360 likes | 874 Views
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพุทธศาสนา. รหัสวิชา 013881 03 หมู่ 200. ประมวลการสอน ภาคต้น ปีการศึกษา 2556. 1. คณะ มนุษยศาสตร์ ภาควิชา ปรัชญาและศาสนา 2. รหัสวิชา 01388103 หมู่ 200 จำนวนหน่วยกิต 3 ชื่อวิชา ( ภาษาไทย ) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพระพุทธศาสนา
E N D
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพุทธศาสนาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพุทธศาสนา รหัสวิชา 01388103 หมู่ 200
ประมวลการสอน ภาคต้น ปีการศึกษา 2556 1. คณะมนุษยศาสตร์ภาควิชาปรัชญาและศาสนา 2. รหัสวิชา 01388103 หมู่200 จำนวนหน่วยกิต3 ชื่อวิชา(ภาษาไทย) ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพระพุทธศาสนา (ภาษาอังกฤษ) Philosophy of Sufficiency Economics and Buddhism วิชาพื้นฐาน - หมวดวิชา เฉพาะบังคับ, เลือกเสรี สถานที่LH.1–213
3. ผู้สอน อาจารย์ผู้สอน : อาจารย์ชัชวาลย์ ชิงชัย อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ
4. การให้นิสิตเข้าพบและให้คำแนะนำนอกเวลาเรียน วันศุกร์ เวลา 9.00 – 11.00 น. ที่ตึกมนุษยศาสตร์ 4 (จุฬาภรณ์พิศาลศิลป์) ห้อง 301 โทรศัพท์ ภาควิชาฯ 0-2579-6525-6 ต่อ 114 ฝากข้อความ 101 แฟ็กซ์ 0-2942-8719 โทรศัพท์ภายใน 1439 ต่อ 1508 ต่อ 114 มือถือ 081-2545515 , 081-2458482 อีเมล์ fhumcwc@ku.ac.th www.buddhism.rilc.ku.ac.th/chachawarn/ chachawarn.html
5. จุดประสงค์ของวิชา 1. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจอุดมคติและหลัก จริยธรรมของพระพุทธศาสนา 2. เพื่อให้นิสิตปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้องตามหลัก พุทธจริยธรรม 3. เพื่อให้นิสิตการนำหลักพุทธจริยธรรมไปประยุกต์ใช้ใน การแก้ปัญหาชีวิตและสังคม
6. คำอธิบายรายวิชา ธรรมชาติ ขอบเขต แรงจูงใจ กระบวนการและเป้าหมายของพุทธจริยธรรม ความสัมพันธ์กับชีวิตและปัญหาสังคม Nature, scope, motive, processes and purposes of Buddhist ethics; its relation to life and social problems.
7. เค้าโครงรายวิชา 1. ธรรมชาติและขอบเขตของพุทธจริยธรรม 9 ชั่วโมง 2. แรงจูงใจทางจริยธรรมในพุทธศาสนา 9 ชั่วโมง 3. กระบวนการปฏิบัติในพุทธจริยธรรม 9 ชั่วโมง 4. เป้าหมายของการปฏิบัติในพุทธจริยธรรม 9 ชั่วโมง 5. พุทธจริยธรรมกับชีวิตและปัญหาสังคม 9 ชั่วโมง รวม 45 ชั่วโมง
8. วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ 1. การบรรยาย 2. อภิปรายและตอบปัญหา 3. ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเพื่อทำเป็นรายงาน 4. การปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนาในห้องปฏิบัติการ 5. การสวดมนต์ ปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนาที่บ้าน 6. การทำบัญชีบุญ - บาป เพื่อตรวจสอบพฤติกรรมตนเอง 7. เทศน์ปุจฉา – วิสัชนา 2 ธรรมาสน์ 8. การเรียนการสอนผ่านเว็บไซต์
