1 / 21

จัดทำโดย ด.ญ.ลัดดาวัลย์ โกสุวรรณ ชั้นม.3/1 เลขที่ 19

วิชา สุขศึกษา. เรื่อง ชีวิตและครอบครัว. จัดทำโดย ด.ญ.ลัดดาวัลย์ โกสุวรรณ ชั้นม.3/1 เลขที่ 19 ด.ญ.ภัศธรินทร์ สงวนแก้ว ชั้นม.3/1 เลขที่ 20 ด.ญ.เมธาวี นุกูลอุดมพานิชย์ ชั้นม.3/1 เลขที่ 27. เสนอ ครูวรัญญา แก้วบุรงค์. ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๘ โรงเรียนไผทอุดมศึกษา. คำนำ.

dillon
Download Presentation

จัดทำโดย ด.ญ.ลัดดาวัลย์ โกสุวรรณ ชั้นม.3/1 เลขที่ 19

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. วิชา สุขศึกษา เรื่อง ชีวิตและครอบครัว จัดทำโดย ด.ญ.ลัดดาวัลย์ โกสุวรรณ ชั้นม.3/1 เลขที่ 19 ด.ญ.ภัศธรินทร์ สงวนแก้ว ชั้นม.3/1 เลขที่ 20 ด.ญ.เมธาวี นุกูลอุดมพานิชย์ ชั้นม.3/1 เลขที่ 27 เสนอครูวรัญญา แก้วบุรงค์ ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๘ โรงเรียนไผทอุดมศึกษา

  2. คำนำ จากการศึกษาเรื่องชีวิตและครอบครัวทำให้กลุ่มของข้าพเจ้าได้ทราบถึงเรื่องต่างๆที่เกี่ยวกับ อารมณ์ทางเพศและการจัดการที่เหมาะสม วิธีการสร้างและสัมพันธ์ธรรมชาติกับผู้อื่น และเรื่องต่างๆซึ่งกลุ่มของข้าพเจ้าคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านไม่มากก็น้อย

  3. อารมณ์ทางเพศและการจัดการที่เหมาะสมอารมณ์ทางเพศและการจัดการที่เหมาะสม ๑. อารมณ์ทางเพศ ๑.๑ ความหมายของอารมณ์ทางเพศ อารมณ์ทางเพศ เป็นความรู้สึกและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเนื่องจากเมื่อเข้าสู่วัยรุ่นร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเพศ (ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนในเพศชาย และฮอร์โมนเอสโตรเจนในเพศหญิง) จึงเกิดความรู้สึกเกี่ยวข้องกับความต้องการทางเพศ ๑.๒ การเกิดอารมณ์ทางเพศ อารมณ์ทางเพศที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน ทั้งเพศชายและเพศหญิงเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น เนื่องจากการสร้างฮอร์โมนในร่างกาย ร่วมกับการกระตุ้นของสิ่งเร้าจากภายนอก

  4. ฮอร์โมนเพศ วัยรุ่นชายและหญิง มีการสร้างฮอร์โมนเพศ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดอารมณ์ทางเพศ ฮอร์โมนดังกล่าว มีดังนี้ “เทสโทสเตอโรน” (Testosterone) เป็นฮอร์โมนเพศชาย ทำให้มีเสียงห้าว มีขนขึ้นตามตัว รักแร้ และอวัยวะเพศ อัณฑะมีการผลิตอสุจิ (Sperm) เริ่มเกิดฝันเปียก แสดงว่าเริ่มเข้าสู่วัยรุ่น และเกิดอารมณ์ทางเพศ “เอสโตรเจน” (Estrogen) เป็นฮอร์โมนเพศหญิง กระตุ้นให้มีประจำเดือน และรังไข่ผลิตไข่ รูปร่างมีสัดส่วน มีหน้าอก เอวคอด สะโพกผาย ผิวพรรณเปล่งปลั่ง แสดงว่าเริ่มเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นและเกิดอารมณ์ทางเพศ

  5. อารมณ์และความต้องการทางเพศอารมณ์และความต้องการทางเพศ อารมณ์และความต้องการทางเพศเป็นการทำงานโดยอัตโนมัติของร่างกายจากการควบคุมของระบบประสาทอัตโนมัติ โดยการทำงานจะไปตามลำดับขั้นตอนต่างๆ ดังนี้ เมื่อมีการกระตุ้นจากสิ่งที่ได้เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ได้สัมผัส รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ทางเพศส่งต่อไปที่อวัยวะรับความรู้สึก อวัยวะรับการกระตุ้น ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ความรู้สึกและอารมณ์ทางเพศจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่ออวัยวะรับความรู้สึกนั้นมีความสามารถรับการกระตุ้น จิตใจ ถ้าจิตใจเศร้าหมอง ไม่เบิกบาน วิตกกังวล ไม่ชอบ เกลียด ก็อาจทำให้อารมณ์และความรู้สึกทางเพศเกิดขึ้นได้ยาก

