1.02k likes | 1.79k Views
ประวัติ และวิวัฒนาการ สหกรณ์. มูลเหตุของสหกรณ์. สมัยดึกดำบรรพ์ ( Ancient Era) ธรรมชาติของมนุษย์ย่อม มีการรวมกลุ่มกัน แต่การรวมกลุ่มดำเนินงานนั้นยังขาดระเบียบ แบบแผน. มูลเหตุของสหกรณ์. สมัยบาบิโลน (Babylonian Era) 2007-2025 ก่อน คริสกาล กษัตริย์แห่งบาบิโลนได้ประมวลกฎหมายที่
E N D
ประวัติ และวิวัฒนาการสหกรณ์
มูลเหตุของสหกรณ์ สมัยดึกดำบรรพ์ (Ancient Era) ธรรมชาติของมนุษย์ย่อมมีการรวมกลุ่มกัน แต่การรวมกลุ่มดำเนินงานนั้นยังขาดระเบียบ แบบแผน
มูลเหตุของสหกรณ์ สมัยบาบิโลน (Babylonian Era) 2007-2025 ก่อน คริสกาล กษัตริย์แห่งบาบิโลนได้ประมวลกฎหมายที่ กำหนดให้ชาวนาสามารถที่จะประกอบการเกษตร ในที่ดินแปลงใหญ่บนพื้นฐานสหกรณ์ เช่น ระบบ การเช่านา การให้เงินกู้ การค้าขาย
มูลเหตุของสหกรณ์ สมัยกรีกตอนต้น (The Early Greek Era) เริ่มมีความชัดเจนว่ามีสมาคมสหกรณ์เกิด ขึ้น โดยเริ่มจากสมาคมณาปนกิจ ต่อมาภายหลัง กลายเป็นสมาคมที่มีวัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจ โดยมีการรับสมาชิกทั่วไปไม่จำกัด และดำเนิน งานในรูปแบบประชาธิปไตย
มูลเหตุของสหกรณ์ สมัยโรมัน (The Roman Era) มีการตั้งสมาคมช่างฝีมือ เรียกว่า Collegia ระหว่าง 451- 499 ปีก่อนคริสกาล เพื่อให้ความ คุ้มครอง ช่วยเหลือ ช่างฝีมือที่ได้รับความเดือด ร้อน และต้องการเงินทุน โดยการผลิตจะผลิตสิน ค้า เช่น ตัดเสื้อผ้า อุปกรณ์/เครื่องใช้ อาวุธ ฯลฯ
มูลเหตุของสหกรณ์ สมัยอียิปต์โบราณ (Ancient Egyptian Era) 300 ปีก่อนศริสกาลช่างฝีมือในสมัยพระเจ้า ฟาโรห์ ได้ก่อตั้งสมาคมในลักษณะสหกรณ์ ทั้งนี้ เพื่อช่วยเหลือการประกอบธุรกิจของตน
มูลเหตุของสหกรณ์ สมัยจีนโบราณ (Ancient Chiness Era) 200 ปีก่อนศริสกาล ราชวงศ์ฮวง ได้มีการก่อ ตั้งสมาคมออมทรัพย์ และเครดิตในรูปสหกรณ์ขึ้น โดย Pong Koongได้รวมกลุ่ม ญาติ มิตร หรือผู้ที่ ต้องการกู้เงินมาลงทุนจำนวนเท่าๆ กัน และใช้วิธี การเล่นแชร์เปียหวยเช่นปัจจุบัน ต่อมาสมาคมนี้มี ชื่อว่าสมาคมหวย (Hui Association)
มูลเหตุของสหกรณ์ คริสเตียนตอนต้น (The Early Christian Era) พระเยซูประสูติสมัย Augustus Caesar เป็นกษัตริย์ ซึ่งเป็นระยะที่อาณาจักรโรมันเริ่ม เสื่อมโทรม ได้เกิดสมาคมสำหรับช่างฝีมือขึ้น ซึ่ง ให้ความช่วยเหลือด้านณาปนกิจมีลักษณะเป็น สหกรณ์ณาปนกิจ (Burial Cooperative) ซึ่งเชื่อ กันว่าเป็นก่อให้เกิดสหกรณ์ผู้บริโภคในปัจจุบัน
มูลเหตุของสหกรณ์ ยุคศักดินา (The Feudalism Era) เป็นยุคหลังจากที่อาณาจักรโรมันล่มสลาย (ค.ศ.476) เกิดกลียุคเป็นยุคป่าเถื่อนไร้กฏหมาย เกิด ระบบเจ้าผู้ครองนคร Feudalism มียึดที่ดินและ ทรัพย์สินของประชาชน ส่งผลให้การพัฒนาทาง สหกรณ์ต้องหยุดชะงัก
มูลเหตุของสหกรณ์ ยุคกำเนิดศาสนาอิสลาม (The Rise Of Islam) ท่านนบีมูฮัมมัด ได้เห็นสภาพสังคมของชาว เมกกะ มีการเอารัดเอาเปรียบ ได้มีการตั้งสมาคมที่ ช่วยเหลือคนจนขึ้น ดังปรากฎหลักฐานในคัมภีร์ โกหร่าน (Koran) มีสาระสำคัญเกี่ยวกับการช่วย เหลืออยู่ไม่น้อย โดยให้ช่วยเหลือผู้อ่อนแอ ยากจน
