1 / 39

การใช้งานออบเจ็กต์ของ ASP ( Request and Response object)

การใช้งานออบเจ็กต์ของ ASP ( Request and Response object). โดย ศุภกฤษฏิ์ นิวัฒนากูล. วัตถุประสงค์. เมื่อจบบทเรียนนี้แล้ว นักศึกษาสามารถ อธิบายองค์ประกอบและคุณลักษณะต่าง ๆ ของออบเจ็กต์ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมบนเว็บด้วย ASP ได้อย่างถูกต้อง

deanne
Download Presentation

การใช้งานออบเจ็กต์ของ ASP ( Request and Response object)

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การใช้งานออบเจ็กต์ของ ASP(Request and Response object) โดย ศุภกฤษฏิ์ นิวัฒนากูล

  2. วัตถุประสงค์ เมื่อจบบทเรียนนี้แล้ว นักศึกษาสามารถ • อธิบายองค์ประกอบและคุณลักษณะต่าง ๆ ของออบเจ็กต์ที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมบนเว็บด้วย ASP ได้อย่างถูกต้อง • ใช้ออบเจ็กต์ในการรับส่งข้อมูล (Request and Response object) ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

  3. เนื้อหา • พื้นฐานเกี่ยวกับออบเจ็กต์ของ ASP • ออบเจ็กต์ของ ASP • Request and Response object

  4. พื้นฐานเกี่ยวกับออบเจ็กต์ของ ASP • COM (Component Object Model) • Object • Class และ Object

  5. COM (Component Object Model) • วิวัฒนาการ • DDE (Dynamic Data Exchange) • OLE (Object Linking and Embedding) • Automation และ OLE Automation เช่น • ASP สนับสนุนเทคโนโลยี Automation • ADO สนับสนุน OLE Automation • ActiveX Control, ActiveX DLL, Active EXE, และ ActiveX Document • เปลี่ยนชื่อเป็น Microsoft ActiveX Technology • COM (Component Object Model)

  6. COM และ COM Component • COM คือ ข้อกำหนดมาตรฐานทางเทคโนโลยีของไมโครซอฟต์ ที่มีหลักให้มีการทำงานร่วมกันได้ของซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชัน หรือคอมโพเนนท์ (Component) • COM Component คือซอฟต์แวร์ แอพพลิเคชัน หรือคอมโพเนนท์ (Component) ใด ๆ ที่ถูกสร้างขึ้นตามมาตรฐานของ COM โดยทั่วไปได้แก่ไฟล์ที่มีนามสกุล .EXE, .OCX, .DLL เป็นต้น การใช้งาน COM Component ลงทะเบียนการใช้งาน --> Regsvr32 <ชื่อไฟล์ .DLL พร้อม Path> ยกเลิกการลงทะเบียน --> Regsvr32 <ชื่อไฟล์ .DLL พร้อม Path> /u

  7. Object • Object คือ วัตถุหรือสิ่งของ • ประกอบด้วย • Property • Method • Collection

  8. Property • เป็นคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของ object • การเขียนคำสั่งมี 2 รูปแบบ • การกำหนดค่า --> ชื่อ object.ชื่อ property = ค่าที่จะกำหนด • การอ่านค่า --> ตัวรับค่า = ชื่อ object.ชื่อ property • ประเภทของ Property • Read-Write อ่านและกำหนดค่าได้ • Read-Only อ่านค่าได้อย่างเดียว • Write-Only กำหนดค่าได้อย่างเดียว

  9. Method • คือ ความสามารถของ Object • การเขียนคำสั่งเพื่อใช้งานมี 2 แบบ • การใช้งานโดยไม่ได้รับค่ากลับ • ชื่อ Object.ชื่อ Method[([Parameter 1], [Parameter 2], ...)] • การใช้งานโดยรับค่ากลับ • ตัวรับค่า = ชื่อ Object.ชื่อ Method[([Parameter 1], [Parameter 2], ...)]

