420 likes | 539 Views
โครงการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช. บทบาทของกระทรวงสาธารณสุข. 1. ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ. ๑. พัฒนา/ปรับปรุงโรงพยาบาล สถานบำบัดรักษา รพ.สต. ให้สามารถรองรับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ในระบบสมัครใจ
E N D
โครงการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราชโครงการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช
บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข 1. ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ ๑. พัฒนา/ปรับปรุงโรงพยาบาล สถานบำบัดรักษา รพ.สต. ให้สามารถรองรับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ในระบบสมัครใจ ๒. เตรียมความพร้อมของบุคลากร สถานที่ ในการรองรับผู้เสพเข้าค่าย/ระบบสมัครใจ ๓. พัฒนาประสิทธิภาพการายงานข้อมูลผู้เข้าบำบัดฯ ผ่านระบบรายงาน บสต. ทั้งหน่วยงานในสังกัดสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ๔. มอบหมายให้บุคลากรสังกัดสาธารณสุขสนับสนุนการดำเนินงานอำนวยการด้านการบำบัดรักษาฯในทุกพื้นที่และสนับสนุนงบประมาณในการนำผู้เสพเข้าค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
บทบาทของกระทรวงสาธารณสุขบทบาทของกระทรวงสาธารณสุข 2. ยุทธศาสตร์การปลุกพลังแผ่นดินและการป้องกัน ๖. ควบคุมสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์ ที่อาจจะนำมาใช้ในการผลิตยาเสพติด ๗. การดูแลรักษาและทำลายยาเสพติดให้โทษของกลางเพื่อมิให้รั่วไหลกลับคืนสู่สังคม ๘. การเฝ้าระวังวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์มิให้ถูกนำไปใช้นอกวัตถุประสงค์หรือนำไปใช้ร่วมกับยาเสพติด ๕. สนับสนุนโครงการ TO BE NUMBER ONE 3. ยุทธศาสตร์การควบคุมตัวยาและสารเคมี
แผนงานที่ ๒ แผนการแก้ไขปัญหายาผู้เสพ/ผู้ติด (Demand) • เป้าหมายผลผลิต (output) ๑) บำบัดรักษาผู้เสพยาเสพติด ประมาณ ๗,๕๒๙ คน จำแนกดังนี้ ๑.๑) บำบัดรักษาในระบบสมัครใจ และค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ประมาณ ๖,๒๑๑ คน ๑.๒) ในระบบบังคับบำบัด ประมาณ ๙๔๒ คน ๑.๓) ในระบบต้องโทษ ประมาณ ๓๗๖ คน ๒) ติดตามผู้เสพที่ผ่านการบำบัดรักษา ไม่ให้กลับมาเสพซ้ำอีก ร้อยละ ๘๐ ใน ๑ ปี จำนวน ๖๐๒๓
เป้าหมาย (input) • จัดตั้ง ๑ อำเภอ ๑ค่าย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม อำเภอละ ๑ ค่าย รวม ๒๓ ค่าย • จัดตั้งชุดวิทยากรค่ายฯครู ก. จำนวน ๑ ชุด • จัดตั้งชุดวิทยากรค่ายฯครู ข. อำเภอละ ๑ ชุดรวม ๒๓ ชุด • จัดให้มีศูนย์ข้อมูลด้าน Demand ระดับจังหวัด ๑ ศูนย์ ระดับอำเภอ ๒๓ ศูนย์ • จัดให้มีศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพฯ ในจังหวัดที่ยังไม่มีศูนย์ฟื้นฟูฯ (บังคับบำบัด) จำนวน ศูนย์
