220 likes | 381 Views
สิทธิ์การรับบริการทางการแพทย์. งานศูนย์ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ. สิทธิ์ต่างๆที่ควรรู้จัก. ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) ประกันสังคม สวัสดิการข้าราชการ พรบ.รถ ชำระเงินเอง (รวมทั้งต่างด้าวไม่ขึ้นทะเบียน). สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง).
E N D
สิทธิ์การรับบริการทางการแพทย์สิทธิ์การรับบริการทางการแพทย์ งานศูนย์ข้อมูลข่าวสารและสารสนเทศ โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ
สิทธิ์ต่างๆที่ควรรู้จักสิทธิ์ต่างๆที่ควรรู้จัก • ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) • ประกันสังคม • สวัสดิการข้าราชการ • พรบ.รถ • ชำระเงินเอง (รวมทั้งต่างด้าวไม่ขึ้นทะเบียน)
สิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) คือ บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ออกให้แก่ประชาชนผู้มีสิทธิตามโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
ประเภทของบัตรทอง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท 1. บัตรทองสำหรับประชาชนทั่วไป ที่ขึ้นต้นด้วยรหัส 89 2. บัตรทองประเภท ท เป็นสิทธิ์ประเภทย่อย ได้แก่ ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ผู้พิการ พระภิกษุ ผู้นำศาสนาทุกศาสนา ผู้นำชุมชน ทหารผ่านศึก ผู้มีรายได้น้อยกว่าเดือนละ 3,000 บาท
ผู้มีสิทธิ์ขึ้นทะเบียนตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าผู้มีสิทธิ์ขึ้นทะเบียนตามหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผู้มีสิทธิในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ บุคคลที่มีสัญชาติไทย และไม่มีสวัสดิการด้านการรักษาพยาบาลอื่นใด ที่รัฐจัดให้
สิทธิประโยชน์ของบัตรทองสิทธิประโยชน์ของบัตรทอง สิทธิที่ผู้ถือบัตรทองพึงได้รับ ดังนี้- ตรวจรักษาโรคทั่วไป และได้รับยาที่จำเป็นตามบัญชียาหลักแห่งชาติ- ล้างแผล เย็บแผล ผ่าตัด- ฝากครรภ์ ทำคลอด ทำหมัน วางแผนครอบครัว- ฉีดเซรุ่ม- รับวัคซีนป้องกันโรคพื้นฐาน- รักษาโรคฟันต่าง ๆ ได้แก่ ขูนหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน เคลือบฟลูออไรด์ ทำฟันปลอมฐานพลาสติก- อวัยวะเทียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการบำบัดรักษาโรคภายในร่างกาย ตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด- ค่าห้องและค่าอาหารแบบผู้ป่วยสามัญ
การรักษาประเภทใดที่ผู้ถือบัตรทองต้องเสียค่าใช้จ่ายเองการรักษาประเภทใดที่ผู้ถือบัตรทองต้องเสียค่าใช้จ่ายเอง - การผ่าตัดเสริมสวย และการตกแต่งฟันเพื่อความสวยงาม- อวัยวะเทียม / อุปกรณ์ที่ไม่จำเป็นต่อการดำรงชีพ- การรักษาภาวะมีบุตรยาก การผสมเทียม- การเปลี่ยนเพศ / การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ- วัคซีนป้องกันโรคที่ไม่ได้จัดเป็นบริการพื้นฐาน- การทำไตเทียมแบบฟอกเลือด (ไตวายเรื้อรัง) ยกเว้นกรณีไตวายเฉียบพลัน แต่ไม่เกิน 60 วัน- การรักษาโรคเอดส์ด้วยยาต้านเชื้อไวรัส ยกเว้นกรณีติดเชื้อแทรกซ้อน- การรักษากับแพทย์เฉพาะทาง โดยไม่ผ่านการส่งตัวจากสถานพยาบาลที่ระบุไว้ในบัตรทอง
ใช้หลักฐานอะไรบ้าง 1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ( เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สำเนาสูติบัตร หรือใบเกิด ) 2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอขึ้นสิทธิ 3. แบบคำร้อง
หลังจากขึ้นทะเบียนจะเริ่มใช้สิทธิ์ได้เมื่อไรหลังจากขึ้นทะเบียนจะเริ่มใช้สิทธิ์ได้เมื่อไร สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลการลงทะเบียนบัตรทองทั้งระบบออนไลน์และระบบออฟไลน์ ทุกวันที่ 14 และวันที่ 27 ของเดือน และจะเริ่มใช้สิทธิ์ได้วันที่ 15 และ 28 ของเดือน
ข้อมูลปัจจุบัน ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลง
เวปไซต์สำหรับการตรวจสอบสิทธิ์เวปไซต์สำหรับการตรวจสอบสิทธิ์ http://ucsearch.nhso.go.th Username : chk22694 Password : chpk_11625
