1.68k likes | 1.89k Views
การประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผล การปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑. วันพุธที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสร้อยสุวรรณา อาคาร ๑๐ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
E N D
การประชุมชี้แจงกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ วันพุธที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๑ เวลา ๑๔.๓๐ - ๑๖.๓๐ น. ณ ห้องประชุมสร้อยสุวรรณา อาคาร ๑๐ ชั้น ๓ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
หลักการของกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑ ๑. หลักการประเมินเพื่อพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา ๒. หลักเอกภาพของการประเมินภายนอก สถาบันอุดมศึกษา ๓. หลักการประเมินตามเอกลักษณ์และจุดเน้นของ สถาบันอุดมศึกษา ๔. หลักความต่อเนื่องของการประเมินเพื่อให้สถาบัน พัฒนาคุณภาพสู่งานประจำและความยั่งยืน
ความเชื่อมโยงของมุมมองทั้ง ๔ ของ BSC (Kaplan and Norton:๑๙๙๑) การเงิน ลูกค้า การบริหารจัดการ วิสัยทัศน์ และกลยุทธ์ การเรียนรู้และพัฒนา
มิติที่ ๑ ด้านประสิทธิผล มิติที่ ๒ ด้านคุณภาพ มิติที่ ๑ ๒ ด้านคุณภาพการให้บริการ ตามยุทธศาสตร์ กรอบการประเมินการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑ กรอบการประเมิน ครม . . และแผนยุทธศาสตร์ ส่วนราชการ ๔ ๓ มิติที่ มิติที่ ๓ ด้านประสิทธิภาพของการปฏิบัติราชการ มิติที่ ๔ ด้านการพัฒนาสถาบัน ด้านการพัฒนาองค์กร ด้านประสิทธิภาพ ของการปฏิบัติราชการ กรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา
ระบบการให้คะแนนตามระบบอิงสถาบันระบบการให้คะแนนตามระบบอิงสถาบัน ระดับคะแนน ๑ หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติราชการได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตกลงกันในคำรับรองการปฏิบัติราชการอย่างมาก ระดับคะแนน ๒ หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติราชการได้ต่ำกว่าเป้าหมายที่ตกลงกันในคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระดับคะแนน ๓ หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติราชการได้ตามเป้าหมายที่ตกลงกันในคำรับรองการปฏิบัติราชการ ระดับคะแนน ๔ หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติราชการได้เกินเป้าหมายซึ่งการดำเนินการเช่นนั้นต้องใช้ความพยายามมากกว่าปกติ ระดับคะแนน ๕ หมายถึง สถาบันอุดมศึกษาปฏิบัติราชการได้เกินเป้าหมายอย่างมาก ซึ่งการดำเนินการเช่นนั้นต้องใช้ความพยายามสูงมากหรือพิจารณามิติอื่นเพิ่มเติม เช่น การประหยัด เป็นต้น
คำอธิบายตัวชี้วัดตามกรอบการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑
๑. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง ๒. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของ สกอ. มิติที่ ๑ ๓.ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ ของสถาบันอุดมศึกษา ๔. ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุมาตรฐานคุณภาพ สมศ. ของสถาบันอุดมศึกษา ๕. ระดับความสำเร็จในการพัฒนาสถาบันสู่ระดับสากล
ประเด็นการประเมินผล : ผลสำเร็จตามแผนปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดที่ ๑ ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมาย ตามแผนปฏิบัติราชการของกระทรวง น้ำหนัก : ร้อยละ ๕ • คำอธิบาย : • พิจารณาจากการบรรลุเป้าหมายแต่ละตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของกระทรวงที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยถือว่า สถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในสังกัดต้องร่วมรับผิดชอบผลการดำเนินงานของกระทรวงที่สังกัด หมายเหตุ : สถาบันไม่ต้องจัดทำรายงานตัวชี้วัดนี้ ในรายงานให้ระบุคะแนนเป็น ๑ มาก่อน ตัวชี้วัดนี้จะได้คะแนนเท่ากับกระทรวงที่สังกัด
