140 likes | 404 Views
บทที่ 6 ระบบการเงินระหว่างประเทศ.
E N D
บทที่ 6ระบบการเงินระหว่างประเทศ
ในปัจจุบันประเทศต่าง ๆ จำเป็นต้องมีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เนื่องจากปัจจัยการผลิตในแต่ละประเทศมีความแตกต่างกันทั้งด้านคุณภาพ ปริมาณ ความเหมาะสมในการใช้วัตถุดิบในการผลิตสินค้าของแต่ละประเทศ เช่นในบางประเทศสามารถผลิตสินค้าทางการเกษตรได้ดี แต่ความสามารถในการผลิตสินค้าด้านอุตสาหกรรมไม่สามารถผลิตได้เนื่องจากขาดวัตถุดิบในการผลิตและ บุคคลกรไม่มีความรู้ จึงทำให้เกิดกาค้าขายเพื่อแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการซึ่งกันและกันขึ้น จึงทำให้มีการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้นประเทศใดที่ส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศมากกว่าสั่งซื้อสินค้าเข้าก็จะได้เปรียบดุลการค้าหรือที่เรียกว่า “ดุลการค้าเกินดุล” แต่ถ้าประเทศใดส่งสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศน้อยกว่าสั่งสินค้าเข้ามาในประเทศ ก็จะเสียเปรียบดุลการค้า หรือที่เรียกว่า “ดุลการค้าขาดดุล” นอกจากนี้ ดุลการชำระเงินก็เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศที่มีดุลการชำระเงินเกิดดุลมาก ๆ จะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และผลที่ติดตามมาก็คือ ภาวะเงินเฟ้อ ในทางตรงกันข้ามถ้าประเทศใดมีดุลการชำระเงินขาดดุลมาก ๆ ก็จะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีน้อย จนอาจทำให้เกิดภาวะเงินฝืด หรือเงินตึงแทรกซ้อนได้เช่นกัน ดังนั้น ประเทศต่าง ๆ จึงพยายามหาทางป้องกันภาวะดังกล่าว
ความหมายของระบบการเงินระหว่างประเทศความหมายของระบบการเงินระหว่างประเทศ ระบบการเงินระหว่างประเทศ หมายถึงโครงสร้างทางการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อันได้แก่ ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ตลาดเงินทุนและตลาดเงินตราต่างประเทศ ซึ่งระบบการเงินระหว่างประเทศนี้จะเป็นตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศและยังช่วยให้มีการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการตลอดจนการเคลื่อนไหวเงินทุนเป็นไปได้โดยเสรี
วิวัฒนาการของระบบการเงินระหว่างประเทศวิวัฒนาการของระบบการเงินระหว่างประเทศ ในอดีตที่ผ่านมาการค้าขายระหว่างประเทศอียิปต์จนถึงประเทศจีนนั้น ทองคำถือเป็นสินทรัพย์ที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนที่สำคัญและเป็นสินทรัพย์ที่มีค่าซึ่งเป็นที่ยอมรับในการค้าขายโดยทั่ว ไปพ่อค้ากรีกและโรมันค้าขายกันโดยใช้ทองคำเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนจาก คริสต์ศตวรรษที่ 16 ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ประเทศจักรวรรดินิยมต่าง ๆ ได้ขยายอำนาจและอิทธิพลในการค้าระหว่างประเทศ การครอบครองทองคำหรือเงินเป็นเครื่องแสดงให้เห็นถึงความมีอำนาจของประเทศเหล่านั้นในช่วงกลางศตวรรษที่ 19 ประเทศจักรวรรดินิยมต้องดิ้นรนแข่งขันกันเพื่อทำให้เศรษฐกิจประเทศของตนดีขึ้น โดยใช้อำนาจทางการทหาร การดิ้นรนแข่งขันดังกล่าวจึงเป็นสาเหตุนำไปสู่ความจำเป็นอย่างเร่งด่วนที่จะต้องมีการจัดระบบการค้าระหว่างประเทศ
ประเภทของระบบการเงินระหว่างประเทศประเภทของระบบการเงินระหว่างประเทศ การจัดการทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศจำเป็นต้องอาศัยระบบการเงินระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพเพื่อช่วยทำให้การดำเนินงานทางธุรกิจเป็นไปเรียบร้อย ระบบการเงินระหว่างประเทศสามารถจำแนกออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดไว้คงที่ (Fixed Exchange Rate System) ซึ่งสามารถจำแนกย่อยเป็น 2 ระบบคือ 1.1 ระบบมาตรฐานทองคำ (Gold Standard System) 1.2 ระบบมาตราปริวรรตทองคำ (Gold Exchange Standard System)s 2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่เคลื่อนไหวขึ้นลงเสรี (Flexible Exchange Rate System) 3. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวภายใต้การแทรกแซง (Manage Floating Exchange Rate System)
ระบบการเงินระหว่างประเทศในปัจจุบันระบบการเงินระหว่างประเทศในปัจจุบัน ภายหลังที่ได้มีการยกเลิกระบบมาตรปริวรรตทองคำหรือระบบกองทุนการเงินระหว่างประเทศที่ถูกใช้ระหว่างปี ค.ศ.1944-1973 หลังจากปี ค.ศ.1973 เป็นต้นมาประเทศสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศได้แยกตัวเป็นอิสระในการใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศแต่ละประเทศจะเลือกใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจและการเงินประเทศของตนซึ่งระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศที่เลือกใช้มี 2 ระบบ คือ 1. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว (Floating Exchange Rate System) 2. ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดค่าเสมอภาคไว้กับค่ามาตรฐาน (Pegging Exchange Rate System)
1.ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว1.ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัว ในช่วงปี ค.ศ.1973 ได้เกิดวิกฤตการณ์น้ำมันขึ้นเป็นครั้งแรก กำภาวะเงินเฟ้อโดยทั่วไปภาวะเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ถดถอยลง เกิดความไม่มั่งคงทางเศรษฐกิจและการเมือง ประเทศกำลังพัฒนาประสบกับปัญหาการขาดดุลการชำระเงินเพราะต้องนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศจำนวนมากซึ่งการเกิดวิกฤตการณ์ดังกล่าวเป็นปัจจัยทีทำให้ประเทศต่าง ๆ ไม่สามารถกลับไปใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ ทำให้รัฐบาลของประเทศต่าง ๆต้องใช้นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนแบบลอยตัวหรือเปลี่ยนแปลงได้ การปล่อยให้อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวนี้สามารถกระทำได้ 3 ลักษณะคือ 1.1 อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวโดยอิสระ (Independent Floating Exchange Rate) 1.2 การลอยตัวโดยเสรี (Free or Clean Floats) 1.3 การลอยตัวภายใต้การควบคุม (Managed or Dirty Floats) 1.4 อัตราแลกเปลี่ยนที่ลอยตัวร่วมกัน (Joint or Group Floating Exchange Rate) 1.5 อัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงค่าเสมอภาคบ่อยครั้ง (The Crawling Peg Exchange Rate)