๑. ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพ 1.1 การค้นหา จูงใจให้ผู้เสพ/ผู้ติดเข้าบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ 1.๒ การจำแนกคัดกรอง ผู้เสพ ผู้ติด ผู้ติดรุนแรงและการส่งต่อ สู่การบำบัดฟื้นฟูฯ 1.๓ การบำบัดฟื้นฟูฯ 1.๔ การสำรวจคุณภาพชีวิตและความต้องการความช่วยเหลือ 1.๕ การติดตาม ดูแล ช่วยเหลือ ฟื้นฟูฯ และพัฒนาผู้ผ่าน การบำบัดฟื้นฟูฯ
ศักยภาพการบำบัดรักษาผู้เสพ/ติดยาเสพติดของจังหวัดนครศรีธรรมราชศักยภาพการบำบัดรักษาผู้เสพ/ติดยาเสพติดของจังหวัดนครศรีธรรมราช ระบบการบำบัดรักษา บังคับ ต้องโทษ สมัครใจ ระบบ หน่วยรับผิดชอบหลัก กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม ราชทัณฑ์(เรือนจำ) 3 แห่ง สถานพินิจฯ 1 แห่ง • คุมประพฤติ 2 แห่ง • (โปรแกรมบำบัดของกรมคุมประพฤติ) • โรงพยาบาล 19 แห่ง (Matrix Program) • โรงพยาบาลศูนย์ 1 แห่ง • โรงพยาบาลชุมชน 18 แห่ง • รพสต.251 แห่ง • (Matrix Program/ชุมชนบำบัดให้คำปรึกษา) จำนวนสถานบำบัด - ค่ายฝึกการรบพิเศษ / ค่ายวชิราวุธ / ค่ายศรีนครินทรา/ค่ายพลังแผ่นดิน 23 อำเภอ (จัดค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม/ค่ายบำบัดในชุมชน) • กองร้อย อสจ. 1 แห่ง • ค่ายวิวัฒน์พลเมือง 1 แห่ง • (บำบัดและฟื้นฟูแบบควบคุมตัว) องค์กรสนับสนุนภาคเอกชนและประชาชน (รับบำบัดแบบสมัครใจ) - วัด 2 วัด - คลินิก 1 แห่ง - มูลนิธิ 1 แห่ง หน่วยรับผิดชอบร่วม 7
เป้าหมายผู้เข้ารับการบำบัด จ.นศ.ปี 2555 7529 คน output สมัครใจ บังคับบำบัด ต้องโทษ ผู้เสพ 6011 คน ผู้ติด 200 คน 942 คน 376 คน ผู้ป่วยนอก200 คน • กห. • ยธ. • มท. • สตช. • ก.แพทย์ • ก.สุขภาพจิต • ก.ราชทัณฑ์ • ก.พินิจฯ 23 อำเภอ “1 อำเภอ 1 ศูนย์ฟื้นฟู” • สธ. 19 แห่ง • กห .2 แห่ง • มท. • กห. • วัด/มัสยิด • ศธ.(ค่ายลูกเสือ) • สตช. • กทม. ผู้ป่วยใน10 คน • ก.แพทย์ 7 แห่ง • ก.สุขภาพจิต 13 แห่ง ค่ายพลังแผ่นดิน 9 วัน 23อำเภอๆ input ติดตาม 1 ปี โดย อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) การเตรียมการ 1.อบรมทีมวิทยากรประจำค่าย 23 อำเภอๆละ 10 คน =230 คน 2.ปรับปรุงสถานที่ 23อำเภอ 3.อบรมอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน (อสม.) เชี่ยวชาญยาเสพติดเพื่อการติดตามและเฝ้าระวัง จำนวน 800 คน
โครงการอบรมวิทยากรค่ายพลังแผ่นดินโครงการอบรมวิทยากรค่ายพลังแผ่นดิน จำนวนวิทยากรผู้ผ่านการอบรม 200คน
การบำบัดรูปแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้เสพการบำบัดรูปแบบค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้เสพ (ค่ายพลังแผ่นดิน ตามนโยบาย 1 อำเภอ/ค่าย ปี 2555) เปิดค่ายบำบัด ใน 23 อำเภอ จำนวน 80ค่าย ผู้ผ่านการบำบัด 6,446คน=103.78%
ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่สาธารณสุข ตำรวจ ผู้นำชุมชน หรือ คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้แทนสถานศึกษา อบต. ฝ่ายปกครอง พัฒนาชุมชน ผู้แทนด้านการฝึกอาชีพและการจัดหางาน ทีมบำบัดสหวิชาชีพระดับอำเภอ โดยมีนายอำเภอเป็นผู้อำนวยการค่าย