  6. การจัดการอารมณ์ทางเพศการจัดการอารมณ์ทางเพศ อารมณ์ทางเพศเกิดขึ้นเป็นเรื่องธรรมชาติ ร่างกายของคนเราถูกสร้างมาอย่างสมดุล โดยสร้างให้คนมีอารมณ์ทางเพศ หากเรามีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติในเรื่องเพศ และมีสติรู้ตัวเองก็จะช่วยลดหรือผ่อนคลายความบีบคั้นจากฮอร์โมนในร่างกาย โดยทำกิจกรรมที่น่าสนใจ ซึ่งมีมากมายหลากหลายรูปแบบ หากเรามีความรู้เรื่องเพศที่ถูกต้องแล้ว ก็จะสามารถแก้ไขความกังวลใจเกี่ยวกับเรื่องเพศได้ แล้วก็สามารถที่จะควบคุมการแสดงออกของพฤติกรรมทางเพศได้อย่างถูกต้องตามประเพณีและวัฒนธรรมที่เหมาะสม การตอบสนองต่ออารมณ์และสิ่งเร้าทางเพศนั้นไม่จำเป็นต้องมีเพศสัมพันธ์เสมอไป เราจึงหาทางออกและเบี่ยงเบนไปสนใจเรื่องอื่นๆ

  7. การระงับอารมณ์ทางเพศ • หลีกเลี่ยงการดูภาพโป๊ ๒. หลีกเลี่ยงการสัมผัสร่างกายของเพศตรงข้าม ๓. หลีกเลี่ยงการอยู่ในห้องมิดชิดคนเดียวเป็นเวลานานๆ ๔. ไม่ควรเปิดโอกาสในการอยู่กับเพศตรงข้ามในที่รโหฐาน ๕. ทำกิจกรรมอื่นๆที่สร้างสรรค์หรือทำงานอดิเรก เช่น ดูหนัง ฟังเพลง ๖. ใช้พลังไปในเรื่องของการเล่นกีฬา การออกกำลังกาย

  8. วิธีการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นวิธีการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น ๑. ประโยชน์ของการสร้างสัมพันธภาพที่ดี สัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคลก่อให้เกิดประโยชน์หลายอย่างไม่ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องจะเป็นใคร เช่น นักเรียนกับเพื่อนนักเรียนชั้นเดียวกัน นักเรียนกับเพื่อนนักเรียนชั้น อื่นๆ นักเรียนกับครู ฯลฯ

  9. ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากการสร้างสัมพันธภาพที่ดีประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นหลังจากการสร้างสัมพันธภาพที่ดี ๑. ความราบรื่นในการคบหาสมาคม สัมพันธภาพที่ดีย่อมนำมาซึ่งความรัก ความสามัคคีกลมเกลียว ความไว้วางใจ ซึ่งกันและกัน การคบหาสมาคมระหว่างกันก็ย่อมจะไม่เกิดปัญหาขัดแย้ง หรือทะเลาะวิวาทกัน และมิตรภาพจะคงอยู่ตลอดไป ๒. ความร่วมมือในการทำงาน งานทุกอย่างจะสำเร็จได้ย่อมต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะในปัจจุบันเราจำเป็นต้องทำงานกลุ่ม สัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกในกลุ่มย่อมนำมาซึ่งความสามัคคี กลมเกลียว และร่วมมือกันในการทำงานจนประสบผลสำเร็จ ๓. ความสำเร็จในกิจการที่มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน ชีวิตของคนเรานั้นไม่ว่าจะเป็นสังคมไหนๆจะต้องเกี่ยวข้องกับงานหรือหน้าที่รับผิดชอบที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลหลายๆฝ่าย ซึ่งงานแต่ละอย่างจะ ประสบความสำเร็จได้หากสมาชิกผู้ร่วมงานรักใคร่กลมเกลียวกัน

