310 likes | 523 Views
“ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ”. โดย บรรจง วรรณ สุริยะ ครู วิทย ฐานะ เชี่ยวชาญ Mobile phone 081-2879757 E-Mail : bjwannasuriya@hotmail.com. วัตถุประสงค์. มีความรู้ความเข้าใจ ในความสำคัญและหลักการของ CAR เพื่อนำการเปลี่ยนแปลงในฐานะผู้ปฏิบัติ
E N D
“ การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน ” โดย บรรจง วรรณสุริยะ ครูวิทยฐานะ เชี่ยวชาญ Mobile phone 081-2879757 E-Mail: bjwannasuriya@hotmail.com
วัตถุประสงค์ • มีความรู้ความเข้าใจ ในความสำคัญและหลักการของ CAR เพื่อนำการเปลี่ยนแปลงในฐานะผู้ปฏิบัติ • สามารถออกแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนที่รับผิดชอบได้
สาระสำคัญ ครูมืออาชีพต้องใช้กระบวนการวิจัยในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของตนเองตาม พรบ. การศึกษาแห่งชาติ หมวด 4 มาตรา 24 (5) และ 30 , มาตรฐาน สมศ. มฐ.9 มาตรฐานความรู้และสมรรถนะของคุรุสภา
เหตุที่ครูต้องทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเหตุที่ครูต้องทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 กำหนดให้ครูต้องทำวิจัยเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน มาตราที่ 30) และให้ครูใช้การวิจัยเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนและครู (มาตราที่ 24 (5))
เหตุที่ครูต้องทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเหตุที่ครูต้องทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คุรุสภากำหนดให้ผู้ที่จะปฏิบัติงานในวิชาชีพครูต้องมีมาตรฐานความรู้ด้าน “การวิจัยทางการศึกษา” เป็น 1 ใน 9 มาตรฐานความรู้ของครู(มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ; หน้า 6) สาระความรู้ในมาตรฐานความรู้ “การวิจัยทางการศึกษา” นี้ครอบคลุม “การวิจัยในชั้นเรียน” “การฝึกปฏิบัติการวิจัย” และ “การใช้กระบวนการวิจัยในการแก้ปัญหา” ด้วย และครูต้องมีสมรรถนะ “สามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและพัฒนาผู้เรียน” (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ; หน้า 10)
เหตุที่ครูต้องทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเหตุที่ครูต้องทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คุรุสภากำหนดมาตรฐานของหลักสูตรปริญญาทางการศึกษาว่าต้องให้บัณฑิตผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาไม่น้อยกว่า 1 ปี และผ่านเกณฑ์การประเมินปฏิบัติการสอนดังคณะกรรมการคุรุสภากำหนดไว้ทั้ง (1) การฝึกปฏิบัติวิชาชีพระหว่างเรียน และ (2) การปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาในสาขาวิชาเฉพาะ ซึ่งการปฏิบัติการสอนดังกล่าว กำหนดให้ต้องฝึกทักษะและมีสมรรถนะในด้าน “การวิจัยในโรงเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียน” (มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา ;หน้า 12 , 13)
เหตุที่ครูต้องทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเหตุที่ครูต้องทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สมศ. กำหนดมาตรฐานคุณภาพครูในด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพไว้ว่า ในการปฏิบัติงานนั้น ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 กิจกรรม คือ • การวิเคราะห์หลักสูตร • การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล • การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย • การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน
เหตุที่ครูต้องทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเหตุที่ครูต้องทำวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สมศ. กำหนดมาตรฐานคุณภาพครูในด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญอย่างมีประสิทธิภาพไว้ว่า ในการปฏิบัติงานนั้น ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 กิจกรรม คือ • การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านเน้นองค์รวมและเน้นพัฒนาการ • การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไข ปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ • การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตนเอง
ความหมาย CAR - CAR = Classroom Action Research - วิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน - วิจัยในชั้นเรียน - การวิจัยของครู (Teacher research) - การวิจัยห้องเรียน - เป็นกระบวนการสร้างความรู้ที่เกี่ยวกับปฏิบัติงาน การจัดการเรียนรู้ของตนเองเพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเองให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลยิ่งขึ้น
สาระสำคัญ หลักในการทำวิจัยปฏิบัติการ CAR :Classroom Action Research • CAR คือ เครื่องมือการเรียนรู้เพื่อค้นหาความรู้จากการปฏิบัติงาน • CAR คือ ตัวช่วยสร้าง “โอกาส” เปลี่ยน “ปัญหา” ให้เป็น “ปัญญา” • CAR สร้างการเปลี่ยนแปลงตนเองของครู • CAR สร้างเครือข่ายเพื่อนร่วมเรียนรู้ของครูเชี่ยวชาญ
แนวคิด CAR การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน (Classroom Action Research- CAR) เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และสร้างความรู้ในการปฏิบัติงาน ยังผลให้ครูเกิดความเข้าใจ ในสภาพ ผลสำเร็จ และปัญหาการปฏิบัติงานจัดการเรียนการสอนของตนเอง อันนำไปสู่การพัฒนา ความสามารถในการปรับปรุงและพัฒนาตนเองในการปฏิบัติงานวิชาชีพครู
แนวคิด CAR เมื่อครูเผชิญกับ “ปัญหา” ในการจัดการเรียนการสอน ครูสามารถเปลี่ยน “ปัญหา” ให้เป็น “ปัญญา” และ “การสร้างสรรค์” ได้ด้วยการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน
หลักการ CAR • การวิจัยปฏิบัติการในโรงเรียนแท้ๆ ต้องเป็น “งานที่เล็กๆ ง่ายๆ และมีคุณค่า” (a small , simple and significant task) ที่บูรณาการอยู่ในการปฏิบัติงานการจัดการเรียนการสอนปกติของครู • เราทั้งผองสามารถเรียนรู้จากกันและกัน (we all can learn from each others)
หลักการ CAR - การวิจัยปฏิบัติการในโรงเรียนจริงๆ เป็นงานที่เล็กๆ ง่ายๆ และมีคุณค่า ที่ บูรณาการอยู่ในการปฏิบัติงานการจัดการเรียนการสอนของครู คุณค่า CAR - คุณค่าของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน คือ การเรียนรู้และสร้างความรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพของครู CAR เพื่อนำการเปลี่ยนแปลงตนเองของครู ประกอบด้วย CAR 1 การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล CAR 2 การประเมินเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ CAR 3 กรณีศึกษานักเรียน และ กรณีศึกษาการเปลี่ยนแปลง ตนเองของครู CAR 4 การวิจัยและพัฒนา นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้
CAR 1 การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล คำถามงานวิจัย - นักเรียนแต่ละคนมีลักษณะสำคัญอย่างไร - นักเรียนแต่จะคนมี จุดน่าสนใจ ควรได้รับการพัฒนา ปรับปรุงในเรื่องอะไรบ้าง - ครูควรออกแบบการจัดการเรียนรู้อย่างไรให้สามารถพัฒนาคุณภาพของแต่ละคน และทุกคนในเทอมนี้