โครงการอบรมวิทยากรค่ายติดตามผู้ผ่านการบำบัดโครงการอบรมวิทยากรค่ายติดตามผู้ผ่านการบำบัด อาสาสมัคร อสม.ผ่านการอบรม 1000 คน จาก 23 อำเภอ
ให้ความรู้เกี่ยวกับ โรคสมองติดยา บทบาท ในการติดตาม ผู้ผ่านการบำบัดในชุมชน
โครงการพัฒนาระบบและแนวทางการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช โครงการพัฒนาระบบและแนวทางการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราช
ผลการดำเนินการตามเป้าหมายผลการดำเนินการตามเป้าหมาย จากระบบรายงาน บสต 20 สค.55
ผลการดำเนินงานตามตัวชี้วัด(1 ตค. 54 - 31สค.55) ที่มา ระบบรายงาน บสต (31 สค.55) 16
โครงการพัฒนาระบบการติดตามช่วยเหลือผู้ผ่านการบำบัดปีงบประมาณ ๒๕๕๕ • พัฒนาศักยภาพบุคลากรประจำศูนย์ข้อมูลจังหวัด • พัฒนาเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล • พัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูล • พัฒนาศักยภาพบุคลากรในการติดตามช่วยเหลือ • พัฒนาระบบการตรวจสอบการปฏิบัติงานในพื้นที่
การพัฒนาศักยภาพบุคลากรการพัฒนาศักยภาพบุคลากร จัดอบรมบุคลากรในหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือดูแลสมาชิกผู้ป่วยยาเสพติดที่ผ่านการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพในชุมชน จัดอบรม อสม . อสค. แกนนำอาสาสมัครในชุมชน การจัดตั้งศูนย์การช่วยเหลือแบบครบวงจร ประชุมชี้แจงแนวทางการจัดตั้งศูนย์และการช่วยเหลือแบครบวงจร จัดตั้งศูนย์การช่วยเหลือแบบครบวงจร รูปแบบ/กิจกรรมด้านการติดตาม กลุ่มปัญญาสังคม การเยี่ยมบ้าน กลุ่มติดตามในชุมชน และสถานบริการ กิจกรรมตามแนวทางการติดตามของ สธ. 18
ปัจจัยของความสำเร็จ 1. ด้านผู้ให้การบำบัด - องค์ความรู้ - ความเชื่อมั่นในตนเอง - ทัศนคติต่อผู้เสพยาเสพติด และต่อบริการปรึกษา - การพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องทั้งด้านทักษะในการให้บริการ และการแลกเปลี่ยนประสบการณ์เรียนรู้
2. ด้านการได้รับการสนับสนุน - ผู้บริหารให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินงาน - การขยายเครือข่ายการบำบัดดูแลรักษาและการติดตามประเมินผล - ระบบการส่งต่อ เพื่อการบำบัดรักษา และหรือเพื่อการติดตามประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ
ผลการดำเนินงานด้านการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด โครงการTO BE NUMBER ONE 1. ผู้ที่มีอายุ ๑๐-๒๔ ปี ทั้งหมด ๓๓๗,๒๔๙ คน เป็นสมาชิก ๒๒๙,๖๓๐ คน คิดเป็นร้อยละ ๖๘.๐๘ 2. จำนวนอำเภอที่มีชมรม TO BE NUMBER ONE และดำเนินงาน ศูนย์เพื่อนใจฯ ตามเกณฑ์ที่กำหนด ๑๓ อำเภอ ร้อยละ ๕๒.๑๗ (๑๙ ศูนย์/๑๓ อำเภอ)
โครงการพัฒนาการจัดตั้งศูนย์เพื่อนใจTO BE NUMBER ONE ๒๕๕๕