ตัวชี้วัดที่ ๒ ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุ เป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา น้ำหนัก : ร้อยละ ๕ • คำอธิบาย : • พิจารณาจากการบรรลุเป้าหมายแต่ละตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบ โดยถือว่า สถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในสังกัดต้องร่วมรับผิดชอบผลการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาที่สังกัด หมายเหตุ : สถาบันไม่ต้องจัดทำรายงานตัวชี้วัดนี้ โดยในรายงานให้ระบุคะแนนเป็น ๑ มาก่อน ตัวชี้วัดนี้จะได้คะแนนเท่ากับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ถ้าสถาบันใดไม่สังกัด สกอ.ให้นำน้ำหนักไปคิดรวมในตัวชี้วัดที่ ๑
ตัวชี้วัดที่ ๓ ระดับความสำเร็จของร้อยละเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักในการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา น้ำหนัก : ร้อยละ ๑๕ จำแนกเป็น ๓ ตัวชี้วัดย่อย โดยมีความเชื่อมโยงในการพิจารณา ดังนี้ ๓.๑ คุณภาพของแผนปฏิบัติราชการ (แผนงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณรายได้) ของสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (น้ำหนักร้อยละ ๔) ๓.๒ การบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ (แผนงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณรายได้) ของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ (น้ำหนักร้อยละ ๕) ๓.๓ การบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่สะท้อนเอกลักษณ์และจุดเน้นรวมทั้งวัตถุประสงค์เฉพาะตามพระราชบัญญัติของสถาบันอุดมศึกษา (น้ำหนักร้อยละ ๖) โดยมีน้ำหนักเท่ากันทุกตัว
ตัวชี้วัดที่ ๓.๑ คุณภาพของแผนปฏิบัติราชการ (แผนงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณรายได้) ของสถาบันอุดมศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑ น้ำหนัก : ร้อยละ ๔ พิจารณาจากเกณฑ์คุณภาพในการจัดทำแผนของสถาบันอุดมศึกษา และคุณลักษณะของแผนครบตาม ๘ ประเด็น ประกอบด้วย ตัวชี้วัดใหม่ ๑) ตรงความต้องการจำเป็นและสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ ๒) สอดคล้องกับอัตลักษณ์และจุดเน้นรวมทั้งวัตถุประสงค์เฉพาะตามพระราชบัญญัติ ของสถาบัน ๓) สอดคล้องกับมาตรฐานสำหรับการประกันคุณภาพภายในของสถาบันอุดมศึกษา ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนด ๔) มีส่วนร่วมในการจัดทำแผน ๕) เป็นระบบครบวงจรของแผนและเป็นรูปธรรม ๖) มีทรัพยากรเพียงพอ ๗) การถ่ายทอดแผนสู่หน่วยงานปฏิบัติ ๘) ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัย / สถาบัน
ข้อกำหนดในการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่ ๓.๑ สถาบันอุดมศึกษาต้องส่งแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑ (ทั้งแผนงบประมาณและงบประมาณรายได้) แผนกลยุทธ์และเอกสารหลักฐานต่างๆที่แสดงถึงคุณภาพของแผนตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน ๒ ชุด ให้ สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ที่ปรึกษา (สมศ.) วิเคราะห์และประเมินคุณภาพและให้ข้อเสนอแนะ ๑๔ กันยายน ๒๕๕๐ สำนักงาน ก.พ.ร. จะแจ้งความเห็นให้สถาบันอุดมศึกษาทราบ/ปรับปรุงตามข้อเสนอแนะ ๕ ตุลาคม ๒๕๕๐ สถาบันอุดมศึกษาที่ได้รับข้อเสนอแนะให้ปรับปรุง จะต้องส่งกลับให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อให้ที่ปรึกษา ประเมินคุณภาพครั้งสุดท้ายหากเกินกำหนดจะถูกปรับลดคะแนน ๐.๐๕ คะแนนของตัวชี้วัดที่ ๓.๑ ๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐
เกณฑ์การให้คะแนน คุณภาพของแผนปฏิบัติราชการสถาบัน อุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นไปตามเกณฑ์ตามประเด็นที่กำหนด
