E N D
Gigabit Ethernet คืออะไร? • Gigabit Ethernet(IEEE802.3z)เป็นมาตรฐานใหม่ของเทคโนโลยีเครือข่ายท้องถิ่น (LAN-Local Area-Network) ที่พัฒนามาจาก เครือข่ายแบบ Ethernet แบบเก่าที่มีความเร็ว 10 Mbps ให้สามารถรับส่งข้อมูลได้ที่ระดับความเร็ว 1 Gbps ทั้งนี้เทคโนโลยีนี้ ยังคงใช้กลไก CSMS/CD ในการร่วมใช้สื่อเหมือนEthernet แบบเก่า หากแต่มีการพัฒนาและดัดแปลงให้สามารถรองรับความเร็วในระดับ 1 Gbps ได้
ประโยชน์ของ Gigabit Ethernet Gigabit Ethernet เร็วกว่า Ethernet ซึ่งมีความเร็ว 10 Mbps ถึง 100 เท่า และเร็วกว่า Fastest Ethernet ซึ่งมีความเร็ว 100 Mbps ถึง 10 เท่า ส่งผลให้ Gigabit Ethernet มีประโยชน์ดังต่อไปนี้ • เพิ่มขนาด Bandwidth ให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น และช่วยลดปัญหาคอขวดได้เป็นอย่างดี • มีความสามารถในการทำ Full duplex คือช่วยให้สามารถใช้ Bandwidth เพิ่มได้เป็นสองเท่าในแบบ Virtual
ประโยชน์ของ Gigabit Ethernet • รวม Bandwidth ที่มีอยู่เข้าด้วยกันเพื่อเพิ่มความเร็วเป็น Multi Gigabit ด้วยการใช้ Gigabit Server Adapter และตัว สวิทช์ • ด้วยคุณสมบัติของ Quality of Services (QoS) ทำให้สามารถลดการเต้นของภาพวิดีโอ และเสียงที่เพี้ยนไปได้ • ราคาไม่แพง และค่าใช้จ่ายในการดูแลค่อนข้างต่ำ
สามารถใช้งานร่วมกับ Ethernet และ Large Ethernet ที่มีอยู่ได้ • ทำให้การส่งข้อมูลขนาดใหญ่ระหว่างเครือข่าย ทำได้รวดเร็วมากขึ้น ด้วยประโยชน์ที่กล่าวมานี้ ทำให้ Gigabit Ethernet กำลังเป็นเทคโนโลยีและโซลูชั่นส์ที่ได้รับความสนใจจาก IT Manager ในองค์กรขนาดใหญ่ หรือ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตทั้งหลาย สำหรับการบริหารเครือข่ายขององค์กรตนนั่นเอง
การ์ด Gigabit Ethernet การ์ด Gigabit Ethernet ของ SMC รุ่น SMC9452TX เริ่มที่การ์ดแลน 1000BASE-T จาก SMC รุ่น SMC9452TX ซึ่งมีแผ่นซีดีรอมให้มาด้วยพร้อมกับโปรแกรมช่วยเหลือในการติดตั้งบนวินโดวส์ที่เน้นว่าจะต้องรันโปรแกรมชื่อ EZ Installation Wizard นี้ก่อนที่จะติดตั้งตัวการ์ดลงไปในเครื่อง แต่เรื่องนั้นไม่เกี่ยวกับเจ้าลีนุกซ์ของเรา เมื่อพิจารณาลงไปในแผ่นซีดีรอมแผ่นนี้ยังมีโปรแกรมไดร้วเวอร์สำหรับลีนุกซ์ทั้งเคอร์เนลรุ่น 2.2 และ 2.4 ให้มาพร้อมแล้ว ในไฟล์แบบ Tarball รวมทั้งไฟล์เอกสาร readme.txt แนะนำขั้นตอนการติดตั้งไดร้วเวอร์อย่างคร่าวๆ แต่ชัดเจนดีมาด้วย
การ์ด Gigabit Ethernet การ์ด Gigabit Ethernet ของ 3Com รุ่น 3C2000-T ชื่อชั้นของ 3COM เป็นอันดับต้นๆ ของตลาดอุปกรณ์เครือข่ายอย่างที่ทุกท่านรู้จักกันเป็นอย่างดี จึงไม่น่าแปลกใจที่การ์ดแลนตัวนี้ของ 3COM จะมีระดับราคาสูงที่สุดในการทดสอบครั้งนี้ รูปทรงการออกแบบให้ความรู้สึกได้ถึงความแข็งแรงทนทานกว่า โดยเฉพาะชีลด์โลหะที่หัวคอนเน็คเตอร์ และแผ่นเซรามิกที่ช่วยระบายความร้อนให้กับชิปเซ็ต
การ์ด Gigabit Ethernet การ์ด Gigabit Ethernet ของ Compex รุ่น RL1000-T Compex - ReadyLink RL1000T การ์ดแลนตัวที่สามที่ยังคงใช้ชิปเดียวกัน เป็นของ Compex ในซีดีรอมที่ให้มาพร้อมกันในกล่องมีซอฟต์แวร์ไดร้วเวอร์ และ patches สำหรับเคอร์เนลให้มาด้วย พร้อมกับเอกสารแบบ HTML มากมายหลายไฟล์ ได้รายละเอียดการใช้งานโมดูลเพิ่มเติมมากขึ้นถึงระดับพารามิเตอร์แต่ละตัวเลยทีเดียว
