180 likes | 456 Views
ผลกระทบของกฏหมายต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใดย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญเสมอกัน
E N D
ผลกระทบของกฏหมายต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ผลกระทบของกฏหมายต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 • มาตรา 4 ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง • มาตรา 5 ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใดย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญเสมอกัน • มาตรา 30 บุคคลย่อมเสมอกันในกฏหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฏหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลและเหตุแห่งความแตกต่างในถิ่นกำเนิด เชื้อชาติ ภาษาเพศ อายุ สภาพทางกาย สุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจ ความเชื่อทางศาสนา ความคิดเห็นทางการเมืองกระทำมิได้ • มาตรา 54 บุคคลซึ่งมีอายุเกิน 60 ปี และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ จากรัฐตามกฏหมาย • มาตรา 55 บุคคลซึ่งงพิการทุพพลภาพ มีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐตามกฏหมาย นายจ้างต้องปฏิบัติต่อลูกจ้างด้วยความเหมาะสม ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของลูกจ้าง ให้ความเท่าเทียมกันในการจ้างงาน ได้รับอัตราค่าจ้างเท่ากัน ถ้ามีความสามารถเท่ากันและทำงานประเภทเดียวกัน
มาตรา 31 บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในร่างกาย การทรมาน ทารุณ หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรมจะกระทำมิได้ • มาตรา 35 เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัวมีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม นายจ้างต้องให้ความคุ้มครองแก่พนักงานในการทำงาน รวมทั้งการจะได้รับความปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานที่มี อัตราย
มาตรา 61 บุคคลย่อมมีสืทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาในเวลาอันสมควรทั้งนี้ตามกฏหมายบัญญัติ • มาตรา 44 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการชุมนุมดดยสงบและปราศจากอาวุธ • มาตรา 45 บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมกันเป็นสมาคม สหภาพ สหพันธ์ สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกร นายจ้างต้องสนับสนุนและให้โอกาสลูกจ้างในการร้องทุกข์และการดำเนินการเกี่ยวกับการรวมตัว การก่อตั้งสมาพันธ์
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน วัตถุประสงค์ของการออกกฏหมายฉบับนี้เพื่อให้การใช้แรงงานเป็นไปอย่างเป็นธรรม เหมาะสม • การใช้แรงงานหญิง กฎหมายห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น งานเหมืองแร่ งานก่อสร้างที่ต้องทำใต้ดิน งานที่ต้องทำบนนั่งร้านสูงเกิน 10 เมตรขึ้นไป งานผลิตขนส่งอาวุธระเบิด • การใช้แรงงานเด็ก ห้ามมิให้นายจ้างจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีเป็นลูกจ้าง การจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี เป็นลูกจ้างต้องแจ้งต่อพนักงานตรวจแรงงานภายใน 15 วัน
ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานระหว่างเวลา 22.00 ถึง 06.00 น. ห้ามเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานล่วงเวลา ทำงานในวันหยุด ห้ามมิให้จ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานบางประเภท ห้ามมิให้จ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี ทำงานในสถานที่บางประเภท ห้ามมิให้นายจ้างจ่ายเงิค่าจ้างของลูกจ้างเด็กแก่บุคคลอื่น นายจ้างต้องอนุญาตให้ลูกจ้างเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี มีสิทธิลาเข้าประชุม รับการฝึกอบรม หรือลาเพื่อการอื่นซึ่งจัดโดยสถานศึกษา ให้นายจ้างจ่ายเงินค่าจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทำงาน ตลอดระยะการลา แต่ 1 ปีต้องไม่เกิน 30 วัน
