150 likes | 470 Views
หลักการ ทำโครงงาน. รายวิชา ง 23102 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3. หลักการทำโครงงาน.
E N D
หลักการทำโครงงาน รายวิชา ง 23102 เทคโนโลยีสารสนเทศ 3
หลักการทำโครงงาน • จากพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด4 แนวทางจัดการศึกษา มาตรา22, มาตรา24, มาตรา26, การเรียนรู้ที่จะพัฒนาผู้เรียนตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ พร้อมทั้งฝึกกระบวนการคิด การจัดการ การแก้ไขปัญหา ฝึกปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็น ทำเป็น รักการอ่าน และเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง และสามารถเรียนรู้ได้อย่างผสมผสาน เกิดขึ้นได้ ทุกเวลา ทุกสถานที่ การจัดการศึกษา ต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียน และพัฒนาตนเองได้ และถือผู้เรียนสำคัญที่สุด กิจกรรมการเรียนการสอน ที่ผู้เรียนสามารถแสวงหาความรู้และค้นพบความรู้ด้วยตนเองที่สามารถทำให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายของพระราชบัญญัติ การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 หมวด 4มาตรา22, มาตรา 24, มาตรา 26 กิจกรรมหนึ่ง คือ การเรียนรู้ แบบ การทำโครงงาน (Project Work)
ความหมายของโครงงาน • โครงงาน หมายถึง กิจกรรมที่ทำหรือเค้าโครงงานที่กำหนดไว้ • กิจกรรมที่ทำเป็นกระบวนการทำงานที่เกิดจากความต้องการของผู้เรียนริเริ่มขึ้นมาที่ต้องการจะศึกษา ค้นคว้า เรื่องต่าง ๆ จึงมีการกำหนดประเด็นปัญหาขึ้นมา กำหนดหัวข้อเรื่อง เขียนโครงร่างแบบขึ้นมาจากความคิดของตนเอง หรือระดมความคิด จากกลุ่มสมาชิกได้อย่างอิสระ หลังจากได้เค้าโครงงานที่กำหนดไว้แล้ว ก็เริ่มศึกษาประเด็นปัญหาข้อเรื่องนั้น โดยมีการวางแผน กำหนดกิจกรรมภาระงานต่างๆ พร้อมเก็บ รวบรวมข้อมูล จากแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ และลงมือปฏิบัติจริงตามแผนที่วางไว้ ตั้งแต่ต้นจนจบ พร้อมบันทึกข้อมูลไว้ และสรุปผลการศึกษา
ความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศความหมายของเทคโนโลยีสารสนเทศ • เทคโนโลยี (Technology)หมายถึง วิทยาการที่นำเอาความรู้ ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติ และอุตสาหกรรม • สารสนเทศ (Information)หมายถึง ข้อมูล ที่ได้ผ่านการประมวลผลแล้วจนได้ผลลัพธ์ที่ตรงตามต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ในช่วงเวลาที่ต้องการของผู้ใช้ • เทคโนโลยีสารสนเทศ (InformationTechnology:IT) หมายถึงเทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศ เป็นเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ การรวบรวมข้อมูลการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การพิมพ์ การสร้างรายงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ รวมถึง เทคโนโลยี ที่ทำให้เกิดระบบการให้บริการ การใช้และการดูแลข้อมูลด้วย
ประเภทของโครงงาน • โครงงานมีหลายรูปแบบ แบ่งเป็นโครงงานหลักๆได้ 2 ประเภท ดังนี้ • 1. โครงงานวิทยาศาสตร์ • - โครงงาน ประเภทสำรวจรวบรวมข้อมูล • - โครงงานประเภททดลอง • - โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ • - โครงงานประเภท การสร้างทฤษฎี หรือ การอธิบาย 2. โครงงานตามสาระการเรียนรู้ - โครงงานทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้
โครงงานประเภทสำรวจ รวบรวมข้อมูล • เป็นโครงงานที่ผู้เรียน เพียงแสวงหา ความรู้จากแหล่งเรียนรู้ที่ศึกษา สำรวจ และรวบรวมข้อมูลต่างๆที่เกี่ยวกับ เรื่องที่ต้องการศึกษา โดยไม่ต้องมีตัวแปร แล้วนำข้อมูลเหล่านั้น มานำเสนอ ในลักษณะที่ จำแนกเป็นหมวดหมู่ • เช่น สำรวจการเล่นเกมคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้นม.3
