340 likes | 1.12k Views
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. แนวทาง/ตัวอย่างการเขียน TOR ที่ถูกต้อง. รายละเอียดข้อกำหนดสำหรับการจัดซื้อ/จัดจ้าง ( TOR ) คืออะไร. เอกสารแสดงข้อมูล รายการ รายละเอียด ที่ประกาศ หรือแจ้งให้ผู้ขายทราบถึงความต้องการและเงื่อนไขของผู้ซื้อ ประกาศแจ้งล่วงหน้า อย่างเปิดเผย
E N D
กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร แนวทาง/ตัวอย่างการเขียนTORที่ถูกต้อง
รายละเอียดข้อกำหนดสำหรับการจัดซื้อ/จัดจ้าง ( TOR )คืออะไร • เอกสารแสดงข้อมูล รายการ รายละเอียด ที่ประกาศ หรือแจ้งให้ผู้ขายทราบถึงความต้องการและเงื่อนไขของผู้ซื้อ • ประกาศแจ้งล่วงหน้า อย่างเปิดเผย • หากมีการเปลี่ยนแปลง ต้องแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดทราบ • สำหรับการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ของภาครัฐ ต้องเป็นไปตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารประกาศแจ้งไว้ที่หน้าเว็บไซด์ของกระทรวง (ทั้งนี้เป็นไปตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2547) • การกำหนด TOR ที่แตกต่างต้องแจงเหตุผล เป็นครั้งๆไป
TOR ที่ดี จะช่วยให้ท่านได้พัสดุ ตรงตามวัตถุประสงค์ การใช้งาน ประหยัด เกิดประโยชน์สูงสุด • TOR ที่ดี จะระบุความจำเป็นและคุณลักษณ์ที่ต้องการนำไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างชัดเจน • TOR ที่ดี จะระบุข้อความที่ไม่กำกวม ตรวจสอบ วัด ได้ • TOR ที่ดี ไม่ระบุรายการที่เกินความจำเป็น • สเปกกลาง ของ ICT จะช่วยให้ท่านจัดซื้อคอมพิวเตอร์ที่ตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งาน ประหยัด รวดเร็ว
แนวทางในการระบุข้อกำหนดสำหรับการจัดซื้อ/จัดหา คอมพิวเตอร์ มี 3 ส่วน • มาตรฐาน คุณภาพ การรับประกัน • สเปก/ความสามารถ ที่จำเป็น ต้องการ • ซอฟต์แวร์ สิทธิการใช้ และลิขสิทธิ์
ส่วนที่ 1 ระดับคุณภาพ มาตรฐาน/ การรับประกันและเงื่อนไข • ใช้มาตรฐานไทย/เครื่องหมายรับรองไทย เป็นหลัก • ได้รับเครื่องหมายรับรอง มอก.1561 และมอก.1956 หรือ • ได้รับเครื่องหมายรับรอง เนคเทค • การรับประกันขึ้นต่ำ 3 ปี / ประกันอายุการใช้งาน 5 ปี
ส่วนที่ 2 สเปก คุณลักษณะ หรือ ขีดความสามารถที่ต้องการ • ระบุตามสเปก • ระบุตามความสามารถที่ต้องการ • ระบุผสมกัน • ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสม โดย กท. กท. • ดูสเปกกลางได้ที่....................
