520 likes | 777 Views
สมุนไพรไทยเชิงธุรกิจ. เภสัชกร รองศาตราจารย์สินธพ โฉมยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. สมุนไพรไทยเชิงธุรกิจ. ASEAN Harmonization. Traditional Medicine and Health supplements. สถานะการ์การใช้สมุนไพรในอดีต. พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510
E N D
สมุนไพรไทยเชิงธุรกิจ เภสัชกร รองศาตราจารย์สินธพ โฉมยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
สมุนไพรไทยเชิงธุรกิจ ASEAN Harmonization Traditional Medicine and Health supplements
สถานะการ์การใช้สมุนไพรในอดีตสถานะการ์การใช้สมุนไพรในอดีต พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ. 2466 พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 อัลมา-อตา ในปี 2521 เป้าหมาย สุขภาพดีถ้วนหน้า ปี 2543 สมุนไพรในสาธารณสุขมูลฐาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ตั่งแต่ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2528 พระราชบัญญัติยา (2510) ฉบับที่ 5 พ.ศ. 2530
ยาสมุนไพร หมายถึงยาที่ได้จาก พฤกษชาติ สัตว์หรือแร่ธาตุ ที่ไม่ได้มีการผสม ปรุง หรือแปรสภาพ และ ยาแผนโบราณ หมายถึง ยาที่มุ่งหมายสําหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณหรือการบําบัดโรคสัตว์ซึ่งอยู่ในตํารายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศ หรือยาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นตํารับยาแผนโบราณ การประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หมายถึง การประกอบโรคโดยใช้องค์ความรู้ที่สืบทอดกันมา และไม่ใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
การประกอบการเกี่ยวกับสมุนไพร จึงต้องอิงตามข้อกำหนดของกฏหมายเป็นสำคัญ
ผลของกฏหมาย ส่งผลต่อยาจากสมุนไพรดังนี้ • การพัฒนายาแผนโบราณอยู่ในวงจํ ากัด เพราะไม่สามารถนํ าเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาได้อย่างเต็มที่ เว้นแต่ที่ได้รับอนุญาตตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 25 (พ.ศ. 2537) ซึ่งอนุญาตเกี่ยวกับการผลิตยาแผนโบราณโดยวิธีตอกอัดเม็ด วิธีเคลือบ การใช้วัตถุกันเสีย ตามเงื่อนไขที่กําหนด เป็นต้น • มีการกําหนดตํ ารายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีประกาศจํานวน 4 เล่ม ซึ่งตํารา ดังกล่าวยังไม่ใช่ตําราที่เป็นมาตรฐานขององค์ความรู้อย่างแท้จริง
เพื่อส่งเสริมและพัฒนายาจากสมุนไพร คณะกรรมการยาในการประชุมครั้งที่ 1/2541 ได้อนุมัติในหลักการให้มี • การกําหนดหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียนตํารับยาที่พัฒนามาจากสมุนไพรขึ้น โดยให้แบ่งยาจากสมุนไพรออกเป็น 4 กลุ่ม คือ
(1) ยาจากสมุนไพรที่เป็นยาแผนโบราณ • (2) ยาจากสมุนไพรที่เป็นยาแผนโบราณซึ่งมีการพัฒนารูปแบบไปจากเดิม (กฏกระทรวงฯ ฉบับที่ 25 พ.ศ. 2537) • (3) ยาจากสมุนไพร (แผนปัจจุบัน) ซึ่งเป็นยาที่ได้วิจัยและพัฒนามาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์จนได้สารสกัดที่เป็นสารประกอบกึ่งบริสุทธิ์ (Semi-purified compounds) • (4) ยาใหม่จากสมุนไพร (แผนปัจจุบัน) ซึ่งเป็นยาที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จนได้ตัวยาสําคัญที่เป็นสารบริสุทธิ์ที่ทราบโครงสร้างทางเคมี