2.ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดค่าเสมอภาคไว้กับมาตรฐาน2.ระบบอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดค่าเสมอภาคไว้กับมาตรฐาน ภายใต้ระบบนี้ประเทศสมาชิกจะต้องเทียบค่าเงินสกุลของตนไว้กับเงินตราต่างประเทศ หรือสินทรัพย์บาชนิดที่มีค่ามาตรฐาน และอัตราแลกเปลี่ยนสามารถเปลี่ยนแปลงไปจากค่าเสมอภาคนี้อยู่ในขอบเขตจำกัด การกำหนดค่าเสมอภาคของเงินสกุลต่าง ๆ จึงมีลักษณะคล้ายกับระบบมาตราปริวรรตทองคำ แต่ในระบบนี้ไม่ได้จำกัดให้เทียบค่าไว้กับทองคำหรือดอลลาร์สหรัฐเท่านั้น การกำหนดค่าเสมอภาคเงินตรายังสามารถกำหนดไว้กับมาตรฐานต่าง ๆ ดังนี้ 2.1 กำหนดค่าเสมอภาคไว้กับเงินสกุลใดสกุลหนึ่ง (Single Currency Peg)เงินตราของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะแระเทศกำลังพัฒนาเกือบทั่วโลกถูกกำหนดไว้ให้เทียบค่ากับเงินสกุลหลักสกุลใดสกุลหนึ่ง ซึ่งส่วนมากนิยมเทียบค่าไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐ เงินฟรังก์ของฝรั่งเศส และเงินปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษ เป็นต้น 2.2 กำหนดค่าเสมอภาคไว้กับเงินตราหลายสกุล (Basket Peg)ในบางประเทศมีการกำหนดค่างเสมอภาคไว้กับสินทรัพย์ที่มีค่ามาตรฐาน เช่น สิทธิถอนเงินพิเศษ (SDR) ซึ่งกำหนดค่าโดยการเฉลี่ยน้ำหนักความสำคัญของเงินสกุลต่าง ๆ 16 สกุล
ระบบการเงินร่วมยุโรป (European Monetary System หรือ EMS) ในปี ค.ศ.1951 ประเทศเยอรมันนีตะวันตก ฝรั่งเศส อิตาลี และกลุ่มประเทศเบเนลักซ์ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศ เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ และลักเซมเบิร์ก ได้ร่วมกันก่อตั้งประชาคมถ่านหินและเหล็กกล้าแห่งยุโรป (European Coal and Steel Community : ECSC) ตามแนวทางของ Jean Monnet หรือ Robert Schuman เพื่อบริหารทรัพยากรธรรมชาติทั้ง 2 ชนิด ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในช่วงหลังสงคราโลกครั้งที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างสันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองในยุโรป ความร่วมมือดังกล่าวเป็นจุดเริ่มต้นของการรวมกลุ่มของประเทศยุโรป เมื่อวันที่ 25 มีนาคม ค.ศ.1957 ได้มีการลงนามสนธิสัญญากรุงโรม (Treaty of Rome) เพื่อก่อตั้งประชาคมยุโรป (: EEC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวมสินค้าบริการ ปัจจัยการผลิต ตลอดจนแรงงานเข้าเป็นตลาดเดียวกันเพื่อการพัฒนาความร่วมมือไปสู่เป้าหมายต่อไปต่อการเป็นสหภาพศุลกากร (Customs Union) ให้ได้ในปี ค.ศ. 1968 และเป็นตลาดร่วมในปี ค.ศ. 1992 ในปี ค.ศ. 1958 ได้มีการจัดตั้งประชาคมพลังงานปรมาณูแห่งยุโรป (European Atomic Energy Community : EURATOM) ในปี ค.