930 likes | 2.78k Views
อธิบายพฤติกรรมมนุษย์ตามแนวคิด จิตวิเคราะห์. Sigmund Freud (1856-1939). ทฤษฎีจิตวิเคราะห์.
E N D
อธิบายพฤติกรรมมนุษย์ตามแนวคิดอธิบายพฤติกรรมมนุษย์ตามแนวคิด จิตวิเคราะห์
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ทฤษฎีจิตวิเคราะห์คิดค้นโดย Sigmund Freud (1856-1939) ซึ่งเป็นจิตแพทย์ชาวเวียนนีส ทฤษฎีของเขาได้รับการยอมรับเป็นอย่างมากในยุคนั้น มีแนวคิดต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาด้านจิตใจที่พัฒนาตามมาอีกมากมาย แม้ในปัจจุบันความสำคัญของทฤษฎีจิตวิเคราะห์จะมีบทบาทลดลง ทฤษฎีด้านชีวภาพและการรักษาด้วยยามีบทบาทมากขึ้น แต่ก็ยังเป็นที่ยอมรับกันว่า ทฤษฎีจิตวิเคราะห์เป็นส่วนที่ช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์ต่าง ๆ ของจิตใจได้เป็นอย่างดี
ทฤษฎีพื้นฐานจิตวิเคราะห์ทฤษฎีพื้นฐานจิตวิเคราะห์ จิตใจของคนเราสามารถแบ่งได้เป็น 3 ระดับตามการรับรู้ ได้แก่ 1. จิตสำนึก (The conscious) เป็นส่วนของจิตใจที่คนเรารู้สึกนึกคิดอยู่ในแต่ละขณะ 2. จิตก่อนสำนึก (The preconscious) เป็นส่วนของจิตใจที่ตามปกติแล้วเราไม่ได้ตระหนักถึง แต่หากใช้ความตั้งใจก็จะขึ้นมาสู่จิตสำนึกได้ เช่น การพยายามนึกถึงเหตุการณ์บางอย่างในอดีต 3. จิตไร้สำนึก (The unconscious) เป็นความรู้สึกนึกคิด หรือความต้องการที่อยู่ในส่วนลึกของจิตใจ ตามปกติไม่อาจขึ้นมาในระดับจิตสำนึกได้ อาจแสดงออกมาในความฝัน หรือแสดงเป็นอาการต่าง ๆ ของผู้ป่วย ซึ่งจะเบี่ยงเบนไปจากความคิดหรือความต้องการดั้งเดิม
ฟรอยด์ยังแบ่งกระบวนการคิดออกเป็น 2 ลักษณะ 1. Secondary Process เป็นกระบวนการคิดที่เราคุ้นเคยและใช้กันอยู่ ในระดับจิตสำนึกและจิตก่อนสำนึกมีกระบวนการคิดเช่นนี้ เป็นการคิดที่ยึดเหตุผล มองสิ่งต่าง ๆ ตามความเป็นจริง (reality principle) เช่น คนเราบางครั้งผิดหวังและบางครั้งก็มีสมหวัง หรือสิ่งที่ต้องการบางอย่างอาจต้องรอคอยบ้าง 2. Primary Process เป็นกระบวนการคิดในระดับจิตไร้สำนึก วิธีคิดเป็นแบบเด็ก ๆ ไม่เป็นเหตุเป็นผล ไม่สนใจเรื่องเวลาหรือสถานที่ สิ่งที่ต้องการคือความสุข ความสมหวัง ซึ่งหากต้องการก็จะต้องได้รับการตอบสนองทันทีจึงจะพอใจ โดยไม่คำนึงว่าผลตามมาจะเป็นอย่างไร (pleasure principle) ตัวอย่างที่เห็นชัดได้แก่การฝัน ซึ่งเหตุการณ์ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้ สิ่งที่อยู่คนละมิติ คนละเวลากัน สามารถมาอยู่ด้วยกันได้ หากนึกถึงอะไรก็จะได้สิ่งนั้น
นอกจากการแบ่งจิตใจออกเป็น 3 ระดับแล้ว ฟรอยด์ยังแบ่งโครงสร้างของจิตใจออกตามหน้าที่ออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน ได้แก่ 1. Id เป็นส่วนที่อยู่ในจิตไร้สำนึกเท่านั้น เป็นแรงผลักดันดั้งเดิมของคนเรา แบ่งออกเป็นแรงผลักดันทางเพศ (libidinal drive) และแรงผลักดันทางความก้าวร้าว (aggressive drive) การแสดงออกของ id เป็นไปตาม primary process และ pleasure principle 2. Ego เป็นส่วนที่ทำหน้าที่อยู่ทั้ง 3 ระดับของจิตใจ โดยจะควบคุม บริหารจัดการ ต่อแรงผลักดันต่าง ๆ ที่มามีปฏิสัมพันธ์กัน ทำหน้าที่ประนีประนอมระหว่างแรงผลักดันจาก id กับระเบียบหรือข้อจำกัดจากสภาพเป็นจริงภายนอก และแรงต่อต้านจาก superego โดยการทำหน้าที่เป็นไปตาม secondary process และ reality principle
