380 likes | 775 Views
เครื่องมือประเมินผลที่ทรงประสิทธิภาพ. ประเมินอย่างไร จึงจะรู้ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จริง. ทำไมต้องประเมินผล. เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้ และสิ่งที่นักเรียนสามารถทำได้ เพื่อติดตามการเรียนรู้ของนักเรียน
E N D
เครื่องมือประเมินผลที่ทรงประสิทธิภาพเครื่องมือประเมินผลที่ทรงประสิทธิภาพ ประเมินอย่างไร จึงจะรู้ว่าผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จริง
ทำไมต้องประเมินผล • เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่นักเรียนเรียนรู้ และสิ่งที่นักเรียนสามารถทำได้ • เพื่อติดตามการเรียนรู้ของนักเรียน • เพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนและความมีประสิทธิภาพของโปรแกรมการเรียนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ
การประเมินผลรูปแบบต่าง ๆ • ตรวจสอบความเข้าใจอย่างไม่เป็นทางการ • ใช้ข้อทดสอบย่อยและข้อสอบแบบดั้งเดิม • ใช้รายการตรวจสอบ • ใช้ใบให้คะแนน • ใช้รูบริก ถ้าต้องการวัดทักษะพื้นฐานและความคิดรวบยอด ควรใช้ข้อสอบแบบเขียนตอบ หรือแบบทดสอบย่อย ถ้าต้องการวัดความเข้าใจขั้นลึก ควรใช้วิธีการประเมินผลที่มีความซับซ้อนยิ่งขึ้น
การประเมินผลที่ใช้เกณฑ์การประเมินการประเมินผลที่ใช้เกณฑ์การประเมิน • รูบริกสามารถใช้ประเมินผลการเรียนรู้ที่มีความซับซ้อนยุ่งยาก และประเมินชิ้นงานได้ดี • รูบริกสามารถใช้ได้กับกลุ่มเนื้อหาใด ๆ ก็ได้ • สามารถดัดแปลงเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้กับระดับ ชั้นเรียนต่าง ๆ ได้ง่าย
รูบริก(Rubric)คืออะไร รูบริกคือเครื่องมือการให้คะแนนผลงานซึ่งระบุเกณฑ์ด้วยประเด็นต่างๆ ว่าต้องประเมินอะไรบ้าง • อธิบายองค์ประกอบสำคัญ ๆ เกี่ยวกับคุณภาพของการเรียนรู้ให้นักเรียนและผู้ประเมินเข้าใจตรงกัน • ระบุเป้าหมายที่ครูจะสอนและเป็นเป้าหมายที่นักเรียน ควรจะบรรลุตามนั้น
รูบริกประกอบด้วยตัวชี้วัดที่แน่นอนเกณฑ์ซึ่งระบุประเด็นต่างๆ อย่างชัดเจน และแต่ละเกณฑ์มีคำอธิบายลักษณะและระดับคุณภาพ ตั้งแต่ระดับสูงไปถึงต่ำ หรือจากต่ำไปสูง ลดหลั่นกันตามระดับคุณภาพ ซึ่งกำหนดด้วยคะแนน
ทำไมจึงต้องใช้รูบริก สำหรับครู: • ช่วยให้เห็นเป้าหมายการสอนที่ชัดเจน • เป็นเกณฑ์ที่มีลักษณะเฉพาะเพื่อการประเมินความรู้ความเข้าใจของนักเรียน • ช่วยให้การประเมินเป็นไปตามวัตถุประสงค์และแน่นอนสม่ำเสมอ • ช่วยให้ครูทำความเข้าใจกับนักเรียนได้ง่ายว่าเหตุใดนักเรียนจึงได้คะแนนเท่านั้นเท่านี้และรู้ว่าควรปรับปรุงการเรียนรู้ของตนให้ดีขึ้นอย่างไร
