1 / 27

โครงสร้างของ DNA

โครงสร้างของ DNA เมื่อสังเกตสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งๆ นักเรียนจะพบว่าลูกหลานมีลักษณะที่ไม่เหมือนกันทีเดียว มีบางลักษณะที่แตกต่างกันไป บ้าง และสามารถถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ ไปยังลูกหลานรุ่นต่อๆไปได้

dezso
Download Presentation

โครงสร้างของ DNA

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. โครงสร้างของ DNA เมื่อสังเกตสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งๆ นักเรียนจะพบว่าลูกหลานมีลักษณะที่ไม่เหมือนกันทีเดียว มีบางลักษณะที่แตกต่างกันไปบ้าง และสามารถถ่ายทอดลักษณะนั้นๆ ไปยังลูกหลานรุ่นต่อๆไปได้ จึงอาจเป็นไปได้ว่ายีนหรือ DNA มีการเปลี่ยนแปลง นักพันธุศาสตร์เรียกการเปลี่ยนแปลงลำดับและจำนวนของเบสใน DNA และการเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับโครโมโซมที่มีผลทำให้ลักษณะหรือฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนไป และสามารถถ่ายทอดลักษณะไปยังรุ่นต่อๆไปได้นี้ว่า การกลายหรือ มิวเทชัน (mutation)

  2. โรคโลหิตจากชนิดซิกเคิลเซลล์ เป็นตัวอย่างของโรคพันธุกรรมที่มีผลมาจากการเกิดมาเทชัน โดยปกติ DNA โมเลกุลใหม่ที่มีลำดับการเรียงตัวของเบสและจำนวนของเบสเหมือน DNA โมเลกุลเดิมทุกประการ แต่ในบางครั้งการจำลองตัวเองของ DNA จะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมได้หลายลักษณะ เช่น เบสเปลี่ยนจากชนิดเดิมเป็นเบสชนิดอื่น นิวคลีโอไทด์ขาดหายไป นิวคลีโอไทด์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น หรือลำดับของนิวคลีโอไทด์ เปลี่ยนไป เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นเป็น มิวเทชันเฉพาะที่ (point mutation) มีผลทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไปจากเดิม ลำดับและชนิดของกรดอะมิโนหลังจากตำแหน่งนี้ไปจะเปลี่ยนไปด้วย สมบัติของโปรตีนหรือพอลิเพปไทด์ที่สังเคราะห์ขึ้นจึงแตกต่างไปจากเดิม

  3. การเกิดมิวเทชันเฉพาะที่การเกิดมิวเทชันเฉพาะที่

  4. การเกิดเฉพาะที่ในบริเวณ DNA ที่เป็นตำแหน่งของยีน สามารถจัดได้ 2 ประเภท คือ 1. การแทนที่คู่เบส (base-pair substritution) การเกิดมิวเทชันในลักษณะเช่นนี้ อาจมีผลต่อการแสดงของลักษณะทางพันธุกรรมหรือไม่ก็ได้ เนื่องจากโคดอนหลายชนิดเป็นรหัสของกรดอะมิโนชนิดเดียวกันได้ เช่น CUU CUC CUA และ CUG หากมีการเกิดมิวเทชันเฉพาะที่ ที่มีการเปลี่ยน รหัส CUC ซึ่งเป็นรหัสของลิวซีน ให้กลายเป็น CUG การเกิด มิเทชันดังกล่าวย่อยไม่มีผลต่อลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้น เพราะยังมีการสร้างสายพอลิเพปไทด์ที่มีลำดับกรดอะมิโนเช่นเดิม                    - ถ้า mRNA ที่มีลำดับเบสเป็น CUU UCU ACA AAA เกิดมิวเทชันเฉพาะที่เป็น UUU UCU ACA AAA จะมีผลอย่างไรในระดับพอลิเพปไทด์และลักษณะของสิ่งมีชีวิต