การควบคุมสารตั้งต้น/ตัวยาที่เป็นส่วนประกอบสารเสพติดการควบคุมสารตั้งต้น/ตัวยาที่เป็นส่วนประกอบสารเสพติด • ยาแก้ไอ (ส่วนผสมน้ำต้มกระท่อมหรือสี่คูณร้อย) การดำเนินการ - ประชุมคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหายาแก้ไอ (ศพส.จ.นศ) • แจ้งขอความร่วมมือจากร้านขายยาตามประกาศกระทรวง • การตรวจสอบเฝ้าระวังควบคุมวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทในคลินิก และร้านขายยา • ตรวจสอบบัญชี รับ- จ่าย • ดำเนินการตาม พรบ.ยา พ.ศ. 2510
การดำเนินงานแบบบูรณาการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕
ยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษายุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษา • การทำงานแบบบูรณาการ ผลการดำเนินงาน - ใช้กลไกตามคำสั่ง ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ 2/ 2555 - แต่งตั้งคณะอนุกรรมการด้านต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งอนุกรรมการ ศพส.จ.นศ ด้านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด - แต่งตั้งให้นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นประธาน และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดทุกระบบ ร่วมเป็นคณะกรรมการ มีภารกิจดังนี้ 1) จัดทำข้อมูลผู้เสพสารสารเสพติดของจังหวัดและผู้เสพ / ผู้ติดที่ผ่านการบำบัดเป็นฐานข้อมูลร่วม 2) รณรงค์ประชาสัมพันธ์โดยใช้แนวทางสร้างความรัก ความเมตตา ความห่วงใยให้โอกาสผู้เสพกลับตัวเป็นคนดี ให้เกิดกระแสสังคมให้นำผู้เสพซึ่งคือผู้ป่วย เข้ารับการบำบัดในระบบสมัครใจ
3) เตรียมความพร้อมของสถานบำบัดรักษาให้สามารถรองรับปริมาณผู้เสพที่เข้ารับการบำบัดในระบบสมัครใจวางแนวทางในการค้นหา คัดกรอง และนำผู้เสพเข้าบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ ตลอดจนแนวทางในการแสวงหาข้อมูล และความต้องการความช่วยเหลือ 4) ประสานเร่งรัดให้มีศูนย์ฟื้นฟู สำหรับผู้เสพในระบบบังคับบำบัด 5) กำหนดแนวทางในการติดตามดูแล ช่วยเหลือ ฟื้นฟูและพัฒนาผู้ผ่านการบำบัดทุกระบบอย่างครบวงจร 6) รายงานผลการปฏิบัติงาน พร้อมปัญหาอุปสรรค แนวทางแก้ไขให้ ผอ. ศพส.จ.นศ และที่ประชุมคณะกรรมการ ศพส.จ.นศ ทราบทุกระยะและทุกเดือน 7) สนับสนุนให้มีค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในทุกอำเภอ และวางแนวทางในการพัฒนาวิทยากรค่ายปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 8) ปฏิบัติหน้าที่อื่นๆสนับสนุนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน 9) คณะกรรมการระดับจังหวัดจึงมีการบูรณาการอย่างชัดเจน ส่วนในระดับอำเภอใช้กลไก คำสั่ง ศพส.อ. เป็นหลักในการบริหารจัดการระดับอำเภอในภารกิจด้านต่างๆ ดำเนินการภายใต้กรอบแนวทางนโยบายของจังหวัด ให้บรรลุเป้าหมายตามข้อตกลงร่วมกัน