ความปลอดภัยในการทำงาน เพื่อให้ลูกจ้างมีความปลอดภัยในการทำงาน ได้แก่ งานก่อสร้าง งานเครื่องจัก งานไฟฟ้า งานที่ต้องทำใต้ดิน งานที่ต้องทำเกี่ยวกับความเย็นหรือร้อนจัด • นายจ้างที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป ต้องมีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเป็นลายลักษณ์อักษร
พระราชบัญญัติเงินทดแทนพระราชบัญญัติเงินทดแทน • เป็นบทบัญญัติที่เกี่ยวกับการคุ้มครองลูกจ้าง โดยนายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบให้แก่ลูกจ้าง เมื่อได้รับอันตรายเจ็บป่วยหรือตายอันมีเหตุมาจากการทำงานให้นายจ้าง และกำหนดให้มีกองทุนเงินทดแทน เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องรีบจัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันทีตามความเหมาะสมแก่การประสบอันตราย เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องจ่ายค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน เป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องจ่ายค่าจัดการศพ
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ เพื่อส่งเสริมแรงงานสัมพันธ์ ให้นายจ้างและลูกจ้างมีองค์กรเป็นเอกภาพในการดำเนินงาน • ให้สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป จัดให้มีข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยทำเป็นหนังสือข้อตกลง เกี่ยวกับ เงื่อนไขการจ้าง กำหนดเวลาทำงาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง การยื่นเรื่องราวร้องทุกข์ การต่ออายุการจ้าง • นายจ้างต้องอนุญาตให้ลูกจ้างตั้งสหภาพแรงงาน ดดยผู้เริ่มก่อการไม่น้อยกว่า 10 คน • ในขณะที่ข้อเรียกร้องอยู่ในระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ย ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติประกันสังคมพระราชบัญญัติประกันสังคม เพื่อส่งเสริมการจัดสวัสดิการให้แก่แรงงาน เพื่อใช้บังคับกับกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบ นายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล ต้องจ่ายเงินสมทบในอัตราไม่เกินร้อยละ 1.5 ของค่าจ้างในวันทำงานปกติของผู้ประกันตน เพื่อจ่ายให้กับลูกจ้างในกรณี ประสบอันตราย เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร ตาย เพื่อสงเคราะห์บุตร ชราภาพ หรือในกรณีว่างงาน นายจ้างมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบ และต้องหักค่าจ้างของลูกจ้าง นำส่งเงินสมทบในส่วนของลูกจ้างด้วย
พระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าวพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว • การทำงานของคนต่างด้าวต้องเป็นไปตามกฏหมาย เพราะมีบางอาชีพที่สงงวนเฉพาะคนไทยเท่านั้น ต่างด้าว หมายถึงบุคคลธรรมดา ไม่ได้รวมถึงนิติบุคคล
