100 likes | 389 Views
สำนักพิมพ์ บรรลือสาส์น. ประวัติ. รูปแบบหนังสือ. หนังสือขายดี. นักเขียน. สมาชิก 1.ด.ช.ชีวิน เขียวหวาน เลขที่ 3 2.ด.ช. ธีรวัฒน์ วงศ์ขัน เลขที่ 5 ชั้น ม.2/9. ประวัติ , ความเป็นมา.
E N D
สำนักพิมพ์บรรลือสาส์นสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ประวัติ รูปแบบหนังสือ หนังสือขายดี นักเขียน สมาชิก 1.ด.ช.ชีวิน เขียวหวาน เลขที่ 3 2.ด.ช.ธีรวัฒน์ วงศ์ขัน เลขที่ 5 ชั้น ม.2/9
ประวัติ,ความเป็นมา • สำนักพิมพ์บรรลือสาสน์ก่อตั้งโดยบันลือ อุตสาหจิต เมื่อปี พ.ศ. 2498 ที่ถนนนครสวรรค์ ใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศจังหวัดพระนคร ในระยะแรกสำนักพิมพ์ได้จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายนวนิยายของทมยันตี,แก้วเก้า หนังสือเพลงลูกทุ่งและเพลงลูกกรุง และหนังสือการ์ตูนชุดต่างๆ เช่น สิงห์เชิ้ตดำ, หนูป้อม - ลุงเป๋อ, หนูจ๋า, เบบี้, หัสนิยายชุด พล นิกร กิมหงวน และอื่นๆ โดยทางสำนักพิมพ์ได้ทาบทามให้ เสถียร หาญคุณตุละ เจ้าของนามปากกา "จิงโจ้" มาเป็นนักเขียนภาพประกอบและนักเขียนการ์ตูนรายแรกของสำนักพิมพ์ หลังจากนั้นจึงมีนักเขีบนคนอื่นๆ ได้แก่ เศก ดุสิต, จำนูญ เล็กสมทิศ (จุ๋มจิ๋ม), วัฒนา เพชรสุวรรณ (วัฒนา, อาวัฒน์, ตาโต) เข้ามาร่วมงานด้วยกัน ส่วนด้านการตลาดนั้น บันลือ อุตสาหจิตได้ลงทุนเป็นผู้บุกเบิกการตลาดด้วยตัวเอง เดินทางสำรวจและเยี่ยมเยียนลูกค้าตามจังหวัดต่างๆ ทำให้สำนักพิมพ์จึงประสบความสำเร็จ ทั้งด้านคุณภาพการจัดทำและการจัดจำหน่ายในระยะเวลาไม่นานนัก • ในปี พ.ศ. 2516วิธิตอุตสาหจิต บุตรชายคนโตของบันลือ (ขณะนั้นอายุได้ 18 ปี) ในฐานะบรรณาธิการ ได้ให้กำเนิดนิตยสารการ์ตูนชื่อ "ขายหัวเราะ" ซึ่งเป็นหนังสือการ์ตูนตลกรูปแบบการ์ตูนแก๊กแบบ 3 ช่องจบ โดยรวบรวมผลงานจากนักเขียนการ์ตูนหลายคนไว้ในเล่มเดียว นิตยสารดังกล่าวได้รับความนิยมจากผู้อ่านเป็นอย่างยิ่ง
ทำให้ในปี พ.ศ. 2518วิธิตจึงได้ออกนิตยสารการ์ตูนอีกเล่มหนึ่งชื่อ "มหาสนุก" ซึ่งมีรูปแบบเนื้อหาที่คล้ายกันกับขายหัวเราะ แต่ได้มีการเพิ่มการ์ตูนเรื่องสั้นไว้ในนิตยสารฉบับนี้ด้วย นิตยสารทั้งสองเล่มได้กลายเป็นแหล่งสร้างสรรค์นักเขียนการ์ตูนรุ่นใหม่ เช่น นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์ (นิค), ภักดี แสนทวีสุข (ต่าย), ผดุง ไกรศรี (เอ๊าะ) ฯลฯ และการ์ตูนยอดนิยมชุดต่างๆ เช่น ปังปอนด์, สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่, หนูหิ่นอินเตอร์ และยังคงได้รับความนิยมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน • ปัจจุบันสำนักพิมพ์บรรลือสาส์นใช้ชื่อว่า "บริษัท บันลือ พับลิเคชั่นส์ จำกัด" ในเครือบรรลือกรุ๊ป มีที่ตั้งปัจจุบันอยู่ที่ 959 ซอยสุทธิพร ถนนประชาสงเคราะห์ แขวงดินแดง เขตดินแดงกรุงเทพมหานคร