2. การพัฒนาศักยภาพบุคลากรจากหน่วยงานอื่น เพื่อเพิ่มจำนวนวิทยากรประจำค่ายและเน้นการมีส่วนร่วมในการร่วมทำค่าย ผลการดำเนินงาน สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยวิทยากรครู ก. ที่รับการฝึกอบรมจากสถาบันธัญญารักษ์ จัดกิจกรรมการฝึกอบรมวิทยากรค่ายพลังแผ่นดิน (วิทยากรครู ข.) ให้กับบุคลากรสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงศึกษาธิการ พัฒนาสังคมฯ ตำรวจ ทหาร รวมถึงภาค เอกชน อาสาสมัครต่างๆ ครอบคลุมทุกอำเภอ อำเภอละ 10 คนรวม 230 คน เพื่อพัฒนาศักยภาพให้สามารถเป็นวิทยากรค่ายพลังแผ่นดิน ตามนโยบาย 1 ค่าย/1 อำเภอ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดประสานรายชื่อผู้ผ่านการอบรมให้ ศพส.อ.ทุกอำเภอแต่งตั้งให้ผู้ผ่านการอบรมเป็นวิทยากรค่ายพลังแผ่นดินของแต่ละอำเภอ
3. การค้นหาผู้เสพ/ผู้ติด เพื่อเข้าสู่ระบบการบำบัดฟื้นฟู ควรทำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้บรรลุเบ้าหมายของจังหวัด ผลการดำเนินงาน จังหวัดสั่งการให้ทุกอำเภอดำเนินการค้นหาผู้เสพ/ผู้ติดในพื้นที่ เพื่อเข้าสู่กระบวนการบำบัดให้ได้ตามเป้าหมาย และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้กลไกบุคลากรในระดับพื้นที่ดำเนินการ เช่นในหมู่บ้านชุมชน คือผู้ประสานพลังแผ่นดิน อาสาสมัครสาธารณสุข ตำรวจชุมชน ผู้นำชุมชน ส่วนในสถานศึกษาให้ผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินการคัดกรองอย่างต่อเนื่อง จำแนกกลุ่มนักเรียนนักศึกษาตามประเด็นความเสี่ยง และปัญหา และรายงานผลการดำเนินการให้จังหวัดทุกเดือน
4. การเตรียมความพร้อมของครอบครัวเพื่อให้เข้าใจธรรมชาติของผู้เสพ/ผู้ติด ได้เรียนรู้แนวทางการดูแลและติดตามหลังการบำบัด ผลการดำเนินงาน เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนทุกระดับในการให้การช่วยเหลือผู้เสพตามแนวนโยบายผู้เสพคือผู้ป่วย อย่างต่อเนื่องในทุกช่องทาง และให้ครอบครัวเข้าร่วมกิจกรรมบำบัดตามแผนการบำบัด ในทุกระบบ
5. การดำเนินงานโครงการติดตาม ผู้ผ่านการบำบัดฯ โดยกำหนดให้อสม. ในพื้นที่เป็นผู้ติดตาม ผลการดำเนินงาน 1.จัดการฝึกอบรมวิทยากรติดตามผู้ผ่านการบำบัดครอบคลุมทุกอำเภอ ๆ ละ 10 คน โดยมี อสม.246เข้ารับการพัฒนาศักยภาพเพื่อสามารถเป็นวิทยากรในการจัดกิจกรรมการติดตาม โดยใช้กลุ่มปัญญาสังคมได้ หลังการอบรมจบจังหวัดประสานรายชื่อผู้ผ่านการอบรมให้ ศพส.อ.ทุกอำเภอแต่งตั้งให้ผู้ผ่านการอบรมเป็นผู้ติดตามผู้ผ่านการบำบัด และแจ้งภารกิจในการติดตาม ระบบรายงานการติดตาม ศูนย์ข้อมูลอำเภอจัดทำทะเบียนข้อมูลผู้ทำหน้าที่ติดตามของทุกอำเภอ 2. จัดอบรม อสม 500 คน และบุคลากร รพ.สต 250 คน เพื่อติดตามผู้ผ่านการบำบัดครอบคลุมทุกอำเภอ
6. มีระบบการส่งต่อ และระบบการรายงานข้อมูลที่ชัดเจน โดยเน้นระบบรายงาน บสต ในทุกหน่วยที่รับผู้ป่วย ผลการดำเนินงาน - จัดระบบของศูนย์ข้อมูลด้านการบำบัดของจังหวัด ให้เป็นระบบมากขึ้น โดยจัดตั้ง เป็นศูนย์ข้อมูลด้านการบำบัดและช่วยเหลือแบบครบวงจร - การพัฒนาระบบรายงาน ระบบติดตาม และเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด ปี 2555 - ตั้งคณะทำงานพัฒนาระบบข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แห่ง ละ 1 คน - จัดการประชุมเพื่อร่วมกำหนดแบบรายงานในการดำเนินการด้านการบำบัดและการ ติดตามช่วยเหลือร่วมกันนั้น สรุปให้ใช้เครื่องมือในการเก็บข้อมูลดังนี้ 1) แบบรายงาน บสต.1-5 2) แบบสรุปข้อมูลผู้ผ่านการบำบัด 3) บัตรประจำตัวผู้ผ่านการบำบัดเพื่อการติดตาม
