290 likes | 611 Views
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา (Research and Development Certification Committee Secretariat). มาตรการทางภาษี เพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี. ยื่นขอรับรองวันนี้...ยกเว้นภาษีได้ 200%. บริษัท / ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล. ค่าใช้จ่าย R&D. ร่วมดำเนินการปี 2544.
E N D
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา (Research and Development Certification Committee Secretariat) มาตรการทางภาษีเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี ยื่นขอรับรองวันนี้...ยกเว้นภาษีได้ 200%
บริษัท / ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ค่าใช้จ่าย R&D ร่วมดำเนินการปี 2544 หน่วยงานภายใน(ฝ่ายวิจัยและพัฒนา) หน่วยงานภายนอก(บริษัท/สถาบันวิจัย) หนังสือรับรองโครงการ เริ่มดำเนินการปี 2539 การร่วมดำเนินงานมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี คณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา และ
สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ • ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นจำนวนร้อยละ 100 ของรายจ่ายที่ได้จ่ายเพื่อทำการวิจัยและพัฒนาหรือ สามารถหักค่าใช้จ่ายสำหรับการทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีได้เป็น 2 เท่า ของค่าใช้จ่ายจริง
กรณีขอการรับรอง 15,000,000 8,000,000 1,000,000 6,000,000 0 หักค่าใช้จ่ายงานวิจัยและพัฒนา ต่อที่ 2 1,000,000 5,000,000 1,500,000 สิทธิประโยชน์ที่ได้จากมาตรการทางภาษี กรณีไม่ขอการรับรอง 15,000,000 รายได้ รายจ่าย - ต้นทุนการขาย 8,000,000 - ค่าใช้จ่ายงานวิจัยและพัฒนา 1,000,000 กำไรสุทธิ 6,000,000 ยอดเงินเพื่อคำนวณภาษี 6,000,000 ประหยัด 300,000 ภาษีที่ต้องนำจ่ายให้รัฐ ( 30% ) 1,800,000
องค์ประกอบหลักของการใช้สิทธิประโยชน์องค์ประกอบหลักของการใช้สิทธิประโยชน์ • ต้องเป็นบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (ผู้ได้สิทธิประโยชน์) • มีรายจ่ายในการทำวิจัยและพัฒนา โดยอาจดำเนินการทำวิจัยด้วยหน่วยงานภายในเอง หรือว่าจ้างหน่วยงานอื่นดำเนินการวิจัย • มีผู้รับจ้างทำวิจัยที่ได้รับการอนุมัติหน่วยงานจากกรมสรรพากรและได้ประกาศลงในพระราชกิจจานุเบกษา
เงื่อนไขการขอยกเว้นภาษีเงินได้จากงานวิจัยและพัฒนาเงื่อนไขการขอยกเว้นภาษีเงินได้จากงานวิจัยและพัฒนา • ผู้รับจ้างทำวิจัยต้องมีรายชื่อที่ได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากร การยื่นขออนุมัติเป็นผู้รับจ้างทำวิจัย:- ติดต่อขอรับแบบคำขอฯ (วพ.01) ได้ที่ กรมสรรพากร หรือ www.rd.go.th เวบไซด์กรมสรรพากร ยื่นคำขอฯ ต่ออธิบดีกรมสรรพากร ณ สำนักงานตรวจสอบภาษี (ศูนย์บริหารภาษีธุรกิจขนาดใหญ่) กรมสรรพากร หรือ สำนักงานสรรพากรพื้นที่
เงื่อนไขการขอยกเว้นภาษีเงินได้จากงานวิจัยและพัฒนา (ต่อ) • เป็นโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) การยื่นโครงการวิจัยและพัฒนา เพื่อขอรับการรับรองฯ:- ติดต่อขอรับและยื่นแบบคำขอรับรองโครงการฯ ได้ที่ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา www.tmc.nstda.or.th/rdcRDC
ขอบเขตของงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถขอใช้สิทธิ์ขอบเขตของงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถขอใช้สิทธิ์ • เป็นงานวิจัยและพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเท่านั้น • พันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ • โลหะและวัสดุ • คอมพิวเตอร์และอิเล็คทรอนิคส์ • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแขนงอื่นๆ • ไม่รวมถึงโครงการวิจัยที่เฉพาะเจาะจงทางด้านการตลาด, สังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์
ลักษณะการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยีลักษณะการวิจัยและพัฒนาทางเทคโนโลยี • การวิจัยอุตสาหกรรมขั้นพื้นฐาน • การวิจัยเชิงประยุกต์
งานวิจัยเชิงประยุกต์ งานวิจัยขั้นพื้นฐาน สิ่งที่เป็นการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี (R&D Criteria) 8. การออกแบบ การก่อสร้าง และการทดสอบชิ้นงานต้นแบบ หุ่นจำลอง และชุดพัฒนา 1. การดำเนินงานเชิงปฏิบัติการ เชิงทฤษฎี หรือการดำเนินงานใดๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ ค้นหาความรู้ใหม่ หรือเพื่อความก้าวหน้าจากความรู้เดิมที่มีอยู่ 2. การค้นคว้าหาการใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้พื้นฐาน 5. การออกแบบผลิตภัณฑ์ กระบวนการ การบริการ หรือระบบใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีใหม่หรือเกี่ยวข้องกับการปรับปรุงของเดิมอย่างเป็นสาระสำคัญ 9. กิจกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อบกพร่องของผลิตภัณฑ์ใหม่/กระบวนการผลิตใหม่ที่สืบเนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือการสร้างกระบวนการผลิตนำร่อง 3. การคิดค้นสูตรหรือการออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ประโยชน์ 6. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ (Prototype) 4. การทดสอบเพื่อค้นหาหรือประเมินทางเลือกต่างๆ ของผลิตภัณฑ์ การบริการและกระบวนการ 10. งานวิศวกรรมอุตสาหการและงานตั้งเครื่องใหม่ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวิจัยและพัฒนาสินค้าหรือกระบวนการใหม่ที่สืบเนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือการสร้างกระบวนการผลิตนำร่อง 7. การสร้างกระบวนการผลิตนำร่อง 11. การออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ใหม่หรือกระบวนการผลิตใหม่ที่สืบเนื่องจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ หรือการสร้างกระบวนการผลิตนำร่อง
รายละเอียดข้อมูลโครงการวิจัยและพัฒนาที่ยื่นต่อ สวทช. • ส่วนที่ 1 ข้อมูลเบื้องต้นของเจ้าของโครงการ ชื่อเจ้าของโครงการ เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ประกอบกิจการ ทุนจดทะเบียน สถานที่ติดต่อ ชื่อผู้ติดต่อ ชื่อผู้มีอำนาจผูกพัน ผู้รับทำวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
รายละเอียดข้อมูลโครงการวิจัยและพัฒนาที่ยื่นต่อ สวทช. • ส่วนที่ 2 ข้อมูลโครงการวิจัยและพัฒนา วัตถุประสงค์ของโครงการ ที่มาของปัญหา/รายละเอียด/การสำรวจงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แนวทางการแก้ไขปัญหา (ขอบเขตการวิจัย) แผนการดำเนินงาน ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ สถานที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนา ค่าใช้จ่ายของโครงการ (มีทั้งหมด 9 หมวด)
การแยกหมวดค่าใช้จ่ายโครงการวิจัยและพัฒนาการแยกหมวดค่าใช้จ่ายโครงการวิจัยและพัฒนา 1. ค่าจ้างบุคลากร 2. เครื่องมือ/อุปกรณ์ 3. ที่ปรึกษาโครงการ 4. ค่าฝึกอบรม 5. ค่าใช้ห้องปฏิบัติการทดสอบ 6. ค่าวัตถุดิบการวิจัย 7. ค่าปรับปรุง/ซ่อมแซม 8. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (Indirect Cost) 9. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ (Direct Cost)
เอกสารประกอบการขอรับรองเอกสารประกอบการขอรับรอง • สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลหรือหน่วยงาน • ประวัติของนักวิจัยและที่ปรึกษาโครงการ • แคตตาล็อค, รายละเอียดคุณสมบัติ และใบเสนอราคาของเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่จะมีการจัดซื้อ • เอกสารอ้างอิงเกี่ยวกับงานวิจัย (ถ้ามี)
