1 / 61

การประกันภัยความรับผิด Liability Insurance

การประกันภัยความรับผิด Liability Insurance. โดย เลิศชาย ประภาศิริรัตน์. 14/03/2553. Liability Insurance.

Download Presentation

การประกันภัยความรับผิด Liability Insurance

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. การประกันภัยความรับผิดการประกันภัยความรับผิด Liability Insurance โดย เลิศชาย ประภาศิริรัตน์ 14/03/2553

  2. Liability Insurance จะเป็นกรมธรรม์ที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดตามกฎหมายของผู้เอาประกันภัยต่อผู้อื่น เป็นเหตุให้บุคคลภายนอกเสียชีวิต บาดเจ็บ และความเสียหายต่อทรัพย์สิน ซึ่งรวมถึงค่าใช้จ่าย และค่าธรรมเนียนในการต่อสู้คดีความต่าง ๆ ในทางแพ่ง

  3. ข้อกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดจากการละเมิดข้อกฎหมายเกี่ยวกับความรับผิดจากการละเมิด มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิ อย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น มาตรา 421 การใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่บุคคลอื่นนั้น ท่านว่าเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย

  4. ความประมาทเลินเล่อ (Negligence) ประมาทเลินเล่อคือ การกระทำโดยไม่จงใจแต่ไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรที่จะกระทำ การกระทำโดยประมาท ได้แก่ การกระทำความผิดมิใช่โดยเจตนา แต่กระทำโดยปราศจากความระมักระวัง เช่นว่าบุคคลในภาวะเช่นนี้จำต้องมีวิสัยและพฤติการณ์ และผู้กระทำอาจใช้ความระมัดระวังเช่นว่านั้นได้ แต่หาได้ใช้เพียงพอไม่ การกระทำประมาทเลินเล่อ(Negligence Act) คือ การกระทำผิดวิสัยของวิญญูชน ที่ปรกติของวิญญูชนที่ใช้ความระมัดระวังในพฤติการณ์ วิชาชีพ กิจการ คุณวุฒิ วัยวุฒิ พึงกระทำ วิสัยวิญญูชน คือ การที่บุคคลที่อยู่มลภาวะนั้นๆ ควรจะมีความระมัดระวังระดับใด

  5. ละเมิด (Tort) การกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายเป็นเหตุให้เขา (ผู้ถูกกระทำ) เสียหายแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี กฎหมายถือว่าผู้นั้นทำละเมิดจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการละเมิดนั้น

  6. ละเมิดต้องประกอบด้วยหลัก 3 ประการ 1 กระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย ซึ่งหมายถึงการประทุษกรรม กระทำต่อบุคคลโดยผิดกฎหมาย ด้วยอาการฝ่าฝืนต่อกฎหมายที่ห้ามไว้ หรือละเว้นไม่กระทำในสิ่งที่กฎหมายบัญญัติให้กระทำหรือตนมีหน้าที่ตามกฎหมายจะต้องกระทำโดยจงใจหรือประเมินเลินเล่อ เป็นต้นว่า ฆ่าเขาตาย, ทำร้ายร่างเขา, ขับรถโดยประมาท ชนคนตายและทรัพย์สินของเขาเสียหาย ฯลฯ 2 กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กระทำโดยจงใจ คือการกระทำโดยรู้สำนึกและในขณะเดียวกันก็รู้ว่าจะทำให้เขาเสียหาย เช่น เจตนาฆ่าเขา หรือเจตนาทำร้ายเขา ฯลฯ 3 ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย โดยปกติผู้กระทำย่อมต้องรับผิดชอบเฉพาะการกระทำของตน แต่อย่างไรก็ดีในเรื่องละเมิดถ้าได้มีการกระทำละเมิดร่วมกัน หรือแม้มิได้ร่วมแต่เป็นผู้ยุยงส่งเสริมหรือช่วยเหลือในการกระทำละเมิด ดังนี้ บุคคลเหล่านั้นจะต้องร่วมกันรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น