จากรายงานของศูนย์วิจัยกสิกรไทย (2542) พบว่า • มูลค่าการตลาดของยาสมุนไพรในประเทศไทยในมีประมาณ 3,800 ล้านบาท ซึ่งหากรวมมูลค่าของสมุนไพรที่เป็นอาหารเสริมและเครื่องสําอางสมุนไพรแล้ว จะมีมูลคาตลาดสูงถึง 30,000 ล้านบาท • มีอัตราการเติบโตปีละ 20-25 % หมายเหตุ: เป็นตัวเลขรวมของสมุนไพรที่ผลิตในประเทศไทยและที่นําเข้าจากต่างประเทศ
สมุนไพรชนิดใดน่าสนใจ มีศักยภาพในการพัฒนาเพื่อผลทางธุรกิจ ชนิดของสมุนไพรที่ใช้ในตำรายาไทย มีประมาณมากกว่า 1 พันชนิด หากรวมตำรับยาพื้นบ้าน(เฉพาะถิ่น) น่าจะมีมากกว่า 2 พันชนิด
กลุ่มสมุนไพร ยาแผนโบราณ (Traditional drugs) ยาจากสมุนไพร (แผนโบราณ) (Modified traditional drugs) ยาจากสมุนไพรที่มีตัวยาเป็นสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ (Herbal medicines, Phytopharmaceuticals) ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจากสมุนไพร (Botanical dietary supplements) ชาชงสมุนไพร (Herbal tea) เครื่องสําอางสมุนไพร (Botanical cosmetics)
จากมติคณะกรรมการยา ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2542 (30 มีนาคม 2542) ให้มีการแบ่งประเภทของยาที่ได้จากสมุนไพรออกเป็น 4 กลุ่ม ใหญ่ คือ • ยาแผนโบราณแบบดั่งเดิม (Traditional drugs) • ยาจากสมุนไพรแผนโบราณ (Modified Traditional drugs) • ยาพัฒนาจากสมุนไพร (แผนปัจจุบัน) • ยาแผนปัจจุบัน (New drugs)
การขึ้นทะเบียนตำรับยากรรมการยา ครั้งที่ 1/2541 กลุ่มตํารับยา จํานวน (ตํารับ) • 1. ยาจากสมุนไพรแผนโบราณ 1,044 • 2. ยาจากสมุนไพรแผนโบราณที่มีการพัฒนารูปแบบยา 479 • 3. ยาจากสมุนไพรที่มีตัวยาเป็นสารสกัดกึ่งบริสุทธิ์ 19 • 4. ยาจากสมุนไพรที่เป็นยาใหม่ - ตำรับแรกของไทย ? เจลฟ้าทะลายโจร เสริมการรักษาโรคปริทนต์อักเสบ ข้อมูลระหว่างปี 2542 ถึงปี 2544 จากทะเบียนตํ ารับยาจากสมุนไพรที่ขึ้นทะเบียนไว้ 1,542 ตำรับ
การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพรการพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร • ระบบองค์ความรู้ • คุณภาพผลิตภัณฑ์ และวัตถุดิบ • สูตรตำรับ และการผลิต • การขึ้นทะเบียนตำรับ และการอ้างอิงสรรพคุณ • ประสิทธิภาพ และความปลอดภัย • การโฆษณา
องค์ความรู้ • ร่างกายมนุษย์ เกิดจากธาตุทั้ง 4 ประกอบเข้าด้วยกัน การเกิดเสียสมดุลย์ของธาตุ ทำให้เกิดโรค • ยาแผนโบราณ หมายถึงยาที่ประกอบด้วยสมุนไพรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ประกอบเข้าด้วยกันเป็นตำรับ • ความไม่แน่ชัดในชนิด และชื่อสมุนไพร
กลุ่มยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายกลุ่มยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตำรับยาที่รักษาโรคเดียวกับ มีองค์ประกอบในตำรับที่ต่างกันเป็นอย่างมาก เช่น จากการศึกษาตำรับยาแก้ปวดเมื่อยตามร่างกายที่มีการขึ้นทะเบียนกับสำนักงานอาหารและยา พบว่ามีมากกว่า 170 สูตรตำรับ โดยมีส่วนประกอบของสมุนไพรทั้งสิ้น 447 ชนิด แสดงถึงความหลากหลายในการใช้สมุนไพร จนยากที่บุคลลากรด้านสาธาธารณสุขทั่วไป รวมทั้งผู้ใช้สมุนไพรจะเข้าใจได้ ซึ่งจำเป็นต้องมีกระบวนการศึกษาและวิเคราะห์ เพื่อจัดระบบความรู้ให้มีความชัดเจนมากขึ้น