ส่วนที่ 3 ซอฟต์แวร์ และลิขสิทธิ์ • ระบุซอฟต์แวร์พื้นฐานสำหรับการทำงานที่ต้องการ • ระบุลิขสิทธิ์ สิทธิการใช้ จำนวนสิทธิ ระยะเวลาสนับสนุนการถ่ายโอนสิทธิให้ครบถ้วน • แยกราคา ออกจากตัวฮาร์ดแวร์
เลือกสเปกแตกต่างได้หรือไม่ ต้องทำอย่างไรบ้าง • เลือกสเปกดีกว่า สเปกกลางได้ ตราบที่งบประมาณยังไม่เกินกรอบราคาที่ตั้งไว้ • หากงบประมาณเกินรอบ ต้องส่งเรื่องแจ้งให้ ทราบล่วงหน้า เพื่อพิจารณาเป็นรายๆ • พึงระวัง การเลือกอุปกรณ์ขนาดใหญ่ / บริโภคทรัพยากรเยอะจะเป็นภาระในการใช้งาน
คอมพิวเตอร์ที่ดี ควรมีคุณสมบัติพื้นฐานอย่างไร • ปลอดภัยไม่เป็นอันตราย (มอก.1561) • ไม่มีสัญญาณรบกวนมากเกินไป (มอก. 1956) • ทนทาน มีความน่าเชื่อถือสูง อายุการใช้งานยาวนาน • มีประสิทธิภาพ และความสามารถเหมาะสม ตามการใช้งาน • ประหยัดพลังงาน/มีค่าใช้จ่ายในการใช้งานต่ำ • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ดีกับผู้ใช้ (สุขภาพ) • ราคาเหมาะสม
วิธี ระบุความสามารถของคอมพิวเตอร์ ระบุผ่านสเปก CPU Clock Speed FSB Speed L1/L2 cache Size Memory Type / Memory Speed Memory Capacity HDD Type / Capacity Lan Speed VGA/GPU Type VGA Memory Capacity
การเลือกสเปก เผื่อ....ความสิ้นเปลืองที่ควรระวัง • การเลือกสเปกเผื่อ หมายถึง การเลือกสเปกที่มีความสามารถมากกว่าที่ต้องการใช้งานในปัจจุบัน ซึ่งเกิดได้จากหลายเหตุผล แต่มักจะเป็นการเผื่อไว้สำหรับการขยายระบบเพิ่มเติมในอนาคต • ต้องมีช่องเสียบแบบ PCI ไม่น้อยกว่า 4 ช่อง (ปัจจุบันใช้ 1 ช่อง) • หน่วยจ่ายกำลังไฟฟ้า (PSU) จ่ายไฟได้ไม่ต่ำกว่า 485 วัตต์ (ปัจจุบันใช้ 225 วัตต์) • หน่วยความจำหลักขยายได้ไม่น้อยกว่า 16 จิกะไบต์ (ปัจจุบันใช้ 1 จิกะไบต์) • ข้อควรระวัง • ราคาที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากสเปกเผื่อ (แต่ยังไม่ได้ใช้งาน) – ของฟรี ไม่มีในโลก • ค่าใช้จ่ายในการใช้งาน อาทิ ค่าไฟฟ้า ค่าซ่อมบำรุง • ความคุ้มค่าในการขยายระบบ ในอนาคต • อาจเป็นการ ล็อก สเปก และทำให้ถูกร้องเรียนได้
มอก.1561-2548 • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3468 (พ.ศ.2549) • ประกาศ ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 ออกประกาศกำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม บริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศเฉพาะด้านความปลอดภัย : ข้อกำหนดทั่วไป มาตรฐานเลขที่ มอก.1561-2548 • ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับที่ประกาศและงานทั่วไป เล่ม 123 ตอนที่ 600 วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2549 • มีผลเมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มอก. 1561 -2548 • อ้างอิง IEC 60950 • Information technology • Equipment-Safety-Part1: • General Requirement
มอก.1561-2548 ขอบข่าย • บริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ • บริภัณฑ์ไฟฟ้าทางธุรกิจ • บริภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องที่ใช้กำลังไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟฟ้าประธาน หรือใช้กำลังไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ที่มีแรงดันไฟฟ้าที่กำหนดไม่เกิน 600 โวลต์
มอก. 1561-2548 • เพื่อให้ผู้ออกแบบบริภัณฑ์เข้าใจพื้นฐานของข้อกำหนดตามมาตรฐาน และสามารถออกแบบบริภัณฑ์ให้มีระดับของความปลอดภัยไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ในหลักการของความปลอดภัย
มอก. 1561-2548 • ลำดับความสำคัญในการพิจารณา • มาตรฐานที่จะกำจัด ลด หรือป้องกันอันตราย • มาตรการที่จะระบุการใช้วิธีการป้องกันที่ไม่ขึ้นกับบริภัณฑ์ • มาตรการที่จะระบุในการทำเครื่องหมายและข้อแนะนำเกี่ยวกับความเลี่ยงที่มีอยู่
