730 likes | 1.65k Views
บทที่ 7 ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ. อ.สุปราณี วงษ์แสงจันทร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ supraneev@eau.ac.th. หัวข้อที่ศึกษา. ปัญญาประดิษฐ์ ประเภทของ AI ระบบผู้เชี่ยวชาญ ประโยชน์ของ ES ส่วนประกอบของ ES ความรู้ การพัฒนา ES ตัวอย่างของ ES.
E N D
บทที่ 7 ปัญญาประดิษฐ์และระบบผู้เชี่ยวชาญ อ.สุปราณี วงษ์แสงจันทร์ สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศธุรกิจ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ supraneev@eau.ac.th
หัวข้อที่ศึกษา • ปัญญาประดิษฐ์ • ประเภทของ AI • ระบบผู้เชี่ยวชาญ • ประโยชน์ของ ES • ส่วนประกอบของ ES • ความรู้ • การพัฒนา ES • ตัวอย่างของ ES
ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) • AI คือ ระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาให้มีความสามารถที่จะเรียนรู้ ใช้เหตุผล พัฒนา และปรับปรุงข้อบกพร่องของตนเองให้ดีขึ้น โดยการทำงานใกล้เคียงกับการประมวลผลและการตอบสนองของมนุษย์ที่มีต่อสถานการณ์ • AI จะเลือกเฉพาะสาขาหรือเฉพาะด้านที่ขาดแคลนผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น • การวินิจฉัยทางการแพทย์ • การผ่าตัด • การวิเคราะห์ทางเคมี • การขุดเจาะน้ำมัน • การวางแผนการเงิน • การจัดทำภาษี • การซ่อมเครื่องยนต์ • การพยากรณ์อากาศ • การซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ การส่งสัญญาณดาวเทียม • ปฏิบัติการเกี่ยวกับอาวุธนิวเคลียร์ • การวางรูปแบบหนังสือพิมพ์ • การตีความกฎหมาย
ความแตกต่างระหว่าง AI กับระบบสารสนเทศปกติ • ปัญญาประดิษฐ์ • ประมวลสัญลักษณ์และตัวเลข • ไม่ดำเนินงานตามขั้นตอนท่งคณิตศาสตร์ • ให้ความสำคัญกับการรับรู้แบบแผน • ระบบสารสนเทศทั่วไป • ประมวลผลทางคณิตศาสตร์ • วิเคราะห์และแก้ปัญหาตามขั้นตอนทางคณิตศาสตร์ ปัญญาประดิษฐ์กับระบบสารสนเทศทั่วไป
การประมวลผลภาษาธรรมชาติ(Natural Language Processing) • การศึกษาการแปลความหมายจากภาษามนุษย์ มาเป็นความรู้ที่เครื่องจักรเข้าใจได้ • คอมพิวเตอร์สามารถอ่าน พูด ฟัง และเข้าใจภาษา และทำงานติดต่อสื่อสารกับมนุษย์ได้ • ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียง (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) • การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น ระบบงานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ
คอมพิวเตอร์วิทัศน์ (Computer vision) • เป็นการศึกษาเรื่องการมองเห็น การรู้จำภาพ • ปัจจุบันใช้ได้ทั้งภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว • ตัวอย่างระบบ : • WebSite ตรวจสอบหน้าเหมือนคนดังhttp://www.myheritage.com/FP/Company/tryFaceRecognition.php?lang=TH • Power view ATM Feature
