพ student.brighton.ac.uk
Coronal plane (frontal plane) • เป็นแนวสมมติในแนวตั้งที่ตัด median plane เป็นมุมฉาก และแบ่งร่างกายออกเป็นส่วนหน้า (anterior / front), และส่วนหลัง (posterior / back) อยู่ในแนวเดียวกับ coronal suture ของกะโหลกศีรษะ ที่มาภาพจาก student.brighton.ac.uk
Body sectioning • ในการศึกษาจุลกายวิภาคศาสตร์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะถูกนำมาตัดให้เป็นชิ้นบางหรือหน้าตัด (Section) ซึ่งมี 3 แบบ คือ หน้าตัดตามขวาง (Transverse or Cross section) หน้าตัดเฉียง (Oblique section) และหน้าตัดตามยาว (Longitudinal section)
คำศัพท์ต่างๆ (terms) 1)Terms of Relationship คือ คำศัพท์ต่างๆ ที่บอกตำแหน่งของโครงสร้างหนึ่งสัมพันธ์กับโครงสร้างอื่น ๆ หรือกับร่างกายทั้งหมดเมื่ออยู่ใน anatomical position คำศัพท์ที่เป็นส่วนของคำประกอบซึ่งอยู่ในคำอื่น ๆ ในวิชากายวิภาคศาสตร์ เช่น • Anterior or Ventral or front หมายถึง คำประกอบที่เกี่ยวข้องกับ ด้านหน้า หรือใกล้ไปทางด้านหน้าของร่างกาย • Ventral มีความหมายเหมือน anterior และมักใช้ในการอธิบาย embryos เพราะไม่สามารถวางอยู่ใน anatomical position ได้
คำศัพท์ (ต่อ) • Posterior (dorsal / behind) Posterior or Dorsal หมายถึง คำประกอบที่เกี่ยวข้องกับ ด้านหลัง หรือ ใกล้ไปทางด้านหลังของร่างกาย Dorsal ใช้แทน posterior ใน embryos และระบบประสาท • Superior (cephalic / cephalad / cranial / above) หมายถึง ใกล้ไปทางศีรษะหรือส่วนบนของร่างกาย - Cranial / Cephalic ใช้แทน superior ในการศึกษา embryos และระบบประสาท
คำศัพท์ (ต่อ) • Inferior (caudal / caudad / below) หมายถึง ใกล้ไปทางเท้าหรือปลายล่างของร่างกาย • - Caudal มาจากภาษาลาตินมีความหมายว่า tail ใช้ในการอธิบาย embryos และระบบประสาท ใช้กล่าวถึง structure ที่ใกล้ไปทางหางหรือ inferior end
คำศัพท์ (ต่อ) • Medial หมายถึง ใกล้ไปทาง median plane ตัวอย่างเช่น หัวแม่เท้าอยู่ medial ต่อนิ้วก้อยของเท้า • Lateral หมายถึง ไกลออกไปจาก median plane ตัวอย่างเช่น หัวแม่มืออยู่ lateral ต่อนิ้วก้อยของมือ • Intermediate หมายถึง อยู่ระหว่าง medial กับ lateral
2) Terms of Comparison คือ คำศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้เปรียบเทียบตำแหน่งที่สัมพันธ์ซึ่งกันและกันของ structures 2 อย่าง ได้แก่ • Proximal หมายถึง ใกล้ไปทางส่วนที่ติดกับลำตัว (attach end) หรือ point of origin ของ vessel, nerve, limb หรือ organ • Distal หมายถึง ไกลออกไปจากส่วนที่ติดกับลำตัว หรือ point of origin ของ vessel, nerve, limb หรือ organ
2) Terms of Comparison (ต่อ) - ที่แขนและขา, proximal มีความหมายเหมือน superior และ distal มีความหมายเหมือน inferior - เมื่อกล่าวถึง muscles ของ แขนและขา, proximal attachment หมายถึง origin ส่วน distal attachment หมายถึง insertion
