120 likes | 339 Views
EC 363 บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจ บทนำ : เศรษฐศาสตร์กับบทบาทหญิงชาย. รองศาสตราจารย์ดร. ภาวดี ทองอุไทย มิถุนายน 2553. เพศ (sex) และ บทบาทหญิงชาย (gender). เพศ (sex: female or male) ความแตกต่างด้านชีวภาพ (biological) กำหนดตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์ แน่นอน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
E N D
EC 363บทบาทหญิงชายในระบบเศรษฐกิจบทนำ: เศรษฐศาสตร์กับบทบาทหญิงชาย รองศาสตราจารย์ดร. ภาวดี ทองอุไทย มิถุนายน 2553
เพศ(sex) และ บทบาทหญิงชาย(gender) • เพศ (sex: female or male) • ความแตกต่างด้านชีวภาพ(biological) • กำหนดตั้งแต่เป็นตัวอ่อนในครรภ์ • แน่นอน ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ • ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศ หรือ วัฒนธรรมใด • ลักษณะทางสรีระที่ชัดเจนและจำเพาะ • ผู้หญิง ..... ผู้ชาย .....
เพศ(sex)และ บทบาทหญิงชาย(gender) • บทบาทหญิงชาย(gender) • ความแตกต่างด้านสังคมของหญิงและชาย • กำหนดโดยสังคมและสภาพแวดล้อม • ค่านิยม วัฒนธรรม ความเคยชินของธรรมเนียมปฏิบัติ ความเห็นของผู้มีอำนาจ • เปลี่ยนแปลงได้ • ตามกาลเวลา สภาพการณ์ และ เงื่อนไขของสังคมที่เปลี่ยนไป • กฎหมาย การพัฒนาเศรษฐกิจ เลียนแบบ
การพัฒนาเศรษฐกิจ วิวัฒนาการบทบาทหญิงชาย • ล่าสัตว์ เก็บหาอาหาร Hunting and gathering societies • หญิงชาย ช่วยกัน หาอาหาร สร้างที่อยู่อาศัย • สภาพร่างกายกำหนดหน้าที่อื่นๆ • ผู้หญิง - ใช้ชีวิตส่วนใหญ่ กับการตั้งครรภ์ ดูแลลูก • ผู้ชาย - สภาพร่างกายได้เปรียบในการล่าสัตว์ใหญ่ ต่อสู้ • เพาะปลูกเล็กๆน้อยๆHorticultural societies • ทำกิจกรรมส่วนใหญ่ร่วมกัน สถานภาพค่อนข้างเท่าเทียม • ขยายพื้นที่ในทุ่งกว้าง Pastoral societies • ผู้ชายออกไปไกล ล่าสัตว์ใหญ่ ผู้หญิงเน้นกิจกรรมใกล้บ้าน สถานภาพด้อยกว่า
การพัฒนาเศรษฐกิจ วิวัฒนาการบทบาทหญิงชาย • เกษตรกรรม Agricultural societies • เริ่มตั้งถิ่นฐานถาวรเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ • ความแตกต่างของอำนาจ • ผู้ชายเป็นเจ้าของที่นา ผู้หญิง “ช่วย” งานในไร่นา ดูแลบ้าน • ความแตกต่างระหว่างผู้หญิงในชนชั้นต่างๆ • ครอบครัวที่มีที่ดิน /ทรัพย์สิน สืบทอด • ครอบครัวพ่อค้า ช่างฝีมือ • เป็น หุ้นส่วน ทำหน้าที่แทน ถ้าผู้ชายไม่อยู่
การพัฒนาเศรษฐกิจ วิวัฒนาการบทบาทหญิงชาย • อุตสาหกรรม Industrial Societies • ย้ายการผลิตจากครัวเรือน โรงงาน / สำนักงาน • เปลี่ยนแปลงกิจกรรมในครัวเรือนของผู้หญิง • จำกัดอยู่แต่การดูแลลูก/ สามี และบ้านเรือน • กิจกรรมเศรษฐกิจ/ การมีส่วนร่วมในธุรกิจของครอบครัวลดลง • การแบ่งงานกันทำระหว่างหญิงและชายในครัวเรือนชัดเจนขึ้น • ชายออกหารายได้นอกบ้าน หญิงดูแลบ้าน พึ่งพารายได้ของสามี • การใช้แรงงานเด็กลดลง • สินค้าและบริการหาซื้อจากตลาดได้มากขึ้น • ขนาดของครอบครัวลดลง
การพัฒนาเศรษฐกิจ วิวัฒนาการบทบาทหญิงชาย • แต่...เวลาว่างของผู้หญิงไม่ได้เพิ่มขึ้น เพราะ... • การทำงานบ้าน ...... • การเลี้ยงลูก ..... • ใครเป็นผู้รับผิดชอบการใช้เงินของครัวเรือน? • ใครคือ “หัวหน้าครัวเรือน”? • มีหน้าที่อะไรบ้าง? • บทบาทของ “ภรรยาที่ดี” คืออย่างไร? • ต่อมา...ผู้หญิงที่แต่งงานแล้ว เริ่มออกไปทำงานนอกบ้านมากขึ้นเรื่อยๆ • เพราะเหตุใด?