มูลเหตุของสหกรณ์ ยุคสมัยกลาง (Middle Age) ค.ศ. 500-1400 ได้มีการจัดตั้งสมาคมกรรมกร หรือสหภาพกรรมกร รวมถึงสมาคมการค้า (Trade Union) ขึ้นในยุโรป เพื่อรักษาผลประโยชน์ ของสมาชิกเกี่ยวกับค่าจ้างแรงงาน ราคา และเมื่อถึง ราวศตวรรษที่ 13ได้มีการจัดตั้งสมาคมทำนองสหกรณ์ การเกษตรขึ้นมาโดยเกษตรกรผู้ทำเนยชาวสวิสฯ
มูลเหตุของสหกรณ์ สมัยระบบธนาคารที่ดินในเยอรมัน(1767) กษัตริย์เฟรเดอริค ได้ก่อตั้งธนาคารเกษตรขึ้น และให้เกษตรกรใช้ที่ดินเป็นหลักประกันในการกู้ยืม เงิน โดยให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันในการดำเนินงาน และควบคุมกันเอง
มูลเหตุของสหกรณ์ ยุคสมัยการปฏิวัติทางอุตสาหกรรม เป็นจุดกำเนิดแนวคิดด้านการสหกรณ์ที่เป็น หลักพื้นฐานในปัจจุบัน โดยมีสาเหตุมาจากเรื่องการ ปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส (ค.ศ.1785) เนื่องจากการถูก ภาวะบีบคั้นทางความคิด และถูกริดรอนเสรีภาพของ ของประชาชน
ผลจากการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศสผลจากการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส ทำให้เกิดการเผยแพร่อุดมคติในเรื่องของ ความมีเสรีภาพ ความเสมอภาคและความเป็น ประชาธิปไตย เป็นสาเหตุทำให้เกิดความเปลี่ยน แปลง 2 ประการ ที่เป็นแนวทางการปฏิวัติทาง อุตสาหกรรม ได้แก่
1. การเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ (Technical Chang) มีการประดิษฐ์เครื่องจักรเครื่องมือ แทนแรงงานคน ทำให้สามารถผลิต สินค้าได้มากกว่าและเร็วกว่า รวมทั้ง ทำให้มีการคมนาคมที่สะดวกและ รวดเร็วขึ้น
2. การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ (Economic Change) จากการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการทำให้การผลิต เป็นธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นมีการใช้เครื่องจักรแทนแรงคน เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ประกอบการรายย่อยที่ขาด แคลนเงินทุน ต้องเลิกกิจการ ก่อให้เกิดการว่างงาน
ผลจากการเปลี่ยนแปลงทั้ง 2 ประการ ทำให้เกิดการปฎิวัติทางอุตสาหกรรม เป็น ผลให้เกิดความยากจนในหมู่ชนชั้นกลาง ได้แก่ นักวิชาการ กรรมกร ช่างฝีมือ เป็นปัญหา เศรษฐกิจและสังคมที่รุนแรงไปทั่วทวีปยุโรป
รัฐบาล และนักวิชาการในสมัยนั้น ได้พยายามหาวิธี การต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหา ซึ่งวิธีการหนึ่งที่นำมาใช้ ได้แก่ วิธีการร่วมมือกันและช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อน ซึ่งเรียกว่า “วิธีการสหกรณ์” Co-Operative
สรุปสาเหตุที่สำคัญของการเกิดสหกรณ์สรุปสาเหตุที่สำคัญของการเกิดสหกรณ์ 1. เนื่องจากความยากลำบากในการดำรงชีวิต 2. การถูกเอารัดเอาเปรียบจากนายทุน 3. ขาดเงินทุนและความรู้ในการประกอบอาชีพ 4. ความไม่พร้อมและบกพร่องของทุนนิยม 5. การได้รับการแนะนำจากแนวคิดนักวิชาการ