Power view ATM Feature • Advantech และ Deibold ได้ร่วมพัฒนาระบบ ATM โดยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานด้านการรักษาความปลอดภัยให้กับตู้เอทีเอ็มและการทำงานร่วมกับระบบ CMS (Central Management System) ในส่วนกลางเพื่อรับข้อมูลจากตู้เอทีเอ็ม • การทำงานแบบ Face Detection ที่นำมาติดตั้งเพิ่มเติมได้ในภายหลังในแต่ละตู้เอทีเอ็มหรือ DVR นั้นจะเพิ่มความสะดวกในการหาข้อมูล จากหน้าของผู้มาใช้บริการหรือเพิ่มเติมในส่วนของการรักษาความปลอดภัยสำหรับ ใบหน้าที่ไม่ได้รับการอนุญาตหรือผู้ก่อการร้าย โดยแจ้งเตือนผู้ดูแลระบบได้ทันท่วงที
ระบบเครือข่ายเส้นประสาท (Neural Network) • ระบบจำลองการทำงานของสมองและเส้นประสาทมนุษย์ • มีความสามารถในการสังเกต การเรียนรู้ การจดจำ การทำซ้ำ และการแยกแยะ • คอมพิวเตอร์สามารถพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของตนเอง
การประยุกต์ใช้งาน Neural Network • เทคโนโลยีโครงข่ายใยประสาทจัดว่าเป็นเทคโนโลยีที่มีความสามารถสูง จึงได้มีการนำไปประยุกต์ใช้กับระบบอื่นๆเพื่อประโยชน์ในการทำงานหลายด้าน หรือมีการนำไปประสานเข้ากับเทคโนโลยีอื่นเพื่อเพิ่มความสามารถให้เทียบเท่ากับมนุษย์
การประยุกต์ใช้งาน Neural Network • Synface การช่วยเหลือการสนทนาทางโทรศัพท์ด้วยใบหน้าจำลอง • เป็นซอฟต์แวร์ที่สามารถสร้างใบหน้าจำลองที่สัมพันธ์กับการสนทนาของผู้ที่อยู่ปลายสายโทรศัพท์ เพื่อช่วยเหลือผู้มีปัญหาทางการได้ยินได้ ภาพใบหน้าจำลองซึ่งให้ภาพคล้ายใบหน้าจริงของบุคคลที่กำลังสนทนาอยู่ด้วย ทำให้ผู้ชมสามารถเข้าใจบทสนทนาจากการอ่านริมฝีปากได้เป็นอย่างดี • ซินเฟสได้รับการทดสอบที่สถาบันคนหูหนวกในประเทศอังกฤษ UK’s Royal National Institute for the Deaf (RNID) พบว่า 84 % ของผู้ที่ได้รับการทดสอบสามารถเข้าใจบทสนทนา และสามารถพูดคุยกันทางโทรศัพท์ได้
การประยุกต์ใช้งาน Neural Network • BEAMสร้างโดยมาร์ค ทิลเดน ( Mark W. Tilden ) นักวิทยาศาสตร์ ประจำห้องทดลองแห่งชาติ LosAlamos รัฐนิวแม็กซิโกสหรัฐอเมริกา • สร้างมาจากวงจรอิเลกทรอนิกส์ขนาดเล็ก ใช้อุปกรณ์น้อยชิ้นจึงมีขนาดเล็กและรูปแบบการทำงานไม่ซับซ้อน มีการเคลื่อนไหวคล้ายคลึงพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต เช่น มดแมลงต่างๆ • " บีม " ใช้ระบบควบคุมอิเลคทรอนิคส์แบบง่าย ๆที่เรียกว่า " เครือข่ายใยประสาท ( Nervous Network) " แทนไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งเป็นชุดทรานซิสเตอร์หลาย ๆ ตัวที่สามารถรับ - ส่งข้อมูลจากโครงสร้างตัวหุ่นและการเคลื่อนไหวถ้าขาข้างใดสะดุดมอเตอร์ไฟฟ้า จะเกิดแรงหน่วง และปรับเปลี่ยนวงจรไฟฟ้า ทำให้ขาข้างนั้น ก้าวไปทางอื่นทันที Mark Tilden with RoboSapien
หุ่นยนต์ (Robotics) • การจำลองการทำงานของมนุษย์โดยออกแบบอุปกรณ์และกำหนดคำสั่งให้ทำงาน • ปัจจุบันนำมาใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการความเที่ยงตรงในการผลิตสินค้า/งานที่เสี่ยงอันตราย/งานที่สภาวะไม่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตของมนุษย์
