1 / 19

รายงาน การวิเคราะห์ระบบข้อมูลสถานการณ์ การใช้ยาไทยและสมุนไพร

รายงาน การวิเคราะห์ระบบข้อมูลสถานการณ์ การใช้ยาไทยและสมุนไพร. รศ.ดร.อาทร ริ้วไพบูลย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. วัตถุประสงค์. เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระบบข้อมูลการใช้ยาไทยและสมุนไพรในประเทศไทยนำไปสู่กระบวนการวางแนวทาง (หรือนโยบาย) การพัฒนาในอนาคต ได้ศึกษาตามแนวทางดังนี้

Download Presentation

รายงาน การวิเคราะห์ระบบข้อมูลสถานการณ์ การใช้ยาไทยและสมุนไพร

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. รายงานการวิเคราะห์ระบบข้อมูลสถานการณ์การใช้ยาไทยและสมุนไพรรายงานการวิเคราะห์ระบบข้อมูลสถานการณ์การใช้ยาไทยและสมุนไพร รศ.ดร.อาทร ริ้วไพบูลย์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล HerbalMIS.ppt

  2. วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ระบบข้อมูลการใช้ยาไทยและสมุนไพรในประเทศไทยนำไปสู่กระบวนการวางแนวทาง (หรือนโยบาย) การพัฒนาในอนาคต ได้ศึกษาตามแนวทางดังนี้ 1. ศึกษาสถานการณ์ของระบบข้อมูลการใช้ยาไทยและสมุนไพร - การผลิตยาไทย - การใช้ยาในสถานบริการทั้งภาครัฐและเอกชน - การบริโภคยาไทยและสมุนไพร - ปริมาณการบริโภคยาไทยและสมุนไพร 2. วิเคราะห์ สังเคราะห์ภาพรวม พร้อมทั้งแนวทางในการพัฒนาระบบข้อมูล HerbalMIS.ppt

  3. วิธีการดำเนินการ 1. ทบทวนรายงานที่เกี่ยวข้อง 2. กำหนดกรอบการศึกษา 3. ศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์ หรือการดูงาน และสรุปเป็นโครงร่างรายงานเบื้องต้น 4. เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการหรือผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมวิพากษ์และให้ข้อเสนอแนะ 5. ปรับปรุงรายงาน 6. นำเสนอผลงานวิชาการที่ปรับปรุง 7. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ HerbalMIS.ppt

  4. ศัพท์บัญญัติที่เกี่ยวข้องศัพท์บัญญัติที่เกี่ยวข้อง • ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงที่มีอยู่ในชีวิตประจำวัน • สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผล ผ่านการวิเคราะห์หรือสรุปให้อยู่ในรูปที่มีความหมาย สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์ • ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง ระบบที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองหรือประมวลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการเพื่อที่จะสนับสนุนการปฏิบัติงานขององค์กร HerbalMIS.ppt

  5. การวางแผนระบบสาธารณสุขการวางแผนระบบสาธารณสุข ในการวางแผนระบบสาธารณสุข มีการกำหนดเป้าหมายลักษณะของระบบ • สามารถจัดหามาให้บริการได้ (Availability) • ผู้รับบริการเข้าถึงบริการได้ (Accessibility) • บริการนั้นได้รับการยอมรับ (Acceptability) • เป็นบริการที่มีคุณภาพ (Quality of care) • มีต้นทุนที่สามารถจ่ายได้ (Affordable cost) HerbalMIS.ppt

  6. NationalCenter for Complementary and Alternative Medicine (NCAM) • ความหมายของการแพทย์ทางเลือกและการแพทย์เสริม (Complementary and Alternative Medicine; CAM) (What is CAM?) • ประเภทของการแพทย์ดังกล่าวที่การสำรวจครอบคลุม (CAM therapies included in the survey) • ประชาชนมีการใช้มากน้อยเท่าไร (How many people use CAM) • ประชาชนกลุ่มไหนเป็นผู้ใช้ (Who uses the CAM most) • ใช้การแพทย์แต่ละประเภทรวมทั้งผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ (Natural products) มากน้อยเพียงใด (CAM therapies used the most) • ใช้กับสภาพการเจ็บป่วยอย่างไร (Health conditions prompting CAM use) • เหตุผลในการใช้ (Reasons for using CAM) • ค่าใช้จ่าย (Spending on CAM) HerbalMIS.ppt

  7. สถานการณ์ของระบบข้อมูล กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก • กลุ่มงานส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและสมุนไพร กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ได้เคยทำการสำรวจสถานบริการสาธารณสุขทั้งของรัฐและเอกชน ในลักษณะการสำรวจเฉพาะกิจ เนื้อหาครอบคลุมประเภทของการให้บริการ จำนวนผู้รับบริการ และประเภทของผู้รับบริการ HerbalMIS.ppt

  8. กองควบคุมยา สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา • กลุ่มยาแผนไทยและยาจากสมุนไพร กองควบคุมยา มีการบันทึกข้อมูลจากเอกสารการขึ้นทะเบียนตำรับยา แต่มิได้มีการประมวลผลจากฐานข้อมูลดังกล่าว เพราะไม่มีการใช้งานที่ชัดเจน อีกทั้งเป็นข้อมูลที่เป็นความลับ การกำหนดกลุ่มยาก็ยังไม่มีหลักการที่ชัดเจน • ในส่วนของกลุ่มงานพัฒนาระบบ กองควบคุมยา ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลการผลิตและนำเข้า โดยมีรายละเอียดของยาแต่ละตำรับที่ผลิตทั้งปริมาณและมูลค่าที่ได้จากการส่งรายงานประจำปีของผู้ประกอบการ มูลค่าที่รายงานเป็นราคาที่ตั้งขาย (Wholesale Price) HerbalMIS.ppt