การกำเนิดของสหกรณ์ยุคปัจจุบันการกำเนิดของสหกรณ์ยุคปัจจุบัน เริ่มมูลเค้ามาจากการปฏิวัติใหญ่ในฝรั่งเศส (1789) - ความยากจน / การเอารัดเอาเปรียบ ทาง เศรษฐกิจ และการเมือง - การปฏิวัติอุตสาหกรรม ใช้เครื่องจักรแทนคน - ชาวนาขาดแคลนเงินทุน
การกำเนิดของสหกรณ์ยุคปัจจุบันการกำเนิดของสหกรณ์ยุคปัจจุบัน ผลสืบเนื่อง ที่ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจ และ สังคม มีการแก้ปัญหาโดยนักวิชาการในหลายรูป แบบ เช่น - การตั้งสหภาพแรงงาน - การตั้งสมาคมสงเคราะห์ แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างยั่งยืน
การกำเนิดของสหกรณ์ยุคปัจจุบันการกำเนิดของสหกรณ์ยุคปัจจุบัน ทำให้เกิดแนวคิดเป็น 2 กลุ่ม 1. Karl Marx : ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลง ปฏิวัติระบบเศรษฐกิจทุนนิยม เป็นสังคมนิยม 2. Co-Operative :เชื่อในการเปลี่ยนแปลง โดยการปฏิรูปด้วยการแก้ปัญหาด้วยวิธีสหกรณ์อัน เป็นที่มาของการก่อตั้งสหกรณ์รอชเดล ค.ศ.1844
สมาคมผู้นำอันเที่ยงธรรมแห่งรอชเดลสมาคมผู้นำอันเที่ยงธรรมแห่งรอชเดล สหกรณ์รอชเดล (Rochdale) เป็นต้นกำหนดของสหกรณ์ในปัจจุบัน โดยปี 1844 ที่ เมือง รอชเดล มณฑล แลงแคชเชอร์ ณ ตรอก Toad Lane โดย แนวคิดของ Robert Own (บิดาการสหกรณ์โลก) และนายแพทย์ William King โดยการรวมตัวของกลุ่มช่างทอผ้า เริ่มแรกมี สมาชิก 28 คน โดยเช่าโรงเก็บสินค้าชั้นล่าง เลขที่ 31 และเปิด ร้านในเย็นวันที่ 21 ธันวาคม 1844 ใช้ชื่อว่า Rochdale Society Of Equitable Pioneers
โดยจัดสินค้าที่จำเป็น 5 อย่างมาจำหน่าย 1. เนยอ่อน 28 ปอนด์ ราคา 2 ปอนด์ 1 ชิลลิ่ง 1 เพนนี 2. น้ำตาล 56 ปอนด์ ราคา 1 ปอนด์ 14 ชิลลิ่ง - เพนนี 3. แป้ง 6 ฮันเดรดเวท ราคา 11 ปอนด์ - ชิลลิ่ง 6 เพนนี 4. ข้าวโอ๊ต 1 ถุง ราคา 1 ปอนด์ 7 ชิลลิ่ง - เพนนี 5. เทียนไข 24 ห่อ ราคา - ปอนด์ 9 ชิลลิ่ง 4 เพนนี รวม 16 ปอนด์ 11ชิลลิ่ง 11 เพนนี
สิ่งที่ทำให้สหกรณ์รอชเดล ประสบความสำเร็จ สิ่งที่ทำให้สหกรณ์รอชเดล ประสบความ สำเร็จ ได้แก่ หลักการและแนวทางการดำเนิน งาน ที่ชาวรอชเดลได้ร่วมกันกำหนดขึ้น เรียก ว่า “หลักสหกรณ์รอชเดล” ซึ่งมีหลักการที่ สำคัญ 7 ประการ
หลักสหกรณ์รอชเดล 7 ประการ 1.เปิดรับสมาชิกทั่วไป 2.สมาชิก 1 คนมีสิทธิออกเสียงได้ 1 เสียง 3.เป็นกลางทางเชื้อชาติ ศาสนาและการเมือง 4.ทำการค้าด้วยเงินสดและขายตามราคาตลาด 5.จำกัดดอกเบี้ยที่จ่ายให้กับทุนเรือนหุ้น 6.ส่งเสริมการศึกษาด้านการสหกรณ์ 7.จ่ายเงินปันผลตามส่วนแห่งการซื้อ
สหกรณ์เครดิตในเยอรมันสหกรณ์เครดิตในเยอรมัน เป็นต้นกำหนดของสหกรณ์เครดิต หรือสหกรณ์ สินเชื่อ หรือธนาคารสหกรณ์ โดยแบ่งได้ 2 ประเภท 1. สหกรณ์เครดิตในเมือง 2. สหกรณ์เครดิตในชนบท
สหกรณ์เครดิตในเมือง Urban Credit Society เกิดขึ้นปี 1850 โดย Hermann Schulze-Delitzsch ซึ่งเป็นผู้พิพากษา โดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นช่างฝีมือ และได้จัดตั้งสหกรณ์เครดิตสมาคมแรกที่เมือง เดลิทซ์ ให้เป็นสถาบันพึ่งตนเอง โดยสามารถตั้งได้ถึง 1,500 สมาคม