2) Terms of Comparison (ต่อ) • Superficial หมายถึง ใกล้พื้นผิวหนัง (skin surface) ของร่างกาย • Deep หมายถึง ลึกเข้าไปจากพื้นผิวหนัง (skin surface) ของร่างกาย • Internal (interior / inside / inner) หมายถึง ใกล้ศูนย์กลางของ organ หรือ cavity • External (exterior / outside / outer) หมายถึง ไกลออกไปจากศูนย์กลางของ organ หรือ cavity • Middle หมายถึง อยู่ระหว่าง anterior กับ posterior, superior กับ inferior, external กับ internal • Ipsilateralหมายถึง อยู่ข้างเดียวกันของร่างกาย • Contralateralหมายถึง อยู่คนละข้างของร่างกาย
ทวนคำศัพท์ (ต่อ) • Superior or Cranial หมายถึง คำประกอบที่เกี่ยวข้องกับ ด้านบน • Inferior or Caudal หมายถึง คำประกอบที่เกี่ยวข้องกับ ด้านล่าง • Ventral หมายถึง คำประกอบที่เกี่ยวข้องกับ ด้านท้อง • Dorsal หมายถึง คำประกอบที่เกี่ยวข้องกับ ด้านหลัง • Proximal หมายถึง คำประกอบที่เกี่ยวข้องกับ ด้านใกล้ตัว • Distal หมายถึง คำประกอบที่เกี่ยวข้องกับ ด้านไกลออกจากลำตัว • Median หมายถึง คำประกอบที่เกี่ยวข้องกับ กึ่งกลางลำตัว • Lateral หมายถึง คำประกอบที่เกี่ยวข้องกับ ไกลจากกึ่งกลางลำตัว
ช่องว่างในร่างกาย (Body cavity) ช่องว่าง หรือโพรงในร่างกาย (Body of cavity) ประกอบด้วย ช่องว่างด้านหน้าและ ช่องว่างด้านหลัง • ช่องว่างด้านหน้า (Ventral cavity) หมายถึง ช่องว่างที่ไม่มีกระดูกล้อมรอบ ประกอบด้วย ช่องอก ช่องท้อง และช่องอุ้งเชิงกราน
ช่องว่างในร่างกาย (Body cavity) • ช่องอก (Thoracic cavity) มีปอด (Lung) หัวใจ (Heart) หลอดอาหาร (Esophagus) หลอดลม (Trachea) เส้นเลือดแดงใหญ่ (Aorta) บรรจุอยู่ • ช่องท้อง (Abdomen cavity) มีกระเพาะอาหาร (Stomach) ลำไส้เล็ก (Small intestine) ลำไส้ใหญ่ (Large intestine) ตับ (Liver) ถุงน้ำดี (Gall bladder) เป็นต้น • ช่องเชิงกราน (Pelvic cavity) ประกอบด้วย กระเพาะปัสสาวะ (Bladder) มดลูก (Uterus) ปีกมดลูก (Follopian tube) ต่อมลูกหมาก (Prostate gland) อวัยวะสืบพันธุ์ของเพศ ชายและเพศหญิง (Male and female reproductive organs)
ช่องว่างในร่างกาย (Body cavity) • ช่องว่างด้านหลัง (Dorsal cavity) หมายถึง ช่องว่างที่มีกระดูกล้อมรอบ ประกอบด้วยช่องกะโหลก (Cranial cavity) ภายในมีสมอง (Brain) บรรจุอยู่ • ช่องไขสันหลัง (Spinal cavity) มีไขสันหลัง (Spinal cord) และน้ำไขสันหลัง (Cerebro-Spino-Fluid) หรือเรียกย่อๆ ว่า C.S.F • ช่องเบ้าตา (Orbital cavity) มีลูกตา ม่านตา เลนส์แก้วตา ประสาทตา บรรจุอยู่ • ช่องจมูก (Nasal cavity) ภายในมีขนจมูก เซลล์รับกลิ่นอยู่ภายใน • ช่องปาก (Oral cavity) ประกอบด้วย ลิ้น ฟัน เหงือก กระพุ้งแก้ม ต่อมน้ำลาย
แหล่งข้อมูลอ้างอิง • เอกสารประกอบการสอน กายวิภาคศาสตร์1 คณะทันตแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล • เอกสารประกอบการสอน กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา 1 โดย ผศ.นภาภรณ์ สันพนวัฒน์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี • เอกสารประกอบการสอนวิชา กายวิภาคและสรีรวิทยา. หน่วยที่ 1. จากเว็บไซต์ science.srru.ac.th • ภาพต่างๆจากอินเตอร์เน็ต แหล่งข้อมูลอ้างอิงตามภาพ