  7. อายุความ • ต้องใช้สิทธิเรียกร้องภายใน ๑ ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึง การละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงใช้ค่าสินไหมทดแทน 2. อย่างไรก็ตามห้ามเกิน ๑๐ ปี นับแต่วันทำละเมิด

  8. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การประกันภัยค้ำจุน เป็นวินาศภัยอย่างหนึ่ง ซึ่งมิได้มีวัตถุแห่งการประกันภัยเป็นตัวทรัพย์สินโดยตรง แต่เป็นความรับผิด ซึ่งผู้เอาประกันภัยต้องชำระหนี้แก่ผู้อื่น ซึ่งเป็นความเสียหายที่สามารถประมาณเป็นเงินได้ ภายใต้ การประกันภัยค้ำจุน นั้นจะมีข้อบังคับบัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๘๘๗ และ ๘๘๘

  9. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ตามมาตรา ๘๘๗ บัญญัติว่า “ อันว่าประกันภัยค้ำจุนนั้นคือสัญญาประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยตกลงว่าจะใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัย เพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นแก่บุคคลอีกคนหนึ่งและซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบ บุคคลผู้ต้องเสียหายชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้รับนั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนเงินอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่ นคดีระหว่างผู้เสียหายกับผู้รับประกันภัยนั้น ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วย อนึ่ง ผู้รับประกันภัย แม้จะได้ส่งเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว ก็ยังหาหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุคคลผู้ต้องเสียหายนั้นไม่ เว้นแต่ตนจะพิสูจน์ได้ว่าค่าสินไหมทดแทนนั้นผู้เอาประกันภัยได้ใช้ให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว”

  10. ตามมาตรา ๘๘๘ บัญญัติว่า “ถ้าค่าสินไหมทดแทนอันผู้รับประกันภัยได้ใช้ไปโดยคำพิพากษานั้นยังไม่คุ้มค่าวินาศภัยเต็มจำนวนไซร์ ท่านว่าผู้เอาประกันภัยก็ยังคงต้องรับใช้จำนวนที่ยังขาด เว้นแต่บุคคลผู้ต้องเสียหายจะได้ละเลยเสียไม่เรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาสู่คดีด้วยดังกล่าวไว้ในมาตราก่อน” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

  11. ภัยที่รับเสี่ยงภายใต้การประกันภัยค้ำจุนภัยที่รับเสี่ยงภายใต้การประกันภัยค้ำจุน ภัยที่ผู้รับประกันภัยรับเสี่ยงหรือเงื่อนไขแห่งหนี้ทางฝ่ายผู้รับประกันภัยคือความรับผิดที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบในวินาศภัยที่เกิดขึ้นแก่ผู้อื่น ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยมูลหนี้ใดๆ ตามกฎหมาย ได้แก่ • สัญญา (Contract) • บทกฎหมายบัญญัติ (Statute) • ละเมิด (Torts)

  12. ละเมิด ในแง่ของกฎหมายแล้วละเมิดเป็น นิติเหตุ ที่ก่อให้ “สิทธิเกิดการเรียกร้อง” หรือ “หนี้” ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา ๔๒๐- มาตรา ๔๓๗ โดยในมาตรา ๔๒๐ ได้วางหลักเกณฑ์ละเมิดไว้ดังนี้ “ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ กระทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อานามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นกระทำผิด จำต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น”