ทำไมจึงต้องใช้รูบริก สำหรับนักเรียน: • ช่วยให้มองเห็นเป้าหมายการเรียนรู้ที่ชัดเจน ความคาดหวังที่สำคัญสูงสุด และเกณฑ์สำหรับวัดและปรับปรุงผลงานของตนในเชิง ‘คุณภาพ’ • ช่วยเป็นแนวทางให้นักเรียนมองเห็นความคาดหวังของครูที่มีต่อการเรียนรู้ของตน • เมื่อนักเรียนใช้รูบริกตัดสินผลงานของตนเองอยู่เสมอ แสดงว่าเริ่มรับรู้และรับผิดชอบต่อผลผลิตขั้นสุดท้ายของตน และคอยตรวจสอบตนเองว่า “ฉันทำสิ่งนี้สิ่งนั้นสำเร็จหรือยัง” • ช่วยให้นักเรียนสามารถแก้ไขปรับปรุงตัวเองได้
ชนิดของรูบริก • รูบริกแบบองค์รวม: สะท้อนความพอใจโดยรวมต่อคุณภาพผลงานของนักเรียนในด้านต่าง ๆ • รูบริกเชิงวิเคราะห์: ระบุและประเมินเฉพาะส่วนประกอบของผลงานที่ทำเสร็จสมบูรณ์แล้ว • รูบริกต่างชนิดใช้ประเมินงานที่แตกต่างกัน
รูบริกแบบองค์รวมสำหรับประเมินการแก้โจทย์คณิตศาสตร์รูบริกแบบองค์รวมสำหรับประเมินการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ 3 คำตอบแสดงให้เห็นข้อบกพร่องต่อไปนี้หนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งที่ ได้แก่ ความเข้าใจเกี่ยวกับโจทย์ปัญหาอย่างไม่ถูกต้องสมบูรณ์นัก หลงลืมบางประเด็นของปัญหา ผิดพลาดในการคิดไตร่ตรอง สรุปปัญหาไม่หนักแน่นเพียงพอ สื่อสารไม่ชัดเจนนักทั้งด้วยการเขียนและการแสดงแผนผัง หรือมีความเข้าใจขั้นตอนหรือความคิดรวบยอดเกี่ยวกับการแก้โจทย์คณิตศาสตร์ไม่ดีพอ 4 คำตอบมีข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อย ถึงแม้จะแสดงให้เห็นว่าเข้าใจโจทย์ปัญหาอย่างดี และสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจได้ดีพอสมควรทั้งด้วยการเขียน การแสดงแผนผัง รวมทั้งมีข้อสรุปที่สมเหตุสมผล แต่มีข้อบกพร่องเล็กน้อยในการคิดไตร่ตรอง หรือการคำนวณ และหลุดบางประเด็นที่ควรนำมาพิจารณาด้วย 2 คำตอบแสดงให้เห็นว่ากล่าวย้ำโจทย์ปัญหาหรือคัดลอกข้อความจากโจทย์ที่กำหนดให้ แสดงถึงความบกพร่องดังต่อไปนี้: เข้าใจโจทย์ปัญหาเพียงเล็กน้อย ไม่สามารถระบุปัญหาที่สำคัญได้ มีการคิดตรึกตรองที่บกพร่องมากซึ่งนำไปสู่ข้อสรุปที่ไร้เหตุผล หรือขาดความเข้าใจขั้นตอนหรือแนวคิดเกี่ยวกับคณิตศาสตร์ 1 คำตอบแสดงให้เห็นว่าไม่เข้าใจโจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์เลย หรือไม่สามารถตอบโจทย์นั้นได้ 5 คำตอบแสดงให้เห็นว่าเข้าใจโจทย์ปัญหาอย่างชัดแจ้ง แม่นตรงตลอดทุกจุดที่ต้องแก้โจทย์ แสดงให้เห็นการคิดไตร่ตรองเชิงตรรกะ และได้ข้อสรุปที่สมเหตุสมผล สื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจอย่างมีประสิทธิภาพและชัดเจนด้วยการเขียนเรียบเรียง การใช้แผนผัง และการคำนวณที่ถูกต้องและเพียงพอสำหรับโจทย์ อาจมีข้อผิดพลาดบ้าง แต่ไม่มีผลต่อความถูกต้องสมบูรณ์ หรือความเป็นเหตุเป็นผลในคำตอบของนักเรียน
รูบริกเชิงวิเคราะห์สำหรับประเมินการแก้โจทย์คณิตศาสตร์รูบริกเชิงวิเคราะห์สำหรับประเมินการแก้โจทย์คณิตศาสตร์