มอก. 1561-2548 อันตราย • ช็อกไฟฟ้า • อันตรายที่สัมพันธ์กับพลังงาน • ไฟ • อันตรายที่สัมพันธ์กับความร้อน • อันตรายทางกล • การแผ่รังสี • อันตรายทางเคมี
มอก. 1561-2548 • การเลือกวัสดุและส่วนประกอบ การเลือกและจัดวางวัสดุและส่วนประกอบในการสร้างบริภัณฑ์ การเลือกวัสดุและส่วนประกอบที่จะไม่ช่วยเสริมในการเกิด อันตรายจากไฟที่รุนแรง การเลือกวัสดุและส่วนประกอบที่คงไว้สำหรับค่าพิกัดภายใต้ภาวะ ปกติและภาวะผิดพร่อง
มอก. 1956 - 2548 • ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 3431 (พ.ศ.2548) ประกาศ ณ วันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2548 ออกประกาศกำหนด มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมบริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ:ขีดกำจัดสัญญาณรบกวนวิทยุมาตรฐานเลขที่ มอก. 196-2548 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศและงานทั่วไปเล่มที่ 123 ตอนที่ 60 วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2549 มีผลเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา
มอก. 1956 - 2548 • CISPR 22 Information Technology equipment – Radio disturbance characteristics Limits and Methods of measurement • CISPR 22 มอก.1441-2545
มอก. 1956 - 2548 จุดประสงค์ : เพื่อกำหนดระดับสัญญาณรบกวนวิทยุของบริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นแบบเดียวกัน กำหนดขีดจำกัดของสัญญาณรบกวน อธิบายวิธีการวัดและกำหนดภาวการณ์ทำงานและการตีความผลการทดลอบให้เป็นมาตรฐานในแนวทางเดียวกัน
มอก. 1956 - 2548 ขอบข่าย มอก. 1956-2548 ครอบคลุมถึงขีดจำกัดสัญญาณรบกวนวิทยุของบริภัณฑ์เทคโนโลยีสารสนเทศ วิธีดำเนินการต่างๆ กำหนดไว้สำหรับการวัดระดับสัญญาณที่เกิดจากบริภัณฑ์ฯและขีดจำกัดที่ระบุไว้ใช้สำหรับพิสัยความถี่ 9 กิโลเฮิรตซ์ ถึง 400 กิโลเฮิรตซ์ สำหรับบริภัณฑ์ฯประเภท A และประเภท B
มอก. 1956 - 2548 ประเภท ITE ITE ประเภท A หมายถึง กลุ่มที่ ITE อื่นๆ ทั้งหมดซึ่งเป็นไปตามขีดกำจัดสำหรับ ITE ประเภท A แต่ไม่เป็นไปตามขีดจำกัดสำหรับ ITE ประเภท B
มอก. 1956 - 2548 ประเภท ITE ITE ประเภท B หมายถึง บริภัณฑ์ซึ่งเป็นไปตามขีดกำจัดสัญญาณรบกวนสำหรับ ITE ประเภท B และบริภัณฑ์ที่มีจุดประสงค์หลักสำหรับใช้งานในสิ่งแวดล้อมพักอาศัย รัศมี 10 เมตร
มอก. 1956 - 2548 • มอก. 1956-2548 กำหนดขีดกำจัดสัญญาณรบกวน ดังนี้ • ขีดจำกัดสำหรับสัญญาณรบกวนที่นำตามสาย • - ช่องทางแหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้าประธาน • - ช่องทางโทรคมนาคม • 2. ขีดจำกัดสำหรับสัญญาณรบกวนที่แผ่กระจายเป็นคลื่น
ระเบียบพัสดุ ที่ควรทราบ ข้อ 16(1) ห้ามกำหนดรายละเอียด หรือคุณลักษณะเฉพาะ ซึ่งอาจมีผลกีดกันไม่ให้ผู้ผลิตหรือผู้ขายพัสดุที่ผลิตในประเทศไทย หรือเป็นกิจการของคนไทยสามารถเข้าแข่งขันในการเสนอราคากับทางราชการ
พรบ. ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ • มาตรา 11 จนท.ในหน่วยงานของรัฐผู้ใด ..................โดยทุจริตทำการออกแบบ กำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข..............อันเป็นมาตรฐานในการเสนอราคา โดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม หรือช่วยเหลือ.......หรือเพื่อกีดกัน ผู้เสนอราคารายใด มิให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000 – 400,000 บาท
มิติ ครม. เมื่อ 21 มีนาคม 2520 • “ ห้ามมิให้กำหนดลักษณะเฉพาะของสิ่งของ ที่จะซื้อให้ใกล้เคียงกับยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง และห้ามระบุยี่ห้อของที่ต้องการจะซื้อทุกชนิด เว้นแต่มีข้อยกเว้นไว้ เช่น ยารักษาโรค เครื่องอะไหล่ เป็นต้น ซึ่งกำหนดให้ระบุยี่ห้อได้ “