250 likes | 360 Views
ขาดดุล. Q a. P a. Y. $. บทที่ 2: บทบาทของภาคเกษตรในการพัฒนาประเทศ. ทำไมการพัฒนาประเทศ ต้องพัฒนาทางด้านการเกษตรควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านอื่นๆด้วย. ตัวอย่างการพัฒนาที่ละทิ้งภาคการเกษตร. การพัฒนาประเทศนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต.
E N D
ขาดดุล Qa Pa Y $ • บทที่ 2: บทบาทของภาคเกษตรในการพัฒนาประเทศ • ทำไมการพัฒนาประเทศ ต้องพัฒนาทางด้านการเกษตรควบคู่ไปกับการพัฒนาทางด้านอื่นๆด้วย ตัวอย่างการพัฒนาที่ละทิ้งภาคการเกษตร
การพัฒนาประเทศนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิตการพัฒนาประเทศนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต ภาคเกษตรมีขนาดเล็กลง เมื่อเทียบกับภาคการผลิตอื่น อาจเนื่องมาจากสาเหตุ 2 ประการ คือ • ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ของสินค้าประเภทอาหาร มีค่า <1 และจะมีค่าลดลงเรื่อยๆ เมื่อมีรายได้มากขึ้น • ภาคการเกษตรมีความสามารถที่จะขยายการผลิตด้วยกำลังแรงงานที่คงที่หรือลดลง
df = p + .y 2.1 บทบาทในการผลิตอาหารแก่ประชากรในประเทศ • แหล่งอาหารแก่ประชากรและแหล่งวัตถุดิบให้ภาคอุตสาหกรรม • df = อัตราการเพิ่มขึ้นของอุปสงค์ของสินค้าอาหาร • p= อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากร • = ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อรายได้ สำหรับสินค้าอาหาร y = อัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้ ถ้าหากภาคเกษตรไม่สามารถผลิตอาหารได้อย่างเพียงพอ หรือ การเพิ่มขึ้นของอุปทานมีน้อยกว่าอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้น จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาและส่งผลกระทบต่อความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
2.1 บทบาทในการผลิตอาหารแก่ประชากรในประเทศ(ต่อ) • ช่วยรักษาระดับราคาสินค้าเกษตรให้อยู่ในระดับไม่สูงเกินไป • ไม่ต้องสูญเสียเงินตราต่างประเทศในการซื้ออาหาร สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาด้านอื่นๆ • ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตภาคอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบเกษตรไม่สูงเกินไป แข่งขันกับต่างประเทศได้
2.2 บทบาทในการให้แรงงานแก่ภาคอุตสาหกรรม • การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ทำให้ใช้แรงงานลดลง มีการโยกย้ายไปสู่ภาคอุตสาหกรรม • เป็นแหล่งแรงงานค่าแรงต่ำของภาคอุตสาหกรรม ง่ายต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม ประเด็นสำคัญ คือ ถ้าหากภาคเกษตรไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้ หรือ อุปทานมีน้อยกว่าอุปสงค์ จะทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมา
2.3 บทบาทในการให้เงินตราต่างประเทศจากการส่งออก • ในบางประเทศที่มีผลผลิตส่วนเกินทางการเกษตร การส่งออกสินค้าเกษตรจะเป็นแหล่งรายได้เข้าประเทศที่สำคัญ ได้เงินตรามาพัฒนาประเทศ • การส่งออกต้องแข่งขันกับต่างประเทศ ทำให้ต้องมีการพัฒนาการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ประเด็นสำคัญ คือ ถ้าสินค้ามีการแข่งขันกันสูง อาจก่อให้เกิดสภาวะตลาดแปรปรวนง่าย การพึ่งพาเศรษฐกิจโลก ทำให้เศรษฐกิจของประเทศมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น
ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น(P)ราคาสินค้าเกษตรเพิ่มขึ้น(P) ภ า ค อุ ต ส า ห ก ร ร ม ค่าจ้างแรงงานเพิ่มขึ้น(W) วัตถุดิบราคาเพิ่มขึ้น(P) ต้นทุนเพิ่มขึ้น(Ci) Import ราคาสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น(Pi) Export เงินตราต่างประเทศ บทบาทของภาคเกษตรในการพัฒนาอุตสาหกรรม ประสิทธิภาพทางการผลิต/ผลผลิตทางการเกษตรลดลง(Q)