3. Superego เป็นส่วนของจิตใจที่พัฒนาขึ้นมาในระยะ oedipal แบ่งออกเป็น conscience หรือมโนธรรมซึ่งมีหน้าที่คอยตัดสินความคิด การกระทำว่าถูกหรือผิด และ ego ideal ซึ่งเป็นส่วนของบุคคลในอุดมคติที่เราอยากเป็นหรืออยากเอาแบบอย่าง
ทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติ และพฤติกรรมของมนุษย์ • ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalysis)ของ Sigmund Freud ตัวควบคุมให้แสดงออกไปอย่างถูกต้องตาม ทำนองคลองธรรม ประเพณี ตัวควบคุมให้เกิดการแสดงออกในทางที่ เหมาะสมตามสภาพความเป็นอยู่ ตัณหา ความอยาก ความต้องการที่แท้จริงของ มนุษย์ที่มีมาแต่กำเนิด พฤติกรรมของคนเป็นผลรวมของการทำงาน ที่ประสานกันระหว่างโครงสร้างของจิต Super Ego Ego Id
Unconscious below the surface (thoughts, feelings, wishes, memories) Psychoanalysis: The Unconscious “the mind is like an iceberg - mostly hidden” Conscious Awareness small part above surface (Preconscious) Repression banishing unacceptable thoughts and passions to unconscious: Dreams and Slips
Psychoanalysis: Freud’s Theory of Personality • Three levels of consciousness: • Conscious mind:things we are focusing on. • Preconscious mind:things are are not currently aware of but which we could focus on. • Unconscious mind:that which we areunaware of.
Super Ego Ego Id Freud and Personality Structure Id - energy constantly striving to satisfy basic drives Pleasure Principle Ego - seeks to gratify the Id in realistic ways Reality Principle Super Ego - voice of conscience that focuses on how we ought to behave
Unconscious Subconscious thoughts Id Impulses Curiosity instincts pleasure seeking Superego Forces Rules , regulation desires to comply
กลไกทางจิต วิธีการทางจิตซึ่งใช้แก้อุปสรรคที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันเพื่อปรับปรุงตนเอง ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและสามารถอยู่ในสังคมได้ปกติ กลไกอัตโนมัติแยกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1. กลไกก้าวร้าว (Aggression) เกิดจากการอบรมเลี้ยงดูแบบก้าวร้าวในตอนเด็ก พ่อแม่ทะเลาะกันให้ลูกเห็น หรือปล่อยให้ลูก ๆ ทะเลาะกันเอง หรือเกิดและอาศัยใน แวดล้อมที่ก้าวร้าวเข้าหากันวิธีแสดงออกของความก้าวร้าว ได้แก่ - การตอบโต้ทันควัน ใครว่าก็ตอบกลับไป ทั้งนี้แล้วแต่ระดับของความก้าวร้าว ที่ได้รับมาแต่เด็ก การลงโทษตัวเอง เมื่อผู้มีอารมณ์ไม่สามารถหาแพะมารับบาปได้ บุคคลก็จะหัน มาลงโทษตัวเอง อาจจะทำร้ายตัวเ องหรือทำลายตัวเองหรือถึงกับฆ่าตัวตาย