สถาบันอุดมศึกษาที่ส่งแผนฯตามกำหนดเวลา มีจำนวนทั้งสิ้น ๓๕ แห่ง สถาบันอุดมศึกษาที่ส่งแผนฯหลังกำหนดเวลามีจำนวนทั้งสิ้น ๓๑ แห่ง สถาบันอุดมศึกษายืนยันที่จะใช้แผนฯเดิมมีจำนวนทั้งสิ้น ๖ แห่ง สถาบันอุดมศึกษาไม่ส่งแผนฯมีจำนวนทั้งสิ้น ๑ แห่ง ที่ปรึกษาจะแจ้งผลการประเมินคุณภาพแผนปฏิบัติราชการตามตัวชี้วัดที่ ๓.๑ ภายในวันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๑
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการ (แผนงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณรายได้) ของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ น้ำหนัก : ร้อยละ ๕ คำอธิบาย : พิจารณาจากการบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการทั้งแผนงบประมาณแผ่นดินและงบประมาณรายได้ของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่สภามหาวิทยาลัย / สถาบันให้ความเห็นชอบ โดยตัวชี้วัดที่รายงานต้องไม่ซ้ำกับตัวชี้วัดอื่น ๆ ในคำรับรองนี้ ยกเว้นตัวชี้วัดที่ ๓.๓ หมายเหตุ : สถาบันต้องจัดทำรายงานตัวชี้วัดนี้ โดยระบุรายละเอียดตัวชี้วัดย่อยทุกตัวตามที่จัดส่งมาเมื่อวันที่ ๓๐ พ.ย. ๕๐ การกำหนดเป้าหมายและการให้คะแนน มี ๓ รูปแบบ ดังนี้
กรณีที่เป้าหมายเป็นร้อยละ ให้วางเป้าหมายไว้ที่เกณฑ์ ๕ แล้วคิดสัดส่วนตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น กรณีเป้าหมายเป็นจำนวน ให้วางจำนวนตามเป้าหมายไว้ที่ค่า ๕ แล้วคิดสัดส่วนตามเกณฑ์ที่กำหนด เช่น กรณีที่ตัวชี้วัดเป็นระดับความสำเร็จ ให้ต้องกำหนดตามระดับความสำเร็จ ดังนี้
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑ ระดับความสำเร็จการพัฒนาครู "กลุ่มสนุก" เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๔ การพัฒนาครูเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ หมายถึง การพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งรูปแบบการให้ความรู้ เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเป็นที่ปรึกษา ฯลฯ กลุ่มสนุก หมายถึง กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๔ จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยจังหวัด ส = จังหวัดสกลนคร น = จังหวัดนครพนม ุ = จังหวัดมุกดาหาร ก = จังหวัดกาฬสินธุ์ การดำเนินการ ประกอบด้วย ๗ ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ ๑ สร้างทีมงาน ขั้นที่ ๒ สำรวจและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นที่ ๓ สร้างชุดอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นที่ ๔ จัดทำแผนปฏิบัติการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นที่ ๕ ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครกลุ่มสนใจ ขั้นที่ ๖ ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้ ขั้นที่ ๗ ประเมินโครงการ และจัดทำรายงาน
ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)
เกณฑ์การให้คะแนน : หมายเหตุ: กำหนดค่าเป้าหมายในแผนปฏิบัติราชการ คือ จำนวน ๑๘๐ คน จาก ๔ จังหวัด โดยกำหนดงบประมาณ จำนวน ๓๐๐,๐๐๐ บาท
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๒ ระดับความสำเร็จในการดำเนินการของการส่งเสริมศักยภาพการผลิต โคขุนของสมาชิกสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ การพัฒนาเสริมสร้างศักยภาพการผลิตโคขุน หมายถึง การศึกษาวิเคราะห์ และสังเคราะห์ องค์ความรู้เพื่อการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การผลิตโคขุนที่เชื่อมต่อการส่งเสริมพัฒนา และเสริมสร้างสมรรถภาพการผลิตโคขุนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ในด้านพันธุ์ อาหาร การจัดการ และการควบคุมป้องกันโรค เพื่อยกระดับการผลิตและแปรรูปเนื้อโคขุนที่สร้างมูลค่าของผลิตภัณฑ์ให้สูงขึ้น สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลางโพนยางคำ จำกัด หมายถึง เกษตรกรที่ จดทะเบียนเป็นสมาชิกของสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลางโพนยางคำ จำกัดกลุ่มสนุก หมายถึง กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๔ จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยจังหวัด กิจกรรมที่ ๑ การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพการผลิตโคขุนของสมาชิกสหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป. กลาง โพนยางคำ จำกัด กิจกรรมที่ ๒ การยกระดับมาตรฐานการผลิตและการแปรรูปเนื้อโคขุนโพนยางคำ
ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)
เกณฑ์การให้คะแนน : หมายเหตุ : กำหนดค่าเป้าหมายในแผนปฏิบัติราชการ คือ เกษตรกร จำนวน ๑๐๐ คน
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๓ ระดับความสำเร็จของการจัดตั้งศูนย์การพัฒนาผ้าย้อมคราม น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ ศูนย์การพัฒนาผ้าคราม หมายถึง ศูนย์ครามทำหน้าที่ศึกษา วิจัย พัฒนาและเผยแพร่ความรู้ เรื่องผ้าย้อมครามตามธรรมชาติ เพื่อเป็นหน่วยงานกลางสำหรับแลกเปลี่ยน รวบรวม เผยแพร่ การจัดระบบองค์ความรู้เรื่องผ้าย้อมครามธรรมชาติ และพัฒนารูปแบบไปสู่การตลาดระดับประเทศและต่างประเทศ การพัฒนา หมายถึง การศึกษา วิจัย แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำสีครามและย้อมผ้าด้วยคราม การเผยแพร่องค์ความรู้และเทคนิคการย้อมผ้าด้วยสีคราม หมายถึง 1. การต้อนรับผู้เข้าเยี่ยมชมศูนย์จัดตั้งศูนย์คราม/โรงย้อมคราม 2. มีการอธิบายประกอบโบสเตอร์ และนิทรรศการ 3. บริการเอกสาร แผ่นดิสก์ และวีดีทัศน์ 4. จัดแสดงนิทรรศการนอกสถานที่บรรยายนอกสถานที่ 5. เป็นเครือข่ายร่วมกิจกรรมครามกับหน่วยงานอื่น
ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๔ ระดับความสำเร็จของการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวบ้านท่าวัด น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ การพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวบ้านท่าวัด หมายถึง การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่ปรากฏในพื้นที่บ้านท่าวัดให้สามารถรองรับการท่องเที่ยวอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถเป็นศูนย์กลางการศึกษา เรียนรู้ท้องถิ่นและศูนย์กลางการท่องเที่ยวหลักของหมู่บ้านรอบหนองหารสกลนคร แหล่งท่องเที่ยว หมายถึง แหล่งท่องเที่ยวทั้งทางธรรมชาติ ทางประวัติศาสตร์และทางวัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตของชุมชนบ้านท่าวัด
ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๕ ระดับความสำเร็จของการพัฒนามหาวิทยาลัยธุรกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs University) น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ ยุทธศาสตร์ส่งเสริม สนับสนุน วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กำหนดให้มีการดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์การส่งเสริม SMEs (๒๕๕๐ – ๒๕๕๔) ฉบับที่ ๒ แผนปฏิบัติการฯ เพื่อเพิ่มศักยภาพ ทักษะและยกระดับ SMEs และบริกรธุรกิจ (Service Provider) โดยแนวทางการศึกษา (Best practice) สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ได้ตกลงความร่วมมือกับ SMRJ (Organization for Small & Medium Enterprises and Regional Innovation, Japan) ในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาโครงการนี้ขึ้นมาให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด SMEs University ไม่ใช่การตั้งตามหาวิทยาลัย เป็นการสร้าง University network คือ การต่อยอดมหาวิทยาลัย เป็นพี่เลี้ยงให้ความรู้ คำแนะนำปรึกษา ให้วิชาการและเป็นศูนย์กลางข้อมูลเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยและสถาบันอิสระต่างๆ ซึ่งมีความพร้อมในด้านองค์ความรู้ และนำมาจัดให้เป็นระบบและมีมาตรฐาน SMEs University ของประเทศญี่ปุ่นจัดตั้งเป็นมหาวิทยาลัย มีที่ปรึกษา มีหอพัก และมีหน่วยงานเครือข่ายอยู่ทั่วไป การพัฒนามหาวิทยาลัยธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs University) หมายถึง การยกระดับความรู้ ความสามารถ และทักษะในการดำเนินธุรกิจ รวมทั้งทักษะในการแก้ไขปัญหาได้จริงของบุคลากร SMEs โดยมุ่งเน้นการบริการนักศึกษาที่มุ่งมั่นเป็นผู้ประกอบการ อาชีพอิสระ การดูแลและฟื้นฟู SMEs ที่เป็น OTOP การเสริมสร้างศักยภาพให้ SMEs ทั่วไป และการสร้างความร่วมมือทางวิชาการกับสถาบันการเงิน
ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๖ ร้อยละของนักศึกษาใหม่ของมหาวิทยาลัยที่เพิ่มขึ้น น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๔ พิจารณาจากระดับความสำเร็จของการบรรลุเป้าหมายแต่ละตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นตัวชี้วัดที่ตอบสนองประเด็นยุทธศาสตร์ที่ ๔ การพัฒนาขีดความสามารถในการขับเคลื่อนสังคมของประชาชนโดยใช้ความรู้เป็นฐาน นักศึกษาใหม่ หมายถึง นักศึกษาที่รับใหม่ในระดับอนุปริญญา ระดับปริญญาตรี และระดับ ปริญญาตรีหลักสูตรต่อเนื่องภาคปกติ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ สูตรการคำนวณ : เกณฑ์การให้คะแนน :
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๗ ระดับความสำเร็จของการจัดการอนุรักษ์พลังงานให้กับชุมชน น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ การจัดการอนุรักษ์พลังงาน หมายถึง การให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้พลังงานไฟฟ้าอย่างถูกวิธี และคุ้มค่า สามารถพัฒนาระบบพลังงานทดแทนได้ ซึ่งระดับความสำเร็จของการดำเนินการจัดการอนุรักษ์พลังงานในชุมชนจะพิจารณาจาก ๑. จำนวนของผู้ที่เข้าร่วมฝึกอบรมตามโครงการ หมายถึง บุคลากรในชุมชนต่าง ๆ และอาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาในชุมชน ๒. ระบบพลังงานทดแทน หมายถึง ชุดอุปกรณ์และระบบการทำงานของกังหันลมเพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้า ๓. ปริมาณหน่วยการใช้ไฟฟ้าที่ลดลง หมายถึง ข้อมูลการเปรียบเทียบหน่วยการใช้ไฟฟ้าก่อนและหลังการดำเนินงานตามโครงการ
ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๘ สัดส่วนนักศึกษาด้านสังคมศาสตร์ต่อนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ จำนวนนักศึกษาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หมายถึง จำนวนนักศึกษาทั้งหมดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และคณะเทคโนโลยีการเกษตร ทุกระดับ ภาคปกติของมหาวิทยาลัย จำนวนนักศึกษาด้านสังคมศาสตร์ หมายถึง จำนวนนักศึกษาทั้งหมดด้านสังคมศาสตร์ จากคณะครุศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ทุกระดับ ภาคปกติของมหาวิทยาลัย เกณฑ์การให้คะแนน :
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๙ จำนวนหน่วยการเรียนรู้ E-learning ที่เพิ่มขึ้น น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๔ หน่วยการเรียนรู้ หมายถึง จำนวนเนื้อหาของบทเรียนที่ผู้เรียนสามารถเรียนแล้วจบในตัว ซึ่งอาจจะมีมากกว่า ๑ บทเรียน และมีแบบฝึกหัด แบบทดสอบประกอบการเรียน E-learning หมายถึง การใช้ทรัพยากรต่างๆ ในระบบอินเทอร์เน็ต มาออกแบบและจัดระบบ เพื่อสร้างระบบการเรียนการสอน โดยการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย ตรงกับความต้องการของผู้สอนและผู้เรียน ประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพ เสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูก ส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับการเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ เกณฑ์การให้คะแนน :