  10. Collection • คล้ายกับตัวแปรประเภทอาร์เรย์ แต่สิ่งที่เก็บอยู่จะเป็น Object • การใช้งานเพื่อการจัดการและเข้าถึง Object ที่อยู่ใน Collection • รูปแบบการใช้งาน เช่น • การนับจำนวน Object ทั้งหมดใน Collection • ตัวรับค่า = ชื่อ Collection.ชื่อ Property จำนวน Object ทั้งหมด (เช่น Count) • เช่น Dim BookCount BookCount = Books.Count

  11. รูปแบบการใช้งาน Collection (ต่อ) • การเข้าถึง Object ใน Collection เพื่อใช้งาน Object • ตัวรับค่า Object= ชื่อ Collection(หมายเลข index) • เช่น Dim objBook Set objBook = Books(1) • ตัวรับค่า Object= ชื่อ Collection(“ชื่อ Object”) • เช่น Dim objBook Set objBook = Books(“Web Programming”) • การวนลูปเพื่อเข้าไปจัดการและเข้าถึง Object ใน Collection โดยใช้คำสั่ง For..Next หรือ For..Each..Next

  12. Object Model , Object in Collection และ Event • Object Model เป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง Object ต่าง ๆ • Object in Collection เป็นหลักการในการอ้างถึง Object ที่จะต้องอ้างไปตามลำดับชั้นของ Object • Event หรือ เหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นของ Object ในการเขียนโปรแกรมจะมี Sub Procedure ที่เรียกว่า Event Handle หรือที่เรียกว่า Event Procedure เพื่อคอยตรวจจับ Event เช่น Session_OnStart, Application_OnStart, Session_Button1_OnClick หรือ Window_OnLoad เป็นต้น

  13. คลาส (Class) และการใช้งาน Object • คลาส (Class) เปรียบเสมือนกับต้นแบบของ Object • การใช้งาน Object ต้องมีการสร้างตัวแปรขึ้นมาแทน Object โดยการใช้คำสั่ง Set เช่น Set ชื่อตัวแปร = Server.CreateObject(”[ชื่อ Component.] ชื่อคลาส”) Set con = Server.CreateObject(“ADODB.Connection”)

  14. ASP Objects • Request Object --> ส่งข้อมูลจากบราวเซอร์ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ • Response Object --> ส่งข้อมูลจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ไปยังบราวเซอร์ • Application Object --> ช่วยให้เว็บแอพพลิเคชันทำงานคล้ายกับแอพพลิเคชันจริง ๆ • Session Object --> ติดตามข้อมูลของผู้มาใช้งานเว็บแอพพลิเคชัน • Server Object --> เป็นตัวแทนของเว็บเซิร์ฟเวอร์และช่วยงานทั่ว ๆ ไป หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ การสร้าง Object

  15. ASPError Object --> เก็บข้อมูลที่ผิดพลาดที่เกิดขึ้นในการเขียน ASP Script Code • ObjectContext Object --> ทำงานร่วมกับ Component Service ของ Windows 2000 เพื่อจัดการกับ Transaction และทำให้สามารถใช้งาน ASP Object ได้โดยไม่ต้องสร้างก่อน

  16. Request and Response Object • QueryString และ QueryString Collection • Form และ Form Collection • ServerVariables Collection • Response Object • Cookies

  17. QueryString และ QueryString Collection • วัตถุประสงค์หลักของ QueryString และ QueryString Collection คือ การที่จะช่วยในการส่งข้อมูลจากบราวเซอร์ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ และเมื่อถึงเว็บเซิร์ฟเวอร์แล้วจะสามารถนำเอาข้อมูลที่ถูกส่งมาไปใช้งานได้

  18. QueryString • คือข้อมูลที่ส่งไปให้เว็บเซิร์ฟเวอร์จากบราวเซอร์ โดยข้อมูลจะถูกส่งผ่าน URL ของเว็บเซิร์ฟเวอร์โดยมีเครื่องหมาย ? คั่นระหว่าง URL และข้อมูล โดยข้อมูลหลังจากเครื่องหมาย ? จะเป็นส่วนของข้อมูลที่อยู่ในรูปเป็นคู่ และในกรณีมีข้อมูลหลายคู่ข้อมูล แต่ละคู่จะถูกคั่นด้วยเครื่องหมาย & ดังตัวอย่าง • http://www.sut.ac.th/login.asp?Fname=Tong&Lname=Jaidee

  19. QueryString Collection • คือที่เก็บ QueryString ซึ่งจะช่วยในการเขียนคำสั่ง เพื่อนำเอาข้อมูลที่ถูกส่งมาใช้งาน จากตัวอย่าง http://www.sut.ac.th/login.asp?Fname=Tong&Lname=Jaidee หากเขียนคำสั่ง <% =Request.QueryString %> หรือ <% =Request.ServerVariables(“QUERY_STRING”) ผลที่ได้ คือ Fname=Tong&Lname=Jaidee

