1.54k likes | 2.8k Views
ภาวะผู้นำทางการบริหาร และความเป็นนักบริหารมืออาชีพ. นักบริหารมืออาชีพ. ความหมาย
E N D
ภาวะผู้นำทางการบริหารและความเป็นนักบริหารมืออาชีพภาวะผู้นำทางการบริหารและความเป็นนักบริหารมืออาชีพ
นักบริหารมืออาชีพ ความหมาย 1.นักบริหารมืออาชีพ หมายถึงผู้บริหารที่พยายามทำให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย หรือนโยบายขององค์กร ด้วยเหตุผลและหลักการซึ่งเป็นที่ยอมรับ โดยประยุกต์ทฤษฎีหรือแนวทางต่างๆ อย่างผสมผสานกลมกลืนกันแล้วนำไปสู่การปฏิบัติ 2. นักบริหารมืออาชีพหมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่เป็นผู้บริหารงานกิจการต่างๆ ให้สำเร็จ โดยอาศัยความรู้ความสามารถของตนเอง และความร่วมมือของผู้อื่น
คุณสมบัติของผู้บริหารที่ดีคุณสมบัติของผู้บริหารที่ดี 1. มีภาวะผู้นำ 2. มีเมตตาธรรม 3. ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผลและความถูกต้อง 4. เป็นนักคิด 5. มีการสร้างวิสัยทัศน์ 6. มีทักษะหลายด้าน - ทักษะในการตัดสินใจ - ทักษะในการวางแผน
- ทักษะในการจัดองค์กร - ทักษะในการแก้ไขปัญหา - ทักษะในการสร้างทีมงาน 7. รอบรู้และมีข้อมูลทันสมัย 8. รู้และเข้าใจบทบาทหน้าที่ที่ทันสมัย 9. กล้าตัดสินใจ 10. มียุทธวิธีและเทคนิค 11. รู้จักประนีประนอมและยืดหยุ่น 12. รู้จักการเจรจาต่อรอง 13. ประสานงานเป็นและประสานประโยชน์ได้
14. รู้จักใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า 15. เป็นนักประชาธิปไตย 16. กระจายอำนาจเป็น 17. รู้จักทำงานในเชิงรุก 18. พิจารณาคนเป็น 19. โปร่งใสและตรวจสอบได้ 20. รู้จักควร ไม่ควร รู้จักความพอดี
แนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพแนวคิดเกี่ยวกับคุณลักษณะของผู้บริหารมืออาชีพ 1. Visions = เป็นผู้มีวิสัยทัศน์ 2. Charisma = เป็นผู้มีเสน่ห์ มีแรงดึงดูด สร้างความเชื่อถือให้คนเกิดศรัทธา คล้อยตามได้ 3. Integrity = มีความเป็นปึกแผ่น เหนียวแน่น 4. Self – Less = ทำอะไรไม่นึกถึงตนเอง แต่คำนึงถึงส่วนรวม 5. Courage = มีความกล้าหาญ 6. Uncompromising = ไม่ยอมอ่อนในบางเรื่อง
7. High – Around = ความมีมาตรฐานในตัวเอง มีความซื่อสัตย์ และมีความโปร่งใส 8. Listening = รู้จักฟัง 9. Fairness = มีความยุติธรรม เที่ยงธรรม 10. Sense of Time = ตรงต่อเวลา 11. Know Others Know Oneself = เข้าใจคนอื่น และเข้าใจตนเอง 12. Judgement = ยุติธรรม 13. Inspiring = มีความมุ่งมั่น 14. Faith = มีความเชื่อมั่น ศรัทธา 15. Institutional = มีความเป็นองค์กร
ความหมายของผู้นำและภาวะผู้นำความหมายของผู้นำและภาวะผู้นำ ผู้นำ(Leader) Fiedler and Garcia (1976) : ผู้นำหมายถึง บุคคลในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้กำกับและประสานงานให้กิจกรรมของกลุ่มมีความสัมพันธ์กัน ซึ่งผู้นำอาจเป็นผู้ที่ได้รับการเลือกตั้ง หรือแต่งตั้ง หรือเป็นผู้ที่แสดงตัว เป็นผู้มีอิทธิพลในกลุ่ม เพื่อที่จะกำกับและประสานงานที่จะนำไปสู่เป้าหมายด้วยพลังของกลุ่ม Carter (1976): ผู้นำหมายถึง ผู้ที่มีลักษณะอย่างใดอย่างหนึ่งใน 5 ประการต่อไปนี้