สวัสดิการข้าราชการ แยกเป็น 2 ประเภท คือ • เบิกได้จ่ายตรง คือ ผู้มีสิทธิ์ด้านสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลสิทธิ์ข้าราชการ ได้ลงทะเบียนร่วมโครงการกับโรงพยาบาลและได้รับการอนุมัติ จากกรมบัญชีกลาง • เบิกต้นสังกัด คือ ผู้มีสิทธิ์ด้านสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลสิทธิ์ข้าราชการ แต่ไม่ได้ทำการลงทะเบียนร่วมโครงการกับโรงพยาบาล และข้าราชการองค์กรบริการส่วนท้องถิ่น เช่น อบต. อบจ. เทศบาล ซึ่งจะต้องสำรองเงินจ่ายก่อนแล้วเบิกต้นสังกัดภายหลัง
ขั้นตอนการลงทะเบียนร่วมโครงการจ่ายตรงขั้นตอนการลงทะเบียนร่วมโครงการจ่ายตรง • เจ้าหน้าที่ตรวจสอบสิทธิ์จากเว็ปสปสช. • ถ้ามีสิทธิ์ให้ติดต่อเจ้าหน้าศูนย์ข้อมูลเพื่อทำการบันทึกข้อมูล • เจ้าบันทึกข้อมูลและจัดส่งกรมบัญชีกลาง • รับข้อมูลข้อมูลตอบกลับจากกรมบัญชีกลาง • ข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบสิทธิ์จะถูกนำไปปรับปรุงในโปรแกรมตรวจสอบสิทธิ์ • ข้อมูลที่ไม่ผ่านการอนุมัติ จะนำไปแก้ไขตามรหัส code
หลังจากลงทะเบียนร่วมโครงการจะใช้สิทธิ์ได้เมื่อไรหลังจากลงทะเบียนร่วมโครงการจะใช้สิทธิ์ได้เมื่อไร กรมบัญชีกลางจะทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลทุกวันที่ 3 และ 18 ของเดือน โรงพยาบาลจะได้รับข้อมูลที่ผ่านการอนุมัติจากกรมบัญชีกลางทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือนโดยข้อมูลจะผ่านโปรแกรม Outlook ซึ่งจะทำการปรับปรุงข้อฐานข้อมูลของโรงพยาบาลภายใน 1 วันหลังจากที่ได้รับข้อมูลจากกรมบัญชีกลาง
แนวทางการตรวจสอบสิทธิ์จ่ายตรงของโรงพยาบาลแนวทางการตรวจสอบสิทธิ์จ่ายตรงของโรงพยาบาล ให้ยึดฐานข้อมูลจากโปรแกรม CSElg15 ซึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับการตรวจสิทธิ์ผู้ขึ้นทะเบียนจ่ายตรงของโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ โดยใช้หลักการในการค้นหาที่หลากหลาย เช่น ชื่อ- นามสกุล , เลข 13 หลัก
พรบ.รถ เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ เพื่อเป็นหลักประกันแก่ผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตอันเนื่องมาจากรถ ให้ได้รับการรักษาพยาบาลได้อย่างทันท่วงที รถทุกคันจะต้องมีประกันภัยตามพรบ.รถ พ.ศ.2535
หลักฐานสำหรับผู้ประสบภัยจากรถที่ต้องการให้โรงพยาบาลเป็นผู้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลหลักฐานสำหรับผู้ประสบภัยจากรถที่ต้องการให้โรงพยาบาลเป็นผู้เบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล • สำเนากรมธรรมที่ยังไม่หมดอายุ • บันทึกประจำวันตำรวจ • สำเนาทะเบียนรถคันเอาประกันภัย • สำเนาบัตรประชาชนผู้ประสบภัย • สำเนาทะเบียนบ้านผู้ประสบภัย • สำเนาบัตรประชาชนเจ้าของรถ • สำเนาทะเบียนบ้านเจ้าของรถ
วงเงินคุ้มครองและค่าเสียหายวงเงินคุ้มครองและค่าเสียหาย 1. ค่ารักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 50,000 บาท ( พรบ. พ.ศ. 2535 ไม่เกิน 15,000 บาท ) 2. กรณีเสียชีวิต หรือทุพลภาพถาวรจะได้รับค่าสินไหมทดแทนสูงสุด 200,000 บาท ( พรบ. พ.ศ. 2535 เสียชีวิต 100,000 บาท ทุพลภาพ 35,000 บาท) 3 กรณีผู้ประสบภัยพักรักษาตัวที่สถานพยาบาลจะได้รับค่าชดเชยรายวันๆละ 200 บาท ไม่เกิน 20 วัน ( สำหรับกรมธรรมที่มีผลคุ้มครองวันที่ 1 ม.ค. 2553เป็นต้นไป) **หมายเหตุ ค่าชดเชยรายวันจะไม่ได้รับทุกกรณี ขึ้นอยู่กับคดีความอีกที
ปัญหาและอุปสรรคในการลงทะเบียนสิทธิ์ปัญหาและอุปสรรคในการลงทะเบียนสิทธิ์ • ข้อมูลสิทธิ์ไม่เปลี่ยนแปลง หลังจากการยื่นเอกสารการลงทะเบียนเกิน 15 วัน • โรงพยาบาลไม่ได้รับข้อมูลการขึ้นทะเบียนบัตรทองจากหน่วยบริการเครือข่าย
แนวทางการแก้ไขที่ได้ดำเนินการแนวทางการแก้ไขที่ได้ดำเนินการ • ฐานข้อมูลระบบทะเบียนสิทธิ์จะต้องทำการปรับปรุงให้เป็นปัจจุบัน • ติดตามและแก้ไขข้อมูลผู้ลงทะเบียนเป็นรายบุคคลที่มีปัญหา เพราะว่าการลงทะเบียนทุกครั้ง/ทุกราย จะได้รับการอนุมัติทุกคนเสมอไป • บริการรับขึ้นทะเบียนบัตรทองให้ทั้งหมดที่สิทธิ์มีปัญหา เพื่อตัดปัญหาของความล่าช้าของการขึ้นทะเบียน
ความสำคัญของการตรวจสอบสิทธิ์ความสำคัญของการตรวจสอบสิทธิ์ • เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการบริการขั้นพื้นฐานทางการแพทย์ ตามสิทธิการรักษาของตนอย่างถูกต้อง • หน่วยบริการสามารถเบิกค่าชดเชยค่าบริการทางการแพทย์ ได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว