310 likes | 517 Views
การประมาณการทรัพยากรของกิจกรรม. เป็นการประมาณการปริมาณทรัพยากร (เช่น คน เครื่องมือ วัตถุดิบฯ) ที่ต้องใช้ในกิจกรรม ผลลัพธ์ คือ ความต้องการทรัพยากรของกิจกรรม โครงสร้างจำแนกทรัพยากร และคุณลักษณะของกิจกรรมและปฏิทินทรัพยากรที่ได้รับการปรับปรุง
E N D
การประมาณการทรัพยากรของกิจกรรมการประมาณการทรัพยากรของกิจกรรม • เป็นการประมาณการปริมาณทรัพยากร (เช่น คน เครื่องมือ วัตถุดิบฯ) ที่ต้องใช้ในกิจกรรม • ผลลัพธ์ คือ ความต้องการทรัพยากรของกิจกรรม โครงสร้างจำแนกทรัพยากร และคุณลักษณะของกิจกรรมและปฏิทินทรัพยากรที่ได้รับการปรับปรุง • ข้อมูลสำคัญที่ใช้ประมาณการ คือ รายการกิจกรรม คุณลักษณะของกิจกรรม แผนการบริหารโครงการ ปัจจัยเชิงสภาพแวดล้อม ทรัพยากรที่มีให้ใช้ • ทรัพยากรที่สำคัญในโครงการสารสนเทศส่วนใหญ่ คือ พนักงาน
การประมาณการระยะเวลากิจกรรมการประมาณการระยะเวลากิจกรรม • เป็นการประมาณการเวลาการทำงานในแต่ละกิจกรรม • ผลลัพธ์ คือ ประมาณการระยะเวลากิจกรรม และคุณลักษณะของกิจกรรมที่ได้รับการปรับปรุง • ข้อมูลที่ต้องใช้ในการประมาณระยะเวลากิจกรรม เช่น ข้อกำหนดขอบเขตโครงการ รายการกิจกรรม คุณลักษณะกิจกรรม ความต้องการทรัพยากรของกิจกรรม ปฏิทินทรัพยากร และแผนการบริหารโครงการ
การประมาณการระยะเวลากิจกรรม (ต่อ) • ระยะเวลาที่ประมาณการเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม เช่น 4 อาทิตย์ หรืออาจเป็นช่วง เช่น 3-5 อาทิตย์ • คนทั่วไปสับสนระหว่างระยะเวลากับแรงงาน • แรงงาน คือ จำนวนวันทำงาน หรือชั่วโมงการทำงานที่ต้องใช้เพื่อทำงานให้สมบูรณ์ แต่ไม่ใช่ระยะเวลา เช่น สมมติงานหนึ่งใช้เวลา 5 วัน และกำหนดว่า 1 วันทำงานได้ 8 ชม. ดังนั้นแรงงานที่ใช้ทำงานจึงเท่ากับ 40 ชม. ส่วนระยะเวลา คือ 5 วัน เป็นต้น • บางครั้งต้องมีการเผื่อเวลาในการประมาณการระยะเวลากิจกรรม
การพัฒนาตารางเวลา • เป็นการวิเคราะห์ลำดับของกิจกรรม ประมาณการทรัพยากรกิจกรรม และประมาณระยะเวลาของกิจกรรม เพื่อสร้างตารางการทำงาน • ผลลัพธ์ คือ ตารางเวลาโครงการ บรรทัดฐานตารางเวลา และการเปลี่ยนแปลงที่ได้ร้องขอ • ใช้ผลลัพธ์จากกระบวนการทั้งหลายก่อนหน้านี้เพื่อกำหนดวันเริ่มต้น และวันสิ้นสุดโครงการ • เป้าหมาย คือ สร้างตารางโครงการที่เป็นจริง
การพัฒนาตารางเวลา (ต่อ) • เทคนิคและเครื่องมือที่ช่วยในการพัฒนาตารางเวลา • แผนภูมิแกนต์ (Grantt chart) • ระเบียบวิธีวิกฤต (Critical Path Method : CPM) • เทคนิคการประเมินผลและทบทวนโครงการ (Program Evaluation and Review Technique : PERT)
การควบคุมตารางเวลา • เป็นการควบคุมและจัดการการเปลี่ยนแปลงที่มีผลต่อตารางเวลาโครงการ รวมทั้งปรับปรุงบรรทัดฐานโครงการ รายการกิจกรรมและคุณลักษณะกิจกรรม รวมถึงแผนการบริหารโครงการ • ผลลัพธ์ คือ การวัดผลการดำเนินงาน การเปลี่ยนแปลงที่ร้องขอ และคำแนะนำเพื่อแก้ไขปัญหา • เป้าหมาย คือ เพื่อให้โครงการแล้วเสร็จตามกำหนดเวลา • ข้อมูลหลักที่ใช้ในการควบคุมตารางเวลา คือ บรรทัดฐานตารางเวลา รายงานประสิทธิภาพการทำงาน คำร้องขอเปลี่ยนแปลงที่ได้รับอนุมัติ และแผนการบริหารตารางเวลา