ศ. 1967 องค์การระหว่างประเทศทั้งสามได้แก่ ECSC, EEC และ EURATOM ได้รวมกันเป็นหนึ่งเดียวในนามประชาคมยุโรป (European Community) ในเดือนมีนาคม ปี ค.ศ.1979 ประเทศสมาชิกในกลุ่มประชาคมยุโรปได้มีการจัดตั้งระบบการเงินร่วมยุโรป (European Monetary System หรือ EMS) ขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะให้เกิดการประสานงานกันอย่างราบรื่นทางด้านการเงินและเศรษฐกิจภายใต้สภาพเงื่อนไขทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกที่แตกต่างกัน อันได้แก่ อัตราดอกเบี้ย อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ภาวะเงินเฟ้อ อัตราว่างงานเป็นต้น
ระบบการเงินร่วมยุโรปมีองค์ประกอบที่สำคัญคือระบบการเงินร่วมยุโรปมีองค์ประกอบที่สำคัญคือ 1. ประเทศสมาชิกจะต้องนำเงินตราของตนเข้าร่วมในตะกร้า European Currency Unit (basket) ซึ่งคำ ECY คำนวณจากค่าเฉลี่ยของเงินทุกสกุลภายในระบบเป้นกลุ่มเงินตราเพื่อใช้เป็นตัวเลขเทียบค่าสำหรับกลไกอัตราแลกเปลี่ยน 2. รัฐบาลประเทศสมาชิกมีหน้าที่รักษาอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของตนมิให้มีการเปลี่ยนแปลงเกินค่าเสมอภาค (Central rate) ที่กำหนดไว้ โดยเข้าร่วมในกลไกการปรับอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange Rate Mechanism หรือ ERM) ซึ่งขณะนี้มีประเทศสมาชิก แล้วทั้งสิ้น 9 ประเทศได้แก่ ฝรั่งเศส อิตาลี เยอรมันนี สเปน เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ เดนมาร์ก ลักเซมเบร์ก และไอร์แลนด์
มาตรการที่รัฐบาลประเทศสมาชิกให้แทรกแซงตลาดการเงินในกลไกอัตราแลกเปลี่ยน มี 2 ระดับ มาตรการที่รัฐบาลประเทศสมาชิกให้แทรกแซงตลาดการเงินในกลไกอัตราแลกเปลี่ยน มี 2 ระดับคือ 1. ให้ธนาคารของประเทศสมาชิกเข้าแทรกแซงเพื่อพยุงค่าเงินของตนให้มีเสถียรภาพในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลของประเทศสมาชิกนั้นมีค่าผันผวนเกินกว่าช่วงกำหนดไม่เกินร้อยละ 2.25 โดยอาศัยเงินกองทุน European Monetary Monetary Cooperative Fund (EMCF) ซึ่งเป็นกองทุนที่ได้รับจากประเทศสมาชิก และดำเนินการโดยผู้ว่าธนาคารกลางของประเทศสมาชิก 2. รัฐบาลของประเทศสมาชิกต้องใช้มาตรการทางการเงินเพื่อกดดันอัตราแลกเปลี่ยนค่าเสมอภาค หากเห็นว่าอัตราที่เป็นอยู่ไม่เหมาะสม
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในประเทศไทยระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย • ประเทศไทยได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศเป็นเวลานาน โดยเฉพาะประเทศอังกฤษโดยมีการลงนามในสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษในปี พ.ศ.2398 รายละเอียดการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ มี ดังนี้ • พ.ศ.2398 ใช้ระบบมาตรฐานโลหะเงิน โดยผูกค่าเงินบาทกับโลหะ • พ.ศ.2413 ราคาโลหะเงินตกต่ำ ทำให้ค่าเงินบาทตกต่ำด้วย จาก 8 บาท ต่อ 1ปอนด์ เป็น 21 บาทต่อ 1 ปอนด์ • พ.