- เป็นศูนย์รวมของพฤติกรรมกลุ่ม - เป็นผู้ที่สามารถนำกลุ่มไปสู่จุดม่งหมายที่ต้องการได้ - เป็นผู้ที่ได้รับการเลือกจากสมาชิกของกลุ่ม โดยใช้สังคมมิติ - เป็นผู้ที่มีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่นในกลุ่ม และสามารถทำให้กลุ่มเกิดการเปลี่ยนแปลง - เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะ หรือพฤติกรรมของความเป็นผู้นำ ภาวะผู้นำ (Leadership) Fiedler (1971): หมายถึงการปฏิบัติงานของผู้นำเพื่อทำให้กลุ่มประสบความสำเร็จในการบรรลุเป้าหมาย ความสำเร็จของกลุ่มเป็นเครื่องบ่งชี้ประสิทธิภาพของการเป็นผู้นำ
Richards & Engle (1986) : หมายถึงความสามารถของผู้นำที่จะสามารถสื่อสารวิสัยทัศน์ได้อย่างชัดเจน แจ่มแจ้ง ให้ความหมายที่แสดงออกถึงคุณค่า และสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมภายในองค์กร เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้ Drath & Palus (1994) : หมายถึงกระบวนการที่ผู้นำทำให้ผู้คนในองค์กรตระหนักถึงสิ่งที่จะต้องกระทำร่วมกัน เพื่อให้เกิดความเข้าใจและความมุ่งมั่นที่จะทำงานให้กับองค์กร Lambert (2003) : กล่าวว่า ภาวะผู้นำมีนัยอยู่ 3 ประการ คือ 1. ผู้นำต้องทำอะไร 2. เพื่อให้เกิดกิจกรรมใด หรือทำกิจกรรมกับใคร 3. เพื่อนำกิจกรรมนั้นไปสู่เป้าหมายอะไร
บันไดสู่ความเป็นผู้นำบันไดสู่ความเป็นผู้นำ • ต้องรู้จักตนเองเป็นอย่างดี • พัฒนาจิตใจให้เข้มแข็ง • ต้องใจกว้างและไม่เห็นแก่ตัว • ฟังให้เป็น….เป็นผู้ฟังที่ดี • เชื่อในสัญชาตญาณของตน • เรียนรู้จากสิ่งที่ผิดพลาด • รู้จักรับแนวคิดใหม่ๆ • ต้องมีความเด็ดขาดและเด็ดเดี่ยว
9. กล้าหาญ 10. ยืนหยัดรับคำวิจารณ์ 11. ปฏิบัติงานโดยมีเป้าหมายที่ชัดเจน 12. อย่าทำให้ผู้อื่นเสียเวลาโดยไร้ประโยชน์ 13. ให้ความสำคัญกับทุกคนที่ทำงานเพื่อเรา 14. อย่าส่งสัญญาณว่ากำลังไว้วางใจ 15. ใส่ใจกับความล้มเหลว 16. พัฒนาทักษะการเป็นผู้นำให้เข้มแข้ง 17. ทำความเข้าใจกันระหว่างผู้นำและผู้ใต้บังคับบัญชา 18. ต้องไม่มุ่งมั่นแต่เรื่องของผลลัพธ์เพียงอย่างเดียว 19. รู้จักปล่อยวาง 20. ระวังเรื่องของ “การขู่”
ยุทธวิธี 19 ประการสำหรับภาวะผู้นำที่ประสบความสำเร็จ • รักษาสัมพันธภาพที่ดีกับนายของท่าน และผูกใจผู้ใต้บังคับบัญชา • ทำตัวอย่างที่ดีในสิ่งที่ท่านอยากให้ผู้ร่วมงานปฏิบัติ • บอกความคาดหวังของท่านให้ชัดเจนกับผู้ร่วมงาน • นัดประชุมเพื่อสร้างทีมงานให้เข้มแข็ง • ให้รางวัลแก่ผู้ให้ความร่วมมือและทำงานหนัก • ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล • ให้คำชมบางคนที่ให้ความร่วมมือ • รับฟังผู้ใต้บังคับบัญชา