แนวคิดและความสนใจของศาสตร์อื่นๆต่อสาเหตุ และ ผลกระทบของความแตกต่างในบทบาทหญิงชาย • ประเด็นร่วมระหว่างศาสตร์ต่างๆ • กรรมพันธุ์ (heredity)หรือ สภาพแวดล้อม(environment) • ธรรมชาติ (nature)หรือ การเลี้ยงดู (nurture) • ชีววิทยา – โต้แย้งกันมาก เช่น • พฤติกรรมของสัตว์ (เกิดขึ้นตามธรรมชาติ) • อธิบาย พฤติกรรมของมนุษย์ (ไม่ใช่ธรรมชาติทั้งหมด แต่มีการขัดเกลาจากสังคม)ได้เหมาะสมเพียงไร
จิตวิทยา - ความสนใจ ความฉลาด วิธีการคิด การใช้เหตุผล • จะเกิดอะไรขึ้นถ้า...ทั้งสองเพศมีส่วนร่วมบริหารตัดสินใจ? • รัฐศาสตร์ • ความแตกต่างที่เป็นอยู่ - ยุติธรรมหรือไม่? • ความไม่เท่าเทียมในอำนาจ • บทบาทของรัฐ ในการปรับเปลี่ยนสภาพที่เป็นอยู่ • จำเป็นหรือไม่ แค่ไหน เช่น • กิจกรรมในครอบครัว (เรื่องส่วนตัว?) • กิจกรรมสาธารณะ – ต้องสร้างความเสมอภาคในการมีส่วนร่วม?
มานุษยวิทยา และ สังคมวิทยา • ความแตกต่างทางวัฒนธรรม กำหนดพฤติกรรมมนุษย์ • เน้นอิทธิพลการเลี้ยงดู/สภาพแวดล้อม มากกว่า กรรมพันธุ์ • กระบวนการสังคม 3 ด้าน • ครอบครัว • หล่อหลอมเด็กให้ยอมรับบทบาทหน้าที่ • สังคม • กำหนดความแตกต่างบทบาทหน้าที่หญิง/ชาย • สถาบันหลัก • ความแตกต่างของบทบาทหญิงชายที่สังคมสร้างขึ้น ความเชื่อ แนวคิด/แนวทางปฏิบัติที่ฝังลึก
เศรษฐศาสตร์ • ไม่เน้น กรรมพันธุ์ หรือ สภาพแวดล้อม • โดยทั่วไป ใช้สมมติฐานว่าคนมีพฤติกรรมที่จะ “เห็นแก่ตัว”เน้นความเป็นเหตุเป็นผล(rationality) • แสวงหาอรรถประโยชน์สูงสุดให้ตนเอง • เมื่อสภาพการณ์เปลี่ยนแปลง มีความยืดหยุ่น (flexibility) ที่จะตอบสนอง เพื่อคงอรรถประโยชน์สูงสุดไว้ • นักเศรษฐศาสตร์สนใจว่า การแบ่งงานระหว่างหญิงชาย ที่เป็นอยู่นั้น • เหตุใด จึงคงอยู่ได้... แม้ในระยะยาว • ใช้ทฤษฎีที่มีตัวแปรน้อย อธิบายเรื่องหลักๆ • อาศัยข้อมูลหลักฐานจากตัวเลข
แต่... แนวคิดของนักเศรษฐศาสตร์ เกี่ยวกับ “ข้อจำกัด” (constraints) มีหลากหลาย • นีโอคลาสสิก – รายได้ • มาร์กซิสต์ – ชนชั้น • สถาบัน – รัฐบาล สหภาพ กฎหมาย • เฟมินิสต์ (สตรีนิยม) – ความเป็นผู้หญิง จำกัดการมีส่วนร่วมในเศรษฐกิจ • เรื่องที่สี่กลุ่มนี้เถียงกันมากที่สุด คือ... • บทบาทและผลกระทบของ สถาบันครอบครัว