ศ.2445 การที่ค่าเงินบาทลดค่านี้ กลับไม่ทำให้สินค้าออกของไทยเพิ่มขึ้นเพราะสินค้าออกส่วนใหญ่ของไทยส่งไปยังประเทศที่ใช้ระบบมาตรฐานโลหะเงินเช่นกัน ดังนี้การที่โลหะเงินลดค่าไม่มีผลทำให้สินค้าออกของไทยเพิ่มขึ้น เพราะ ราคาสินค้าออกของไทยไม่ลดลง ในขณะที่สินค้าเข้าของไทยจากประเทศอังกฤษซึ่งใช้ระบบมาตรฐานทองคำ ค่าเงินปอนด์จึงเพิ่มค่า ทำให้ราคาสินค้าเข้าเพิ่มขึ้น และเทศไทยจะต้องประสบกับความเสียเปรียบทางการค้าอย่างมาก • พ.ศ.2451 ทำการเปลี่ยนแปลงมาใช้ระบบมาตรฐานทองคำโดยกำหนดให้ 1 บาท = เงินบริสุทธิ์ 13.5 กรัมหรือ 1 บาท = ทองคำบริสุทธิ์ 55.8 เซนติกรัม • ในระยะนี้แม้ว่าประเทศไทยใช้ระบบมาตรฐานทองคำ แต่ปริมาณเงินหมุนเวียนส่วนใหญ่ยังอยู่ในรูปเหรียญเงิน หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ราคาโลหะเงินเพิ่มขั้น ทำให้เกิดการหลอมเหรียญเงินเป็นแทงแล้วนำไปขายต่างประเทศ เพราะราคาตามเหรียญน้อยกว่าราคาของโลหะเงินที่ใช้ทำเหรียญ ในที่สุดประเทศไทยต้องประกาศห้างส่งเหรียญโลหะเงินออกนอกประเทศ แต่ก็แก้ปัญหาไม่ได้ผล • ก.ย. พ.ศ.2462 เพิ่มค่าเงินและปรับอัตราแลกเปลี่ยนใหม่เป็น 12 บาท ต่อ 1 ปอนด์ • พ.ย. พ.ศ.2462 เพิ่มค่าเงินบาทเป็น 9.45 บาท ต่อ 1 ปอนด์ • พ.ศ.2466 ลดค่าเงินบาทเป็น 11 บาท ต่อ 11 ปอนด์ • พ.ศ.2471 ตรา พรบ. เงินตราใหม่ โดยกำหนดเงินบาทผูกกับเงินปอนด์ โดยมีอัตราทางการ 11 บาท ต่อ 1 ปอนด์ • พ.ศ.2474 เกิดวิกฤติการณ์ทางระบบการเงินโลก ประเทศอังกฤษออกจากระบบมาตรฐานทองคำทำให้รัฐบาลไทยตัดสินใจเลิกผูกค่าเงินบาทไว้กับเงินปอนด์ และหันมาผูกค่าเงินบาทกับดอลลาร์สหรัฐ • พ.ศ.2575 รัฐบาลไทยผูกค่าเงินกับเงินปอนด์อีกครั้งโดยกำหนด 11 บาท ต่อ 1 ปอนด์ • พ.ศ.2484 สงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการเงินของไทย โดยญี่ปุ่นเข้ามามีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายทางการเงินของประเทศไทย ประเทศไทยต้องประกาศ พรบ.เงินตราฉุกเฉินลดค่าเงินบาทจาก 100 = 155.70 เยนจาก 100 = 100 เยนทำให้ญี่ปุ่นซื้อสินค้าไทยเพิ่มขึ้น • พ.ศ.2485 ตรา พรบ. การควบคุมแลกเปลี่ยนเงินตรา • พ.ศ.2489 สงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลง ญี่ปุ่นแพ้สงครามค่าเงินบาทถูกกำหนดขึ้นเป็น ทางการ 1 บาท = ทองคำบริสุทธิ์ 0.09029 กรัม จะได้ 40 บาท = 1 ปอนด์ หรือ 10.075 บาท = 1 ดอลลาร์ • พ.ศ.2490 ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตราโดยรับซื้อเงินปอนด์ที่เป็นรายได้จากการส่งข้าว ดีบุก และยางพารา ออกในอัตราแลกเปลี่ยนทางการ 40 บาทต่อ 1 ปอนด์สำหรับพ่อค้านำเจข้าต้องซื้อเงินปอนด์ในอัตราตลาด 60 บาทต่อ 1 ปอนด์ ซึ่งทำให้แระเทศไทยมีทุนสำรองเงินตราเพิ่มขึ้น • พ.ศ.2492 ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และขอเลื่อนการประกาศค่าเสมอภาค
ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย(ต่อ)ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศในประเทศไทย(ต่อ) • พ.ศ.2498 ยกเลิกอัตราแลกเปลี่ยนหลายอัตราโดยรวมเป็นอัตราเดียว คือ อัตราแลกเปลี่ยนเสรี ในท้องตลาด นอกจากนี้กระทรงการคลังได้ออกกฎกระทรวง เมื่อวันที่ 19 มีนาคม จัดตั้ง “ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน (EEF) ซึ่งทำให้อัตราแลกเปลี่ยนมีเสถียรภาพตลอดมาจนถึงปี 2505 • 20 ต.ค. 2506 กลับมาใช้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนเป็นระบบค่าเสมอภาค () ตามข้อกำหนดของ IMF โดยกำหนด 1 บาท = ทองคำบริสุทธิ์ 0.427245 กรัม จะได้ 20.80 บาท = 1 ดอลลาร์สหรัฐ (หรือในทางปฏิบัติค่าเงินบาทจะผูกกับเงินดอลลาร์สหรัฐ) ปี พ.ศ. 2510-2516 เกิดวิกฤตการณ์เงินของโลก สหรัฐอเมริกาลดค่าเงิน 2 ครั้ง • 9 พ.ค. 2515 รัฐบาลประกาศลดค่าเงินบาทลงอีกร้อยละ 7.89 เมื่อเทียบกับทองคำ • 23 มี.ค. 2516 รัฐบาลประกาศลดค่าเงินลงอีกร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับทองคำ • 8 มี.ค. 2521 ยกเลิกค่าเสมอภาคและเปลี่ยนวิธีกำหนดค่าเงินบาทใหม่ โดยเทียบกับกลุ่มเงินตราต่างประเทศต่าง ๆ (Basket) ของประเทศที่มีความสำคัญต่อการค้าและเศรษฐกิจของไทย ทำให้ระบบอัตราแลกเปลี่ยนของไทยมีความสอดคล้องกับระบบอัตราแลกเปลี่ยนของประเทศอื่น ๆ และค่าเงินบาทไม่ต้องผูกพันกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเพียงสกุลเดียว • 1 พ.ย. 2521ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนประจำวัน (daily fixing) ซึ่งเป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนร่วมกันระหว่างทุนรักษาระดับธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารพาณิชย์ทุกธนาคารอัตราแลกเปลี่ยนที่กำหนดขึ้นนี้ทำให้เกิด Demand และ Supply เงินตราต่างประเทศและทำให้ธนาคารพาณิชย์ตื่นตัวในเรื่องธุรกิจเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้น อีกทั้งวิธีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนนี้ยังมีความยืดหยุ่นมากขึ้นโดยสามารถที่จะเปลี่ยนอัตราแลกเปลี่ยนได้ทันทีเพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและการเงินทั้งภายในและภายนอกประเทศด้วย • 2 พ.ค. 2524 ลดค่าเงินบาทลงร้อยละ 1.07 จาก 20.775 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐเป็น 21 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ • 15 ก.ค. 2524 ลดค่าเงินบาทลงร้อยละ 8.7 จาก 21 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 23 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะเดียวกันธนาคารแห่งประเทศไทยก็ได้ประกาศยกเลิกวิธีกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนประจำวันและให้ทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน (EEF) เป็นผู้กำหนดค่าเงินบาทขึ้น โดยคำนึงถึง demand หรือ Supply ของเงินตราต่างประเทศ รวมทั้งภาวะเศรษฐกิจของประเทศด้วย ทำให้อัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 23 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ คงที่ตั้งแต่ ส.ค. 2524 มาจนถึงปลายปี 2527 • 2 พ.