  13. สิทธิของผู้เสียหายภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งฯสิทธิของผู้เสียหายภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งฯ บุคคลภายนอกที่ได้รับความเสียหายเพราะผู้เอาประกันภัยก่อวินาศภัยอันต้องรับผิดขึ้นนั้น ตามมาตรา ๘๘๗ วรรค ๒ บัญญัติว่า “ ชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนตามที่ตนควรจะได้รับนั้นจากผู้รับประกันภัยโดยตรง แต่ค่าสินไหมทดแทนเช่นว่านี้หาอาจจะคิดเกินไปกว่าจำนวนเงินอันผู้รับประกันภัยจะพึงต้องใช้ตามสัญญานั้นได้ไม่ นคดีระหว่างผู้เสียหายกับผู้รับประกันภัยนั้น ท่านให้ผู้ต้องเสียหายเรียกตัวผู้เอาประกันภัยเข้ามาในคดีด้วย อนึ่ง ผู้รับประกันภัย แม้จะได้ส่งเงินค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยแล้ว ก็ยังหาหลุดพ้นจากความรับผิดต่อบุคคลผู้ต้องเสียหายนั้นไม่ เว้นแต่ตนจะพิสูจน์ได้ว่าค่าสินไหมทดแทนนั้นผู้เอาประกันภัยได้ใช้ให้แก่ผู้ต้องเสียหายแล้ว”

  14. การรับช่วงสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯการรับช่วงสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ ในการประกันภัยค้ำจุนผู้เอาประกันภัยเป็นผู้ก่อวินาศภัยขึ้น ฉะนั้นผู้รับประกันภัยจะใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้เอาประกันภัยเองย่อมทำไม่ได้ แต่อาจมีกรณีที่ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนไปแล้ว อาจรับช่วงสิทธิของผู้รับประกันภัยได้เช่น กรณีที่คนใช้ของผู้เอาประกันภัยต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัยอาจไล่เบี้ยเอาจากคนใช้ของผู้เอาประกันภัยได้

  15. การกำหนดเกณฑ์ชดใช้ความเสียหายการกำหนดเกณฑ์ชดใช้ความเสียหาย เกณฑ์ที่ใช้ในการชดใช้ ความเสียหายหมายความรวมถึงความเสียหายโดยตรง(Direct Loss) และความเสียหายต่อเนื่อง(Consequential Loss) สำหรับความเสียหายต่อร่างกาย(Bodily Injury หรือ B.I.) และทรัพย์สิน (Property Damage หรือ P.D.) ในทางปฏิบัติอาจแยกวงเงินของความรับผิด(Limit of Liability) ออกจากกัน หรืออาจกำหนดให้รวมอยู่ในวงเงินเดียวกันเรียกว่า Combined Single Limit หรือ CSL

  16. ลักษณะสำคัญของกรมธรรม์ประเภท Claim Made การกำหนดขอบเขตของกรมธรรม์ว่า “ อุบัติเหตุจะต้องเกิดขึ้นในช่วงระยะเวลาเอาประกันภัยเราจะเรียกประเภทของกรมธรรม์ประเภทนี้ว่า เป็นแบบ Occurrence Policy หากกรมธรรม์ใดมีข้อกำหนดว่าจะต้องมีการแจ้ง Claim ก่อนกรมธรรม์จะมีผลบังคับ เราจะเรียกกรมธรรม์ประเภทนี้ว่าเป็นแบบ Claim Made Policy ลักษณะสำคัญของ Claim Made Policy ประกอบด้วย

  17. ลักษณะสำคัญของกรมธรรม์ประเภท Claim Made • จะต้องมีการแจ้ง Claim ในระหว่างที่กรมธรรม์มีผลบังคับ ผู้ที่แจ้งอาจเป็นบุคคลภายนอกหรือผู้เอาประกันภัยก็ได้ • กรมธรรม์จะไม่มีผลบังคับ หากผู้เอาประกันภัยรู้ก่อนแล้วว่ามีเหตุการณ์ที่จะ Claim ก่อนที่กรมธรรม์จะมีผลบังคับ • กรมธรรม์ที่หมดอายุแล้วไม่มีประโยชน์เหมือนกรมธรรม์แบบ Occurrence เพราะกรมธรรม์ไม่คุ้มครองหากไม่ได้แจ้ง Claim ก่อนกรมธรรม์หมดอายุ