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) • การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มีหรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล • ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้
เหตุผลในการพัฒนา ES การกระจายความรู้(Knowledge Distribution) เหตุผลในการพัฒนา ES การเตรียมการสำหรับอนาคต ความแน่นอน (Consistency)
ฐานความรู้ (knowledge base) • ส่วนที่เก็บความรู้ทั้งหมดของผู้เชี่ยวชาญที่รวบรวมจากการศึกษาและจากประสบการณ์ โดยมีการกำหนดโครงสร้างของข้อมูล (Data Structure) ให้เหมาะสมกับการนำไปใช้งาน และรวบรวมตรรกะ (Logic) ในการปฏิบัติงาน
เครื่องอนุมาน (inference engine) • เป็นส่วนควบคุมการใช้ความรู้ในฐานความรู้ เพื่อวิเคราะห์และแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น จะทำหน้าที่ตรวจสอบกฎเกณฑ์ที่อยู่ในฐานความรู้ โดยการใช้เหตุผลทางตรรกะสำหรับแต่ละเหตุการณ์ ซึ่งมักจะอยู่ในลักษณะ ถ้า…แล้ว… • การอนุมานมี 2 ลักษณะ • การอนุมานแบบไปข้างหน้า (Forward Chaining Inference) • การอนุมานแบบย้อนหลัง(Backward Chaining Inference) Rules Facts Inference Engine Conclusions
Forward Chaining • หาค่าความจริงจากการสอบถามจากผู้ใช้ • นำค่าความจริงมาเปรียบเทียบกับเงื่อนไข หากกฎใดถูกต้อง เครื่องอนุมานจะปฏิบัติตามกฎนั้น • เช่น การเปิดไฟล์เอกสารใน MS word สามารถทำได้ 3 วิธี 1. คลิก file >Open 2. คลิก ICON บน Toolbar เลือกไฟล์และกดปุ่ม Open 3. ใช้ Shortcut Key บน keyboard คือ Ctrl+0 • เป็นการค้นหาเป้าหมาย คือ ค้นหาวิธีที่สามารถกระทำได้
Backward Chaining • การหาสาเหตุของรถยนต์สตาร์ทไม่ติด • เนื่องจากรู้ผลลัพธ์และหาสาเหตุที่มาของเครื่องยนต์ที่สตาร์ทไม่ติด • เป็นการค้นหาเป้าหมายคือ ค้นหาสาเหตุของปัญหา • น้ำมันหมด • เครื่องยนต์เสีย หาสาเหตุ เครื่องยนต์ไม่ติด
ส่วนดึงความรู้ (knowledge acquisition subsystem) • ส่วนที่ดึงความรู้จากเอกสาร ตำรา ฐานข้อมูล และเชี่ยวชาญ • ทีมพัฒนาจะทำการจัดความรู้ที่ได้มาให้อยู่ในรูปที่เข้ากันได้กับโครงสร้างของฐานความรู้ เพื่อที่จะได้สามารถบรรจุความรู้ที่ได้มาลงในฐานความรู้ได้
ส่วนอธิบาย (explanation subsystem) • ส่วนที่อธิบายถึงรายละเอียดของข้อสรุปหรือคำตอบที่ได้มานั้น มาได้อย่างไร และทำไมถึงมีคำตอบเช่นนั้น
การติดต่อกับผู้ใช้ (user interface) • ส่วนติดต่อกับผู้ใช้ต้องใช้งานง่าย รองรับผู้ใช้ที่มีความรู้ในงานสารสนเทศที่แตกต่างกัน และต้องมีคำแนะนำจากระบบสารสนเทศ • ระบบต้องมีคำแนะนำให้กับผู้ใช้
การวิเคราะห์ปัญหา • ดำเนินการพิจารณาถึงความต้องการ ความเหมาะสม และความเป็นไปได้ ในสถานการณ์จริง • ทำความเข้าใจกับปัญหา • จัดขั้นตอนในการแก้ปัญหา • การกำหนดรูปแบบของการให้คำปรึกษา • การรวบรวมความรู้ และความเข้าใจในสาระสำคัญที่จะนำมาประกอบการพัฒนาระบบ และต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้ระบบเป็นสำคัญ
การเลือกอุปกรณ์ พิจารณาความเหมาะสมของส่วนประกอบที่สำคัญ ดังต่อไปนี้ • การแสดงความรู้ • เครื่องอนุมาน • การติดต่อกับผู้ใช้ • ชุดคำสั่ง • การบำรุงรักษาและการพัฒนาระบบ