คำถามท้ายบท • เพราะเหตุใดการกำหนดกิจกรรมจึงเป็นกระบวนการแรกในกระบวนการบริหารเวลาโครงการ • เพราะเหตุใดการเรียงลำดับกิจกรรมของโครงการจึงมีความสำคัญ
PERT และ CPM • ทั้ง PERT และ CPM เริ่มต้นด้วยการการแจกแจงของกิจกรรมต่างๆ ที่จำเป็นต้องทำในโครงการทั้งหมดว่า มีกิจกรรมอะไรบ้างที่ต้องทำ กิจกรรมต่างๆ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร กิจกรรมใดต้องทำก่อน กิจกรรมใดต้องทำหลัง แล้วนำมาเขียนเป็นผังเครือข่าย • สิ่งที่แตกต่างกัน คือ CMP จะมีการประมาณเวลาของกิจกรรมเพียงค่าเดียว แต่ PERT จะประมาณเวลาที่น่าจะเป็น 3 ค่า คือ • ระยะเวลาที่คาดคะเนในแง่ดี (optimistic) • ระยะเวลาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้มากที่สุด (most likely) • ระยะเวลาที่คาดคะเนในแง่ร้าย (pessimistic)
PERT และ CPM (ต่อ) • PERT นำไปใช้มากในโครงการเกี่ยวกับการวิจัยและพัฒนา เนื่องจากเป็นโครงการที่มีความไม่แน่นอนในด้านระยะเวลาดำเนินการ • CPM นำไปใช้ในโครงการก่อสร้าง โครงการซ่อมบำรุงเครื่องจักร์ เป็นต้น เพราะเน้นด้านควบคุมค่าใช้จ่ายและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเวลาและค่าใช้จ่าย
โจทย์:หาเส้นทางวิกฤตและเวลาที่ต้องใช้โจทย์:หาเส้นทางวิกฤตและเวลาที่ต้องใช้
ผังเครือข่ายที่เขียนได้ผังเครือข่ายที่เขียนได้ A C F E H เริ่ม B D G
ข้อมูลในแต่ละโหนด เวลาเสร็จเร็วที่สุด (Earliest Finish) เวลาเริ่มเร็วที่สุด (Earliest Start) ชื่อของกิจกรรม (Name) ES EF LS ระยะเวลาที่ต้องใช้ ในการทำกิจกรรม (Time) LF เวลาเสร็จช้าที่สุด (Latest Finish) เวลาเริ่มช้าที่สุด (Latest Start)
เวลาเริ่มเร็วที่สุด (earliest start, ES) หมายถึง เวลาเร็วที่สุดที่กิจกรรมจะสามารถเริ่มต้นทำได้ • เวลาเสร็จเร็วที่สุด (earliest finish, EF) หมายถึง เวลาเร็วที่สุดที่กิจกรรมสามารถทำเสร็จได้ • เวลาเริ่มช้าที่สุด (Latest start, LS) หมายถึง เวลาช้าที่สุดที่กิจกรรมจะสามารถเริ่มต้นได้ โดยไม่ทำให้เวลาแล้วเสร็จของโครงการล่าช้าไปกว่าที่วางแผนไว้ • เวลาเสร็จช้าที่สุด (Latest finish, LF) หมายถึง เวลาช้าที่สุดที่กิจกรรมจะสามารถทำเสร็จได้ โดยไม่ทำให้เวลาแล้วเสร็จของโครงการล่าช้าไปกว่าที่วางแผนไว้
เพื่อความสะดวกในการเขียนปรับมาเขียนในรูปแบบดังนี้เพื่อความสะดวกในการเขียนปรับมาเขียนในรูปแบบดังนี้ Name | ES EF ------------------- Time | LS LF
S F B A C D E G H 3 2 3 2 4 4 0 5 2
เวลาเริ่มเร็วที่สุด = ค่าสูงสุดของเวลาเสร็จเร็วที่สุดของทุกงานย่อยที่ต้องทำก่อนหน้านี้ เขียนสูตรได้ว่า ES = max(EF ก่อนหน้า) • เวลาเสร็จเร็วที่สุด = เวลาเริ่มเร็วสุด + เวลาที่ใช้ทำงาน เขียนสูตรได้ว่า EF = ES + Time
S E C F D B A H G 13 2 0 4 3 8 4 0 0 15 3 8 2 7 0 13 7 4 3 3 2 5 4 2 0 2 4
เวลาเสร็จช้าที่สุด = ค่าต่ำสุดของเวลาเริ่มช้าที่สุดของงานที่ทำหลังงานปัจจุบัน เขียนสูตรได้ว่า LF = min(LS หลัง) • เวลาเริ่มช้าที่สุด = เวลาเสร็จช้าที่สุด - เวลาที่ใช้ทำงาน เขียนสูตรได้ว่า LS = LF - Time