  10. การสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่นการสร้างและรักษาสัมพันธภาพกับผู้อื่น ในชีวิตประจำวันเราต้องพบปะติดต่อกับบุคคลอื่น การสร้างความสัมพันธภาพจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งและเมื่อมีสัมพันธภาพที่มีต่อกันแล้วก็ควรรักษาสัมพันธภาพนั้นให้ยาวนานตลอดไป ซึ่งในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพนั้นจะต้องเหมาะสมกับบุคคลที่เราต้องเกี่ยวข้องด้วย ดังนี้ ๑. บิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่ และครูอาจารย์ มีความเคารพเชื่อฟัง แสดงกิริยาอ่อนน้อม ตามมารยาทของสังคมไทย ช่วยเหลือเมื่อมีโอกาส ๒. พี่น้อง ญาติ และเพื่อน เป็นมิตรที่ดีกับทุกๆคน มีความจริงใจให้กัน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกัน ให้อภัยซึ่งกันและกัน ๓. คู่รักหรือแฟน ให้เกียรติซึ่งกันและกัน ฝ่ายชายต้องทำตัวเป็นสุภาพบุรุษ ฝ่ายหญิงต้องรักนวลสงวนตัวและเป็นกุลสตรี

  11. ปัจจัยในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่นปัจจัยในการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีกับบุคคลอื่น สัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคลเป็นผลจากปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวกับบุคคล ๒ คนนั้น เนื่องจากเราเป็นบุคคลที่จะต้องเป็นผู้สร้างสัมพันธภาพที่ดีให้เกิดขึ้น จึงจำเป็นต้องศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่ช่วยให้สัมพันธภาพของเรากับบุคคลอื่นเกิดขึ้น มีดังนี้ ๓.๑ บุคลิกภาพของตัวเรา บุคลิกภาพเป็นผลรวมของหลายสิ่งหลายอย่างที่บุคคลแสดงออก เช่น กิริยามารยาท การแต่งกาย การพูด การเดิน การแสดงท่าทาง หน้าตา การยอมรับให้เกียรติผู้อื่น สิ่งเหล่านี้หากแสดงออกในทางที่เหมาะสม ถูกต้อง ย่อมทำให้ผู้อื่นอยากรู้จัก ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของสัมพันธภาพระหว่างบุคคล

  12. มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพมีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ๑. การพูด ใช้คำพูดที่น่าชื่นชม พูดเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ พูดเกี่ยวกับผู้ฟัง ไม่ใช่พูดแต่เรื่องของตนเอง ๒. การฟัง ฟังด้วยความตั้งใจ ไม่ควรด่วนสรุปหรือมีอคติในเรื่องที่ฟัง ให้กำลังใจแก่ผู้พูดด้วยความจริงใจ

  13. พุทธธรรมกับการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดีพุทธธรรมกับการสร้างและรักษาสัมพันธภาพที่ดี เมตตา : ความรัก ความปรารถนาดี ต้องการอยากให้ผู้อื่นเป็นสุข กรุณา : ความสงสาร การช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นทุกข์ มุทิตา : ความชื่นชมยินดีอย่างบริสุทธิ์ใจในความสุขและความสำเร็จของผู้อื่น อุเบกขา : ความหนักแน่น มั่นคงในจิตใจ วางตัว วางใจให้เป็นกลาง

  14. การปฏิบัติตนเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ของวัยรุ่นการปฏิบัติตนเกี่ยวกับอนามัยเจริญพันธุ์ของวัยรุ่น ๑. องค์ประกอบของอนามัยการเจริญพันธุ์ วัยรุ่นชายและหญิง (อายุ ๑๕-๒๔ ปี) จัดอยู่ในกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ จึงกล่าวได้ว่ามีการปฏิบัติตนอยู่ในกลุ่มวัยเจริญพันธุ์ (อายุ ๑๕-๔๔ ปี) ซึ่งมีการปฏิบัติตนตามองค์ประกอบของอนามัยเจริญพันธุ์

  15. ทักษะการเตือนเพื่อนเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ทักษะการเตือนเพื่อนเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ ทักษะการเตือนเพื่อนและผู้ใกล้ชิด หมายถึง การใช้ศิลปะการพูดชักจูงให้เห็นคล้อยตาม เพื่อเปลี่ยนความตั้งใจที่จะกระทำพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ ทักษะการเตือนเพื่อนเป็นศิลปะที่ต้องฝึกฝน ต้องระวังเรื่องการพูด เพราะอาจกระทบกระเทือนต่อมิตรภาพ คุณสมบัติที่สามารถทำให้เพื่อนรับฟัง ได้แก่ การเป็นผู้นำ เป็นแบบอย่างที่ดี มีการตัดสินใจที่ดี เพื่อนยอมรับ มีความเชื่อถือได้ เป็นตัวของตัวเอง และเห็นคุณค่าของตนเอง กระตือรือร้นในการเตือนเพื่อน ปรารถนาดีต่อเพื่อน และมีศิลปะในการพูด