  5. การเกิดมิวเทชันเฉพาะที่แบการแทนที่คู่เบส เมื่อเกิดการแทนที่ของคู่เบสแล้ว มีผลทำให้รหัสพันธุกรรมเปลี่ยนไปเป็นรหัสพันธุกรรมของกรดอะมิโนต่างชนิดกัน ก็จะทำให้ได้สายพอลิเพปไทด์ที่มีลำดับของกรดอะมิ-โนแตกต่างไป การเปลี่ยนแปลงของลำดับกรดอะมิโนที่เกิดขึ้นนี้ หากบริเวณดังกล่าวมีความสำคัญต่อการเกิดรูปร่างของโปรตีน หรือ มีความจำเพาะต่อการทำงานของโปรตีนชนิดนั้น ย่อมมีผลต่อฟีโนไทป์ของสิ่งมีชีวิตนั้น ตัวอย่างเช่น สาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคโลหิตจาก แบบซิกเคิลเซลล์ที่กล่าวขึ้นข้างต้น มีการเกิดมิวเทชันเฉพาะที่ที่โคดอน ที่เป็นรหัสพันุกรรมของกรดอะมิโนตำแหน่งที่ 6 ของสายบิตาสายหนึ่งของฮีโมโกลบิน

  6. การเกิดมิวเทชันเฉพาะที่แบบการแทนที่ของคู่เบสการเกิดมิวเทชันเฉพาะที่แบบการแทนที่ของคู่เบส

  7. อย่างไรก็ดี หากการเกิดการแทนที่ของเบสในบริเวณโคดอนที่ ไม่เกี่ยวข้องกับบริเวณที่จำเพาะต่อโปรตีนชนิดนั้น หรือเมื่อมีการแทนที่กรดอะมิโนชนิดใหม่ มีสมบัติใกล้เคียงกับชนิดเดิมก็อาจไม่มีผลต่อการทำงานของโปรตีนนั้น - นักเรียนคิดว่าการเกิดมิวเทชันแบบการแทนที่ของคู่เบสทำให้เกิดผลเสียเสมอไปหรือไม่ เพราะเหตุใด การเกิดมิวเทชันแบบการแทนที่ของคู่เบสอาจจะทำให้การสร้างสายพอลิเพปไทด์สั้นลง เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นการแทนที่ ของคู่เบส แล้วได้เป็นรหัสหยุดของการแปลรหัส ซึ่งการเกิดมิวเทชัน ในกรณีแทบทุกกรณีจะได้โปรตีนที่ไม่สามารถทำงานได้

  8. 2. การเพิ่มขึ้นของนิวคลีโอไทด์ (insertion) หรือการขาดหายไปของนิวคลีโอไทด์ (deletion) การเกิดมิวเทชันนี้เป็นการที่มีการเพิ่มขึ้นของคู่นิวคลีโอไทด์ หรือการขาดหายไปของคู่นิวคลีโอไทด์ในบางตำแหน่งของยีน การเกิดมิวเทชันในลักษณะนี้ 1-2 นิวคลีโอไทด์มักมีการเปลี่ยนแปลงในหารทำงานของพอลิ-เพปไทด์อย่างชัดเจนเนื่องจาก การเพิ่มขึ้น หรือลดลงของนิวคลีโอไทด์ในบริเวณที่เป็นโคดอน 1-2 นิวคลีดอไทด์ จะมีผลทำให้ลำดับกรดอะมิโนตั้งแต่ตำแหน่งที่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของโคดอนเปลี่ยนไปทั้งหมด เรียกการเกิดมิวเทชันเช่นนี้ว่า เฟรมชิฟท์มิวเทชัน (frameshift mutation)

  9. การเกิดเฟรมชิฟท์มิวเทชันการเกิดเฟรมชิฟท์มิวเทชัน

  10. - ถ้าการเกิดเพิ่มขึ้น หรือขาดหายไปบริเวณที่เป็นโคดอน 3 นิวคลีโอไทด์ จะเกิดความผิดปกติอย่างไร ปัญหาที่น่าสนใจต่อไปก็คือมิวเทชันที่ทำให้เกิดลักษณะนี้สามารถถ่ายทอดต่อไปได้หรือไม่ และอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดมิวเทชัน จากการศึกษาพบว่ามิวเทชันเกิดขึ้นได้ทั้งในเซลล์ร่างกาย และเซลล์สืบพันธุ์ ซึ่งจะถ่ายทอดลักษณะต่อไปหรือไม่ก็ได้ ถ้ามิวเทชันเกิดขึ้นที่เซลล์สืบพันธุ์ ยีนที่เกิดมิวเทชันจะสามารถส่งต่อไปยังลูกหลานได้โดยตรง แต่หากเกิดกับเซลล์ร่างกายก็ขึ้นอยู่กับเซลล์ร่างกายนั้นจะมีการพัฒนาให้เกิดการสืบพันธุ์ได้หรือไม่ เช่น ในกรณีของพืชหากเกิดการมิวเทชันที่เซลล์เนื้อเยื่อบริเวณตาข้าง ซึ่งเป็นเซลล์ร่างกายก็จะทำให้กิ่งที่เจริญขึ้นมาใหม่มีลักษณะต่างไปจากเดิม ถ้านำกิ่งนั้นไปปักชำหรือขยายพันธุ์ ก็จะได้พืชที่มีลักษณะพันธุกรรมต่างไปจากเดิมและหากมีการสร้างดอกหรือติดผลได ลักษณะดังกล่าวก็จะสามารถถ่ายทอดไปยังรุ่นลูกหลานได้ แต่หากเกิดกับเซลล์รากโอกาสที่จะถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อไปจะลดลง