2.4 บทบาทในการให้เงินออมและเงินลงทุนในการพัฒนาประเทศ • ภาคการเกษตรส่งเสริมการสะสมทุนได้หลายทาง • ส่งเสริมการสะสมทุนในภาคเกษตรเอง จากรายได้ส่วนที่เหลือจากการบริโภค • ส่งเสริมการสะสมทุนในภาครัฐบาล โดยผ่านการเก็บภาษีอากร • ส่งเสริมการสะสมทุนในระบบเศรษฐกิจส่วนรวม จากราคาสินค้าเกษตรที่ต่ำ ทำให้รายได้ที่แท้จริงเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม การออมภาคบังคับผ่านการเก็บภาษีมีผลกระทบต่อปัญหาทางสวัสดิการ รัฐต้องระมัดระวังการใช้เงินออมส่วนนี้ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุดและส่งผลต่อการพัฒนาในระยะยาวมากที่สุด
2.5 บทบาทในการเป็นตลาดผลผลิตให้สินค้าอุตสาหกรรม • สินค้าอุตสาหกรรม ต้องมีแหล่งซื้อที่มากพอ จึงจะพัฒนาหรือขยายตัวแข่งขันกับต่างประเทศได้ (Economies of scale) • ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตร เป็นแหล่งซื้อขนาดใหญ่ ประเด็น คือ ถ้าเกษตรกรส่วนใหญ่มีความยากจน ก็ไม่สามารถซื้อผลผลิตภาคอุตสาหกรรมได้ ฉะนั้นต้องมีการพัฒนาภาคการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วย
2.6 กรณีศึกษาการพัฒนาประเทศเอเชียบางประเทศ 2.6.1 การพัฒนาประเทศญี่ปุ่น:บทบาทของภาคเกษตรกรรมต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมในญี่ปุ่น 2.6.2 การพัฒนาประเทศอินเดียในอดีต 2.6.3 สาระสำคัญของแผนพัฒนาเศรษฐกิจฯ ฉบับที่ 1-9ผลสำเร็จหรือความล้มเหลว
2.6.1 กรณีศึกษา: การพัฒนาประเทศญี่ปุ่น การกระจายตัวของ GDP ตามสาขา และการจ้างงานในและนอกภาคเกษตรในประเทศญี่ปุ่น (%) Source: Ohkawa and Shinohara (1979) and MAFF Abstract (1996) cited by Francks,P., Boestel,J. and Kim,C.H. (1999) Agriculture and Economic Development in East Asia.
2.6.1 กรณีศึกษา: การพัฒนาประเทศญี่ปุ่น(ต่อ) • ภาคเกษตรกรรมของญี่ปุ่นมีบทบาทอย่างไรในการพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศอุตสาหกรรม? • ประวัติการพัฒนาเศรษฐกิจญี่ปุ่น • ระบบศักดินา ในสมัยโตกุงาวะ (ค.ศ.1603-1867) ไดเมียว โชกุน จักรพรรดิ (เจ้าครองแคว้น) ไดเมียวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินและเก็บภาษีจากชาวนา(ภาษีข้าว)
2.6.1 กรณีศึกษา: การพัฒนาประเทศญี่ปุ่น(ต่อ) • สมัยเมจิ (ค.ศ.1867-1912) มีการปฏิรูปสังคมและการเมือง ยกเลิกระบบศักดินา มีนโยบายในการพัฒนาประเทศให้ทันสมัย - วางรากฐานระบบเงินตรา => ระบบเงินเยน ตั้งระบบธนาคาร - ส่งเสริมอุตสาหกรรม => อุตสาหกรรมสิ่งทอ น้ำตาล - การสื่อสารคมนาคม => รถไฟ การเดินเรือ ไปรษณีย์ โทรศัพท์
สมัยเมจิ (ค.ศ.1867-1912) (ต่อ) ภาคเกษตรยังเป็นสาขาผลิตที่สำคัญ:ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น จากพันธุ์ข้าวใหม่ การผลิตไหมดิบมีเพิ่มขึ้น 2.6.1 กรณีศึกษา: การพัฒนาประเทศญี่ปุ่น(ต่อ) • สมัยเศรษฐกิจรุ่งเรือง (ค.ศ.1913-1936) อุตสาหกรรมเบาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การส่งออกเพิ่มขึ้น ปี 1914-18 สงครามโลกครั้งที่ 1 นำความรุ่งเรืองมาสู่ญี่ปุ่น อุตสาหกรรมหนักเพิ่มความสำคัญขึ้น เช่น อุตสาหกรรม เหล็กกล้า การต่อเรือ อาวุธ
2.6.1 กรณีศึกษา: การพัฒนาประเทศญี่ปุ่น(ต่อ) • ความก้าวหน้าทางการเกษตรของญี่ปุ่น เกิดจาก • 1. มีการวิจัยทางการเกษตร: ตั้งสถาบันวิจัยข้าว ปรับปรุงพันธุ์ • 2. มีการใช้ปุ๋ยในการเกษตรเพิ่มขึ้น • 3. การส่งเสริมการผลิตและปรับปรุงเทคนิคการผลิตเช่น • การควบคุมการให้น้ำ • การส่งเสริมให้มีการกำจัดศัตรูพืช • การปรับปรุงพื้นที่เพาะปลูกให้ผลิตพืชได้ตลอดปี • ภาษีที่ดินร้อยละ 60เป็นแหล่งเงินทุนสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมและพัฒนาประเทศญี่ปุ่น