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสภาพแวดล้อมโลกการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในสภาพแวดล้อมโลก การปรับปรุงสภาพแวดล้อมโลกเป็นสิ่งจำเป็นในตลาดโลกซึ่งมีการขยายตัวอย่างกว้างขวาง เพื่อให้มีกำไรมากขึ้น มีคู่แข่งขันระดับโลก มีการคมนาคมที่สะดวกรวดเร็ว มีเทคโนโลยีสื่อสารผ่านดาวเทียม อินเตอร์เน็ต และความแตกต่างด้านค่าแรง การทำธุรกิจระหว่างประเทศเป็นสิ่งจำเป็น ความท้าทายต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญต่อธุรกิจ หากไม่เข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงทางธุรกิจที่ส่งผลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ แต่ยังใช้รูปแบบการบริหารแบบเดิม จะทำให้องค์กรประสบปัญหาการดำเนินธุรกิจ
ความเป็น Globalization • การแข่งขันในลักษณะของ e-business ทำให้การจัดการทรัพยากรมนุษย์จะต้องคิดใหม่ในเรื่อง การจัดคนเข้าสู่งาน, การเลื่อนตำแหน่ง, ความจงรักภักดี, การมอบงาน, ค่าตอบแทน, การตัดสินใจ, ความไม่คุ้นเคยกันของคนทำงาน, การสื่อสารข้อความ, สารสนเทศ, ภาษาใหม่ของธุรกิจ เช่น Internet chat room • การเปลี่ยนแปลงลักษณะของงาน บริษัทจำเป็นต้องหาที่ตั้งในทำเลที่มีค่าจ้างที่ถูก และมีค่าแรงงานที่ถูก แนวโน้มที่จะจ้างคนงาน Part-time, คนงานชั่วคราว • การเปลี่ยนแปลงไปสู่การบริการสังคม มีการเริ่มเปลี่ยนจากงานด้านอุตสาหกรรม มาสู่งานบริการ เช่น งานเกี่ยวกับ Fast foods
งานขายปลีก งานที่ปรึกษา งานสอนหนังสือ • การเปลี่ยนแปลงของงานไปสู่การให้ความรู้ และทุนด้านทรัพยากรมนุษย์ ธุรกิจจะประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญซึ่งจะเป็นผู้นำในด้านวิชาการ ความรู้ความสามารถที่จะต้องถ่ายทอดให้กับพนักงาน ซึ่งจะต้องมีการจ่ายเงินลงทุน ด้านการฝึกอบรม เพื่อผลักดันให้พนักงานมีการทำงานรวดเร็วขึ้น สอนงานให้พนักงานมีความรู้ ให้พนักงานดำเนินการและควบคุมธุรกิจของตนเองได้ ต้อง ไม่ใช่พนักงานที่รอรับคำสั่ง พนักงานต้องมีทักษะ มีวินัยของตนเอง ทำงานได้ตามข้อผูกพันกับองค์กร
การเปลี่ยนแปลงด้านการบริหารแบบใหม่ ที่ต้องยึดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การผลิตที่เร่งรีบ การต้องตู่สูส้กับผลิตภํณฑ์ที่เป็นนวัตกรรรมซึ่งไม่เคยมีมาก่อน ทำให้ต้องมีการบริหารจัดการพนักงานแบบใหม่ ทำให้ต้องคำนึงถึง การใช้เทคโนโลยีแทนในจุดที่ใช้คนอยู่ การใช้ระบบอัตโนมัติ • รูปร่างการจัดองค์กรแบบใหม่ สูการจัดองค์กรแบบราบ ไม่เน้นการติดต่อตามสายงานบังคับบัญชา การไม่ผูกติดกับองค์กร แต่พนักงานจะต้องมีหน้าที่โต้ตอบกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง • การให้พนักงานมีอำนาจตัดสินใจมากขึ้น การปฏิบัติงานควรเป็นไปตามความต้องการของลูกค้า
การทำงานด้วยตนเอง การมีส่วนของพนักงานในทีมงาน และการควบคุมคุณภาพของงานด้วยตนเอง • ฐานอำนาจได้ถูกเปลี่ยนแปลง ตำแหน่ง อำนาจ จะไม่เป็นเครื่องมือสำหรับการจัดการอีกต่อไป เนื่องจากความสำเร็จของงานขึ้นอยู่กับความคิดดีๆ และการทำงานที่มีประสิทธิผล การมีพนักงานทีมีมูลค่าทางปัญญาสูง • ผู้บริหารจะไม่ทำหน้าที่บริหารเท่านั้น จะต้องเรียนรู้ที่จะจัดการใน สภาพการณ์ต่างๆ โดยไม่ใช้การสั่งด้วยอำนาจ แต่ต้องแสดงตนเป็น ผู้สนับสนุน ผู้นำทีม หรือที่ปรึกษา • ผู้บริหารต้องเป็นผู้สร้างข้อผูกพัน ให้พนักงานแต่ละเกิดความรู้สึก ตนมีความสำคัญต่อองค์กร และมีความรับผิดชอบต่อลูกค้า
การเปลี่ยนแปลงของความคาดหวังของคนในองค์กร คนทำงานต้องการอะไร การสนองตอบต่อสังคม
หน้าที่ บทบาทในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ต้องเปลี่ยน บทบาท ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะแวดล้อมธุรกิจ -การเพิ่มผลผลิต -การโต้ตอบ -การบริการ -การสร้างข้อผูกพันของพนักงาน เพื่อก้าวเข้าสูการแข่งขัอย่างแท้จริง -กลยุทธ์ระดับบริษัท ต้องทำให้เกิดความสมดุลทั้งจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส อุปสรรค