9. เลือกบุคคลที่สามารถทำงานเป็นทีม 10. ร่วมกันกำหนดเป้าหมาย วิสัยทัศน์ 11. ยอมรับความผิดพลาด 12. อย่าให้คำมั่นสัญญาอะไรง่ายๆ 13. บริหารเวลาให้ดี 14. มอบหมายงานให้สอดคล้องกับคน 15. ต้องยอมรับค่าของคนตามความแตกต่างของบุคลากร 16. แก้ปัญหาความขัดแย้งอย่างซื่อตรงและยุติธรรม 17. ให้ข้อมูลการทำงานก่อนที่เขาจะทำงาน 18. ทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นจากแรงกดดันของแต่ละวันบ้าง 19. อย่าเป็นคนที่เคร่งเครียดจนเกินไป
9 วิธีการทำงานในการพัฒนาผู้ร่วมงาน • มอบงานที่สำคัญและงานที่ท้าทายความสามารถ • มอบงานที่ท่านเคยทำให้เขารับผิดชอบทีละน้อยๆ • ยกย่องบุคคลเมื่อเขาปฏิบัติงานดี • ให้เพื่อนร่วมงานได้มีโอกาสตัดสินใจ หรือขอคำแนะนำบางอย่างจากเขา • ส่งไปฝึกอบรมการบริหารหรือสัมมนาอย่างน้อยปีละครั้ง • ให้ข้อมูลย้อนกลับอย่างมีวัตถุประสงค์ จริงใจ • อย่าแก้ปัญหาให้เขา ให้เขาแก้ปัญหาด้วยพวกของเขาเอง • ให้สิ่งอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหา • ฝึกฝนให้ผู้ร่วมงานได้ทำงาน และสามารถรับช่วงงานต่อจากท่านได้
หลักเกณฑ์ 10 ข้อในการมอบหมายงาน • ต้องแน่ใจว่าผู้ใต้บังคับบัญชามีทักษะ ความสามารถที่จะทำงานได้ • ให้ตรวจสอบกับเจ้านายของท่าน จะไม่มีประโยชน์อะไรเลยถึงแม้ท่านจะได้รับการอธิบายอย่างถี่ถ้วน นอกจากต้องแน่ใจว่าเจ้านายตกลงที่จะให้คุณเลิกความรับผิดชอบในเรื่องนั้น • อย่ามอบหมายงานที่ต่ำต้อย แต่ต้องเป็นงานที่สำคัญ • มั่นใจว่าผู้ใต้บังคับบัญชาเข้าใจงานอย่างชัดเจน • ยอมให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานได้ • จัดหาให้มีทรัพยากรที่จำเป็นในการปฏิบัติงาน
7. ให้สิ่งอำนวยความสะดวก จัดให้มีเครือข่ายช่วยเหลือผู้ใต้บังคับบัญชา อย่าให้มีการตรวจตราเข้มงวดจนเกินไป 8. ถ้าผลงานดีก็ยกย่องเขา 9. ถ้าผลงานไม่ดี บอกวิธีการที่จะปรับปรุงให้ด้วย 10. มอบหมายงานให้บ่อยขึ้น ทุกคนก็จะชนะ
ข้อเสนอแนะ 7 ประการในการสื่อสารสู่เบื้องบน • จัดการบริหารแบบ MBWA (Management by Walking Around) • ใช้นโยบายเปิดประตูให้ผู้ร่วมงานทราบว่า ถ้าเขามีปัญหา สามารถมาพบท่านได้ • บอกให้เพื่อนร่วมงานทราบว่า ไม่ควรปกปิดข่าวร้ายให้หน่วยงาน • อย่าแสดงปฏิกิริยาที่ไม่ดีเมื่อได้ยินบางสิ่งที่ผิดพลาด อย่าตำหนิคนที่นำข่าวมาบอก • จัดให้มีช่วงระยะเวลา เพื่อรวบรวมข้อมูลกิจกรรมสังคม เช่น อาจมีการไปปิคนิก จัดงานปาร์ตี้ รับประทานอาหารร่วมกัน
6. ในการประชุมผู้ร่วมงาน สถานภาพปกติ อย่าประเมินค่าสูงเกินไปกับรายงานที่ได้ยิน 7. แสดงให้เห็นว่าท่านคือปุถุชนธรรมดา หัวเราะเยาะตัวเองบ้าง ยอมรับว่าตัวเองก็ทำผิดได้ ขอโทษผู้ร่วมงานเมื่อทำผิด