  18. ประเภทของการประกันภัยความรับผิดประเภทของการประกันภัยความรับผิด • การประกันความรับผิดต่อสาธารณะชน(Public Liability Insurance หรือ Comprehensive General Liability Insurance) • การประกันภัยความรับผิดเนื่องจากวิชาชีพ(Professional Indemnity or Liability Insurance) • การประกันความรับผิดเนื่องจากผลิตภัณฑ์(Product Liability Insurance & Product Recall Insurance) • การประกันภัยความรับผิดต่อผลิตภัณฑ์ (Product Guarantee Insurance)

  19. ประเภทของการประกันภัยความรับผิดประเภทของการประกันภัยความรับผิด 5. การประกันความรับผิดของกรรมการและผู้บริหาร (Directors’ and Officers’ Insurance) 6. การประกันภัยความรับผิดเนื่องจากมลภาวะ (Pollution Liability Insurance) • การประกันความรับผิดสำหรับเจ้าของเรือ (Protection and Indemnity Insurance) • การประกันความรับผิดต่อบุคคลภายนอกส่วนบุคคล (Personal Liability Insurance)

  20. ประเภทของการประกันภัยความรับผิดประเภทของการประกันภัยความรับผิด 9. การประกันภัยความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่ง (Carrier Liability Insurance) 10. การประกันภัยความรับผิดของผู้ประกอบการขนส่งต่อเนื่อง(Multimodal Transport Operator Liability Insurance) 11. การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายอันเกิดจากการประกอบกิจการควบคุมประเภท 3 ตามพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง 12. การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายจากการขนส่งวัตถุอันตรายทางบก

  21. ประเภทของการประกันภัยความรับผิดประเภทของการประกันภัยความรับผิด 13. การประกันภัยความรับผิดตามกฎหมายที่เกิดจากความบกพร่องในการ ปฏิบัติงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการตรวจสอบตามกฎหมายในฐานะผู้ตรวจสอบอาคาร 14. การประกันภัยความรับผิดตามกหมายที่กำหนดความคุ้มครองควบคู่กับการประกันภัยประเภทต่างๆ เช่น 14.1 กรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ 14.2 กรมธรรม์ประกันภัยป้ายโฆษณาสินค้า 14.3 กรมธรรม์ประกันภัยหม้อกำเนิดไอน้ำและถังอัดความดัน 14.4 กรมธรรม์ประกันความเสี่ยงภัยทุกชนิด 14.5 Contract Work Insurance Policy

  22. การประกันความรับผิดต่อสาธารณะชน (Public Liability Insurance) ภายใต้ข้อกำหนดของกฎหมายในหมวดของการประกันภัยค้ำจุน ได้กำหนดกรอบการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ในนามของผู้เอาประกันภัย หรือผู้แทนโยชอบด้วยกฎหมายของผู้เอาประกันภัยเฉพาะกรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต (pay on behalf of ….) ซึ่งจะเป็นแบบ American Form ซึ่งหมายความว่าบริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินค่าทดแทนให้กับบุคคลภายนอกในนามของผู้เอาประกันภัย ซึ่งจะแตกต่างกับระบบของประเทศอังกฤษที่จะใช้วิธีให้ผู้เอาประกันภัยจ่ายก่อนแล้วจึงมาเรียกร้องคืนจากบริษัทประกันภัยในภายหลังเราเรียกวิธีนี้ว่าเป็นแบบ Indemnity Form

  23. ขอบเขตความรับผิดของกรมธรรม์ประกันภัยขอบเขตความรับผิดของกรมธรรม์ประกันภัย บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยสำหรับ • จำนวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดตามกฎหมายที่จะชดใช้เป็นค่าเสียหายสำหรับ 1.1.ความบาดเจ็บต่อร่างกาย หรือความเจ็บป่วยของบุคคลใดๆ 1.2.ความสูญเสียหรือเสียหายต่อทรัพย์สินใดๆ • จำนวนเงินอันเกี่ยวกับการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ได้แก่ 2.1. ค่าใช้จ่าย ค่าธรรมเนียมในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนซึ่งได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์ 2.2. ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ได้รับความยินยอมจากบริษัท