2.6.1 กรณีศึกษา: การพัฒนาประเทศญี่ปุ่น(ต่อ) • สรุป: ภาคเกษตรกรรมมีส่วนในการพัฒนาประเทศญี่ปุ่น ดังนี้ • การเพิ่มขึ้นของผลผลิตทางการเกษตร ลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ลดปัญหาการใช้เงินตราต่างประเทศ • การเพิ่มผลิตภาพทางการเกษตร ผลผลิตมีเพียงพอ ราคาคงที่ ลดความกดดันในการขึ้นค่าจ้างแรงงาน รักษาต้นทุนการผลิตที่ต่ำ ส่งออกแข่งขันกับต่างประเทศได้ • 3. ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มขึ้น มีแรงงานส่วนเกินจากภาคเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม
การนำเข้าและส่งออกสิ่งทอในประเทศญี่ปุ่น ปี ค.ศ.1877-1936 % Source: Francks,P., Boestel,J. and Kim,C.H. (1999) Agriculture and Economic Development in East Asia. back
การเคลื่อนย้ายของแรงงานเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นการเคลื่อนย้ายของแรงงานเกษตรเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น Source: Ohkawa and Shimohara (1979) cited by Francks,P., Boestel,J. and Kim,C.H. (1999) Agriculture and Economic Development in East Asia. back
2.6.2 กรณีศึกษา: การพัฒนาประเทศอินเดียในอดีต แตกต่างจากญี่ปุ่น => ประชากรมากกว่า พื้นที่มากกว่า เหมือนกับญี่ปุ่น => การแบ่งชนชั้นวรรณะ • แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 1 (ค.ศ.1951-56) • เน้นการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรม • ยังคงให้ความสำคัญทางการเกษตรอยู่
ผลผลิตทางการเกษตร ในขณะที่ประชากร เกิดการขาดแคลนอาหารภายในประเทศ นำเข้าอาหาร สูญเสียเงินตราต่างประเทศ ขาดดุลการชำระเงิน 2.6.2 กรณีศึกษา: การพัฒนาประเทศอินเดียในอดีต (ต่อ) • แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 2 (ค.ศ.1956-61) • เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักและคมนาคม • ลดความสำคัญของการปรับปรุงการเกษตรลงอย่างมาก
2.6.2 กรณีศึกษา: การพัฒนาประเทศอินเดียในอดีต (ต่อ) • แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 3 (ค.ศ.1961-66) • เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมหนักอย่างต่อเนื่อง • เชื่อในทฤษฎีการผลักดันขนาดใหญ่ของภาคอุตสาหกรรม(Theory of the Big Push) หลักการ: “การลงทุนในอุตสาหกรรม ต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอเพื่อที่จะขจัดปัญหาการแบ่งแยกไม่ได้ให้หมดไป (Indivisibilities)” • ใช้เงินลงทุนมากในภาคอุตสาหกรรมและการคมนาคม
การจัดการ การบริหาร สภาพทางสังคม และการขาดแคลนอาหาร 2.6.2 กรณีศึกษา: การพัฒนาประเทศอินเดียในอดีต (ต่อ) ทำไมอินเดียไม่ประสบผลสำเร็จ ? • เนื่องจาก ขาดปัจจัยสนับสนุนในการผลักดัน • เชื่อในทฤษฎีการค้ารปท. =>Comparative Advantage โดยเชื่อว่าอินเดียควรส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมและนำเข้าอาหาร
การแบ่งแยกไม่ได้ (Indivisibility) มี 3 ชนิด • การแบ่งแยกไม่ได้ทางสมการการผลิตหรือด้านอุปทานการผลิต (Indivisibility in Production Function) • เช่น กิจการสาธารณูปโภค: ถนน เขื่อน ไฟฟ้า รถไฟ • เนื่องจาก: 1. เวลา • 2. อุปกรณ์และเครื่องจักร มีราคาแพง • 3. กิจกรรมเหล่านี้ต้องมีให้ครบชุดโดยพร้อมกัน
การจ้างงานเพิ่มขึ้น ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้น กำลังซื้อ/ตลาดขยายตัว รองรับภาคอุตสาหกรรม การแบ่งแยกไม่ได้ (Indivisibility) มี 3 ชนิด (ต่อ) 2. การแบ่งแยกไม่ได้ทางด้านอุปสงค์ (Indivisibility in Demand) เนื่องจาก: ตลาดสินค้าแคบ (ในประเทศกำลังพัฒนา) การลงทุนกิจการเดี่ยวๆ จะทำให้มีความเสี่ยงสูง การลงทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
การลงทุนต่ำ ผลิตภาพต่ำ การออมต่ำ รายได้ต่ำ การแบ่งแยกไม่ได้ (Indivisibility) มี 3 ชนิด (ต่อ) 3. การแบ่งแยกไม่ได้ทางด้านอุปทานในการออม (Indivisibility in the Supply of Savings) Savings = Investment ต้องลงทุนสูงในช่วงแรกๆ เพื่อให้มีการออมเพิ่มขึ้น Back