การถอดความรู้ • การสังเกต ศึกษา และทำความเข้าใจกับความรู้ที่จะนำมาพัฒนาเป็น ES จากแหล่งอ้างอิง หรือผู้เชี่ยวชาญในสาขานั้น • การกำหนดขอบเขตที่เหมาะสมของระบบ
การสร้างต้นแบบ • ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่กล่าวมามาประกอบการสร้างต้นแบบ • ทดสอบการทำงานของต้นแบบที่สร้างขึ้นว่าสามารถทำงานได้ตามที่ไว้วางแผนไว้หรือไม่
การขยาย การทดสอบและบำรุงรักษา • ระบบสามารถขยายให้ใหญ่ขึ้นจากต้นแบบ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นฐานความรู้ • ตกแต่งหน้าจอให้เหมาะสมกับการใช้งานของผู้ใช้
Animal Expert System http://www.lpa.co.uk/pws_dem 7. htm
ตัวอย่างระบบผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญที่วินิจฉัยอาการเจ็บป่วยของม้า • คอมพิวเตอร์ - ม้าตัวนี้แก่แล้วใช่ไหม • คน - ไม่ใช่ • คอมพิวเตอร์ - ม้าตัวนี้ฟันไม่ดีใช่ไหม • คน - ทำไมถึงถามอย่างนี้ (Why?) • คอมพิวเตอร์ - ผมกำลังตรวจสอบประวัติของม้าว่ามีการระบุว่าม้าเป็นโรคอุจจาระแข็งหรือไม่ ผมต้องทราบว่าม้ามีฟันไม่ดีจริงหรือไม่ เพราะผมกำลังใช้กฎต่อไปนี้ คือ ประวัติของม้าจะบอกว่าม้าเป็นโรคอุจจาระแข็ง ถ้าหากม้ามีฟันไม่ดี คุณต้องการทราบคำอธิบายเพิ่มเติมหรือไม่ • คน - ต้องการ
ตัวอย่างระบบผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญที่วินิจฉัยอาการเจ็บป่วยของม้า (ต่อ) • คอมพิวเตอร์ - ผมกำลังตรวจสอบว่าม้าตัวนี้ป่วยเป็นโรคอุจจาระแข็งหรือไม่ ผมต้องทราบว่าประวัติของม้าระบุว่าม้าเป็นโรคอุจจาระแข็งหรือไม่ เพราะผมกำลังใช้กฎต่อไปนี้ ม้าตัวนี้อาจจะป่วยเป็นโรคอุจจาระแข็ง ถ้าหากประวัติม้าระบุว่าม้าเคยเป็นโรคนี้ และการปวดท้องมีขนาดปานกลาง และไม่มีเสียงลำไส้เคลื่อนที่ และ การตรวจสอบทวารหนักระบุว่ามีอุจจาระแห้งแข็งเป็นลำยาว และไม่สามารถคลำหาลำไส้ ซัม และ โคลอนได้ชัด ต่อไปนี้กรุณาตอบคำถาม ม้าตัวนี้ฟันไม่ดีใช่ไหม • คน - ไม่ใช่
ตัวอย่างระบบผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญที่วินิจฉัยอาการเจ็บป่วยของม้า (ต่อ) • คอมพิวเตอร์ - จริงหรือไม่ที่ม้าตัวนี้กินหญ้าในสนามที่มีทรายมากและต้นหญ้าขึ้นห่างกันมาก • คน – ไม่จริง • คอมพิวเตอร์ - จริงหรือไม่ที่ม้ามีประวัติการเสียดท้องเสมอ ๆ • คน - จริง • คอมพิวเตอร์ - จริงหรือไม่ที่การตรวจทวารหนักของม้า พบว่าผนังสำไส้เล็กหนา และ โป่งพอง • คน - จริง
ตัวอย่างระบบผู้เชี่ยวชาญ ผู้เชี่ยวชาญที่วินิจฉัยอาการเจ็บป่วยของม้า (ต่อ) • คอมพิวเตอร์ - จริงหรือไม่ที่ลำไส้มีเสียงเป็นปกติหรือดังกว่าปกติ • คน - จริง • คอมพิวเตอร์ - ม้าตัวนี้อาจจะป่วยเพราะมีอะไรอุดตันในลำไส้เล็กอย่างเฉียบพลัน คุณต้องการทราบเหตุผลสนับสนุนหรือไม่ • คน – ต้องการ • คอมพิวเตอร์ - ที่วินิจฉัยเช่นนี้ เพราะได้พบว่า เรื่องต่อไปนี้เป็นจริง ม้ามีประวัติการเสียดท้องเสมอ ๆ การตรวจทวารหนักพบว่าผนังลำไส้เล็กหนาและโป่งพอง ลำไส้มีเสียงปกติหรือดังกว่าปกติ