240 likes | 727 Views
ต้นทุนการผลิต. ต้นทุนการผลิต (Cost of production ). ค่าใช้จ่าย ที่เกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิตในการผลิตสินค้าและบริการหรือค่าใช้จ่าย ที่ทำให้อรรถประโยชน์ของสินค้าและบริการเพิ่มเติม ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost : FC) เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย ไม่ว่าจะผลิตมากหรือน้อย
E N D
ต้นทุนการผลิต(Cost of production) • ค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการใช้ปัจจัยการผลิตในการผลิตสินค้าและบริการหรือค่าใช้จ่าย ที่ทำให้อรรถประโยชน์ของสินค้าและบริการเพิ่มเติม • ต้นทุนคงที่(Fixed Cost : FC) • เป็นต้นทุนที่ต้องจ่าย ไม่ว่าจะผลิตมากหรือน้อย • ต้นทุนผันแปร(Variable Cost : VC) • เป็นต้นทุนที่แปรตามปริมาณการผลิต
ต้นทุนที่ชัดเจนหรือต้นทุนที่จ่ายออกไปจริง (Explicit cost) หรือต้นทุนทางบัญชี • เป็นต้นทุนที่วัดจากตัวเงินที่ได้จ่ายจริง นั่นคือ หากมีรายจ่ายเป็นตัวเงินเกิดขึ้นเมื่อใด ก็ถือว่าเป็นต้นทุน • ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) • มูลค่าของทางเลือกอื่นที่ดีที่สุด ซึ่งต้องพลาดโอกาสไปเนื่องจากมาเลือก ทางเลือกปัจจุบันรายจ่ายขั้นต่ำที่ผู้ว่าจ้างจำเป็นจะต้องจ่ายแก่ปัจจัยการผลิตเพื่อดึงดูดให้ปัจจัยการผลิตนั้นยังคงทำงานให้ต่อไป
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์(Economic Cost) • คือ ต้นทุนค่าเสียโอกาส ซึ่งรวมทั้งต้นทุนชัดแจ้งและไม่ชัดแจ้งที่เป็นต้นทุนค่าเสียโอกาสนั้นไม่ได้มีการจ่ายเป็นตัวเงินออกไปโดยตรง • ต้นทุนทางบัญชี(Accounting Cost) เป็นต้นทุนที่วัดจากตัวเงินที่ได้จ่ายจริงและชัดแจ้ง นั่นคือ หากมีรายจ่ายเป็นตัวเงินเกิดขึ้นจริงเมื่อใด ก็ถือเป็นต้นทุนเช่นค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบรวมถึงค่าบริหารจัดการ
ต้นทุนจม (Sunk Cost) • คือ ค่าใช้จ่ายที่ได้จ่ายไปแล้ว โดยไม่สามารถหลีกเลี่ยงและกู้คืนมาได้ ไม่ว่าจะมีการตัดสินใจประกอบธุรกรรมต่อไปหรือไม่ เนื่องจากไม่มีโอกาสที่จะนำไปใช้ทำอย่างอื่น • ต้นทุนเอกชน(Private Cost) • คือ ต้นทุนที่ผู้ประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจต้องแบกรับค่าใช้จ่ายโดยตรง
ต้นทุนทางสังคม(Social Cost) • คือ ต้นทุนที่สังคมโดยรวมต้องแบกรับภาระทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจนั้น • ต้นทุนทางสังคม = ต้นทุนเอกชน + ผลกระทบภายนอก
ผลกระทบภายนอก(Externalities) • คือ ต้นทุนความเสียหาย หรือผลประโยชน์ข้างเคียงที่การประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจหนึ่งส่งผลกระทบต่อการบริโภค หรือ การผลิตของกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆซึ่งเจ้าของกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เป็นต้นเหตุของผลกระทบภายนอกนี้ไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น หรือไม่สามารถเรียกร้องค่าตอบแทนจากผลประโยชน์ข้างเคียงที่เกิดขึ้นได้
ต้นทุนการผลิตในระยะสั้นต้นทุนการผลิตในระยะสั้น • ในระยะสั้น ปัจจัยการผลิตมีทั้งปัจจัยคงที่และปัจจัยผันแปร • 1.ต้นทุนรวม (Total Cost) TC เป็นต้นทุนการผลิตทั้งหมดประกอบด้วย • 1.1 ต้นทุนคงที่ (Total Fixed Cost :TFC) เป็นต้นทุนที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามปริมาณการผลิต ลักษณะของเส้นเป็นเส้นตรงขนานแกนนอน • 1.2ต้นทุนแปรผันรวม (Total variable Cost : TVC)เป็นต้นทุนแปรผันตามการผลิต ลักษณะของเส้นเป็นเส้นทอดขึ้นเสมอ และโดยทั่วไปจะมีลักษณะที่เพิ่มในอัตราที่ลดลงในตอนแรก แต่เมื่อผลิตมากขึ้นต้นทุนแปรผันจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูงขึ้นในที่สุด
2.ต้นทุนเฉลี่ย (Average Cost : AC) คือ ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยการผลิต • ต้นทุนรวมมีทั้งต้นทุนคงที่และแปรผัน ดังนั้นต้นทุนเฉลี่ยแบ่งเป็น ต้นทุนคงที่เฉลี่ย (AFC) และต้นทุนแปรผันเฉลี่ย (AVC)
3. ต้นทุนส่วนเพิ่ม (Marginal Cost) คือ อัตราการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนรวมเมื่อการผลิตเปลี่ยนไปอีกหนึ่งหน่วย
ต้นทุนการผลิตในระยะยาวต้นทุนการผลิตในระยะยาว • การผลิตในระยะยาวปัจจัยการผลิตทุกชนิดสามารถเปลี่ยนแปลงได้ในระยะยาว ดังนั้นปัจจัยทุกตัวจึงกลายเป็นปัจจัยแปรผัน เพราะผู้ผลิตมีเวลาเพียงพอที่จะแสวงหาและเปลี่ยนแปลงขนาดของปัจจัยต่างๆแม้แต่เครื่องจักร และโรงงานที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในระยะสั้น ดังนั้นการผลิตในระยะจึงเป็นเสมือนแผนการผลิตที่ปรับตัวได้เต็มที่นั่นเอง
ดังนั้นต้นทุนการผลิตที่เกิดขึ้นจึงมีแต่ต้นทุนแปรผันนอกจากนี้ขนาดของต้นทุนยังขึ้นอยู่กับราคาของปัจจัย และส่วนผสมของปัจจัยแปรผันซึ่งผู้ผลิตจะต้องพยายามทำให้มีต้นทุนต่ำที่สุดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพด้วย