  11. มิวเทชันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเกิดขึ้นในอัตราต่ำมากแต่มิวเทชันที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเกิดขึ้นในอัตราต่ำมากแต่ มิวเทชันเกิดจากการชักนำโดยมนุษย์ซึ่งทำให้เกิดมิวเทชันในอัตราสูง สิ่งที่สามารถกระตุ้นหรือชักนำให้เกิดมิวเทชัน เรียกว่า สิ่งก่อกลายพันธุ์หรือ มิวทาเจน (mutagen) เช่น รังสีเอกซ์ รังสีแกมมา รังสีอัลตราไวโอเลต และสารเคมี เช่น ควันบุหรี่ สารที่สร้างจากราที่ปนเปื้อนในอาหาร อะฟลาทอกวิน ได้มีการพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งก่อกลายพันธุ์ก่อให้เกิดมะเร็งได้ เนื่องจากมิวเทชันที่เกิดกับเซลล์ร่างกาย แล้วทำให้เกิดการแบ่งเซลล์ผิดปกติ จะเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดมะเร็งดังนั้นมิวทาเจนหลายชนิดจึงเป็น สารก่อมะเร็ง (cacinogen)

  12. ปัจจุบันการชักนำให้เกิดมิวเทชันเฉพาะที่ ถูกนำไปใช้ประโยชน์ในการศึกษาพัฒนาของสิ่งมีชีวิตหลายชนิด เช่น ยีสต์ แมลงหวี่ หนอนตัวกลม และอะราบิดอพซิส(Arabidopsis sp.) ซึ่งเป็นพืชชนิดหนึ่งในวงศ์ผักกาด เพราะการทำให้เกิดมิวเทชันเฉพาะที่เป็นการยับยั้งการทำงานของโปรตีนบางชนิด การสังเกตผลของการขาดการทำงานของโปรตีนนั้นๆ จะทำให้สามารถวิเคราะห์ถึงบทบาทหน้าที่ของโปรตีนชนิดนั้นๆได้

  13. อะราบิดอพซิสArabidopsis thaliana L. เป็นพืชที่นักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ตกลงกันให้เป็นพืชต้นแบบในการจัดทำแผนที่พันธุกรรมและหาลำดับเบสสำเร็จเป็นครั้งแรก เนื่องจากเป็นพืชที่มีลักษณะเหมาะสมในการศึกษา คือ เป็นพืชดอกขนาดเล็ก เจริญเติบโตเร็ว วัฏจักรชีวิตสั้น มีขนาดจีโนมประมาณ 120 ล้านคู่เบส ซึ่งการศึกษาต่อไป จะตรวจสอบหน้าที่ของโปรตีนแต่ละชนิดเพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปเป็นพื้นฐานในการศึกษาและปรับปรุงพืชพันธุ์ชนิดอื่นให้มีลักษณะตามที่ต้องการได้ต่อไป

  14. - เราสามารถสังเกตมิวเทชันที่เกิดขึ้นภายในเซลล์ด้วยกล้องจุลทรรศน์ได้หรือไม่ หากการเกิดมิวเทชันเป็นแบบการเกิดเฉพาะที่ ย่อมจะเป็นการยากที่จะสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของยีน โดยใช้กล้องจุลทรรศน์และ สีย้อมโครโมโซม แต่หากมิวเทชันที่เกิดขึ้นมีการเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจน ในระดับโครโมโซมก็จะสังเกตได้ง่ายขึ้น สิ่งก่อกลายพันธุ์ทั้งที่เป็นรังสีและสารเคมี รวมทั้งความผิดพลาดที่เกิดขณะมีการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส สามารถทำให้เกิดมิวเทชัน ในระดับโครโมโซมได้ ดังตัวอย่างของโรคที่เกิดขึ้นจากความผิดปกติ ของโครโมโซม ต่อไปนี้

  15. กลุ่มอาการคริดูซาต์ เอื้อเฟื้อภาพโดย นพ. วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  16. จะเห็นได้ว่ากลุ่มอาการคริดูชาต์(criduchat) เป็นโรคที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซม มีความผิดปกติที่เกิดกับส่วนของแขนสั้นของโครโมโซมคู่ที่ 5 ขาดหายไป พบประมาณ 1 ต่อ 50,000 ของเด็กแรกเกิด พบในเด็กหญิงมากกว่าเด็กชาย ในอัตราส่วน 2 ต่อ 1 มีลักษณะผิดปกติ คือ ศีรษะเล็ก ใบหน้ากลม ตาเล็กอยู่ห่างกัน และเฉียง ดั้งจมูกแบน ใบหูอยู่ต่ำกว่าปกติ เส้นสายเสียง (vocal cord) ผิดปกติ ทำให้เสียงเล็กแหลมคล้ายเสียงร้องของแมว ปัญญาอ่อน อาจมีชีวิตอยู่ได้จนถึงเป็นผู้ใหญ่ มิวเทชันระดับโครงสร้างของโครโมโซมเป็นความผิดปกติจากการหักของโครโมโซม อาจจะเป็นส่วนปลายหรือส่วนกลางของแท่งโครโมโซมก็ได้ ส่วนปลายที่หักจะเหนียวอาจต่อกับตำแหน่งเดิมทำให้โครโมโซมนั้นปกติ หรือไม่มีการต่อกับโครโมโซมเดิม ชิ้นส่วนโครโมโซมที่หักนั้นเกิดขึ้นได้หลายลักษณะ

  17. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซม

  18. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมเกิดขึ้นการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโครโมโซมเกิดขึ้น ทั้งที่จำนวนโครโมโซมยังมีเท่าเดิม แต่ส่วนของโครโมโซม จะเปลี่ยนไปคือมีส่วนของโครโมโซมลดลงหรือเพิ่มขึ้น หรือมีการเรียงตัวของนิวคลีโอไทด์สลับตำแหน่งกันหรือเปลี่ยนที่ไปจากเดิม มีผลทำให้ลักษณะของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลงไป กลุ่มอาการดาวน์ เอื้อเฟื้อภาพโดย นพ.วรศักดิ์ โชติเลอศักดิ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  19. กลุ่มอาการดาวน์ (Down syndrome) เกิดจากจำนวนโครโมโซม คู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง เป็น 47 โครโมโซม มีลักษณะที่ผิดปกติ คือ รูปร่างเตี้ย ตาห่าง หางตาชี้ขึ้น ลิ้นโตคับปาก คอสั้นกว้าง นิ้วมือนิ้วเท้าสั้น ลายนิ้วมือผิดปกติ ปัญญาอ่อน จากสถิติพบว่าแม่ที่มีอายุ 45 ปี มีโอกาสเสี่ยงในการมีบุตรที่เป็นโรคนี้มากกว่าแม่ที่มีอายุ 20 ปี ประมาณ 50-60 เท่า

  20. การเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซมมักจะเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซมมักจะเกิดขึ้นเมื่อมี การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสผิดปกติ โดยฮอมอโลกัสโครโมโซม จะไม่แยกออกจากกันในระยะแอนาเฟสของไมโอซิสI หรือไมโอซิสII โครโมโซมจึงเคลื่อนย้ายไปยังขั้วเดียวกันของเซลล์ เรียกกระบวนการนี้ว่า นอนดิสจังชัน(non-disjunction) เซลล์สืบพันธุ์จึงมีจำนวนโครโมโซมขาดหรือเกิน มาจากจำนวนปกติ เมื่อเซลล์สืบพันธุ์ที่ผิดปกตินี้ปฏิสนธิกับเซลล์สืบพันธุ์ที่ปกติจากพ่อหรือแม่ ก็จะได้ไซโกตที่มีจำนวนโครโมโซมผิดปกติ ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ ในลักษณะต่างๆกัน

  21. การเกิดนอนดิสจังชันของออโทโซมเมื่อแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส การเกิดนอนดิสจังชันของออโทโซมเมื่อแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส

  22. การเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซมเกิดขึ้นได้ 2 แบบ คือ จำนวนเพิ่มขึ้นหรือลดลง พบได้ทั้งออโทโซมและโครโมโซมเพศ ตัวอย่างของโรคพันธุกรรมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซม กลุ่มอาการ (syndrome) ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซมในคน

  23. พอลิพลอยด์ในพืชเกิดได้ 2 แบบ คือ ออโตพอลิพลอยด์(autopolyploid) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนดครโมโซมเหมือนกับ พันธุ์พ่อแม่ เช่น ออโตทริพลอยด์มีดครโมโซมเป็น AAA. และ อัลโลพอลิพลอยด์(allopolyploid) หมายถึงสิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนชุดโครโมโซมต่างจากสปีชีส์กันส่วนใหญ่เกิดการเพิ่มจำนวนชุดเป็น 2 เท่า มีโครโมโซมเป็น AABB พืชที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์เพื่อการใช้ประโยชน์บางชนิด เป็นพืชที่เป็น อัลโลพอลิพลอยด์ เพราะมีลักษณะของสปีชีส์ต่างๆที่ต้องการ เช่น Triticale sp.

  24. การเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซมเป็นชุดจากจำนวนดิพลอยด์ สิ่งมีชีวิตที่มีจำนวนโครโมโซมมากกว่า 2 ชุด เรียกว่า พอลิพลอยด์ (polyploidy) ส่วนใหญ่เกิดจากการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสผิดปกติจากปรากฏการณ์นอดิสจังชัน ทำให้เซลล์สืบพันธุ์มีโครโมโซม 2 ชุด หรือ ดิพลอยด์ พอลิพลอยด์พบได้ทั้งในพืชและสัตว์ ส่วนใหญ่พบในพืช ทำให้พืชมีขนาดใหญ่กว่าพวกดิพลอยด์ เช่น ขนาดของดอกหรือผล นอกจากนี้ยังมีผลผลิตหรือมีการสร้างสารบางอย่างเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวโพดพันธุ์ 4n มีวิตามินสูงกว่าพันธุ์ 2n ยาสูบพันธุ์ 4n มีสารนิโคตินสูงกว่าพันธุ์ 2n เป็นต้น พืชที่เป็นพอลิพลอยด์เลขคู่ ได้แก่ 4n 6n 8n สามารถสืบพันธุ์และถ่ายทอดพันธุกรรมต่อไปได้ แต่พืชที่เป็นพอลิพลอยด์เลขคี่ ได้แก่ 3n 5n 7n มักเป็นหมัน จึงนำมาใช้ประโยชน์ในการผสมสายพันธุ์เพื่อให้ได้พืชที่ไม่มีเมล็ด เช่น แตงโม องุ่น เป็นต้น

  25. พอลิพลอยด์ในสัตว์พบน้อยกว่าในพืช สำหรับการเปลี่ยนแปลงจำนวนโครโมโซมในคน ส่วนใหญ่เป็นการเพิ่มขึ้นหรือลดลงเป็นจำนวนแท่ง ทำให้อายุสั้น พิการทางร่างกายหรือสมอง ส่วนพอลิพลอยด์จะพบได้น้อยเพราะมีผลกระทบที่รุนแรงทำให้เอ็มบริโอเสียชีวิตตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา

  26. อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและจำนวนของโครโมโซมจำเป็นต้องอยู่ในขอบเขตที่จำกัด จึงจะทำให้สิ่งมีชีวิตนั้นอยู่รอดได้ ถ้าการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากเกินไปก็จะทำให้สิ่งมีชีวิตถึงตายได้ บางครั้งการเรียงตัวแบบใหม่ อาจทำให้การดำรงชีวิตดีกว่าเรียงตัวของยีนแบบเดิม และสามารถ่ายทอดไปยังรุ่นต่อๆไปได้ มีผลทำให้เกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตชนิดนั้นๆ ความผิดปกติของโครโมโซม บางครั้งเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะเกิดผลเสียแต่ก็ไม้ทำให้ถึงตาย ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับโครโมโซมและ DNA จึงมีผลทำให้ลักษณะของสิ่งมีชีวิตแตกต่างกันไป แต่หากเกิดการเปลี่ยนแปลงทาพันธุกรรมและให้เป็นผลลบ เช่น การเกิดโรคทางพันธุกรรมกับมนุษย์จะสร้างปัญหาทางด้านจิตใจ เศรษฐกิจ และสังคมเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ดีความหลากหลายของยีนที่เกิดจากมิวเทชันทำให้เกิดการแปรผันทางพันธุกรรม จึงทำให้ลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเปลี่ยนแปลง เกิดสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆอย่างหลากหลาย ซึ่งเป็นต้นเหตุ ที่นำไปสู่การเกิดวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่อไปในอนาคต

More Related