2 13 4 10 0 2 0 0 15 13 8 4 C D B A H E F G S 13 0 8 2 4 0 3 4 0 15 2 13 3 7 7 8 4 0 4 13 8 1 8 4 2 2 3 2 5 4 0 3 4
การหาเส้นทางวิกฤต • เวลายืดหยุ่น (Slack Time) หมายถึง เวลาเผื่อเหลือเผื่อขาดที่กิจกรรมสามารถล่าช้า โดยไม่ทำให้โครงการล่าช้าตามไปด้วย • ST = LS –ES หรือ LF – EF • เส้นทางวิกฤต คือ เส้นทางที่ผ่านงานย่อยซึ่งเวลายืดหยุ่นเป็น 0 • เส้นทางวิกฤตอาจมีได้หลายเส้นทาง • ผู้จัดการโครงการควรติดตามงานที่อยู่บนเส้นทางวิกฤตอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการล่าช้าของโครงการ
2 13 4 10 0 2 ST = 6 ST = 0 ST = 0 0 0 15 13 8 4 ST = 0 ST = 0 ST = 0 H G F S D E A B C 13 2 0 4 0 8 3 0 4 15 0 3 2 13 8 7 4 7 4 13 8 1 8 4 0 3 2 2 3 2 4 4 5 ST = 1 ST = 1 ST = 0
การหาเส้นทางวิกฤต • เส้นทางวิกฤต คือ เส้นทางที่ผ่านงานย่อยซึ่งเวลายืดหยุ่นเป็น 0 • เส้นทางวิกฤตอาจมีได้หลายเส้นทาง • ผู้จัดการโครงการควรติดตามงานที่อยู่บนเส้นทางวิกฤตอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการล่าช้าของโครงการ
2 13 4 10 0 2 ST = 6 ST = 0 ST = 0 0 0 15 13 8 4 ST = 0 ST = 0 ST = 0 H G F S D E A B C 13 2 0 4 0 8 3 0 4 15 0 3 2 13 8 7 4 7 4 13 8 1 8 4 0 3 2 2 3 2 4 4 5 ST = 1 ST = 1 ST = 0
การเร่งรัดเวลา • เป็นเทคนิคช่วยลดระยะเวลาของเส้นทางวิกฤตให้สั้นลง • ขั้นที่ 1 คำนวณต้นทุนเร่งรัดต่อ 1 หน่วยเวลา = (ต้นทุนเร่งรัด-ต้นทุนปกติ) / (เวลาปกติ-เวลาเร่งรัด) • ถ้ามีเส้นทางวิกฤตเส้นเดียว ให้เลือกกิจกรรมบนเส้นทางวิกฤตที่ทำให้เส้นทางสั้นลงได้ โดยเลือกจากต้นทุนเร่งรัดเวลาต่ำสุดก่อน • ถ้ามีเส้นทางวิกฤตมากกว่า 1 ให้เลือกในทำนองเดียวกัน และหากเป็นไปได้ให้เลือกกิจกรรมที่อยู่บนเส้นทางวิกฤตมากกว่า 1 เส้นทาง
เส้นทางวิกฤตหลังเร่งรัดกิจกรรม A 1 12 3 9 0 1 ST = 6 ST = 0 ST = 0 0 0 14 12 7 3 ST = 0 ST = 0 ST = 0 D S E A F B C G H 12 3 3 3 7 0 0 0 1 14 3 7 0 3 6 7 1 12 3 12 7 0 7 3 1 3 2 4 5 0 4 3 2 ST = 0 ST = 0 ST = 0
เทคนิค PERT • ระยะเวลาที่คาดคะเนในแง่ดี (optimistic) = a • ระยะเวลาที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้มากที่สุด (most likely) = b • ระยะเวลาที่คาดคะเนในแง่ร้าย (pessimistic) = c • ระยะเวลาคาดหวังที่กิจกรรมจะแล้วเสร็จ (Te) Te = (a+4b+c) / 6 หรือ • ความแปรปรวน (v) v = ((c-a)/6)2 หรือ
ระยะเวลาคาดหวังของโครงการ = ระยะเวลาของเส้นทางวิกฤติ = 15 ความแปรปรวนของโครงการ = 0.11+0.11+1.00+1.78+0.11=3.11 • เอาค่าที่ได้คำนวณหาค่าตัวแปรสุ่มแบบปกติมาตรฐาน (Z value) เทียบกับตารางปกติมาตรฐาน หรือ • Ts คือ ระยะเวลาที่โครงการแล้วเสร็จตามเป้าหมายที่กำหนด • Te คือ ระยะเวลาคาดหวังของกิจกรรม • ∑Te คือ ระยะเวลาคาดหวังของโครงการ
ตัวอย่าง ให้หาความน่าจะเป็นที่โครงการจะเสร็จภายใน 16 หน่วยเวลา = 0.57 นำค่า Z ที่ได้ไปเปิดตารางปกติมาตรฐาน (normal table) จะได้ความน่าจะเป็น 0.7157 นั่นคือ 71.57 เปอร์เซ็นต์