รูปแบบหนังสือ • ขายหัวเราะ และหนังสืออื่นๆในบรรลือสาส์น เป็นนิตยสารที่นำเสนอการ์ตูนตลกสามช่องจบ ภายในลงพิมพ์เรื่องขำขันแทรกเป็นช่วงๆ และเรื่องสั้นสามเรื่องในแต่ละฉบับ ซึ่งไอเดียในการเขียนการ์ตูนแก๊ก ขำขัน และเรื่องสั้นเหล่านี้ ผู้อ่านสามารถเขียนเพื่อนำเสนอให้ทางนิตยสารตีพิมพ์ได้ โดยต้องผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการก่อน นักเขียนเรื่องสั้นที่มีชื่อเสียงโด่งดังหลายคนก็เคยมีผลงานตีพิมพ์ในนิตยสารฉบับนี้ เช่น อธิชัย บุญประสิทธิ์, ดำรง อารีกุล, น้ำอบ, นอติลุส, เพชรน้ำเอก เป็นต้น • ส่วนขนาดรูปเล่มของขายหัวเราะ ในสมัยเริ่มแรกมีรูปเล่มขนาดใหญ่เท่ากระดาษ A4 ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 จึงได้เริ่มปรับขนาดหนังสือให้เล็กลง โดยใช้ชื่อหนังสือเล่มเล็กว่า "ขายหัวเราะฉบับกระเป๋า" มีขนาดเท่ากระดาษ B5 ซึ่งเป็นขนาดของหนังสือขายหัวเราะในปัจจุบัน ส่วนขายหัวเราะฉบับเดิมก็ยังคงพิมพ์ต่อไป จนกระทั่งมีการยกเลิกในเวลาต่อมา เหลือเพียงขายหัวเราะฉบับกระเป๋าเท่านั้น
หนังสือขายดี 1.ขายหัวเราะ • ขายหัวเราะ เป็นชื่อของนิตยสารการ์ตูนไทยรายสัปดาห์ จัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ภายใต้การบริหารงานของ วิธิตอุตสาหจิต และเป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดเล่มหนึ่งในประเทศไทย ควบคู่ไปกับนิตยสารมหาสนุก ซึ่งจัดพิมพ์โดยบรรลือสาส์นเช่นกัน เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกเมื่อ พ.ศ. 2516 • ราคาขายของขายหัวเราะในสมัยเล่มใหญ่นั้นอยู่ที่ 7 บาท ต่อมาเมื่อมีการปรับขนาดลงมาเป็นฉบับกระเป๋า จึงมีการปรับราคาหนังสือใหม่เป็น 10 บาท ภายหลังจึงขึ้นราคาเป็น 12 บาท และ 15 บาท (ราคาปัจจุบัน ปรับขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2549) ตามต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น • กำหนดการออกนิตยสารนั้นเดิมกำหนดออกเป็นรายปักษ์ (ราย 15 วัน) ภายหลังจึงปรับให้ออกเป็นรายสัปดาห์พร้อมกับมหาสนุก โดยขายหัวเราะมีกำหนดออกในวันอังคาร ส่วนมหาสนุกออกจำหน่ายในวันศุกร์ ต่อมาจึงปรับกำหนดออกอีกครั้งให้เป็นวันพุธทั้งสองฉบับ