  24. ความหมายของคำว่าบุคคลภายนอกความหมายของคำว่าบุคคลภายนอก สำหรับความหมายของคำว่าบุคคลภายนอกนั้นหมายถึง บุคคลใดๆ ซึ่งไม่รวมถึง • ผู้เอาประกันภัย • ลูกจ้างของผู้เอาประกันภัยขณะอยู่ในทางการที่จ้าง • บุคคลผู้ซึ่งในขณะเกิดเหตุอยู่ในระหว่างปฏิบัติงานให้ผู้เอาประกันภัยภายใต้สัญญาว่าจ้าง หรือฝึกงาน • บุคคลในครอบครัว หรือบุคคลที่อยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรงหรือโดยอ้อมกับผู้เอาประกันภัย

  25. การกำหนดจำนวนจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์แบบ Single Limit ความรับผิดต่อความบาดเจ็บหรือเสียชีวิตสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาทต่อคนและ 5,000,000 บาทต่อเหตุการณ์ ความรับผิดต่อความสูญเสียหรือเสียหายของบุคคลภายนอกสูงสุดไม่เกิน 2,000,000 บาทต่อครั้ง ตลอดระยะเวลาประกันภัยสูงสุดไม่เกิน 10,000,000 บาท

  26. การกำหนดจำนวนจำกัดความรับผิดของกรมธรรม์แบบ Combined Single Limit บริษัทจะรับผิดชดใช้ต่อความสูญเสียหรือเสียหายต่อบุคคลภายนอกในวงเงินจำกัดความรับผิดสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาทต่อครั้งและตลอดระยะเวลาประกันภัยไม่เกิน 10,000,000 บาท

  27. ขอบเขตความรับผิดตามกฎหมายขอบเขตความรับผิดตามกฎหมาย ภายใต้กรอบความรับผิดตามกฎหมายนั้นจะต้องเกิดขึ้นโดยอุบัติเหตุอันเกี่ยวกับกิจการ หรือธุรกิจของผู้เอาประกันภัยภายใต้ขอบเขตการเสี่ยงภัยที่ได้เอาประกันภัยไว้ และเกิดขึ้นในระยะเวลาประกันภัย ณ อาณาเขตการคุ้มครอง ซึ่งระบุไว้ในกรมธรรม์

  28. อาณาเขตความคุ้มครอง ภายใต้เงื่อนไขแห่งกรมธรรม์จะกำหนดขอบเขตอำนาจการคุ้มครองเฉพาะภายในประเทศไทย หรือใช้อาณาเขตศาลไทย (Thailand Jurisdiction)

  29. ข้อยกเว้นของกรมธรรม์ กรมธรรม์ประกันภัยนี้ไม่คุ้มครอง • ความรับผิดส่วนแรก(Deductible) • ความรับผิดใดๆ ที่เกิดขึ้นจากคำพิพากษา หรือกระบวนการยุติธรรมที่มิใช่ศาลไทย หรือที่เกิดขึ้นหรือสืบเนื่องจากคำพิพากษาของศาลไทยเพื่อบังคับคดีให้ตัดสินนอกเขตราชอาณาจักรไทย • ความรับผิดซึ่งเกิดขึ้นจากการเป็นเจ้าของ การครอบครอง การดูแล การควบคุม การใช้ หรือการให้สัญญาหรือการชี้แนะโดยผู้เอาประกันภัย หรือในนามของผู้เอาประกันภัยสำหรับยานพาหนะทุกชนิดที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ (รวมทั้งเครื่องจักรหรือยานใดๆ ที่ดันหรือลากโดยเครื่องยนต์)