การ์ด Gigabit Ethernet Planet - ENW-9605 เรามาดูการ์ดแลนแบบ 1000BASE-T ของ Planet กันบ้าง ซึ่งการ์ดแลนตัวนี้มีระดับราคาต่ำสุดในการทดสอบ ในขณะที่สามารถติดตั้งใช้งานได้ง่ายที่สุดในกลุ่ม โดยโปรแกรม Kudzu สามารถตรวจพบอุปกรณ์ตัวนี้ได้ทันทีที่เปิดเครื่องครั้งแรก ( ดังรูปที่ 10 ) เนื่องจากการ์ดรุ่นนี้ใช้ชิป RTL-8169 ของ Realtek ซึ่งโปรแกรม Kudzu มีข้อมูลและเคอร์เนลโมดูลอยู่ในฐานข้อมูลอยู่แล้ว จึงทำให้ซอฟต์แวร์ไดร้วเวอร์สำหรับเคอร์เนล 2.2 และ 2.4 ที่ให้มาในแผ่นดิสก์จากผู้ผลิตไม่มีความจำเป็นต้องใช้แต่อย่างใด นับว่าเป็นการ์ดที่ใช้งานได้ง่ายที่สุด
การเปลี่ยนไปใช้ Gigabit Ethernet • ทางคณะทำงานของ IEEE802.3z ได้เสนอการนำอุปกรณ์ Gigabit Ethernet ไปใช้ทดแทนอุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่แล้วเพื่อเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลโดยแบ่งได้เป็น 5 ขั้นตอนดังนี้ รูปที่ 1.1 แสดงเครือข่ายก่อนเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ Gigabit Ethernet รูปที่ 1.2 แสดงเครือข่ายหลังเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ Gigabit Ethernet • 1. เพิ่มความเร็วของ Switch-to-Server Linkวิธีการเพิ่มความเร็วที่ง่ายที่สุดก็คือการเพิ่มความเร็วในการรับส่งข้อมูลระหว่างตัว Gigabit switch กับ Serverประสิทธิภาพสูงซึ่งติดตั้ง Gigabit interface card รูปที่ 1.1 และ 1.2 แสดงการเปลี่ยนแปลงจากอุปกรณ์เครือข่ายแบบ Ethernet/Fast Ethernet ไปเป็น Gigabit Ethernet
การเปลี่ยนไปใช้ Gigabit Ethernet รูปที่ 2.1 แสดงเครือข่ายก่อนเปลี่ยนมาใช้ อุปกรณ์ Gigabit Ethernet รูปที่ 2.2 แสดงเครือข่ายหลังเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ Gigabit Ethernet 2. การแทนที่เครือข่ายแกนหลักที่ใช้ Fast Ethernet อยู่ก่อนในเครือข่ายขนาดเล็กจนถึงขนาดกลางที่ใช้ Fast Ethernet Switch เป็นอุปกรณ์เครือข่ายแกนหลัก(Backbone Switch) ก็อาจจะรองรับความต้องการในรับส่งข้อมูลที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วไม่ได้ การนำ Gigabit Ethernet Switch มาทำหน้าที่เป็นBackbone Switch แทนก็จะทำให้สามารถเพิ่ม Bandwidth ได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการในปัจจุบันและอนาคต รูปที่ 2.1 และ 2.2 แสดงการเปลี่ยนแปลงจากอุปกรณ์เครือข่ายแบบ Ethernet/Fast Ethernet ไปเป็น Gigabit Ethernet
การเปลี่ยนไปใช้ Gigabit Ethernet รูปที่ 3.1 แสดงเครือข่ายก่อนเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ Gigabit Ethernet รูปที่ 3.2 แสดงเครือข่ายหลังเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ Gigabit Ethernet 3. เพิ่มความเร็วของ Switch-to-Switch Link ในเครือข่ายที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและมี Ethernet/Fast Ethernet switch/repeater อยู่จะทำให้มีปริมาณข้อมูลที่ต้องส่งผ่านระหว่างSwitch/Repeater ที่มีServer ต่ออยู่ด้วยนั้นสูงมากจนต้องการการเพิ่มขยาย การนำ Gigabit Ethernet เข้ามาแทนที่ Ethernet/Fast Ethernet Switch/Repeater เหล่านี้ก็จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพโดยรวมของระบบได้ รูปที่ 3.1 และ 3.2 แสดงการเปลี่ยนแปลงจากอุปกรณ์เครือข่ายแบบ Ethernet/Fast Ethernet ไปเป็น Gigabit Ethernet
