410 likes | 830 Views
สาระสำคัญและพันธกรณีของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ การติดตามตรวจสอบสาร POPs ระดับโลกและระดับภูมิภาค และการประเมินความมีประสิทธิผลภายใต้อนุสัญญาฯ ( Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: POPs). นาวสาวธีราพร วิริวุฒิกร ผู้อำนวยการส่วนสารอันตราย
E N D
สาระสำคัญและพันธกรณีของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ การติดตามตรวจสอบสาร POPs ระดับโลกและระดับภูมิภาค และการประเมินความมีประสิทธิผลภายใต้อนุสัญญาฯ(Stockholm Convention on Persistent Organic Pollutants: POPs) นาวสาวธีราพร วิริวุฒิกร ผู้อำนวยการส่วนสารอันตราย สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ
อนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ • รับรองอนุสัญญาฯ เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2544 ณ กรุงสตอกโฮล์ม ราชอาณาจักรสวีเดน • ลงนาม 152 ประเทศ /ให้สัตยาบัน 179 ประเทศ (ณ พ.ย. 56) • บังคับใช้เมื่อ 17 พฤษภาคม 2547 • ประเทศไทย • ลงนามเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2545 • ให้สัตยาบันเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2548 • มีผลบังคับใช้กับไทย ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2548
วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ • วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ เพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมจากสารมลพิษ ที่ตกค้างยาวนาน (สาร POPs) โดยการลด/เลิก การผลิต การใช้ และการปลดปล่อยสาร POPs • คุณสมบัติของสาร POPs • ถูกย่อยสลายได้ยากโดยแสง/สารเคมี/ชีวภาพ • ตกค้างในสิ่งแวดล้อมเป็นเวลานาน • สามารถเคลื่อนย้ายไปได้ไกลมาก • มีคุณสมบัติละลายน้ำได้น้อยมากแต่ละลายได้ดีในไขมันจึงทำให้มีการสะสมในไขมันของสิ่งมีชีวิต • มีความเป็นพิษสูง
สารเคมี 23 ชนิด ภายใต้อนุสัญญาฯ สาร POPs เดิม 12 ชนิด • ภาคผนวก เอ (เลิกใช้/กำจัดให้หมดไป)Pesticides:aldrin, chlordane, dieldrin, endrin, heptachlor, hexachlorobenzene, mirex, และ toxapheneIndustrial chemical: PCBs • ภาคผนวก บี (จำกัดการใช้) DDT • ภาคผนวก ซี (ปลดปล่อยโดยไม่จงใจ) dioxins, furans, hexachlorobenzene
สารเคมี 23 ชนิด ภายใต้อนุสัญญาฯ (ต่อ) • COP4 ปี พ.ศ. 2552 เพิ่มเติม สาร POPs9 ชนิด (nine new POPs) • ภาคผนวก เอ (เลิกใช้/กำจัดให้หมดไป) Pesticides:alpha-hexachlorocyclohexane, beta-hexachlorocyclohexane, chlordeconeและlindaneIndustrial chemicals: hexabromobiphenyl, pentachlorobenzene, hexabromodiphenyl ether and heptabromodiphenyl ether, และtetrabromodiphenyl ether and pentabromodiphenyl ether • ภาคผนวก บี (จำกัดการใช้) perfluorooctane sulfonic acid (PFOS), its salts and perfluorooctane sulfonyl fluoride (PFOSF) • ภาคผนวก ซี (ปลดปล่อยโดยไม่จงใจ)pentachlorobenzene • COP5 ปี พ.ศ. 2554 เพิ่มเติม technical endosulfan and its related isomers ในภาคผนวก เอ • COP6 ปี พ.ศ. 2556 เพิ่มเติม hexabromocyclododecaneในภาคผนวก เอ
พันธกรณีที่สำคัญ • ใช้มาตรการทางกฎหมายและการบริหารเพื่อห้ามผลิต/ใช้ สาร POPs ประเภทที่มีการใช้งานอย่างจงใจ • ลดการปลดปล่อยสาร POPs ประเภทปลดปล่อยโดยไม่จงใจโดยส่งเสริมการใช้สารทดแทน และ BAT/BEP • ดูแลจัดการ stockpiles ของเสีย POPs และพื้นที่ปนเปื้อน • จัดทำแผนจัดการระดับชาติเพื่อการปฏิบัติตามอนุสัญญาฯ โดยทบทวนและปรับปรุงแผนฯ ตามความเหมาะสม