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑๐ ร้อยละของอาจารย์ประจำที่เข้าร่วมประชุมวิชาการหรือนำเสนอผลงาน วิชาการทั้งในและต่างประเทศ น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ ผลงานทางวิชาการของอาจารย์ประจำ ได้แก่ ๑. ผลงานทางวิชาการที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าตามกระบวนการ ระเบียบวิธีวิจัยที่เหมาะสมกับสาขาวิชา ๒. การแสดงออกทางศิลปะอันเป็นที่ยอมรับระดับนานาชาติและระดับชาติ ๓. งานที่ได้รับสิทธิบัตร / อนุสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ ๔. สิ่งประดิษฐ์หรืองานสร้างสรรค์ทางซึ่งแสดงความก้าวหน้าทางวิชาการ เสริมสร้างองค์ความรู้หรือวิธีการที่เป็นประโยชน์ต่อสาขาวิชา หรือแสดงความเป็นต้นแบบ ต้นความคิดของผลงาน หรือแสดงความสามารถในการบุกเบิกงานในสาขาวิชานั้น การนำเสนอผลงานทางวิชาการ ได้แก่ การนำเสนอผลงานวิจัย การบรรยาย การสัมมนา การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงาน หรือการนำเสนอในรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสมกับประเภทของผลงานวิชาการที่นำเสนอ สูตรการคำนวณ : เกณฑ์การให้คะแนน :
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑๑ จำนวนหลักสูตรที่ได้รับการพัฒนา น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๔ การพัฒนาหลักสูตร หมายถึง การพัฒนาหลักสูตรใหม่ หรือ ปรับปรุงหลักสูตรเดิม โดยพัฒนา หรือปรับเปลี่ยนให้ทันสมัย และสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม และวิทยาการในสาขานั้น ๆ ในการปรับปรุงหลักสูตรอาจเป็นการปรับปรุงหลักสูตรทั้งหมด หรือบางส่วนของหลักสูตร ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ เกณฑ์การให้คะแนน :
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑๒ จำนวนเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ เครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการ หมายถึง ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครกับหน่วยงานอื่น ทั้งระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อทำให้การดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครกับหน่วยงานที่เป็นเครือข่ายมีการพัฒนาตามวัตถุประสงค์ของความร่วมมือ การสร้างเครือข่ายต้องมีทั้ง๒ลักษณะคือ เครือข่ายในมหาวิทยาลัยเพื่อระดมและประสานสัมพันธ์สรรพกำลังระหว่างบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนครเองและเครือข่ายนอกมหาวิทยาลัย เพื่อระดมและประสานสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและหน่วยงานต่าง ๆ ในท้องถิ่นประโยชน์ของการสร้างเครือข่าย เกณฑ์การให้คะแนน :
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑๓ ระดับความสำเร็จการส่งเสริมกิจกรรมนักศึกษาที่ครบถ้วนและสอดคล้อง กับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ กิจกรรมนักศึกษา หมายถึง กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่ดำเนินการทั้งโดยสถาบันและโดยองค์การนักศึกษา เป็นกิจกรรมที่ผู้เข้าร่วมจะมีโอกาสได้รับการพัฒนาสติปัญญา สังคม อารมณ์ ร่างกาย และคุณธรรมจริยธรรมสอดคล้องกับคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ ๕ ประการ ได้แก่ ๑) ความรู้ ๒) ทักษะการคิด ๓) ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ๔) ทักษะการวิเคราะห์และการสื่อสาร ๕) การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรม
ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑๔ ระดับความสำเร็จการใช้ทรัพยากรภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยร่วมกัน น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ การบริหารงานโดยการบูรณาการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยให้เกิดประโยชน์สูงสุด แสดงให้เห็นถึงกลยุทธ์การบริหารงานที่สอดคล้องกับสถานการณ์ในโลกยุคปัจจุบัน ขั้นตอนของความสำเร็จ (Milestone)