โครงงานประเภททดลอง • เป็นโครงงานที่มีการออกแบบการทดลองโดยกำหนดกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม เพื่อศึกษาอิทธิพลของตัวแปรใด ตัวแปรหนึ่งหรือหลายตัวแปร แล้วติดตามดูผล ที่เกิดขึ้นกับกลุ่มทดลองโดยเปรียบเทียบ กับกลุ่มควบคุมโดยมีขั้นตอนการดำเนินงานของโครงงาน ดังนี้ • 1. การกำหนดปัญหา • 2. การตั้งจุดประสงค์ • 3. การตั้งสมมติฐาน • 4. การออกแบบการทดลอง • 5. การดำเนินการทดลอง • 6. การรวบรวมข้อมูล • 7. การแปรผลและสรุปผล นำข้อมูลที่ได้สร้างองค์ความรู้ใหม่
โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ • เป็นโครงงาน ที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ที่นำเอาความรู้มาประยุกต์ ใช้ทั้งความรู้ทางทักษะช่าง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ มาสร้างสิ่งประดิษฐ์ หรือสร้างสิ่งใหม่ๆขึ้นมา หรือ พัฒนา ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง ของเดิมที่ มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
โครงงานประเภททฤษฎี • เป็นโครงงานที่นำเสนอแนวคิด หรือ ทฤษฎีใหม่ๆ โดยการใช้จินตนาการ ของตนเองมาอธิบายหลักการ ซึ่งอาจอธิบาย ในรูปสูตรหรือสมการหรือคำอธิบาย ผู้ทำโครงงานจะต้องมีความรู้ในเรื่องนั้น เป็นอย่างดี ซึ่ง จะสามารถอธิบายได้อย่างมีเหตุผลและน่าเชื่อถือ
โครงงานตามสาระการเรียนรู้โครงงานตามสาระการเรียนรู้ • เป็นโครงงานที่เน้นเนื้อหาสาระในแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ ซึ่งสามารถนำรูปแบบของโครงงานวิทยาศาสตร์ ทั้ง 4 ประเภทมาใช้ แต่เนื้อหาเน้น สาระการเรียนรู้ของแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้นั้นๆ กิจกรรมการเรียนการสอนของทั้ง 8 กลุ่มสาระ การเรียนรู้ ได้แก่ • กลุ่มสาระการเรียนรู้ คณิตศาสตร์ • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย • กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพและเทคโนโลยี • กลุ่มสาระการเรียนรู้ ศิลปะ • กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม • กลุ่มสาระการเรียนรู้ สุขศึกษา พลศึกษา • กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ • กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
ขั้นตอนการทำโครงงาน การเลือกหัวข้อโครงงาน ในการเลือกหัวเรื่องทำโครงงานนั้นการได้มาของประเด็นปัญหาที่ จะทำโครงงาน ขึ้นอยู่กับ ความสามารถ ความถนัด ความสนใจและความต้องการของผู้เรียนนี้จะศึกษาเรื่องนั้น ๆ ในการพิจารณาเลือกเรื่องที่จะทำได้โครงงานก็ควรคำนึงถึงองค์ประกอบสำคัญดังนี้ • 1. ปัญหาหรือข้อสงสัยควรเป็นปัญหาใกล้ตัวผู้เรียน ซึ่งควรมีความรู้ ทักษะพื้นฐานและ ประสบการณ์เดิมที่สามารถจะนำมาใช้ได้ • 2. มีเงินทุนและเวลาเพียงพอ • 3. มีแหล่งความรู้ที่จะศึกษาค้นคว้า • 4. สามารถจัดหาวัสดุอุปกรณ์ได้ • 5. ได้รับการ สนับสนุน จาก เพื่อน ผู้ปกครอง ครูที่ปรึกษา • 6. ประโยชน์และความคุ้มค่า ที่คิดว่าจะได้รับจากโครงงานนี้
กำหนดเค้าโครงร่างของโครงงานกำหนดเค้าโครงร่างของโครงงาน • ก่อนที่จะทำโครงงาน ก็ต้องมี การออกแบบ เค้าโครงร่างของโครงงานก่อนเสมอพร้อมทั้งวางแผนการทำงานทั้งหมดว่า จะทำอะไร ทำอย่างไร และทำเมื่อไร ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดมีกิจกรรมและขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร แล้วเขียนเค้าโครงร่างโครงงาน เพื่อนำเสนอ คุณครูผู้สอน เพื่อจะได้อนุมัติให้ทำโครงงานต่อไปโดยมีหัวข้อการเขียนเค้าโครง ดังนี้
กำหนดเค้าโครงร่างของโครงงาน(ต่อ)กำหนดเค้าโครงร่างของโครงงาน(ต่อ) 1. ชื่อโครงงาน • 2. ชื่อผู้จัดทำ • 3. ชื่อคุณครูที่สอน ชื่อคุณครูที่ปรึกษา (ถ้ามี) • 4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน • 5. วัตถุประสงค์และเป้าหมายในการทำโครงงาน • 6. แผนปฏิบัติการ • 7. ผลของการศึกษาโครงงาน • 8. ประโยชน์และคุณค่าของโครงงาน • 9. ข้อเสนอแนะ • 10. เอกสารอ้างอิง • 11. ลงชื่อผู้ทำโครงงาน วัน เดือน ปี ที่เสนอ โครงงาน • 12. ความเห็นของคุณครูผู้สอน ลงชื่อคุณครูผู้สอน วัน เดือน ปี ที่ ตรวจโครงงาน