พันธกรณีที่สำคัญ (ต่อ) • พัฒนาทำเนียบข้อมูลต่าง ๆ อาทิ การปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ • เผยแพร่ข้อมูล และการสร้างความตระหนักเกี่ยวกับสาร POPs • สนับสนุนการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบต่างๆ จากสาร POPs ทั้งในระดับชาติและระหว่างประเทศ • จัดส่งรายงานของประเทศ (national report) • สนับสนุนการประเมินความมีประสิทธิผลของอนุสัญญาฯ (effectiveness evaluation)
พันธกรณีข้อบทที่ 11 ของอนุสัญญาฯ การวิจัย การพัฒนา และการติดตามตรวจสอบ • ส่งเสริมให้ภาคีสมาชิกดำเนินการวิจัยพัฒนาและติดตามตรวจสอบที่เกี่ยวข้องกับสาร POPs ตามขีดความสามารถ ของตน รวมทั้งในส่วนของสารทดแทนสาร POPs และสารเคมีที่อยู่ระหว่างการพิจารณากำหนดให้เป็นสาร POPs ภายใต้อนุสัญญาฯในประเด็น อาทิ แหล่งปลดปล่อยสาร POPs ระดับการปนเปื้อนในมนุษย์และสิ่งแวดล้อม การเคลื่อนย้ายและการเปลี่ยนรูปทางสิ่งแวดล้อม ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อม
พันธกรณีข้อบทที่ 11 ของอนุสัญญาฯ (ต่อ-1) การวิจัย การพัฒนา และการติดตามตรวจสอบ (ต่อ-1) • สนับสนุนและพัฒนาโครงการ เครือข่ายและองค์กรระหว่างประเทศ โดยมุ่งเน้นการกำหนดกรอบ การดำเนินการ การประเมิน และการให้การสนับสนุนทางการเงิน สำหรับการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล และการติดตามตรวจสอบสาร POPs ตามขีดความสามารถของตน • สนับสนุนความพยายามระดับชาติและระดับนานาชาติในการเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถด้านเทคนิคและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา
พันธกรณีข้อบทที่ 11 ของอนุสัญญาฯ (ต่อ-2) การวิจัย การพัฒนา และการติดตามตรวจสอบ (ต่อ-2) • ให้คำนึงถึงข้อจำกัดของประเทศที่กำลังพัฒนา โดยเฉพาะ ทางด้านเทคนิคและการเงิน และให้ร่วมมือกันในการเสริมสร้าง ขีดความสามารถให้สูงขึ้น • ดำเนินการวิจัย โดยมีจุดมุ่งหมายในการบรรเทาผลกระทบของสาร POPs ที่เกี่ยวข้องกับการเจริญพันธุ์ • ให้สาธารณชนสามารถเข้าถึงผลของกิจกรรม การวิจัย การพัฒนา และการติดตามตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอและทันเวลา • ส่งเสริมความร่วมมือในการเก็บรักษาข้อมูลที่เกิดจากการวิจัย การพัฒนา และการติดตามตรวจสอบ
พันธกรณีข้อบทที่ 16 ของอนุสัญญาฯ การประเมินความมีประสิทธิผล (Effectiveness Evaluation) • เพื่อให้ทราบว่าการบังคับใช้อนุสัญญาฯ ทำให้ระดับการปนเปื้อนสาร POPs ในสิ่งแวดล้อมมีแนวโน้มลดลง/สาร POPs ได้ถูกกำจัดให้หมดไปในระดับโลก • เริ่มประเมินความมีประสิทธิผลครั้งแรก หลังจากอนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้ 4 ปี หลังจากนั้นให้ COP พิจารณาตัดสินใจกรอบระยะเวลาการประเมินครั้งต่อไป ทั้งนี้ COP/POPs-4 เมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 เห็นชอบให้มีการประเมินความมีประสิทธิผล ทุกๆ 6 ปี โดยครั้งต่อไปในปี 2558
พันธกรณีข้อบทที่ 16 ของอนุสัญญาฯ (ต่อ-1) การประเมินความมีประสิทธิผล (ต่อ-1) • เน้นความร่วมมือและการดำเนินการในระดับภูมิภาคตาม ขีดความสามารถด้านเทคนิคและการเงิน โดยใช้โครงการติดตามตรวจสอบที่มีอยู่เดิม และประสานวิธีการให้สอดคล้องกัน เพื่อสามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้ • ต้องรวบรวมรายงานผลการติดตามตรวจสอบสาร POPs ในระดับภูมิภาคและระดับโลก ตามแนวทางใน Global Monitoring Plan (GMP) เสนอต่อ COP เพื่อพิจารณา