ย. 2527 ทางการได้ประกาศปรับปรุงระบบการแลกเปลี่ยนเงินตราให้เป็นระบบที่ผู้ค่าเงินบาทไว้กับกลุ่มเงินตราของประเทศคู่ค้าที่สำคัญของไทย (Basket of currency) แทนที่จะผูกไว้กับเงินดอลลาร์สหรัฐเพียงสกุลเดียว และให้ทุนรักษาระดับฯ เป็นผู้กำหนดอัตรากลางระหว่างอัตราซื้อขายดอลลาร์ของทุนรักษาฯกับธนาคารพาณิชย์ ทุนรักษาระดับฯ จะเป็นผู้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐกับเงินบาททุกวันทำการเวลา 8.30 น. สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนอื่น ๆ เช่น US#Y/, US$/SFrs เป็นต้น ทุนรักษาระดับฯ ไม่ได้กำหนด ตลาดเงินตราต่างประเทศเป็นผู้กำหนด • 5 พ.ย. 2527 ตามระบบการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่ ทางการจำเป็นที่จะต้องปรับอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินดอลลาร์สหรัฐ กับเงินบาทให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมก่อน จึงได้ประกาศลดค่าเงินบาทลงร้อยละ 17 จาก 23 บาท ต่อ 1 ดอลลาร์เป็น 27 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ ซึ่งเป็นอัตราที่ช่วยแก้ไขปัญหาดุลการค้าและดุลการชำระเงินให้เป็นไปตามเป้าหมายและเป็นค่าที่วงการธุรกิจการธนาคารจะเชื่อว่า เป็นค่าที่เหมาะสมและไม่เกิดการเก็งกำไรขึ้น การกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนใหม่นี้ได้ใช้มาจนกระทั้งถึงปัจจุบัน • 2 ก.ค. 2540 ทางการได้ได้ประกาศยกเลิกระบบตะกร้าเงิน (Barket of currency) มาเป็นระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวภายใต้การควบคุม (The Managed Float)
บทสรุป การเงินระหว่างประเทศ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆเนื่องจากแต่ละประเทศจำเป็นต้องมีการติดต่อแลกเปลี่ยนทรัพยากรต่าง ๆ ซึ่งกันและกัน จึงทำให้เกิดระบบการค้าระหว่างประเทศขึ้น นอกจากนั้นยังมีการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศคู่ค้า เช่นมีการลงทุนข้ามประเทศ จึงทำให้มีปริมาณเงินไหลเข้ามากกว่าปริมาณเงินไหลออกจากประเทศ ดุลการชำระเงินก็จะเกินดุล ในทางตรงกันข้ามปริมาณเงินไหลออกมากกว่าไหลเข้า ดุลการชำระเงินก็จะขาดดุล การที่มีดุลการชำระเงินเกินดุล หรือ ขาดดุล ก็จะส่งผลกระทบต่อทุนสำรองระหว่างประเทศ หรือสภาพคล่องระหว่างประเทศ ประเทศใดก็ตามเมื่ออยู่ในภาวะเกินดุลหรือขาดดุลการชำระเงิน ก็จะพยายามหาวิธีแก้ไขด้วยการปรับดุลการชำระเงินให้ดีขึ้น ซึ่งสามารถทำได้หลากหลายวิธีเช่น ในกรณีขาดดุลกาชำระเงิน ก็ควรเพิ่มปริมาณการผลิตและปริมาณการส่งสินค้าออกไปยังต่างประเทศ การลดค่าของเงิน การปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และพยายามหาทางจ่ายเงินออกไปนอกประเทศเพิ่มขึ้น เป็นต้น ดุลการชำระเงินก็เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเป็นอย่างมาก เนื่องจากประเทศที่มีดุลการชำระเงินเกิดดุลมาก ๆ จะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และผลที่ติดตามมาก็คือ ภาวะเงินเฟ้อ ในทางตรงกันข้ามถ้าประเทศใดมีดุลการชำระเงินขาดดุลมาก ๆ ก็จะทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีน้อย จนอาจทำให้เกิดภาวะเงินฝืด หรือเงินตึงแทรกซ้อนได้เช่นกัน