๗. การตรวจซ้ำ ในรายที่สงสัยว่ามีพฤติกรรมเสี่ยงเป็นระยะๆ และบูรณาการ ร่วมกับฝ่ายปราบปรามเพื่อการเฝ้าระวัง ผลการดำเนินงาน จังหวัดสั่งการให้ทุกอำเภอดำเนินการค้นหาผู้เสพ/ผู้ติด ในพื้นที่เพื่อเข้าสู่ กระบวนการบำบัดให้ได้ตามเป้าหมาย และดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ กลไกบุคลากรในระดับพื้นที่ดำเนินการ เช่น ในหมู่บ้าน ชุมชน คือผู้ประสาน พลังแผ่นดิน อาสาสมัครสาธารณสุข ตำรวจชุมชน ผู้นำชุมชน ในสถานศึกษา มีการดำเนินการโดยกลุ่มสารวัตรนักเรียน
ยุทธศาสตร์ด้านป้องกันและแก้ไขยาเสพติดยุทธศาสตร์ด้านป้องกันและแก้ไขยาเสพติด 8. การจัดประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานโครงการ TO BE NUMBER ONE เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติงาน งบประมาณ แบบบูรณาการจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการฯ อย่างต่อเนื่อง • ผลการดำเนินงาน • ๑.โครงการ TO BE NUMBER ONE ได้มีการจัดประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัดในปี ๒๕๕5 จำนวน ๑ ครั้ง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ที่ประชุมมีแผนการดำเนินงานในปี 55 คือ • ติดตามผลการดำเนินงานโครงการ TO BE NUMBER ONE ในการประชุม ศพส.จจัดค่ายเยาวชนแกนนำTO BE NUMBER ONE เพิ่มจำนวน 2 อำเภอ • เร่งรัดการดำเนินการอำเภอ TO BE NUMBER ONE • เพิ่มจำนวน สมาชิก และชมรม ในสถานประกอบการและในชุมชน • ส่งประกวดจังหวัดTO BE NUMBER ONE ในปี 2556
ข้อดี • นโยบายชัดเจน มีการบูรณาการจากทุกภาคส่วน • เป้าหมายเชิงปริมาณชัดเจน • การทำMOU เกิดภารกิจร่วมทุกระดับ/เกิดกลไก/ เกิดการบริหารจัดการ • ทุกพื้นที่มีการดำเนินการพร้อมกันทำให้ลดปริมาณผู้เสพ • มีการสนับสนุนงบฯจากแหล่งงบประมาณหลายแหล่ง • สร้างกระแสทางสังคม • ได้รู้ข้อดี และข้อจำกัดของแต่ละพื้นที่ • ได้สถานที่ ทีมวิทยากร และบุคคล ที่มีศักยภาพของแต่ละอำเภอ • พัฒนาระบบงานเดิม
ปัญหา อุปสรรค ด้านการดำเนินงานยาเสพติด 1) การจัดสรรงบประมาณการทำค่ายพลังแผ่นดินผ่านทางท้องถิ่น ทำให้ทุกอำเภอมุ่งเน้นการนำผู้เข้าค่ายให้ได้ตามเป้าหมาย โดยขาดการคัดกรองที่มีคุณภาพ 2) เกณฑ์การคัดกรองไม่ละเอียดพอที่จะใช้แยกสภาพผู้ป่วยว่าเป็นผู้เสพในระดับใด หรือผู้ติดระดับใด ทำให้รูปแบบการบำบัดที่ไดรับไม่เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย 3) เกิดความซ้ำซ้อนของผู้เข้าบำบัดในรูปแบบค่ายพลังแผ่นดิน ซึ่งบางส่วนมาจากผู้ป่วยในระบบบังคับบำบัดอยู่แล้ว 4) กลไกการดำเนินงานทั้งการคัดกรอง บำบัด และติดตามในระดับอำเภอ ยังไม่ชัดเจน และยังดำเนินงานไม่ครอบคลุมทุกภารกิจ