โครงการประเภทใดบ้างที่สามารถยื่นขอการรับรองได้ ? 1. โครงการที่ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว • ทราบข้อมูลต่างๆชัดเจน ทั้งด้านเทคนิคและค่าใช้จ่าย 2. โครงการที่ดำเนินการไปแล้วบางส่วน • ทราบข้อมูลด้านเทคนิคและค่าใช้จ่ายชัดเจนในส่วนที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องประมาณการค่าใช้จ่ายในส่วนที่ยังไม่เกิดจริง 3. โครงการที่ยังไม่เริ่มดำเนินการ (ยังเป็นแผนงานอยู่) • ต้องใช้ความชำนาญในการเสนอข้อมูลต่างๆ ทั้งด้านเทคนิคและงบประมาณค่าใช้จ่าย
เจ้าของโครงการ ยื่นแบบคำขอรับการรับรองโครงการ สำนักงานเลขานุการฯ ตรวจสอบข้อมูล ผู้เชี่ยวชาญประเมินโครงการ เสนอคณะกรรมการฯ เพื่อพิจารณา เป็นงานวิจัยและพัฒนา ออกหนังสือรับรอง แจ้งเจ้าของโครงการ และกรมสรรพากร ไม่เป็นงานวิจัยและพัฒนา แจ้งเจ้าของโครงการ และกรมสรรพากร ขั้นตอนการพิจารณารับรองโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยี
ตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯ • การพัฒนาสูตรตำรับและวิธีการผลิตยา ให้มีคุณสมบัติทางกายภาพและทางเคมีเทียบเท่ากับยาต้นแบบ โดยศึกษาทั้ง Appearance, Content ของตัวยา และ Dissolution ให้ได้ตามข้อกำหนดมาตรฐาน และศึกษาชีวสมมูลของอาสาสมัครในห้องปฏิบัติการ
ตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯ • ศึกษาวิจัยวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ทดแทน Phthalate Plasticizer ที่ใช้ในสายไฟและผลิตภัณฑ์ของเล่น โดยให้มีคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆ เทียบเท่ากัน เพื่อรองรับมาตรการในอนาคตที่อาจมีการยกเลิกการใช้สาร Plasticizer ประเภท Phthalate ตามมติของ EU
ตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯ • การพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์พืชให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้นและให้มีคุณภาพตรงตามความต้องการของตลาด รวมทั้ง มีความต้านทานต่อโรคแมลงศัตรู และทนต่อสภาพแวดล้อมของแต่ละท้องถิ่นในประเทศที่แตกต่างกัน
ตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯ • การพัฒนารูปแบบ และวัสดุมีดที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตร โดยพิจารณาปรับเปลี่ยนเนื้อวัสดุ รวมไปถึงปรับปรุงสูตรของเนื้อยางที่ใช้หุ้มด้ามมีด เพื่อแก้ปัญหามีดบิ่น ความคมหมดเร็ว และด้ามเป็นเหลี่ยมทำให้จับไม่ถนัด
ตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯ • การพัฒนาและปรับปรุงกระดาษพิมพ์ที่ใช้ในงานพิมพ์หนังสือนิตยสาร ที่มีปัญหาการพิมพ์ทะลุหลัง ซึ่งมักจะเกิดจากกระดาษที่ไม่ได้เคลือบผิว จึงต้องศึกษาเกี่ยวกับระบบการพิมพ์กระดาษ ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อคุณภาพกระดาษ เตรียมตัวอย่างกระดาษและวิธีการทดสอบคุณภาพกระดาษในห้องปฏิบัติการ ศึกษาหาชนิดสารเคมี ปริมาณการใช้สารเคมี ที่เหมาะสม ทดสอบคุณภาพแผ่นกระดาษที่เตรียมได้
ตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯตัวอย่างโครงการที่ยื่นขอรับรองฯ • การเตรียมสารสกัดจากพืชสมุนไพรมาใช้สำหรับผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยเลือกหรือปรับสูตรวัตถุดิบที่ใช้ให้เหมาะสม อีกทั้งสารสกัดจากพืชสมุนไพรต้องมีความคงตัวเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินงาน สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา ปีงบประมาณ 2545-2550 (ตุลาคม 2544 - มิถุนายน 2550)
สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนาสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการรับรองโครงการวิจัยและพัฒนา สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 โทรศัพท์ : 0-2564-7000 ต่อ 1328 - 1332 โทรสาร : 0-2564-7081 http://www.tmc.nstda.or.th/rdc E-mail : rdc@tmc.nstda.or.th