พันธกรณีข้อบทที่ 16 ของอนุสัญญาฯ (ต่อ-2) การประเมินความมีประสิทธิผล (ต่อ-2) • การประเมินความมีประสิทธิผลจะพิจารณาจากข้อมูล • รายงานและข้อมูลการติดตามตรวจสอบที่ได้มาตามข้อบทที่ 16 วรรค 2 (ตาม GMP) • รายงานของประเทศ (national report) จัดส่งตามข้อบทที่ 15 • ข้อมูลเกี่ยวกับการไม่ปฏิบัติตามที่ได้มาตามระเบียบวิธีการที่กำหนดขึ้นภายใต้ข้อบทที่ 17
แผนการติดตามตรวจสอบสาร POPs ระดับโลก (Global Monitoring Plan: GMP) • ให้แนวทางการเก็บรวบรวมข้อมูลการติดตามตรวจสอบสาร POPs ในทุกภูมิภาคของโลก เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นระบบเดียวกันและเปรียบเทียบกันได้ เพื่อให้ทราบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับสาร POPs ตามกาลเวลา เพื่อให้ทราบข้อมูลการเคลื่อนย้ายของสาร POPs ในระดับภูมิภาคและระดับโลก • ตัวอย่างหลัก (core media) ในการติดตามตรวจสอบ เพื่อสามารถบ่งชี้ข้อมูลข้างต้น ได้แก่ อากาศในบรรยากาศทั่วไป เลือด น้ำนมมารดา และตัวอย่างน้ำสำหรับสารกลุ่ม PFOS
แผนการติดตามตรวจสอบสาร POPs ระดับโลก (Global Monitoring Plan: GMP) (ต่อ-1) • รายงานผลการติดตามตรวจสอบสาร POPs ในระดับภูมิภาคและระดับโลกตามแนวทาง GMP ฉบับที่ 1ได้เสนอต่อ COP/POPs สมัยที่ 4เมื่อเดือนพฤษภาคม 2552 เป็นข้อมูลฐาน (baseline) สำหรับการประเมินในอนาคต COP/POPs-4 ให้มีการประเมินความมีประสิทธิผล ทุกๆ 6 ปี • รายงานผลการติดตามตรวจสอบสาร POPs ฉบับที่ 2 จะเสนอต่อ COP/POPs สมัยที่ 7 เพื่อพิจารณาในปี พ.ศ. 2558
แผนการติดตามตรวจสอบสาร POPs ระดับโลก (Global Monitoring Plan: GMP) (ต่อ-2) • COP/POPs สมัยที่ 4-6 ได้เห็นชอบให้บรรจุสาร POPs เพิ่มเติม 11ชนิด (กล่าวคือ สาร POPs 9 ชนิด, endosulfan และ hexabromocyclododecane) จึงต้องมีการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมสาร POPs ชนิดใหม่ดังกล่าวด้วย อาทิ การปรับปรุง GMP การพัฒนาวิธีการทดสอบที่เป็นมาตรฐาน และกิจกรรมการติดตามตรวจสอบ • มีการปรับปรุงคู่มือแนวทาง GMP โดยเพิ่มเติมประเด็นสาร POPs 9 ชนิด โดยนำเสนอต่อ COP/POPs สมัยที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2554 ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ขอให้สำนักเลขาธิการฯ มีการปรับปรุงคู่มือแนวทาง GMP อย่างต่อเนื่อง
การดำเนินงานข้อบทที่ 11 และ 16 ในประเทศ • จากรายงานผลการดำเนินงาน ปี 2551 - 2555 พบว่ามีการศึกษาวิจัย และติดตามตรวจสอบสาร POPs จากแหล่งกำเนิดประเภทต่างๆ ที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม ผลผลิตทางการเกษตร และผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ • การศึกษาการสะสมและการแพร่กระจายสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อมบริเวณพื้นที่เกษตรกรรม ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำที่สำคัญ โดยกรมวิชาการเกษตร • การตรวจสอบสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์กลุ่มออร์กาโนคลอรีน และรวมทั้งสารในกลุ่ม POPs ในตัวอย่างพืช ผัก และผลไม้ โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