2. กลไกถอยหนี (Withdrawal) เกิดขึ้นกับบุคคลที่ได้รับการอบรมเลี้ยงดูแบบ ไข่ในหินไม่ปัญหาอะไร พ่อ-แม่จะคอยช่วยตลอดทำให้ขาดโอกาสในการเรียนรู้ แก้ปัญหาและขาดความมั่นใจในตนเอง ดังนั้นเมื่อโตขึ้นจึงหันมาลดความเครียด ทางอารมณ์โดยการถอยหนีปัญหา ในลักษณะต่าง ๆ เช่น - การปฏิเสธความจริง คือ การปฏิเสธต่อเหตุการณ์หรือพฤติกรรมบางอย่างที่ เกิดขึ้นจริงแต่ยอมรับไม่ได้ - การแสดงความพิการทางกาย คือ การปรับตัวเพื่อหนีจากสภาพการณ์ที่ก่อให้ เกิดความไม่สบายใจหรือผิดหวัง โดยการแสดงความผิดปกติของร่างกายขึ้นมา เช่น การเป็นลมหมดสติ แขนขาไม่มีเรี่ยวแรง หรือปวดท้อง เป็นอาการที่เกิดขึ้นฉับพลัน ดูเหมือนแสร้งทำ แต่เมื่อปัญหาต่าง ๆ หมดไป อาการดังกล่าวจะหายไปเอง
3. กลไกประนีประนอม (Compromise) เกิดขึ้นกับบุคคลที่ถูกอบรมเลี้ยงดูมาอย่างมีเหตุผล ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาของลูกทำนองว่าไปสอนไป เด็กที่เติบโตมาจากครอบครัวเช่นนี้ะใช้เหตุผลในการแก้ปัญหาของตนเองในเวลาที่เกิดอารมณ์เครียดโดยวิธีการต่อไปนี้ - การทดแทน (Substitution) โดยการพยามแก้ไขอุปสรรคที่ขวางกั้นด้วยการหาเป้าหมายรองที่สังคมชอบ - การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง ได้แก่ การอ้างเหตุผลเพื่อหาทางลดความผิดลงโทษของตนเอง เช่น เด็กสอบไม่ได้ ก็อ้างว่าเป็นเพราะขณะนั้นไม่สบาย - กลไกอัตโนมัติเพื่อป้องกันตนเองหรือช่วยตนเองในการแก้ปัญหานี้
พัฒนาการของบุคลิกภาพ (The Development of Personality) “เด็กที่เห็นคือผู้ใหญ่ที่เด็กคนนั้นจะเป็นในอนาคต (The child is the father of the man)” บุคลิกภาพเกิดจาก 4 แหล่ง 1. ภาวการณ์เติบโตทางกาย (Physiological growth process) 2. ความคับข้องใจ (Frustration) 3. ความขัดแย้ง (Conflict) 4. การข่มขู่ (Threat)
ขั้นตอนของพัฒนาการทางบุคลิกภาพขั้นตอนของพัฒนาการทางบุคลิกภาพ 1. ขั้นปาก 2. ขั้นทวารหนัก 3. ขั้น Phalic Stage 4. ขั้น Latency Period 5. ขั้น The Genital stage กลับหน้า MENU
Erikson’s Stages of Development POSITIVE NEGATIVE TRUST Optimism warmth INFANT Mistrust Sense of Deprivation AUTONOMY Self-control adequacy TODDLER SHAME and DOUBT Sense of inner failure INITIATIVE Ability to direct own action PRE-SCHOOLER GUILT Anxiety about being bad SCHOOL-AGER INFERIORITY Sense of inadequacy INDUSTRY Skill competence IDENTIT Image of Self as unique ADOLESCENT ROLECONFUSION Doubt about identity INTIMACY Close relationship formed YOUNG-ADULT ISOLATION Distance from others GENERATIVITY Concern for future generation Mid-Age ADULT STAGNATION Self-Concern EGO-INTEGRITY Satisfacton with life cycle OLD ADULT DESPAIR Nonacceptance of life cycle