  30. ข้อยกเว้นของกรมธรรม์ 4. ความรับผิดใดๆ ซึ่งเกิดจาก หรือสืบเนื่องจาก 4.1. การที่ผู้เอาประกันภัยเป็นเจ้าของ ครอบครอง หรือใช้ หรือบำรุงรักษา เครื่องชักรอก ปั้นจั่น ลิฟท์ บันไดเลื่อน หม้อน้ำที่ใช้กำลังไอน้ำ หรือภาชนะอัดความดันไอน้ำท่าเทียบเรือ สะพานเทียบเรือ เว้นแต่จะระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัยภายใต้หัวข้อ“เครื่องจักรกล” 4.2. งานก่อสร้าง งานต่อเติม หรืองานรื้อถอนอาคาร หรือสิ่งปลูกสร้างใดๆ 4.3.สินค้าหรือสิ่งของใดๆ ซึ่งผลิต ขาย จัดหา ซ่อมแซม บริการ หรือดำเนินการโดยผู้เอาประกันภัยหรือผู้แทนของผู้เอาประกันภัย

  31. ข้อยกเว้นของกรมธรรม์ • ความรับผิดไม่ว่าจะลักษณะใดๆ อันเกิดจาก หรือเป็นผลโดยตรงหรือโดยอ้อมจากกากเคมี ฝุ่น ควัน น้ำท่วม น้ำสกปรก ก๊าซพิษ ของเหลวหรือของแข็งที่เป็นพิษ มลพิษ หรือมลภาวะใดๆ • ความรับผิดใดๆ อันเกิดจากหรือสืบเนื่องจากหรือเป็นผลมาจากแผ่นดินทรุด ความสั่นสะเทือน หรือการเคลื่อนย้ายสิ่งค้ำจุนสิ่งค้ำจุนหรือทำให้สิ่งค้ำจุนอ่อนกำลัง(Vibration Removal Weakening of Support) • ความรับผิดซึ่งเกิดจากสัญญาที่ผู้เอาประกันภัยทำขึ้นซึ่งถ้าไม่มีสัญญาดังกล่าวความรับผิดของผู้เอาประกันภัยจะไม่เกิดขึ้น

  32. ข้อยกเว้นของกรมธรรม์ 8. ความรับผิดอันเกิดจาก 8.1. คำแนะนำหรือบริการทางเทคนิค หรือวิชาชีพใดๆ โดยผู้เอาประกันภัย หรือผู้ที่ทำหน้าที่แทนผู้เอาประกันภัย 8.2. การที่ผู้เอาประกันภัยหรือผู้ที่ทำหน้าที่แทนผู้เอาประกันภัยให้การรักษา เว้นแต่การปฐมพยาบาล 9. การปรับทางแพ่ง อาญา หรือโดยสัญญา

  33. ข้อยกเว้นของกรมธรรม์ 10. ความรับผิดไม่ว่าลักษณะใดๆ อันเกิดจาก หรือเกี่ยวเนื่องมาจาก หรือเป็นผลโดยตรงหรือโดยอ้อมจาก 10.1. สงคราม การรุกราน การกระทำที่มุ่งร้ายของศัตรูต่างชาติ หรือการกระทำที่มุ่งร้ายคล้ายสงคราม(ไม่ว่าจะมีการประกาศหรือไม่ก็ตาม) หรือสงครามกลางเมือง 10.2. การแข็งข้อ การกบฏ การจลาจล การนัดหยุดงาน การยึดอำนาจ การก่อความวุ่นวาย การกระทำของบวนการโจรก่อการร้าย การกระทำของผู้ก่อการร้าย การปฏิวัติ การประกาศกฎอัยการศึก หรือเหตุการณ์ใดๆ ซึ่งจะเป็นเหตุให้มีการประกาศหรือคงไว้ซึ่งกฎอัยการศึก