9. อุปกรณ์สื่อการสอน 1. กระดานดำ 2. เครื่องฉายข้ามศีรษะ 3. วีดิทัศน์ 4. เพาเวอร์พอยท์ 5. เอกสารประกอบการบรรยาย 6. โฮมเพจรายวิชา
คะแนนเก็บ 40 คะแนน แยกออกเป็น ดังนี้ 1) คะแนนเข้าเรียน 12 2) ทำงานท้ายชั่วโมงครึ่ง A4 5 3 ) ทำงานท้ายชั่วโมง A4 5 4) รายงานหน้าชั้น 2 5) เอกสารประกอบการบรรยาย 3 6) เพาเวอร์พ้อยท์ 3 10. การวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียน
7) คะแนนความประพฤติ 7.1 ความประพฤติเข้าเรียน 5 7.2 ประพฤติส่งงาน 5 8 การสอบปลายภาค 60 รวม 100
?.. 11. การประเมินผลการเรียน เนื่องจากวิชานี้มีนิสิตลงทะเบียนจากทุกคณะ ดังนั้น อาจารย์ผู้สอนขอสงวนสิทธิ์ที่จะใช้เกณฑ์ต่าง ๆ เพื่อความเหมาะสม
12. เอกสารอ่านประกอบการเรียน ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับพุทธศาสนา. ผศ.ดร.ประเวศ อินทองปาน. พุทธศาสนาเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ. โดย ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ และคณะ คนไทยกับป่า. พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตโต) พุทธเศรษฐศาสตร์. อภิชัย พันธเสน 2544. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง พับลิชชิ่ง จำกัด
12. เอกสารอ่านประกอบการเรียน(ต่อ) เศรษฐกิจพอเพียง. บุญเสริม บุญเจริญผล. เศรษฐศาสตร์พอเพียง. ธำรง อุดมไพจิตรกุล. 2544. กรุงเทพฯ: พัฒนาคุณภาพวิชาการ. นิเวศวิทยากับศาสนา. เดวิด ดินส์ลีย์ เขียน. แปลโดย ลภาพรรณ ศุภมันตรา. 2551. วิเคราะห์ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องจากพระราชดำริกับ หลักธรรมในพระพุทธศาสนา. มนูญ มุกข์ประดิษฐ์. การพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development). พระธรรมปิฎก. 2532.
13. ตารางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
13. ตารางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน(ต่อ)
13. ตารางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน(ต่อ)
13. ตารางกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน(ต่อ)
หมายเหตุ : โปรดเชื่อฟังและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด 1. แต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบ ฝ่าฝืนจะไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าชั้นเรียน 2. อาจารย์จะเช็คชื่อในเวลา 11.15 น นิสิตที่เข้ามาหลังจากนั้น จะถือว่าขาดเรียน จะมีการเช็คชื่อผู้เข้าเรียนทุกครั้ง นิสิตที่ขาดเรียนจะไม่มีสิทธิ์ทำงานท้ายชั่วโมงเก็บคะแนน 3. คะแนนเข้าเรียนมีรายละเอียด ดังนี้ 3.1ขาดเรียน 6 ครั้งแรก หักคะแนนครั้งละ 2 คะแนน ขาดครั้งที่ 7 ไม่มีสิทธิสอบ นิสิตจะต้องมีเวลาเรียนไม่ต่ำกว่า 80 เปอร์เซ็นต์