หนังสือขายดี 2.มหาสนุก • มหาสนุก เป็นนิตยสารการ์ตูนรายสัปดาห์ซึ่งได้รับความนิยมอย่างสูงเล่มหนึ่งในประเทศไทย จัดพิมพ์และจัดจำหน่ายโดยสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น เริ่มตีพิมพ์ฉบับแรกในปี พ.ศ. 2518 หลังจากที่ก่อนหน้านั้นบรรลือสาส์นได้ออกนิตยสารขายหัวเราะในปี พ.ศ. 2516 และได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยมีวิธิตอุตสาหจิต เป็นบรรณาธิการ • รูปแบบและเนื้อหาของนิตยสารมหาสนุกนั้นคล้ายคลึงกับนิตยสารขายหัวเราะ กล่าวคือ เน้นการตีพิมพ์การ์ตูนแก๊กเป็นหลัก (โดยทีมงานนักเขียนการ์ตูนในนิตยสารเล่มนี้ใช้ทีมเดียวกับที่เขียนในขายหัวเราะ) เนื้อหาอาจเป็นได้ทั้งเรื่องราวในชีวิตประจำวัน เศรษฐกิจการเมือง หรือกระแสความนิยมต่างๆ ในสังคมไทยและต่างประเทศ มีการตีพิมพ์ขำขัน ภาพตลกจากต่างประเทศ สาระน่ารู้ต่างๆ แต่ส่วนที่ต่างไปจากขายหัวเราะคือ การตีพิมพ์เรื่องสั้นในมหาสนุกนั้นจะตีพิมพ์เพียงเรื่องเดียวต่อฉบับ และมีการ์ตูนเรื่องสั้นชุดต่างๆ จากฝีมือของนักเขียนการ์ตูนบรรลือสาส์นลงพิมพ์ฉบับละ 2 เรื่อง ในท้ายเล่มยังมีเกมชิงรางวัลรูปแบบต่างๆ และการตอบจดหมายของผู้อ่านโดยนักเขียนการ์ตูน (ปัจจุบันได้มีการเลิกตีพิมพ์หน้าตอบจดหมายแล้ว) • เฉพาะการ์ตูนเรื่องสั้นซึ่งตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกนั้น การ์ตูนชุดใดที่ได้รับความนิยมจากผู้อ่านมากก็จะได้รับการตีพิมพ์เป็นนิตยสารรวมเล่มในชื่อชุด "มหกรรมมินิซีรีส์" เริ่มพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2535 ซึ่งการ์ตูนบางชุดก็ยังคงได้รับความนิยมจากผู้อ่านมาอย่างต่อเนื่องและมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน เช่น การ์ตูนชุด "ไอ้ตัวเล็ก" ของภักดี แสนทวีสุข การ์ตูนชุด "บ้าครบสูตร" และ "สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่" ของอารีเฟน ฮะซานี เป็นต้น แม้ว่าผู้เขียนจะไม่ได้นำการ์ตูนเรื่องสั้นชุดของตนเองลงพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุกแล้วก็ตาม
หนังสือขายดี 3.ปังปอนด์ • ปังปอนด์ เป็นชื่อชุดการ์ตูนไทยซึ่งเป็นผลงานของ ภักดี แสนทวีสุข (ต่าย ขายหัวเราะ) เดิมใช้ชื่อการ์ตูนชุดนี้ว่า ไอ้ตัวเล็ก เริ่มตีพิมพ์ครั้งแรกในนิตยสารมหาสนุกในเครือสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น ต่อมาจึงได้พิมพ์รวมเล่มในชื่อ "ไอ้ตัวเล็ก" โดยทยอยออกเป็นรายเดือน เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคมพ.ศ. 2535 เป็นต้นมา ภายหลังได้มีการเปลี่ยนชื่อหัวหนังสือเสียใหม่เป็น "ปังปอนด์" ตามชื่อตัวละครเอกของการ์ตูนชุดนี้ และยังคงตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน • การ์ตูนชุดปังปอนด์ได้มีการนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์แอนิเมชันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2545 โดยบริษัท วิธิตา แอนิเมชัน จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบันลือกรุ๊ป (เครือเดียวกับสำนักพิมพ์บรรลือสาส์น) ในชื่อ "ปังปอนด์ ดิ แอนิเมชัน ตอน ตะลุยโลกอนาคต" ออกฉายครั้งแรกเป็นตอน ๆ ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2545 ได้รับการตอบรับจากผู้ชมอย่างท้วมท้น จากสื่อมวลชนทั้งในและต่างประเทศ จนได้รับการกล่าวขานว่าเป็นหนึ่งในดาราการ์ตูนชั้นนำของไทย และได้มีการตัดต่อใหม่สำหรับฉายในโรงภาพยนตร์ในเดือนตุลาคม ปีเดียวกัน เพื่อฉลองครบรอบ 10 ปี การ์ตูนชุดปังปอนด์ ภาพยนตร์แอนิเมชันเรื่องนี้นับได้ว่าเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกที่สร้างด้วยภาพคอมพิวเตอร์กราฟิก 3 มิติตลอดทั้งเรื่อง เนื่องจากที่ผ่านมาภาพยนตร์แอนิเมชันในประเทศไทยล้วนแต่เป็นภาพแบบ 2 มิติทั้งสิ้น และยังเป็นหนึ่งในปรากฏการณ์ภาพยนตร์แอนิเมชั่นไทยเรื่องแรก ที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ Imax Theater หลังจากนั้นบริษัท วิธิตายังได้สร้างการ์ตูนแอนิเมชันชุด ปังปอนด์ ต่อเนื่องออกมาหลายชุดจนถึงปัจจุบัน โดยการ์ตูนแอนิเมชันชุดล่าสุดคือ "ปังปอนด์ ตัวจิ๋ว หัวใจฮีโร่"
นักเขียนในปัจจุบัน • วัฒนา (วัฒนา เพ็ชรสุวรรณ, นามปากกาอื่น: ตาโต) - แฟนการ์ตูนนิยมเรียกว่า "อาวัฒน์" ปัจจุบันดูแลนิตยสาร "เบบี้" เขียนปกนิตยสาร "ขายหัวเราะ" และมีผลงานตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ข่าวสดและนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ • จุ๋มจิ๋ม (จำนูญ เล็กสมทิศ) - ปัจจุบันรับผิดชอบดูแลนิตยสารหนูจ๋าเพียงฉบับเดียวเท่านั้น แต่ยังปรากฏรายชื่อนักเขียนอยู่ในขายหัวเราะและมหาสนุก • ต่าย (ภักดี แสนทวีสุข) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด "ปังปอนด์" • นิค (นิพนธ์ เสงี่ยมศักดิ์) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด "คนอลเวง" • ต้อม (สุพล เมนาคม) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด "แก๊งจอมป่วน" • เฟน (อารีเฟน ฮะซานี) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด "สาวดอกไม้กะนายกล้วยไข่" และ "รามาวตาร" • หมู (สุชาติ พรหมรุ่งโรจน์) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุด "กระบี่หยามยุทธภพ" และ "สามก๊ก มหาสนุก" • ปุ๋ย (ศุภมิตร จันทร์แจ่ม) • ขวด (ณรงค์ จรุงธรรมโชติ) - ปัจจุบันมีงานเขียนการ์ตูนล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์รายวัน และมีผลงานให้กับมหาสนุก • เอ๊าะ (ผดุง ไกรศรี) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุดหนูหิ่น อินเตอร์ • โย่ง (อัครเดช มณีพันธุ์) • ช่วง (ช่วง ชุ่มวงศ์