แบบฝึก CAR 1 การวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล
ตัวอย่าง ข้อมูลการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคล CAR 1 หมายเหตุ นำผลการวิเคราะห์การแสดงในรูปแบบของตาราง / ภาพ ในตอนที่ 3 (ผลการวิเคราะห์ข้อมูล) ของเล่มรายงาน
ตอนที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัย - กลุ่มเป้าหมาย - สารสนเทศ / ข้อมูลที่จะเก็บรวบรวม - แหล่งข้อมูล เครื่องมือ แผนปฏิบัติการในการจัดเก็บข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล ตอนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ข้อมูล - ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียนเน้นรายบุคคล - ผลการวิเคราะห์ข้อมูลนักเรียน ทั้งกลุ่ม ตัวอย่างหัวข้อการเขียนรายงาน CAR1 - บทคัดย่อ - คำนำ / กิตติกรรมประกาศ - สารบัญเนื้อหา / ตาราง / แผนภาพ ตอนที่ 1 บทนำ - แนวคิดและเหตุผล - คำถามการวิจัย - วัตถุประสงค์การวิจัย
ตอนที่ 4 สรุปผลและข้อเสนอแนะการวิจัย - สรุปผลการวิจัย - ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ตอนที่ 5 บทเรียนจากการวิจัย - บทเรียนสำหรับครูในการพัฒนานักเรียน - บทเรียนของครู ในการออกแบบแผนการจัดการเรียนรู้ - ข้อเสนอแนะสำหรับครู ในการปรับปรุง และพัฒนาตนเองเพื่อการวิจัยครั้งต่อไป ภาคผนวก - เครื่องมือทั้งหมดที่ใช้ในการวิจัย - ฯลฯ
ตัวอย่าง CAR 2การประเมินเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้
แบบฝึก CAR 2 การประเมินเพื่อพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้และการสอนของตนเอง
CAR 3 กรณีศึกษา นักเรียน และกรณีศึกษาการเปลี่ยนแปลงตนเอง ของครู สถานการณ์ :ครูสังเกตเห็นว่านักเรียนบางคนมีปัญหาที่ครูต้องช่วยคลี่คลายและแก้ไข คำถามวิจัย - นักเรียนมีปัญหาอะไรบ้าง - สาเหตุ และปัจจัยของปัญหามีอะไรบ้าง - แนวทางแก้ไขปัญหาควรมีเป้าหมาย และขั้นตอนอย่างไร - ผลการแก้ไข มีความสำเร็จ และ แก้ปัญหาอย่างไร และควรพัฒนา ต่อไปอย่างไร การจัดเก็บข้อมูล - การสังเกตในสภาพต่างๆ ทั้งในห้องเรียนและนอก ห้องเรียน - การสัมภาษณ์ผู้เรียน และผู้เกี่ยวข้อง - วิเคราะห์เอกสารต่างๆ
CAR 3 กรณีศึกษา นักเรียน และกรณีศึกษาการเปลี่ยนแปลงตนเองของครู
การเขียนรายงาน CAR 3 เรื่องลำดับหัวข้อเช่นเดียวกับ CAR 1 เพิ่มเติม ส่วนภาคผนวกคือ แผนการจัดการเรียนรู้ฉบับเพิ่มเติม
CAR 4 การวิจัยและพัฒนาวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้ • สถานการณ์ : เมื่อครูพบว่าแผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันยังไม่ประสบผลสำเร็จสำหรับนักเรียนทุกคน ครูจึงต้องการสร้างและพัฒนานวัตกรรมในการจัดการเรียนรู้เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการจัด การเรียนการสอนของตนเองให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสำหรับนักเรียนทุกคน • คำถามวิจัย • ผลลัพธ์ที่ต้องการพัฒนา และหลักในการพัฒนามีอะไรบ้าง • แนวคิดและแนวทางในการสร้าง และใช้นวัตกรรม มีอะไรบ้าง • ผลการทดลองใช้นวัตกรรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการเรียนรู้ ของนักเรียนอย่างไร • แนวทางในการปรับปรุงนวัตกรรมในช่วงต่อไป ควรทำอย่างไร • การจัดเก็บข้อมูล • ข้อมูลสภาวะเริ่มต้น (base line) • ข้อมูลพัฒนาทางพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน • ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
ตัวอย่าง แบบฝึก CAR 4การวิจัย และพัฒนา นวัตกรรม การจัดการเรียนรู้
ตัวอย่าง ID – PLAN ( แผนการพัฒนาตนเอง) ของครู
THE END THE END The End R. B.