  20. การสร้าง QueryString มี 3 วิธีหลัก ได้แก่ • การใช้ Hyperlink ซึ่งจะใช้แท็ก <A> <A HREF=“Login.asp?Name=Suphakit& pw=1234”>Login</A> • การใช้เมธอด GET ของ Form <FORM NAME=LogFrm ACTION=Login.asp METHOD=GET> • การพิมพ์ที่ Address บราวเซอร์ http://www.sut.ac.th/login.asp?name=Suphakit&pw=1234

  21. การเข้าถึงข้อมูลใน QueryString • จากตัวอย่างhttp://www.sut.ac.th/login.asp?name=Suphakit&pw=1234 • การเข้าถึงโดยชื่อRequest.QueryString(“name”) จะได้ SuphakitRequest.QueryString(“pw”) จะได้ 1234 • การเข้าถึงโดย indexRequest.QueryString(1) จะได้ SuphakitRequest.QueryString(2) จะได้ 1234

  22. พรอพเพอร์ตี้ Count ของ QueryString • ถ้าต้องการทราบจำนวนของข้อมูลใน QueryString ให้ตรวจสอบจากค่าพรอพเพอร์ตี้ Count ตามรูปแบบต่อไปนี้ Request.QueryString.Count

  23. การเข้าถึงข้อมูลที่มีชื่อซ้ำกันการเข้าถึงข้อมูลที่มีชื่อซ้ำกัน • ในบางครั้งข้อมูลของ QueryString ที่ได้มีหลายค่าแต่มีชื่อเดียวกัน ดังเช่นhttp://www.sut.ac.th/login.asp?sw=Word&sw=Excel&sw=Access • Request.QueryString(“sw”) จะได้ Word, Excel, AccessRequest.Querystring(“sw”).Count จะได้ 3Request.Querystring(“sw”)(1) จะได้ WordRequest.Querystring(“sw”)(2) จะได้ ExcelRequest.Querystring(“sw”)(3) จะได้ Access

  24. Form และ Form Collections • วัตถุประสงค์หลักของ Form และ Form Collections จะเหมือนกับของ QueryString คือ การที่จะช่วยให้สามารถส่งข้อมูลจากบราวเซอร์ไปยังเว็บเซิร์ฟเวอร์ และเมื่อข้อมูลถึงเว็บเซิร์ฟเวอร์จะช่วยให้สามารถนำข้อมูลที่ส่งมาไปใช้งาน • Formคือ HTML Element ที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ ช่วยในการติดต่อกับผู้ใช้

  25. Form Collectionคือที่ใช้เก็บข้อมูลจากคอนโทรลต่าง ๆ เช่น TextBox, CheckBox, Option Buttons, Lists, Hidden Fields, Text Area และ Image ที่ถูกส่งมาจาก Form ของบราวเซอร์ที่ใช้เมธอด POST เมื่อผู้ใช้คลิกที่ปุ่ม Submit ของ Form • การใช้งานจะเหมือนกับ QueryString เพียงแต่เปลี่ยนจาก QueryString มาเป็น Form แทน ดังเช่นRequest.Form(“sw”)

  26. ServerVariables Collection • ข้อมูลที่ถูกส่งไปมาระหว่างบราวเซอร์กับเว็บเซิร์ฟเวอร์ ได้แก่ HTTP Request Messageและ HTTP Response Message • การที่จะต้องการจะทราบว่ามีข้อมูลอะไรบ้างใน HTTP Header ของ HTTP Request/Response Message สามารถเรียกใช้ ServerVariables Collection โดยเป็นคอลเลคชันของ Request ออบเจกต์ • ข้อมูลส่วนใหญ่ที่อยู่ใน ServerVariables มีไว้เพื่อทราบ แต่บางครั้งก็อาจมีความจำเป็นต้องใช้งาน เช่น แสดงค่าบราวเซอร์ที่ใช้Request.ServerVariable(“HTTP_USER_AGENT”)

  27. Response Object • Redirect เมธอด เป็นการส่งคำสั่งให้บราวเซอร์ เพื่อสั่งให้บราวเซอร์เปลี่ยนไปอ่านเว็บเพจอื่นที่ระบุในคำสั่ง เช่นResponse.Redirect “LoginOK.asp”

