580 likes | 1.29k Views
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล. Individualized Education Program (IEP). ความหมาย. แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ ( special needs) ของคนพิการตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา. ลักษณะทั่วไปของ IEP.
E N D
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล Individualized EducationProgram (IEP)
ความหมาย • แผนซึ่งกำหนดแนวทางการจัดการศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นพิเศษ (special needs) ของคนพิการตลอดจนกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกสื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
ลักษณะทั่วไปของ IEP • IEP เป็นแผนการจัดการศึกษาที่เขียนขึ้นเป็น ลายลักษณ์อักษรสำหรับเด็กคนใดคนหนึ่งโดยครู หมอ พ่อแม่ ฯลฯ • IEP เป็นเครื่องมือในการจัดการกับกระบวนการ ตรวจสอบการสอนทั้งหมด
การเตรียมการจัดทำ IEP 1. การรวบรวมข้อมูล - ข้อมูลเบื้องต้น เช่น ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลสุขภาพ / ความบกพร่อง ข้อมูลครอบครัว ข้อมูลสวัสดิการและสังคมสังเคราะห์
2. การประเมินความสามารถ ข้อมูลความสามารถในปัจจุบัน (จุดเด่น จุดอ่อน) จากการประเมินผลโดยใช้แบบทดสอบ แบบประเมิน พัฒนาการ แบบสังเกต แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์
คณะผู้จัดทำ IEP • คณะกรรมการการจัดทำ IEP มีจำนวนไม่น้อยกว่า 3 คน แต่ไม่เกิน 7 คน คือ 1. ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย 2. บิดา มารดาหรือ ผู้ปกครอง 3. ครูประจำชั้น / อาจารย์ที่ปรึกษาและกรรมการอื่นๆ เช่น ครูการศึกษาพิเศษ นักวิชาการ / นักวิชาชีพ ผู้เรียน
ขั้นตอนการทำงานของคณะกรรมการจัดทำ IEP 1.หน้าที่ของคณะกรรมการจัดทำ IEP จะต้องจัดทำดังต่อไปนี้ - ประเมินระดับความสามารถในปัจจุบันและความต้องการจำเป็นพิเศษ - วางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล - ประเมิน ทบทวน ปรับแผน รายงานผลการประเมิน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
- ประเมิน ทบทวน ปรับแผน รายงานผลการประเมิน อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง 2. ประชุมเพื่อจัดทำ IEP 3. คณะกรรมการลงนามใน IEP 4. บิดา มารดา / ผู้ปกครอง หรือผู้เรียนลงนาม
ส่วนประกอบของ IEP 1. ข้อมูลทั่วไป 2. ข้อมูลด้านการศึกษา 3. การวางแผนการจัดการศึกษา - ระดับความสามารถ (จุดเด่น จุดอ่อน)
- เป้าหมายระยะยาว 1 ปี • จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • การประเมินผล - ผู้รับผิดชอบ
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรมจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • คำอธิบายถึงสิ่งที่ผู้เรียนจะเป็นหรือทำได้เพิ่มมากขึ้นหลังจากกิจกรรมการเรียนการสอน • ระบุกิจกรรมการเรียนการสอน
ส่วนประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมส่วนประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • สถานการณ์ : เหตุการณ์ที่ระบุสภาพแวดล้อม สื่อ วัสดุอุปกรณ์ เงื่อนไข ความช่วยเหลือ (เมื่อ/ขณะ/หลังจาก...) • พฤติกรรม : ระบุตัวบุคคลและพฤติกรรมที่สังเกตเห็นได้ง่ายและชัดเจน (นักเรียน(ชื่อ)จะ.......)
เกณฑ์การประเมินผล : ระดับความสามารถที่กำหนดว่าผู้เรียนเกิดทักษะ โดยระบุความถี่และปริมาณที่แสดงความถูกต้อง เมื่อ/หลังจาก.....น.ร.(ชื่อ) จะ.............ได้..................
ปัจจัยสำคัญของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมปัจจัยสำคัญของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • การพิจารณาเป้าหมายว่าผู้เรียนควรจะมีทักษะ/พฤติกรรมดีขึ้นเท่าไร • ความถี่ของพฤติกรรมที่ผู้เรียนแสดงให้เห็นว่าเกิดทักษะ • ผู้เรียนควรใช้เวลานานเท่าไรในการแสดงพฤติกรรมที่ประสบผลสำเร็จ (ระยะเวลาควรมีความสอดคล้องและเหมาะสมกับความต้องการจำเป็นพิเศษของผู้เรียน)
ข้อควรพิจารณาในการตั้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมข้อควรพิจารณาในการตั้งจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • ความถี่ : จำนวนครั้งที่แสดงพฤติกรรม • การนำไปใช้ : เมื่ออยู่ในสถานการณ์อื่น ๆ กับบุคลอื่น ๆ จะแสดงพฤติกรรมเป้าหมาย • ความคงที่ : ความต่อเนื่องของการแสดงพฤติกรรมหลังจากจบกิจกรรมการเรียนการสอน
ลักษณะที่ดีของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมลักษณะที่ดีของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • มีความชัดเจน • สามารถวัดได้ • มีเกณฑ์ที่ผู้เรียนสามารถทำได้จริง • มีความเหมาะสมกับผู้เรียน • มีกำหนดเวลาที่แน่นอน
ตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมตัวอย่างจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม • เมื่อนำภาพแผนที่ประเทศไทยมาแสดง ด.ช.น่าน น่าจะบอกชื่อจังหวัดที่อยู่ชายแดนของแต่ละภาคได้ถูกต้องทั้งหมดทุกครั้งภายในเวลา 1 เดือน • หลังจากจบบทเรียนเรื่องสัญญาณไฟจราจร ด.ญ.ปุ๊น่าจะบอกความหมายของสีแต่ละสีของสัญญาณไฟจราจรได้ถูกต้องอย่างน้อย 4 ใน 5 ครั้งในเวลา 3 นาที ภายใน 1 สัปดาห์
4. ความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา 5. คณะกรรมการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล 6. ความเห็นของบิดา มารดา หรือผู้ปกครอง
สิ่งอำนวยความสะดวก • เทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณื เครื่องมือ โครงสร้างทางสถาปัตยกรรมที่ช่วยให้นักเรียนที่มีความต้องาการจำเป็นพิเศษสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร การสื่อสาร อาคารสถานที่ เช่น แว่นขยาย เครื่องช่วยฟัง ทางลาด
สื่อ • วัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือช่วยให้นักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเหมาะสม เกิดความเข้าใจดีขึ้น และรวดเร็วขึ้น เช่น เครื่องพิมพ์ดีดเบรลล์ หนังสือ แถบเสียง บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
บริการ/ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษาบริการ/ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา • บริการ : บริการเตรียมความพร้อมทางการเรียนรู้ บริการบำบัดฟื้นฟู บริการฝึกอบรม เช่น กายภาพบำบัด การแก้ไขการพูด ล่ามภาษามือ • ความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา : การปรับเนื้อหา / สื่อการสอน / เทคนิคการสอน
ประโยชน์ของ IEP • ผู้เกี่ยวข้องทุกคนตระหนักและรับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาและผลงานของการจัดการศึกษา • ผู้ที่เกี่ยวข้องเกิดความเข้าใจว่าเด็กที่มีความบกพร่องหรือพิการต้องการการศึกษาเฉพาะบุคคล • พ่อแม่หรือผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการวางแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
IEP ช่วยให้ทางโรงเรียนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีแนวทางในการจัดหาหรือจัดบริการเสริมได้อย่างเหมาะสม • IEP นับได้ว่าเป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้ที่มีประสิทธิภาพ
แผนการสอนเฉพาะบุคคล Individual Implementation Plan (IIP)
ความหมายของ IIP แผนการสอนที่จัดขึ้นเป็นเฉพาะบุคคลสำหรับ ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์และ เป้าหมายที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษา เฉพาะบุคคล
กระบวนการจัดทำ IIP • กำหนดทักษะที่จะสอนโดยการตรวจสอบ(สอนอะไร) • กำหนดองค์ประกอบและสถานการณ์ที่จะช่วยสนับสนุนการเรียนรู้ (สอนอย่างไร) • วางแผนการสอน (จัดทำ IIP) • เริ่มต้นการสอน : (สอน ทดสอบ สอน)
ส่วนประกอบของ IIP • ชื่อผู้เรียน • เนื้อหา / ทักษะที่สอน - สาระที่จะสอนผู้เรียน เพียง 1 เรื่อง/ ทักษะ • จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม - ลำดับขั้นของทักษะหรือจุดประสงค์ย่อย ๆ ที่ต้องการให้ผู้เรียนบรรลุจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมและเป้าหมายระยะยาวที่ระบุไว้ใน IEP
วิธีสอน / สื่อ - วิธีการดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และสื่อประกอบการสอน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้อย่างเต็มศักยภาพตรงตามจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ระบุไว้ใน IEP
สิ่งเสริมแรงที่ใช้ - สิ่งเสริมแรงและเงื่อนไขการเสริมแรงที่เหมาะสมกับผู้เรียนเป็นเฉพาะบุคคล การประเมินผล