การเปลี่ยนไปใช้ Gigabit Ethernet • รูปที่ 4.1 แสดงเครือข่ายก่อนเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ Gigabit Ethernet • รูปที่ 4.2 แสดงเครือข่ายหลังเปลี่ยนมาใช้อุปกรณ์ Gigabit Ethernet 4. การแทนที่เครือข่ายแกนหลักที่ใช้ Shared FDDI อยู่ก่อนเครือข่ายที่ใช้เทคโนโลยี FDDI สามารถจะทำการเปลี่ยนมาใช้ Gigabit Ethernet ได้โดยการนำเอา Gigabit Ethernet Switch/Repeater ไปแทนที่ FDDI Concentrator หรืออาจจะเพียงนำ Gigabit Ethernet Interface Card ไปเปลี่ยนกับ FDDI Interface Card ในRouter ที่มีใช้งานอยู่แล้ว ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ต้องมีการลงทุนเกี่ยวกับเรื่องสายสัญญาณเลย เนื่องจาก FDDI ส่วนมากก็จะใช้ เส้นใยแก้วนำแสงเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว รูปที่ 4.1 และ 4.2 แสดงการเปลี่ยนแปลงจากอุปกรณ์เครือข่ายแบบ Ethernet/Fast Ethernet ไปเป็น Gigabit Ethernet
การเปลี่ยนไปใช้ Gigabit Ethernet 5. การใช้ Network Interface Card ที่เครื่อง High-end Desktop ในการปรับปรุงเพื่อเพิ่มความเร็วของระบบขั้นสุดท้ายก็คือการเพิ่มความเร็วระหว่าง อุปกรณ์ Gigabit Ethernet Switch/Repeater กับเครื่อง Desktop ระดับ Hi-end ที่ติดตั้ง Gigabit Ethernet Interface Card ทั้งนี้เพื่อรองรับปริมาณข้อมูลที่สูงมากๆ เช่น แอพพลิเคชั่นประเภทวิดีโอทั้งหลาย (VDO-Editing, VOD) หรืองานประเภท Data Ware House
Gigabit Ethernet กับ ATM ด้วยความเร็วในระดับ 1 Gbps และราคาต่อ port ของ Gigabit Ethernet ที่ถูกกว่า เทคโนโลยี ATM ทำให้ดูเหมือนว่า Gigabit Ethernet อาจจะมาแทนที่ ATM ในอนาคต แต่โดยความเป็นจริงพื้นฐานทางด้านการออกแบบแล้วจะพบว่า เทคโนโลยีทั้งสองนั้น ออกแบบมาบนพื้นฐานที่ต่างกันออกไป ทำให้แต่ละอันนั้นมีข้อดีข้อเสียต่างออกไป นั่นคือ Gigabit Ethernet นั้นออกแบบโดยมีจุดประสงค์หลักในการเข้ากันได้กับEthernet รุ่นก่อนๆที่ได้มีใช้กันอย่างแพร่หลายแล้วในปัจจุบันนี้ ซึ่งจะมีข้อเสียตรงที่ว่ามันจะออกแบบมาเพื่อการรับส่องข้อมูลคอมพิวเตอร์เท่านั้น ในขณะที่เทคโนโลยี ATM เป็นเทคโนโลยีใหม่แล้สามารถจะสนับสนุน Ethernetแต่ก็จะมีราคาต่อ port ที่แพงกว่า Gigabit Ethernet ส่วนข้อดีของ ATM คือการที่มันออกแบบมาโดยให้มีขนาดของเฟรมของข้อมูล(จะเรียกว่า Cell)ที่มีขนาดคงที่ซึ่งจะไม่มีปัญหาเรื่องThroughput อย่าง Gigabit Ethernetดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น นอกจากนี้เทคโนโลยี ATMได้ออกแบบมาเพื่อรองรับข้อมูลได้หลายประเภททั้งข้อมูลที่ขึ้นและไม่ขึ้นกับเวลาจริง(non-Real-time และ Real-time Data)