ตัวชี้วัดที่ ๓.๒ การบรรลุตามเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการ (ต่อ) ตัวชี้วัดที่ ๓.๒.๑๕ ระดับความสำเร็จในการจัดระบบกลไกการประกันคุณภาพภายในที่เป็นส่วน หนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษา น้ำหนัก : ร้อยละ ๐.๓๓ ประเด็นย่อยในการพิจารณา ๗ ข้อ ๑. มีระบบและกลไกการประกันคุณภาพการศึกษาภายในที่เหมาะสมกับระดับการพัฒนาของสถาบัน ๒. มีการกำหนดนโยบายและให้ความสำคัญเรื่องการประกันคุณภาพจากคณะกรรมการระดับนโยบาย และผู้บริหารสูงสุดของสถาบัน ภายใต้การมีส่วนร่วมจากภาคีทั้งภายในและภายนอกสถาบัน ๓. มีการกำหนดมาตรฐานตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐานการอุดมศึกษา และ มาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และสอดคล้องกับการประเมินคุณภาพภายนอก ๔. มีการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพที่ครบถ้วน ทั้งการควบคุมคุณภาพ การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ (อย่างน้อย ๓ ปีนับรวมปีที่มีการติดตาม) ๕. มีการนำผลการประกันคุณภาพมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงาน ๖. มีระบบฐานข้อมูลและสารสนเทศที่สนับสนุนการประกันคุณภาพการศึกษา และใช้ร่วมกันทั้งระดับ บุคคล ภาควิชา คณะ และสถาบัน ๗. มีระบบส่งเสริมการสร้างเครือข่ายด้านการประกันคุณภาพการศึกษาระหว่างหน่วยงานทั้งภายใน และภายนอกสถาบัน
ตัวชี้วัดที่ ๓.๓ การบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ที่สะท้อนเอกลักษณ์และจุดเน้นรวมทั้งวัตถุประสงค์เฉพาะตามพระราชบัญญัติของสถาบันอุดมศึกษา น้ำหนัก : ร้อยละ ๖ ตัวชี้วัดใหม่ • คำอธิบาย : ตัวชี้วัดนี้ได้มีการเจรจาแล้ว โดยให้สถาบันอุดมศึกษาเลือกหรือสร้างตัวชี้วัดสำคัญ ๓ ตัวชี้วัด ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้ • สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปฏิรูปอุดมศึกษาและการพัฒนาประเทศ • บ่งชี้คุณภาพการศึกษา • สอดคล้องกับพันธกิจของสถาบันอุดมศึกษา และ • สะท้อนอัตลักษณ์และจุดเน้นรวมทั้งวัตถุประสงค์เฉพาะตามพระราชบัญญัติของสถาบันอุดมศึกษา • ทั้งนี้ ตัวชี้วัดที่เลือกหรือสร้างต้องเป็นตัวชี้วัดที่ระบุในแผนปฏิบัติราชการของ • สถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.๒๕๕๑ ที่ผ่านความเห็นของสภามหาวิทยาลัย • /สถาบัน ถ้าเป็นตัวชี้วัดใหม่สถาบันอุดมศึกษาต้องขออนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยในการ • ปรับแผนปฏิบัติราชการประจำปี
ตัวชี้วัดที่ ๓.๓ การบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ตัวชี้วัดที่ ๓.๓.๑ ระดับความสำเร็จการพัฒนาครู "กลุ่มสนุก" เพื่อการปฏิรูปการเรียนรู้ น้ำหนัก : ร้อยละ ๒ การพัฒนาครูเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ หมายถึง การพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน ซึ่งรูปแบบการให้ความรู้ เช่น การอบรมเชิงปฏิบัติการ การเป็นที่ปรึกษา ฯลฯ กลุ่มสนุก หมายถึง กลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ๔ จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยจังหวัด ส = จังหวัดสกลนคร น = จังหวัดนครพนม ุ = จังหวัดมุกดาหาร ก = จังหวัดกาฬสินธุ์ การดำเนินการ ประกอบด้วย ๗ ขั้น ดังนี้ ขั้นที่ ๑ สร้างทีมงาน ขั้นที่ ๒ สำรวจและประเมินความต้องการจำเป็น ขั้นที่ ๓ สร้างชุดอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นที่ ๔ จัดทำแผนปฏิบัติการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ขั้นที่ ๕ ประชาสัมพันธ์ และรับสมัครกลุ่มสนใจ ขั้นที่ ๖ ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการที่วางไว้ ขั้นที่ ๗ ประเมินโครงการ และจัดทำรายงาน