กฎ 9 ข้อสำหรับการตำหนิ • ท่านต้องแน่ใจว่าข้อมูลถูกต้อง อย่าตำหนิผู้ร่วมงานถ้าไม่มีข้อมูลที่ถูกต้อง • ตำหนิทันทีหลังจากที่มีการฝ่าฝืนเกิดขึ้น • ตำหนิในที่ลับ อย่าเพิ่มความเจ็บช้ำให้เขาได้รับความอับอาย • ท่านต้องแน่ใจว่าท่านใจสงบก่อนที่จะตำหนิ • ชี้พฤติการณ์ผิดที่ชัดเจน ไม่ใช่เรื่องทั่วๆ ไป • มีการสอนและให้คำปรึกษา
7. สร้างแรงจูงใจและส่งเสริมผู้ร่วมงาน ชี้นำในทางที่ดี มองโลกในทางที่ดี 8. สร้างความเข้าใจอันดีด้วยกันทั้งสองฝ่าย อะไรเกิดขึ้น ทำไมจึงเกิดขึ้น จะมีการเปลี่ยนแปลงอะไร เมื่อไร เหตุผลอะไรที่จะไม่เปลี่ยนแปลง 9. หยุดการตำหนิ ให้ปฏิบัติต่อผู้ร่วมงานเหมือนกับคนอื่น อย่าพยายามจับผิด ความหมายและที่มาของผู้นำ • มีความสามารถชักจูงผู้อื่นให้คล้อยตามได้ • มีสถานการณ์เป็นตัวกำหนด • มีการเลือกตั้ง ทำให้ได้รับการยอมรับ
สูตรสำเร็จของผู้นำ 5 ประการ • เข้มแข็ง • แกร่งกล้า 2.1 กล้ารับผิด 2.2 กล้ารับชอบ 3. ศรัทธา 3.1 ศรัทธาตัวเอง 3.2 ศรัทธาผู้ร่วมงาน
4. คุณค่า 4.1 คุณค่าแห่งการคิด 4.2 คุณค่าแห่งการพูด 4.3 คุณค่าแห่งการตัดสินใจ 4.4 คุณค่าแห่งการกระทำ 5. สามารถ ในด้าน 5.1 การวางแผน 5.2 มอบหมายงาน 5.3 ควบคุมงาน 5.4 ประสานงาน 5.5 พัฒนาคน - พัฒนางาน
คุณสมบัติของผู้นำที่ดีคุณสมบัติของผู้นำที่ดี • ไว้วางใจ ไม่หวงอำนาจ • หยั่งรู้และเตรียมพร้อม • รู้จักตัวเอง • มีจินตนาการและการจูงใจ • ประพฤติสิ่งที่น่านับถือ • เชื่อมั่นและรับฟัง • รู้จักปรับตัวและยืดหยุ่น • ยอมรับทั้งความผิดพลาดและความถูกต้อง
คุณลักษณะของผู้นำที่ควรมีอย่างน้อย 5 ประการ • นั่งแถวหน้า • สบตาผู้ฟัง • มีพลังเดินไว • ลื่นไหลการพูด • ครบสูตรยิ้มกว้าง
ผู้นำที่คนไทยชื่นชอบ • มีความซื่อสัตย์สุจริต • มีความยุติธรรม • มีความรับผิดชอบ • มีวิสัยทัศน์ • มีความคิดสร้างสรรค์ • มีการทำงานเป็นทีม • มีความเป็นผู้นำ • มีความเสียสละ • มีการวางแผน • มีวุฒิภาวะ
หลักธรรมาภิบาลสากล 9 ประการ • การมีส่วนร่วม (Participation) • นิติธรรม (Rule of Law) • ความโปร่งใส (Transparence) • การตอบสนอง (Responsiveness) • การมุ่งเน้นฉันทามติ (Concensus Oriental) • ความเสมอภาค เที่ยงธรรม ((Equity) • ประสิทธิผล และประสิทธิภาพ (Effectiveness and Efficiency) • ภาระรับผิดชอบ (Accountasitily) • วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ (Strategic Vision)
องค์ประกอบของความเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพองค์ประกอบของความเป็นผู้บริหารการศึกษามืออาชีพ • คุณลักษณะเฉพาะตัว (Character) ได้แก่ - มีความรับผิดชอบสูง - มีความขยันหมั่นเพียร - มีความอดทนและอุตสาหะ - มีความซื่อสัตย์สุจริต - มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ - มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ - มีความกระตือรือร้นในการทำงาน
2. ทักษะและความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงาน (Skill and Abilities) - มีความรู้ความสามารถในการวางแผน - มีความรู้ความสามารถในเชิงผู้นำ - มีความรู้ความสามารถในการจัดการ - มีความรู้ความสามารถในการเป็นนักวิจัยและพัฒนา - เป็นนักประสานงานและประสานประโยชน์ - มีความรู้ความสามารถในการสื่อสารและมนุษย์สัมพันธ์
3. ประสบการณ์และผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน (Experience and Achievement) ได้แก่ - คุณวุฒิ - ประสบการณ์ - ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน - มีการศึกษา ฝึกอบรม และดูงาน - มีผลงานวิชาการ เอกสาร งานวิจัย และตำรา - ผลสำเร็จในการปฏิบัติงานในช่วงที่ผ่านมา
บทบาทหน้าที่ของนักบริหารมืออาชีพบทบาทหน้าที่ของนักบริหารมืออาชีพ • เป็นสัญลักษณ์ของหน่วยงาน (Symbolic Function) คือเป็นตัวแทนขององค์กรในการทำพิธีต่างๆ • ริเริ่มงานใหม่ๆ (Initiating Function) คือ คิดทำโครงการใหม่ๆ เพื่อให้องค์กรก้าวหน้า • สอน แนะลูกน้อง (Supervisory Function) คือแนะนำการทำงานให้แก่ผู้ร่วมงาน • ตัดสินใจสั่งการ (Decission Function) คือ มีความสามารถในการคิด ตัดสินใจที่จะทำอะไร อย่างไรได้เอง
บทบาทการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาบทบาทการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา • ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องแปรเปลี่ยนความทะเยอทะยานส่วนตนสู้เป้าหมายที่ยิ่งใหญ่กว่า • ผู้บริหารโรงเรียนจะต้องเชื่อว่า สถานศึกษาของตนจะมีผลอย่างใหญ่หลวงต่อชีวิตนักเรียน นักศึกษา • ผู้บริหารโรงเรียนประพฤติตนเป็นแบบอย่าง มีความอ่อนน้อม มีคุณธรรม เป็นนักฟังที่ดี เคารพความรู้สึกและความต้องการของผู้อื่น • มุ่งพัฒนาการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างจริงจัง เอาใจใส่ สนับสนุน ปรับปรุงผลการเรียนการสอน โดยมุ่งผลลัพธ์สูง
5. กล้าคิดใหม่ กล้าทำนอกกรอบเดิมๆ และเมื่อมีการผิดพลาดก็ปรับปรุงแก้ไข โดยไม่ตำหนิ กล่าวโทษผู้ใด 6. มีนิสัยใฝ่เรียนรู้ จริงจัง ต่อเนื่อง สร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ในสถานศึกษา 7. สร้างผู้นำรุ่นใหม่อย่างเป็นระบบ โดยให้มีโอกาสส่งเสริมความก้าวหน้า ชื่นชมกับผลงาน ความสำเร็จของบุคลากร 8. เป็นความหวังของชุมชนและสังคม โดยยึดหลักว่า ความร่วมมือช่วยเหลือ สนับสนุนชุมชนและสังคมเป็นภารกิจหนึ่งของสถานศึกษา และสามารถโน้มน้าวให้ชุมชนและสังคมมาร่วมมือกับสถานศึกษาด้วย
9. มองโลกในแง่ดีและมีความหวังเสมอ มองการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องท้าทายความสามารถ และมองตนเองว่าไม่มีอะไรพิเศษกว่าใคร 10. ตั้งมาตรฐานการทำงานที่ไม่ให้ต่ำกว่าเดิม กระทำอย่างมั่นคง ไม่ท้อแท้ ท้อถอย แม้จะมีอุปสรรคปัญหามากมายเพียงใดก็ตาม ทุกอย่างตัดสินใจบนหลักการโดยไม่ใช้ความรู้สึก หรือแรงกดดันจากภายนอก