3.2 ทำงานท้ายชั่วโมงทุกครั้งที่เรียน เก็บคะแนน 10 คะแนน เป็นการเช็คชื่อรอบที่ 2 แบ่งเป็น งานครึ่ง A4 5 คะแนน งาน A4 5 คะแนน 3.3ทำงานกลุ่มด้วยการออกไปรายงานหน้าชั้น 2 คะแนน เอกสารประกอบการบรรยาย 3 คะแนน เพาเวอร์พ้อยท์ 3 คะแนน นิสิตจะต้องมีเอกสารประกอบการบรรยายแจกนิสิตที่เข้าฟังการนำเสนอ โดยเอกสารจะต้องทำตามแบบวิชาการ มีเชิงอรรถและบรรณานุกรม
3.4 ความประพฤติในการเข้าเรียนและการส่งงาน ทั้งหมด 10 คะแนน หากเข้าเรียนครบทุกครั้ง จะได้ 5 คะแนน ขาดแม้แต่ครั้งเดียวได้ 0 คะแนน การส่งงาน ครึ่ง A4 และ A4 ครบทุกครั้ง ได้ 5 คะแนน ถ้างานไม่ครบได้ 0 คะแนน
*** การส่งงานให้ส่งที่ ตึกมนุษยศาสตร์ 4 (จุฬาภรณ์พิศาลศิลป์) ชั้นล่างหน้าห้อง 103 ไม่เกิน 18.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ถ้านิสิตไม่ส่งงานตามกำหนดจะถูกตัดคะแนนความประพฤติส่งงาน 5 คะแนน ถ้านิสิตต้องการส่งงานเพื่อไม่ให้ถูกตัดคะแนนความประพฤติ จะต้องบำเพ็ญจิตอาสาและปฏิบัติธรรมให้ครบ 10 ชั่วโมง จึงคืนคะแนนความประพฤติส่งงาน 5 คะแนน รวมทั้งการไม่เขียนหมู่ เลขที่ หรือเขียนเลขที่ผิด และไม่เขียนครั้งที่ส่งงาน
*** คะแนนความประพฤติเข้าเรียน จะเริ่มนับตั้งแต่คาบแรก นิสิตที่ขาดเรียนแม้แต่ครั้งเดียวไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดจะถูกตัดคะแนนความประพฤติเข้าเรียน 5 คะแนนทันทีในกรณีมีใบลาจะคืนคะแนนเข้าห้องเรียนให้ 1 คะแนน ก็ต่อเมื่อบำเพ็ญจิตอาสาและปฏิบัติธรรมให้ครบ 10 ชั่วโมง *** การปฏิบัติธรรมที่อาคารพุทธเกษตร ข้างเซเว่น อีเลเว่น คณะอุตสาหกรรมเกษตร อยู่ชั้น 2 ปฏิบัติทุกวันอังคารและวันพุธ ตลอดภาคเรียน เริ่มปฏิบัติตั้งแต่ 6.00 - 8.15 น ถ้านิสิตมาสาย อนุโลมให้สายจนถึง 6.54 น อาจารย์จะเริ่มบรรยายธรรม สอนกรรมฐานในเวลา 6.55 น ถ้าเข้าสายให้มาชดเชยเพิ่มอีก 1 วันทุกครั้งที่สาย วันละ 1 คะแนน
ปรัชญาคณะมนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์มีปรัชญาการจัดการศึกษาที่เสริมสร้างบุคคลให้เป็นคนที่สมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีความเจริญทางสติปัญญา คุณค่าของจิตใจ การใช้วิจารณญาณอย่างรอบคอบและปรับตัวได้อย่างเหมาะสม
ปณิธานคณะมนุษยศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์มีปณิธานในการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ เพียบพร้อมด้วยความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพที่ทันสมัย มีความใฝ่รู้ มีความคิดวิเคราะห์ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ตลอดจนเป็นบัณฑิตที่มีจริยธรรม คุณธรรม เป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมและดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ขึ้นชื่อว่าวิชาควรศึกษาทุกอย่างไปขึ้นชื่อว่าวิชาควรศึกษาทุกอย่างไป ศึกษาให้เข้าใจเป็นคุณเครื่องเรืองปัญญา แต่ว่าอย่าพึงใช้ทุกอย่างไปที่ศึกษา ชีวิตและเวลาเป็นปัญหาให้จำนน จะใช้วิชาใดจงใส่ใจในเหตุผล ทำใดต้องใจคนนั่นคือผลของวิชา
ขอให้ทุกคนจงโชคดี ตามสติกำลังของแต่ละคน