  16. สรุปทักษะการเตือนเพื่อนเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์สรุปทักษะการเตือนเพื่อนเกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ เมื่อได้รับคำกล่าวตักเตือน ควรรับฟัง และนำกลับมาพิจารณาทบทวนถึงพฤติกรรมที่ควรปรับเปลี่ยน พร้อมทั้งขอบคุณในความปรารถนาดีและความห่วงใยที่เพื่อนมีต่อเรา คำเตือนเพื่อนและผู้ใกล้ชิด ต้องใช้ทักษะการพูดชักจูงให้เห็นคล้อยตาม เทคนิคสำคัญอยู่ที่ ต้องถูกเวลา และสถานที่ ซึ่งหากใช้ทักษะอย่างถูกต้องแล้ว จะเป็นการช่วยเหลือเพื่อน และดูแลกันเป็นอย่างดี เป็นการรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อน

  17. การป้องกันกันเองในสถานการณ์เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์การป้องกันกันเองในสถานการณ์เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ สถานการณ์ที่เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่ การจับมือ กอด จูบ สัมผัสร่างกาย และอื่นๆ หรือการเที่ยวผับ ไนท์คลับ คาราโอเกะ การดูภาพยนตร์โป๊ สื่อที่มีเนื้อหาเรื่องเพศ อยู่กันสองต่อสองในบรรยากาศ โรแมนติก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การข่มขืนและลวนลามทางเพศ การป้องกันตนเองมิให้ตกอยู่ในสถานการณ์สี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ ได้แก่ หยุดคิดก่อนมีเพศสัมพันธ์ รู้จักปฏิเสธ ลุกหนีทันที ต้องมีสติ มีนัดเที่ยวในที่ปลอดภัย วางแผนและตัดสินใจ

  18. ปัญหาและผลกระทบจากมีเพศสัมพันธ์โดยไม่คาดคิด ด้านร่างกาย อาจตั้งครรภ์ อาจต้องทำแท้งหากไม่มีผู้รับผิดชอบ ติดโรคทางเพศสัมพันธ์ และโรคเอดส์ ด้านจิตใจและอารมณ์ จะวิตกกังวล ไม่สบายใจ เสียใจ ซึมเศร้า และเก็บกด ด้านครอบครัวและสังคม จะทำให้พ่อแม่ผิดหวัง เสียใจ คนรอบข้างรังเกียจ เสียอนาคต เสียโอกาสดีดี

  19. วิธีปฏิบัติตนเพื่อหลีกเลี่ยงจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่คาดคิด หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่างๆ ริเริ่มพฤติกรรมสุขภาพที่ดีต่อตนเอง รักตนเอง วางแผนในการเดินทางทุกครั้ง อย่าเดินในที่เปลี่ยวคนเดียว ควรแต่งกายมิดชิด เลี่ยงการเดินทางคนเดียว ควรเตรียมอุปกรณ์เพื่อช่วยเหลือยามฉุกเฉิน จดบันทึกหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแจ้งเหตุด่วนเหตุร้าย ไม่ให้คนแปลกหน้าเข้าบ้าน ตรวจสอบความปลอดภัยโดย ปิดประตู หน้าต่างให้เรียบร้อย

  20. สรุป ปัญหาและผลกระทบจากการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่คาดคิด การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่คาดคิด หากเกิดกับผู้ใด ย่อมทำให้เกิดอันตรายและความสูญเสียทั้งตนเอง ครอบครัว และสังคม รู้จักป้องกันเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญที่สุด รู้จักดูแลตนเอง ระมัดระวัง ตระหนักและมีจิตสำนึกในบทบาทตามวัย ทั้งหมดที่กล่าวมาจะเป็นมาตรการหนึ่งที่ช่วยให้หลีกพ้นจากความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย

  21. ขอบคุณค่ะ ด.ญ.ลัดดาวัลย์ โกสุวรรณ ชั้นม.3/1 เลขที่ 19 ด.ญ.ภัศธรินทร์ สงวนแก้ว ชั้นม.3/1 เลขที่ 20 ด.ญ.เมธาวี นุกูลอุดมพานิชย์ ชั้นม.3/1 เลขที่ 27 ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๘ โรงเรียนไผทอุดมศึกษา

More Related