  34. ข้อยกเว้นของกรมธรรม์ 10.3. การริบ ยึด เกณฑ์ ทำลาย หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินใดโดยคำสั่งของรัฐบาลโดยนิตินัย หรือโดยพฤตินัย หรือของเจ้าหน้าที่ราชการเทศบาล หรือเจ้าหน้าที่ประจำท้องถิ่นในราชอาณาจักรหรือในเขตที่ทรัพย์สินตั้งอยู่ 10.4. อาวุธนิวเคลียร์ 10.5. การแผ่รังสีหรือการแพร่กัมมันตภาพรังสีจากเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใดๆ อันเนื่องมาจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ และจากกรรมวิธีใดๆ แห่งการแตกแยกตัวทางนิวเคลียร์ซึ่งดำเนินการติดต่อกันไปด้วยตนเอง

  35. เงื่อนไขทั่วไป • สัญญาประกันภัย • เงื่อนไขบังคับก่อน • การระงับไปแห่งสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัย • การโอนสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัย • หน้าที่ของผู้เอาประกันภัยในการป้องกันภัย • หน้าที่ของผู้เอาประกันในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน

  36. เงื่อนไขทั่วไป • การรับช่วงสิทธิ • สิทธิของบริษัท • การจำกัดความรับผิดของบริษัท • การเฉลี่ยความรับผิด • การปรับปรุงเบี้ยประกันภัย • การเลิกสัญญาประกันภัย • การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ

  37. สัญญาประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยนี้รวมทั้งตารางกรมธรรม์ประกันภัย ใบคำขอเอาประกันภัยและเอกสารแนบท้ายประกอบสัญญาประกันภัย คำหรือข้อความซึ่งมีความหมายเฉพาะในส่วนใดของสัญญาประกันภัย ให้มีความหมายเฉพาะนั้นโดยตลอด

  38. เงื่อนไขบังคับก่อน บริษัทไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกรมธรรม์ประกันภัยนี้ เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยได้ปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามสัญญาประกันภัยและเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์ประกันภัย

  39. การระงับไปแห่งสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัยการระงับไปแห่งสัญญาตามกรมธรรม์ประกันภัย กรมธรรม์ประกันภัยนี้จะสิ้นผลบังคับทันทีที่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ประกอบกิจการ กิจการหรืออาชีพที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย หรือมีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญอื่นๆ ซึ่งทำให้การเสี่ยงภัยเพิ่มขึ้น เว้นแต่ผู้เอาประกันภัยจะได้แจ้งให้บริษัททราบ

  40. การโอนสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัยการโอนสิทธิตามกรมธรรม์ประกันภัย สิทธิของผู้เอาประกันภัยตามสัญญาประกันภัยนี้ จะโอนได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากบริษัท เว้นแต่การโอนโดยพินัยกรรมหรือโดยบทบัญญัติของกฎหมาย

  41. หน้าที่ของผู้เอาประกันภัยในการป้องกันภัยหน้าที่ของผู้เอาประกันภัยในการป้องกันภัย ผู้เอาประกันภัยต้องป้องกันหรือจัดให้มีการป้องกันตามสมควร เพื่อมิให้เกิดอุบัติเหตุและต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติของกฎหมายและข้อบังคับของเจ้าหน้าที่ราชการ

  42. หน้าที่ของผู้เอาประกันในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนหน้าที่ของผู้เอาประกันในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน ในกรณีที่มีเหตุการณ์ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยนี้ผู้เอาประกันภัยต้อง • แจ้งให้บริษัททราบโดยไม่ชักช้า • ส่งต่อให้บริษัททันทีเมื่อได้รับหมายศาล หรือคำสั่งศาลหรือคำบังคับของศาล • ผู้เอาประกันภัยจะต้องไม่ตกลงยินยอมเสนอหรือสัญญาว่าจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่บุคคลใดๆโดยไม่ได้รับความยินยอมจากบริษัท เว้นแต่บริษัทมิได้จัดการต่อการเรียกร้องนั้น • ส่งรายละเอียดและช่วยเหลือตามความจำเป็น เพื่อให้บริษัทตกลงชดใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือต่อสู้ข้อเรียกร้องใดๆ หรือฟ้องคดีได้