สร้างรูบริกอย่างไร • พิจารณาและตัดสินว่าต้องการสอนให้เด็กเกิดความรู้ความเข้าใจในเรื่องใด • เลือกและกำหนดเกณฑ์ที่จะใช้ประเมิน • จุดใดบ้างที่มีความสำคัญและสมควรต้องประเมิน • เขียนคำอธิบายแต่ละเกณฑ์และแต่ละระดับคุณภาพ • ใช้ภาษาที่สื่อสารให้เข้าใจชัดเจนถึงคุณภาพที่ต้องการ • สร้างตาราง แล้วเขียนแนวคิดและเกณฑ์ลงในตาราง • ให้นักเรียนร่วมแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับรูบริก ตั้งแต่เริ่มมอบหมายภาระงานให้นักเรียนทำ • วัดผลผลงานของนักเรียนด้วยรูบริก
เนื้อหาและรูปลักษณ์ การประเมินเนื้อหา • ใช้เกณฑ์สำหรับประเมินเนื้อหาสาระ • สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ของหน่วยการเรียนรู้ การประเมินรูปลักษณ์ • ใช้เกณฑ์สำหรับประเมินการออกแบบชิ้นงาน และการจัดวางเนื้อหาและภาพประกอบซึ่งแสดงถึงความคิดสร้างสรรค์ • ควรให้น้ำหนักที่เนื้อหามากกว่ารูปลักษณ์
ชื่อเรื่องควรมีน้ำหนักเท่ากับตัวละครหลักหรือฉากใช่หรือไม่ชื่อเรื่องควรมีน้ำหนักเท่ากับตัวละครหลักหรือฉากใช่หรือไม่
แต่ละเกณฑ์มีน้ำหนักคะแนนเป็นของตนเอง แสดงให้เห็นว่าอะไรทีสำคัญสำหรับนักเรียน
ตัวอย่างเกณฑ์รูบริก-งานเขียนทางวิทยาศาสตร์ตัวอย่างเกณฑ์รูบริก-งานเขียนทางวิทยาศาสตร์ อะไรคือระดับคุณภาพของการได้คะแนน 10 คะแนน
อธิบายสิ่งที่ต้องการจะวัดผลด้วยถ้อยคำที่ชัดเจนและปฏิบัติได้อธิบายสิ่งที่ต้องการจะวัดผลด้วยถ้อยคำที่ชัดเจนและปฏิบัติได้ • หากครูกำหนดตัวชี้คุณภาพได้ชัดเจนและเจาะจงมากเพียงใด นักเรียนจะสามารถพิจารณาและกำหนดคุณภาพงานของตนได้ง่ายเพียงนั้น • ถ้าฝากเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยว ก็อาจจะไม่ได้อย่างที่ต้องการ • แต่ถ้าบอกเพิ่มเติมไปว่า เป็นก๋วยเตี๋ยวหมู บะหมี่เกี๊ยวแห้ง ก็จะตรงตามต้องการมากขึ้น • แต่ถ้าบอกว่าให้ไปซื้อที่ร้านชายสี่หมี่เกี๊ยว ไม่ใส่กระเทียมเจียว และขอกระดูกมาแทะด้วย ก็จะเจาะจงชัดเจน ได้ในสิ่งที่ต้องการมากขึ้น
ตัวอย่างดัชนีชี้วัดคุณภาพตัวอย่างดัชนีชี้วัดคุณภาพ
ตัดสินคุ๊กกี้ชอกโกแล็ตชิพที่ดีที่สุดในโลกตัดสินคุ๊กกี้ชอกโกแล็ตชิพที่ดีที่สุดในโลก • ปรึกษากันภายในกลุ่มว่าคุ้กกี้ที่ดีที่สุดควรเป็นอย่างไร และมีลักษณะอย่างไร แล้วจัดทำรายการของส่วนประกอบที่สำคัญของการเป็นคุ้กกี้ที่ดี • แลกเปลี่ยนกับกลุ่ม • เลือกเกณฑ์ที่จะใช้ในการประเมิน • ตัวอย่างเช่น รูปทรง สี กลิ่น • กำหนดรายละเอียดหรือคุณลักษณะที่จะใช้กับแต่ละระดับคะแนน • ระบุในเกณฑ์ประเมินและคุณลักษณะ • น้ำหนักคะแนน ถ้าคุณคิดว่าสิ่งนั้นเป็นสิ่งจำเป็น • ประเมินคุ้กกี้ตามรูบริกที่กำหนดไว้
ประเมินคุ้กกี้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบประเมินรูบริกประเมินคุ้กกี้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบประเมินรูบริก • ประเมินคุ้กกี้ตามแบบประเมินที่สร้างขึ้น • แต่ละกลุ่มแลกเปลี่ยนแบบประเมินรูบริก และวิธีการให้คะแนนคุ้กกี้แต่ละชนิด