ปัญหา อุปสรรค ด้านการดำเนินงานยาเสพติด 5) ผู้เสพผู้ติดยาเสพติดไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ป่วย ทำให้ไม่ได้รับโอกาสในการเข้ารับการบำบัด ผู้ผ่านการบำบัดรักษาไม่ได้รับการยอมรับและการช่วยเหลือจากสังคม ชุมชนตามสภาพปัญหาที่เพียงพอ 6) งบประมาณ ไม่เพียงพอกับการดำเนินงานของทุกหน่วย 7) จังหวัดขาดสถานที่รองรับผู้ป่วยติดยาเสพติด ที่มีอาการทางจิต ต้องส่งต่อจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องกาเดินทางค่าใช้จ่ายในการส่งต่อ และหน่วยรับส่งต่อไม่สามารถรับผู้ป่วยได้ 8) ชุดตรวจปัสสาวะไม่เพียงพอกับภาระกิจการบำบัดและการติดตามจากเป้าหมายที่จังหวัดต้องดำเนินการ โดยเฉพาะในระยะแรก งบประมาณมาช้ากว่าการปฏิบัติงานตามแผน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย
ข้อเสนอแนะ • ปรับเกณฑ์การคัดกรองต้องมีความละเอียดพอในการจำแนกระดับความรุนแรงของผู้ป่วย • รายชื่อผู้ป่วยที่จะต้องเข้าสู่ระบบการบำบัดต้องมาจากการประชาคมของหมู่บ้านตำบลอย่างแท้จริง มีการเตรียมครอบครัว และเยาวชนอย่างชัดเจนก่อนนำเข้าค่ายบำบัด • การจัดโครงสร้างกลไกการดำเนินงาน ด้าน Demand ต้องชัดเจนทุกระดับโดยการรวมผู้ปฏิบัติงานในรูปคณะกรรมการ แบบสหวิชาชีพ และมีงบประมาณในการพัฒนาบุคลากรที่ทำหน้าที่จากส่วนกลาง
ข้อเสนอแนะ ๔) งบประมาณด้านการบำบัดทุกระบบที่เป็นเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข ควรจัดให้หน่วยงานสาธารณสุขและครอบคลุมภารกิจ ตั้งแต่การคัดกรอง บำบัดและติดตามหลังการบำบัด ๕) กำหนดสถานที่รองรับการบำบัดตามความรุนแรงของผู้เข้ารับการบำบัดให้ชัดเจนและเพียงพอทุกพื้นที่มีการบูรณาการระบบการนำเข้าข้อมูลที่ชัดเจน 6) การสนับสนุนการดำเนินงานจากส่วนกลางควรรวดเร็วและทันเวลากับแผนการดำเนินงานในระดับท้องถิ่น และควรชี้แจงแนวทางการปฏิบัติและการใช้งบประมาณให้เข้าใจตรงกันทุกหน่วยงานที่ต้องบูรณาการร่วมกัน
แนวทางการดำเนินงานเพื่อพัฒนางานโครงการ TO BE NUMBER ONE ๑. กำหนดแผนการประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัด ปีละ 3 ครั้ง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน เพื่อให้การบริหารงานเกิดประสิทธิภาพ นำไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่และเกิดสัมฤทธิ์ผลเป็นรูปธรรมซึ่งในปี ๒๕๕๕ จังหวัดจัดประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัด จำนวน ๑ ครั้ง โดยผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธาน ๒. เสนอผลงานด้านการป้องกันตามโครงการ TO BE NUMBER ONE เข้าประชุมในการประชุม ศพส.จ.นศ 3. จัดทำแผนการดำเนินงานโดยบูรณาการงบประมาณจากทุกภาคส่วน 4. ให้ทุกหน่วยงาน เร่งรัดการขยายจำนวนสมาชิกและการจัดตั้งชมรม รวมถึงการรายงานผลงานที่สะท้อนให้เห็นผลที่เกิดจากการณรงรงค์ป้องกันอย่างเป็นรูปธรรม เน้นที่สถานประกอบการชุมชนต้องจัดตั้งชมรม TO BE NUMBER ONE และศูนย์เพื่อนใจTO BE NUMBER ONE ตามเกณฑ์ที่กำหนด เนื่องจากมีผลงานในระดับต่ำ
จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