  9. ศูนย์ข้อมูลข่าวสารด้านเวชภัณฑ์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ • มีการกำหนดให้โรงพยาบาลในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงฯ ส่งรายงานการผลิตยา การจัดซื้อและการใช้ยา ซึ่งแบบฟอร์มของกรมจะให้กรอกทุกอย่าง ไม่ใช่เฉพาะข้อมูลสมุนไพร แต่ได้รับความร่วมมือในการรายงานไม่มาก HerbalMIS.ppt

  10. สำนักงานสถิติแห่งชาติสำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติทำการสำรวจด้านสมุนไพรและยาแผนโบราณ เป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจภาวะอนามัยและสวัสดิการ ได้หยุดไปในปี พ.ศ. 2544 การให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นผู้สำรวจสามารถทำได้โดยการประสานงานระหว่างหน่วยงาน ในลักษณะ • รวมเข้าไว้ในการสำรวจอนามัยและสวัสดิการ (สอส.) :ซึ่งทำการสำรวจทุกปีหรือสองปี • รวมกับการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ซึ่งทำการสำรวจทุกเดือน • แยกเป็นโครงการด้านยาแผนไทยโดยเฉพาะกรณีมีเนื้อหามาก HerbalMIS.ppt

  11. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย • ศูนย์วิจัยกสิกรไทยให้ความสนใจวิจัยสมุนไพร เพราะเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการเกษตรที่เป็นภารกิจที่รับผิดชอบ การดำเนินงานมีเป้าหมายเพื่อให้บริการข้อมูลทางวิชาการแก่ลูกค้าของธนาคารและสาธารณะชนทั่วไป โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจากธนาคารต้นสังกัด เป็นส่วนหนึ่งของงานประชาสัมพันธ์ของธนาคาร โดยใช้เครือข่ายการสำรวจข้อมูลจากสถาบันราชภัฎสวนดุสิต ปัจจุบันยังมีนโยบายที่จะดำเนินการสำรวจ แต่ไม่มีแผนงานในรายละเอียด ถ้ากระทรวงสาธารณสุขจะจัดทำระบบสารสนเทศ ก็สามารถร่วมมือกันได้ HerbalMIS.ppt

  12. การใช้ยาแผนไทยในมุมมองของระบบสุขภาพการใช้ยาแผนไทยในมุมมองของระบบสุขภาพ ต้องการให้การใช้นั้นเป็นไปอย่าง • เหมาะสม • คุ้มค่า HerbalMIS.ppt

  13. สารสนเทศที่จำเป็นในการวางแผนสารสนเทศที่จำเป็นในการวางแผน • ความชุกของการใช้ จำแนกตามประเภทการเจ็บป่วย ชนิดและประเภทของยา ลักษณะของผู้ใช้ ผลและความพึงพอใจของผู้ใช้ รวมถึงปัจจัยที่สัมพันธ์กับการใช้ • ปริมาณการใช้และ ค่าใช้จ่าย • ปริมาณและการผลิต และนำเข้า จำแนกตามชนิดและประเภทของยา • การใช้ในสถานพยาบาล • มูลค่าการบริโภคจำแนก ตามประเภทการเจ็บป่วย ชนิดและประเภทของยา ลักษณะของผู้ใช้ • ความคุ้มค่าต่อระบบสุขภาพ HerbalMIS.ppt

  14. กรอบข้อมูล • ความหมายของยาไทยและสมุนไพร พระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542 ระบุว่า ยาแผนไทย หมายความว่า ยาที่ได้จากสมุนไพรโดยตรงหรือที่ได้จากการผสม ปรุง หรือแปรสภาพสมุนไพร และให้หมายความรวมถึงยาแผนโบราณตามกฎหมายว่าด้วยยา • แหล่งที่มา ทั้งในประเทศและนำเข้า • แหล่งผลิต โรงงานผู้รับใบอนุญาตผลิตยาแผนโบราณ และหน่วยผลิตของโรงพยาบาล • แหล่งส่งมอบยา สถานบริการสุขภาพ และร้านยา • สถานบริการสุขภาพ โรงพยาบาลของรัฐ เอกชน • การบริโภค การซื้อจากร้านยา การซื้อจากแผงลอยพ่อค้าเร่ การซื้อจากการขายตรง การเตรียมใช้เอง การพบแพทย์แผนโบราณ การสั่งจ่ายของแพทย์ การซื้อจากโรงพยาบาล HerbalMIS.ppt

  15. ภาพรวมของระบบสารสนเทศด้านสมุนไพรและยาไทยภาพรวมของระบบสารสนเทศด้านสมุนไพรและยาไทย HerbalMIS.ppt

  16. HerbalMIS.ppt

  17. แนวทางในการพัฒนาระบบข้อมูล • จัดตั้งเครือข่ายการจัดทำระบบสารสนเทศกลาง • ประชุมเตรียมการให้เข้าใจหลักการ เทคนิควิธีการตรงกัน แบ่งงานความรับผิดชอบ • ประมวลข้อมูลรวมที่ได้จากเครือข่าย โดยต้องมีการตรวจสอบ เช่นข้อมูลการผลิตที่รายงานจากผู้ผลิต กับข้อมูลที่สำรวจจากยอดซื้อของร้านยา • ส่งผลการวิเคราะห์ไปยังหน่วยที่เกี่ยวข้อง และหน่วยที่รายงานข้อมูลในทุกระดับ เพื่อให้หน่วยงานทุกระดับได้ใช้ประโยชน์จึงจะเป็นการกระตุ้นให้มีการรายงาน HerbalMIS.ppt

More Related