  43. การรับช่วงสิทธิ บริษัทมีสิทธิเข้าดำเนินการต่อสู้คดี และมีสิทธิทำการประนีประนอมในนามของผู้เอาประกันภัยต่อการเรียกร้องใดๆ

  44. สิทธิของบริษัท ความรับผิดของบริษัทภายใต้สัญญาประกันภัยนี้ จะไม่เกินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ประกันภัย

  45. การจำกัดความรับผิดของบริษัทการจำกัดความรับผิดของบริษัท ความรับผิดของบริษัทภายใต้สัญญาประกันภัยนี้ จะไม่เกินจำนวนเงินจำกัดความรับผิดที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์

  46. การเฉลี่ยความรับผิด ถ้าในขณะที่เกิดเหตุซึ่งเป็นผลให้มีการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยนี้ มีการประกันภัยอื่นคุ้มครองความรับผิดอย่างเดียวกัน บริษัทจะรับผิดต่อค่าเสียหาย ค่าดำเนินคดี ค่าใช้จ่ายอื่นๆ ไม่เกินอัตราส่วนของบริษัท สำหรับจำนวนเงินที่ต้องจ่ายเกี่ยวกับความรับผิดนั้น

  47. การปรับปรุงเบี้ยประกันภัยการปรับปรุงเบี้ยประกันภัย ในกรณีที่เบี้ยประกันภัยได้คำนวณจากจำนวนประมาณการที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์ ประกันภัยภายในหนึ่งเดือนนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลาประกันภัย ผู้เอาประกันภัยต้องจัดส่งรายละเอียดและข้อเท็จจริงเพื่อคำนวณเบี้ยประกันภัยที่ถูกต้อง ถ้าปรากฏว่าจำนวนเบี้ยประกันภัยที่คำนวณได้ แตกต่างจากเบี้ยประกันภัยที่ชำระไว้ก่อนนั้น ผู้เอาประกันต้องชำระเบี้ยประกันภัยเพิ่มเติมตามส่วนให้แก่บริษัทหรือบริษัทต้องคืนเบี้ยประกันภัยให้แล้วแต่กรณี

  48. การเลิกสัญญาประกันภัยการเลิกสัญญาประกันภัย • บริษัทจะบอกเลิกสัญญาประกันภัยฉบับนี้ได้ด้วยการส่งหนังสือบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วันโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนถึงผู้เอาประกันภัยภัยตามที่อยู่ครั้งสุดท้ายที่แจ้งให้บริษัททราบ ในกรณีนี้บริษัทจะคืนเบี้ยประกันภัยให้แก่ผู้เอาประกันภัย โดยหักเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่สัญญาประกันภัยนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามส่วน • ผู้เอาประกันภัยจะบอกเลิกสัญญาประกันภัยฉบับนี้ได้โดยแจ้งให้บริษัททราบเป็นหนังสือ และมีสิทธิได้รับเบี้ยประกันภัยคืนหลังจากหักเบี้ยประกันภัยคืนหลังจากหักเบี้ยประกันภัยสำหรับระยะเวลาที่กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ได้ใช้บังคับมาแล้วออกตามอัตราเบี้ยประกันภัยระยะสั้น

  49. การระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการการระงับข้อพิพาทโดยอนุญาโตตุลาการ ในกรณีที่มีข้อพิพาท ข้อขัดแย้ง หรือข้อเรียกร้องใดๆ ภายใต้ ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยฉบับนี้ ระหว่างผู้มีสิทธิเรียกร้องตามกรมธรรม์ตามกรมธรรม์ประกันภัยกับบริษัท และหากผู้มีสิทธิเรียกร้องประสงค์ และเห็นควรยุติข้อพิพาทนั้นโดยวิธีการอนุญาโตตุลาการ บริษัทตกลงยินยอมและให้ทำการวินิจฉัยชี้ขาดโดยอนุญาโตตุลาการตามข้อบังคับกรมการประกันภัยว่าด้วยอนุญาโตตุลาการ

More Related