การดำเนินงานข้อบทที่ 11 และ 16 ในประเทศ (ต่อ) • การศึกษาวิจัย และติดตามตรวจสอบสาร POPs ในประเทศ (ต่อ) • การติดตามตรวจสอบสารพีซีบีที่ตกค้างในสิ่งแวดล้อม โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ซึ่งทำการติดตามตรวจสอบสารพีซีบีในตะกอนดิน บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ปากแม่น้ำและอ่าวไทยตอนบน • ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม พิษวิทยาและการบริหารจัดการสารเคมี มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย และสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ดำเนินการการเฝ้าระวัง/ติดตามตรวจสอบสารพีซีบีตกค้างในผลิตภัณฑ์อาหาร ภายใต้โครงการ The evaluation of PCBs and dioxin-like PCBs contaminated coast of Thailand by using chemical and biological techniques
การดำเนินงานข้อบทที่ 11 และ 16 ในประเทศ (ต่อ) • การศึกษาวิจัย และติดตามตรวจสอบสาร POPs ในประเทศ (ต่อ) • การศึกษาเบื้องต้นสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์กลุ่มออร์กาโนคลอรีนสะสมในประชากรไทย โดยกรมวิทยาศาสตร์ การแพทย์ เพื่อทราบชนิดและปริมาณสารเคมีดังกล่าวที่สะสม ในประชากรไทย สำหรับใช้เป็นแนวทางในการลดและแก้ไข ปัญหาสาร POPs • การดำเนินโครงการจัดตั้งห้องปฏิบัติการไดออกซิน โดยกรม ส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
การดำเนินงานข้อบทที่ 11 และ 16 ในประเทศ (ต่อ) • การศึกษาวิจัย และติดตามตรวจสอบสาร POPs ในประเทศ (ต่อ) • การดำเนินโครงการ Persistent Organic Pollutants in the Mekong River Basin (Mekong POPs) โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งศึกษาการตกค้างของสาร POPs ในดินตะกอนของลุ่มแม่น้ำโขง • การตรวจวัดปริมาณสารไดออกซินและฟิวแรนจากแหล่งกำเนิด อาทิ เตาเผามูลฝอยติดเชื้อ เตาเผาศพ โรงไฟฟ้าและหม้อน้ำอุตสาหกรรม และจากอุตสาหกรรมการผลิตเหล็กและโลหะ โดยกรมควบคุมมลพิษ
สรุปภาพรวมการดำเนินงานข้อบทที่ 11 และ 16 ในประเทศ • มีข้อมูลการติดตามตรวจสอบสาร POPs ในตัวอย่างสิ่งแวดล้อมบางส่วน อาทิ ตัวอย่างน้ำ ตะกอนดิน สัตว์น้ำ อากาศเสียจากปล่องโรงงาน/เตาเผา และตัวอย่างอาหาร ในรูปแบบของบทความ/รายงานการวิจัย แต่ยังไม่มีการรวบรวมฐานข้อมูลการติดตามตรวจสอบสาร POPs อย่างเป็นระบบ • ยังไม่มีระบบการติดตามตรวจสอบสาร POPs ในตัวอย่างหลัก (อาทิ อากาศ เลือด และน้ำนมมารดา) ที่สอดคล้องกับ GMP • การดำเนินงานด้านการตรวจวิเคราะห์และติดตามตรวจสอบสาร POPs ชนิดใหม่ ยังมีอยู่ค่อนข้างจำกัด
สรุปภาพรวมการดำเนินงานข้อบทที่ 11 และ 16 ในประเทศ (ต่อ) • หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม มีการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถด้านห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์สาร POPs โดยเฉพาะสาร PCDDs/PCDFs • ยังมีข้อจำกัดด้านบุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ องค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี และงบประมาณ และต้องการการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถเพิ่มเติม
ความร่วมมือระดับภูมิภาคความร่วมมือระดับภูมิภาค โครงการ Environmental Monitoring of POPs in East Asian Countries • แหล่งเงินสนับสนุน :กระทรวงสิ่งแวดล้อม ประเทศญี่ปุ่น • ประเทศที่เข้าร่วมโครงการฯ: 11 ประเทศ คือ กัมพูชา อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ลาว มาเลเซีย มองโกเลีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย • วัตถุประสงค์ของโครงการ: เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อติดตามตรวจสอบสาร POPs รวมทั้งเสริมสร้างศักยภาพและขีดความสามารถด้านการตรวจวิเคราะห์สาร POPs เพื่อสนับสนุนการประเมินความมีประสิทธิผลตามข้อบทที่ 16 ของอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ
ความร่วมมือระดับภูมิภาค (ต่อ-1) โครงการ Environmental Monitoring of POPs in East Asian Countries • ขอบเขตของโครงการฯ : เริ่มเมื่อปี ค.ศ. 20O2 ได้ติดตามตรวจสอบสาร POPs ประเภทสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชและสัตว์ 9 ชนิด ในบรรยากาศทั่วไป กล่าวคือ อัลดริน (aldrin); คลอเดน (chlordane); ดีดีที (DDT); ดิลดริน (dieldrin); เอนดริน (endrin); เฮปตะคลอร์ (heptachlor); เอชซีบี (hexachlorobenzene); ไมเร็กซ์ (mirex) และท็อกซาฟีน (toxaphene) ในปี ค.ศ. 2012 ได้ขยายขอบเขตโดยเพิ่มการตรวจวัดสาร POPs อีก 2 ชนิด คือ เฮกซะคลอโรไซโคลเฮกเซน (hexachlorocyclohexane) และเพนตะคลอโรเบนซิน (pentachlorobenzene)
ความร่วมมือระดับภูมิภาค (ต่อ-2) โครงการ Environmental Monitoring of POPs in East Asian Countries • เป้าหมายของโครงการฯ : - จัดตั้งสถานที่เก็บตัวอย่างสำหรับเป็นสถานีเก็บตัวอย่างที่เป็นตัวแทนของภูมิภาค (super site) เพื่อดำเนินการเก็บตัวอย่างในระยะยาว - พัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและห้องปฏิบัติการในประเทศในการดำเนินการเก็บและตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างสาร POPs และประเทศสมาชิกสามารถดำเนินโครงการติดตามตรวจสอบสาร POPs ระยะยาวได้ด้วยตนเอง - ประเทศสมาชิกที่มีความพร้อมแล้ว ให้การสนับสนุนด้านเทคนิคการ ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างให้กับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งให้ความร่วมมือกับประเทศที่พัฒนาแล้ว อาทิ ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี ในการเสริมสร้าง ขีดความสามารถให้กับประเทศสมาชิกอื่น ๆ ในภูมิภาค
ความร่วมมือระดับภูมิภาค (ต่อ-3) โครงการ Environmental Monitoring of POPs in East Asian Countries • การดำเนินงานที่ผ่านมา : - รัฐบาลญี่ปุ่น ได้ให้การสนับสนุนการทดลองเก็บตัวอย่างสาร POPs ในบรรยากาศ (trial air monitoring) ให้แก่ประเทศสมาชิก ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2005 ถึงปัจจุบัน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมสำหรับเป็นสถานี super site - ประเทศไทยได้รับการสนับสนุนการทดลองเก็บตัวอย่างและการฝึกอบรมในประเทศ รวมทั้งสิ้น 2 ครั้ง กล่าวคือ ในปี ค.ศ. 2006 ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และปี ค.ศ. 2007 ณ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ พื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีความเหมาะสม เนื่องจากเป็นพื้นที่สะอาดและไม่มีแหล่งกำเนิดสาร POPs โดยตรง ดังนั้น ค่าสาร POPs ที่ตรวจวัดได้จึงสะท้อนถึงค่าที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายมาจากระยะไกล (long-range transport) อย่างแท้จริง
ศูนย์ประสานงานอนุสัญญาสตอกโฮล์มฯ สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตรายกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโทรศัพท์: 0 22982439, 2442โทรสาร: 0 22982442e-mail: chem@pcd.go.th http://pops.pcd.go.thhttp://www.pcd.go.th