ก๊อก (พิชิต สรรพพันธ์) • น็อต (พรพล สำหรับสุข) - ปัจจุบันมีผลงานตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ • ดั๊มพ์ (พนัส คุ้มคำมี) • ป้อม (ศุภชัย ลัทธิรมย์) • โดด (สมพงษ์ สุวรรณดี) • เอ๊ะ (ภูวดล ปุณยประยูร) • จ๊ะโอ๋ (นิวัฒน์ ทองสุข) • ไก่ (ธรรมรัตน์ รมย์นุกูล) - ปกติทำหน้าที่ในกอง บก. ขายหัวเราะและมหาสนุก ตำแหน่งบรรณาธิการที่ปรึกษา • เด่น (จักรพงศ์ กว้างขวาง) • วุ่น (พิรุณ บุญประเสริฐ) • ก้าง (พรพิทักษ์ ประเสริฐ) • วิรัตน์ (วิรัตน์ ยืนยงพัฒนากิจ) • มังกร (มังกร สรพล) • ยุง (จีรพงษ์ ศรนคร) • น้อยหน่า (สุริยา อุทัยรัศมี) • เดอะดวง (วีระชัย ดวงพลา) • ต้น (จักรพันธ์ ห้วยเพชร) - เจ้าของผลงานการ์ตูนชุดสตรีทบอลสะท้านฟ้า (ตีพิมพ์ในนิตยสารมหาสนุก) • บอย (นามปากกาอื่น : ไอ้บอย) - นักเขียนหน้าใหม่และเป็นนักเขียนวัยรุ่นคนแรกของขายหัวเราะกับมหาสนุก • ม่อน - นักเขียนหน้าใหม่และเป็นนักเขียนวัยเยาว์คนแรกของขายหัวเราะ-มหาสนุก
นักเขียนในอดีต • ปิยะดา (นาวาอากาศเอกประเวส สุขสมจิตร) • พลังกร - ปัจจุบันมีงานเขียนการ์ตูนล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ • พล (พล พิทยาสกุล) - ปัจจุบันเป็นนักเขียนการ์ตูนล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์ข่าวสดและนิตยสารมติชนสุดสัปดาห์ • อ้อ อ่อนน้อม - ลาออกเมื่อ พ.ศ. 2532 • แอ๊ด (อรรณพ กิติชัยวรรณ) - ปัจจุบันมีผลงานล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ • เดี่ยว (ธรรรักษ์ แสงสุวรรณ) - ฉายา "มะเดี่ยวศรีหลานยายปริก" ยุติการเขียนการ์ตูนเมื่อพ .ศ. 2547 ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ • ต่อ (โพชฌงค์ ทองอนันต์) - เสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. 2547 จากอุบัติเหตุรถชน • สัญ (สัญญา พูลศรี) - ปัจจุบันเปิดบริษัทของตัวเอง • เอ๋ (ศิรินันท์ วิชาตรง) - นักเขียนการ์ตูนหญิงคนแรกของขายหัวเราะ ปัจจุบันเป็นศิลปินอิสระ • อ๋อน (วีระเดช ไกรศรี) - น้องชายของผดุง ไกรศรี (เอ๊าะ) ปัจจุบันเป็นนักแต่งเพลงลูกทุ่ง • กุ่ย (ชัยวัฒน์สุวัฒนรัตน์) - ปัจจุบันมีงานเขียนการ์ตูนล้อการเมืองในหนังสือพิมพ์คมชัดลึก • เชษฐา - ปัจจุบันมีงานเขียนการ์ตูนตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ • บัฟ (เศวต อติยศพงศ์) - เลิกเขียนการ์ตูนให้กับบรรลือสาส์นแล้ว ปัจจุบันเปิดสำนักพิมพ์ใหม่ของตัวเอง • เดช (รณเดช ส่องศิริ) - ลาออกเมื่อ พ.ศ. 2538 • รินทร์ (จักรนรินทร์ พรหมอินทร์) - เลิกเขียนการ์ตูนให้กับบรรลือสาส์นแล้ว • จิ๋ว - ลาออกเมื่อ พ.ศ. 2538 • เดีย (ทวิรัชต์ เตียนสำรวย) - ปัจจุบันเป็นเจ้าหน้าที่เขตจอมทอง กทม. • อ่อน (อนุวัฒน์ ชัยเมือง; นามปากกาอื่น:แก๊ก; ใช้นามปากกานี้ในสวนเด็ก)