คุณภาพผลิตภัณฑ์ • ศึกษาคุณภาพของยาแผนโบราณ 108 ตัวอย่าง (2544)ไม่พบแบคทีเรียที่ก่อโรค แต่พบว่าร้อยละ 54 มีแบคทีเรียเกินมาตรฐาน[5 x105 (CFU) ต่อกรัม] ร้อยละ 60 ไม่ผ่านเกณฑ์เกี่ยวกับเชื้อรา และมีเพียงร้อยละ 31 ผ่านเกณฑ์การปนเปื้อนจุลชีพโดยรวม • ในด้านการปนเปื้อนสารพิษจากเชื้อรา aflatoxins ในประเทศไทยจากการศึกษาวิจัยของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ซึ่งได้สุ่มวัตถุดิบสมุนไพรจํ านวน 60 ชนิด พบว่ามี aflatoxin B1 ร้อยละ 2
การผลิตยาจากสมุนไพร • GMP • การใช้ส่วนผสมสารเคมี • การกำหนดขนาด สัดส่วนสารออกฤทธิ์ • Dosage form
การผลิตสารสกัดจากพริก ยา ตามข้อมูลเดิม อนุญาตใช้ใช้สรรพคุณเป็นยาบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย แต่จากรายงานการวิจัยพบว่า สารสกัดจากพริกสามารถใช้เป็นยาแก้อาการปวด และอักเสบข้อ สรรพคุณแก้ปวด อักเสบข้อได้ จำเป็นต้องมีมาตรฐานการผลิต และ ปริมาณของสารออกฤทธิ์ ให้มีปริมาณสาร capsaicin 0.0025 % ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ต้องสอดคล้องกับข้อมูลเดิม หากตำรับประยุกต์ต่างไปจากความรู้เดิม ต้องยืนยันด้วยข้อมูลวิทยาศาสตร์
สมุนไพรเดี่ยว • ยาแผนโบราณ หมายยาที่ประกอบด้วยสมุนไพรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ประกอบเข้าด้วยกันเป็นตำรับ
10 อันดับแรก รายการยาจากสมุนไพร ที่มีการใช้ใน โรงพยาบาล • 1 ขมิ้นชันร้อยละ 84 • 2 ฟ้าทะลายโจร 70 • 3 มะแว้ง 57 • 4 ไพล 55 • 5 พญายอ 51 • 6 เพชรสังฆาต 36 • 7 บอระเพ็ด 32 • 8 เจลว่านหางจระเข้ 26 • 9 หญ้าหนวดแมว 26 • 10 ดอกคํ าฝอย 25
สำหรับสมุนไพรที่กระทรวงสาธารณสุขส่งเสริม (ยอมรับ) ให้มีการเพาะปลูกเพื่อเศรษฐกิจชุมชน จำนวน 31 ชนิด ขมิ้นชัน(แง่ง) แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ช้าพลู (ใบ) ขับลม ขับเสมหะ ตะไคร้ (ทั้งต้น) แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ขับลม ขับปัสสาวะ มะตูม (ผล) ช่วยย่อยอาหาร ทำให้เจริญอาหาร พริกไทย (เม็ด) แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อแน่น จุกเสียด แห้วหมู (หัว) แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อแน่น จุกเสียด ขับลม ขี้เหล็ก (ใบ) ช่วยระบายท้อง แก้ท้องผูก ชุมเห็ดเทศ (ใบ) ช่วยระบายท้อง แก้ท้องผูก มะขามแขก (ใบ) ช่วยระบายท้อง แก้ท้องผูก ว่านหางจรเข้ (วุ้นในก้านใบ) เป็นยาระบายท้อง ทาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บอระเพ็ด (เถา) แก้ไข้เจริญอาหาร ฟ้าทะลายโจร (ทั้งต้น) แก้ไข้ แก้เจ็บคอ แก้ร้อนในกระหายน้ำ ช่วยเจริญอาหาร
มะระขี้นก (ผลดิบ) แก้ไข้ แก้ร้อนใน เจริญอาหาร • รางจืด (ใบ) แก้ไข้ ร้อนใน ถอนพิษไข้ • เก็กฮวย (ดอก) แก้ร้อนในกระหานน้ำ • เตยหอม (ใบ) แก้ร้อนใน กระหายน้ำ • บัวบก (ทั้งต้น) แก้ร้อนในกระหายน้ำ • กระเจี๊ยบแดง (ดอก) ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ • ขลู่ (ใบ ดอก) ขับปัสสาวะ • หญ้าหนวดแมว (ทั้งต้น) ขับปัสสาวะ • มะขามป้อม (ผล) แก้ไอ ขับเสมหะ ทำให้ชุ่มคอ • หม่อน (ใบ) แกไอ ขับเสมหะ • เห็ดหลินจือ (ทั้งต้น) บำรุงร่างกาย • ข่า (แง่ง) รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน
ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติเรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติ (๔) ๒๕๕๔ • ยาต้มสตรีหลังคลอด (สมุนไพร 17 ชนิด เช่น แก่นแกแล แก่นขนุน ฝางเสน เถาสะค้าน เจตมูลเพลิงแดง ดอกดีปลี โกฐเชียง เป็นต้น)
กลิ่น กับอารมณ์ • ไว้ แบ่ง น้ำหอม เป็น ๓ ระดับ คือ และเป็น step ของ volatile ที่มีต่อร่างกาย เป็นลำดับ • Top nose = stimulant • Middle nose = balance • Lasting nose = sedative
A = aliphatic , aldehyde = กลิ่นสะอาด • B = Berg, Ice berg เข่น mint, peppermint, spike lavender, camphor = สดชื่น ช่วยทางเดินหายใจ • H = herb กลิ่นสมุนไพร มีความเย็น (lavender) ใช้เชื่อมโยงกลิ่นแต่ละกลิ่นในน้ำหอม • N= narcotic = sweet oleader เช่น ลั่นทม • R = rose = fresh romantic, perfect, เช่น rose oils กุหลาบมอญ • V = vanilla = หวาน absolute เช่น vanilla , cocao • W = woody = sandal wood มั่นคง มั่นใจ เป็น antifungal , anti bacterial เช่น แฝกหอม • Z = Zolvent ( Solvent) = ใช้เป็น solvent , dilution , เช่น vegetable oils , น้ำมันงา น้ำมันมะพร้าว ทานตะวัน เวลาใช้นิยมผสม ๒ ถึง ๓ ชนิด เพื่อให้ซึมเช้าผิวหนังในเวลาที่เหมาสม ( เวลาที่ใช้ในการนวด)
พญาหน้าขาว การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสของสารสกัดที่ความเข้มข้นต่าง ๆ
สารสกัดจากรากพญาหน้าขาว มีค่าเปอร์เซ็นต์ยับยั้งเท่ากับ 94.76 ( สูงกว่ารากโลดทะนงแดง แต่ต่ำกว่าแก่นมะหาดเล็กน้อย) เปรียบเทียบกับกรดโคจิก พบว่าจะได้เปอร์เซ็นต์ในการยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส เท่ากับ 90.63 และกรดโคจิกเท่ากับ 99.49 การใช้ในชุมชน จะใช้ร่วมกับน้ำมะนาว
ASEAN Harmonization จะเกิดผลอย่างไรต่อธุรกิจสมุนไพร ปรับกฏเกณฑ์และวิธีการรับรองผลิตภัณฑ์ยาแผนโบราณและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารให้สอดคล้องกัน + ระบบคุณภาพ -ภาวะการแข่งขัน
การพัฒนาคุณภาพสมุนไพร • ผลจากประชาคมอาเซียน ที่มีข้อตกลงเปิดตลาดการค้าเสรี และจากที่ประชุม Asean harmonization ส่งผลต่อ ระบบการผลิตยาจากสมุนไพรทั้งประเทศ จะต้องเข้าสู่ระบบการผลิตแบบ GMP ในปี พ.ศ. 2558 ซึ่งทำให้ผู้ผลิตจำนวนมากต้องปรับตัว เรียนรู้ระบบการจัดการการผลิตให้มีมาตรฐานมากขึ้น และส่งผลต่อ ระบบ AGP ด้วย
สรุปสถานการณ์ด้านการวิจัยสมุนไพรสรุปสถานการณ์ด้านการวิจัยสมุนไพร งานวิจัยสมุนไพรในประเทศไทยที่ผ่านมา มีปัญหาอยู่ 5 ประการ คือ 3.2.1 การวิจัยไม่ครบวงจร 3.2.2 ขาดหน่วยงานที่ทําหนดาที่รวบรวมผลงานวิจัย ประเมินผลงานวิจัย และกําหนดทิศทางงานวิจัย รวมทั้งการถ่ายทอดงานวิจัยสู่อุตสาหกรรม 3.2.3 ขาดเป้าหมายในการพัฒนาสมุนไพรเพื่อใช้เป็นยา 3.2.4 ปัญหาของนักวิจัยซึ่งขาดแคลนทั้งปริมาณและคุณภาพ 3.2.5 แหล่งสนับสนุนการวิจัยอยู่อย่างกระจัดกระจายขาดผู้ได้รับผลประโยชน์ทางงานวิจัยที่ชัดเจน