  28. Buffer • Buffer จะทำหน้าที่เก็บข้อมูล HTML Response Message ในส่วน HTML Header และ HTML Body หรือที่เรียกว่า Page Output ก่อนที่ข้อมูลทั้งสองส่วนจะถูกส่งจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ไปยังบราวเซอร์ • สำหรับ ASP Page ทั่ว ๆ ไป ข้อมูลใน Buffer จะประกอบไปด้วย 3 ส่วน ได้แก่ • ข้อมูลในส่วนของ HTML Header • ข้อมูล Static HTML Text • ข้อมูล HTML Text ที่เกิดจากการรัน ASP Script Code ในส่วนต่าง ๆ

  29. Buffer พรอพเพอร์ตี้ • เป็นค่าที่กำหนดการควบคุมข้อมูลที่อยู่ใน Buffer ของเว็บเซิร์ฟเวอร์ว่าจะถูกควบคุมด้วย ASP Script หรือไม่ (True หรือ False) • รูปแบบ<% Response.Buffer = true หรือ false %> • ค่า default ของ Buffer พรอเพอร์ตี้ ของ ASP 3.0 มีค่าเป็น True ส่วน ASP 2.0 จะต้องกำหนดค่าก่อน

  30. Flush เมธอด • เป็นการสั่งให้ส่งข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน buffer ไปยังบราวเซอร์ได้ทันที<% Response.Flush %>

  31. Clear เมธอด • เป็นการสั่งให้ลบข้อมูลทั้งหมดที่อยู่ใน Buffer<% Response.Clear %>

  32. End เมธอด • เป็นการสั่งให้หยุดทำการประมวลผล ASP Page และทำการส่งข้อมูลทั้งหมดที่มีอยู่ใน Buffer ขณะนั้นไปยัง บราวเซอร์<% Response.End %>

  33. Cookies • คือเท็กซ์ไฟล์ที่เก็บข้อมูลที่เว็บเซิร์ฟเวอร์สร้างและส่งไปให้บราวเซอร์ โดยเท็กซ์ไฟล์นี้จะถูกเก็บอยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บราวเซอร์ หลังจากนั้น ๆ ทุก ๆ ครั้งที่บราวเซอร์ทำการส่งคำร้องไปขอเว็บเพจจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่สร้าง Cookies บราวเซอร์จะทำการส่ง Cookies ของเว็บเซิร์ฟเวอร์นั้น ๆ ไปพร้อมกันด้วย

  34. Cookies Collection • สำหรับ Requestคือ ที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ของ cookies ที่บราวเซอร์ส่งไปให้เว็บเซิร์ฟเวอร์ ในขณะที่บราวเซอร์ส่งคำร้องของเว็บเพจไปที่เว็บเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งสามารถเขียนคำสั่งนำข้อมูลมาใช้งานได้ • สำหรับ Responseคือ ข้อมูลที่ส่งจากเว็บเซิร์ฟเวอร์ไปให้บราวเซอร์เพื่อทำการสร้าง Cookies แล้วเก็บเป็นเท็กซ์ไฟล์ไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้บราวเซอร์ ซึ่งสามารถเขียนคำสั่งในการสร้างข้อมูลนี้ได้

  35. การเข้าถึงข้อมูลใน Cookies • รูปแบบRequest.Cookies(ชื่อของ Cookie)[(ชื่อของ key)|.attribute] • หมายเหตุเว็บเซิร์ฟเวอร์จะสามารถเข้าถึงได้เฉพาะ Cookies ที่มันสร้างเท่านั้น มันจะไม่สามารถเข้าถึง Cookies ที่เว็บเซิร์ฟเวอร์อื่นสร้าง

  36. การสร้าง Cookies • รูปแบบResponse.Cookies(ชื่อของ Cookie)[(ชื่อของ key)|.attribute] = value

  37. Haskeys Attribute • คือค่าที่เป็นตัวกำหนดว่า Cookies นั้น ๆ จะมี Key หรือไม่ (True/False)

  38. Expires Attribute • คือค่าที่ใช้ในการกำหนดอายุของ Cookie ว่าจะให้อยู่ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของบราวเซอร์เป็นระยะเวลานานเท่าไรResponse.Cookies(“LoginSave”).Expires = Date + 30 Response.Cookies(“LoginSave”).Expires = #1/1/2003#

  39. การลบ Cookies • ทำได้โดยการกำหนดค่าของ Expires Attribute ให้เป็นวันที่ก่อน หน้าวันปัจจุบัน ดังเช่น Response.Cookies(“LoginSave”).Expires = Date -1

More Related