สหกรณ์เครดิตชนบท Rural Credit Society เกิดโดย Friedric Wilhelm Raiffeisen ได้จัดตั้ง สหกรณ์เครดิตที่เมือง เฮดดเซดดอร์ฟ (Heddesdort) ในปี 1854 และ 1862 ได้ก่อตั้งสหกรณ์เครดิตสำหรับ ชาวนาเป็นสมาคมแรกที่เมืองอันเฮาเซน (Anhausen) โดยถือว่าสหกรณ์ Raiffeisen เป็นแบบฉบับ ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนในปัจจุบัน
ข้อแตกต่างของสหกรณ์ทั้งสองข้อแตกต่างของสหกรณ์ทั้งสอง 1. Schulze - Delitzsch เป็นแบบมีหุ้น และมูลค่า หุ้นค่อนข้างสูง มีการจ่ายเงินตามหุ้น แต่ไม่มีการ จ่ายเงินส่วนเกินตามการอุดหนุน และมีอาณาเขต การดำเนินงานกว้างขวาง รับสมาชิกได้เป็นจำนวน มาก
ข้อแตกต่างของสหกรณ์ทั้งสองข้อแตกต่างของสหกรณ์ทั้งสอง 2. Raiffeien เป็นแบบไม่มีหุ้น และมีอาณาเขตการ ดำเนินงานจำกัด เพียง 1-2 หมู่บ้าน เงินทุนเกิดจาก การออมรายย่อย และการรับฝากของสมาชิก และ บุคคลภายนอก ต่อมาเมื่อมีกฏหมายให้สมาชิกต้อง ถือหุ้น จึงกำหนดมูลค่าหุ้นขั้นไว้ต่ำ
VIP บุคคลสำคัญทางสหกรณ์
ประวัติของ“โรเบิต โอเวน“(1771-1858) เป็นชาวอังกฤษ มีอาชีพเป็นลูกจ้างโรงงานทอผ้า ใน Scotland -เป็นคนขยันและมีวิสัยทัศน์(Vision) -อายุ 19 ปี ได้เป็นผู้จัดการบริหารงานโรงงานจนได้รับชื่อเสียงว่าเป็นโรงงานทอผ้าที่ดีที่สุดในอังกฤษ
ประวัติของ“โรเบิต โอเวน“(1771-1858) “โรเบิต โอเวน” มีแนวความคิดว่า “สิ่งแวดล้อมมี ส่วนสำคัญมาก ที่ทำให้มนุษย์จะดีหรือเลว หากแก้ไข สิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น มนุษย์ก็จะมีความประพฤติดี และมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น” เขาจึงได้ปรับปรุงสิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ให้การศึกษา แก่ลูกจ้างโรงงาน ให้มีเวลาพักผ่อน และออกกำลัง
ประวัติของ“โรเบิต โอเวน“(1771-1858) นอกจากนี้ โอเวน ยังชี้ให้เห็นว่า ต้นเหตุแห่งการ ว่างงาน และความยากจน มีผลเนื่องมาจากการ แข่งขันกันในสังคม ดังนั้น วิธีการที่จะสามารถกำจัดการแข่งขันใน สังคมได้ ต้องใช้วิธีการร่วมมือกันในรูปแบบที่ เรียกว่า “Cooperative” เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ประวัติของ“โรเบิต โอเวน“(1771-1858) โอเวน ได้เสนอแนวคิดวิธีการ โดยให้จัดตั้งเป็น นิคมสหกรณ์ รับสมาชิกทั่วไปจากผู้สนใจ และให้ สมาชิกร่วมกันหาทุนและดำเนินงานกันเองและช่วย เหลือซึ่งกัน และกัน ในนิคมสหกรณ์ของโอเวน จะมี การประกอบกิจการทุกอย่างตามความต้องการ และ ความถนัดของสมาชิก เพื่อให้นิคมสหกรณ์สามารถ เลี้ยงตัวเองได้
ประวัติของ“โรเบิต โอเวน“(1771-1858) เมื่อสมาชิกผลิตสินค้าได้ ก็จะนำมาซื้อขายแลก เปลี่ยนกันเอง ในขณะเดียวกันส่วนที่เหลือก็นำ ออกขายกับบุคคลภายนอก เมื่อมีผลกำไรก็นำ แบ่งปันอย่างยุติธรรมในหมู่สมาชิก ขจัดปัญหา พ่อค้าคนกลาง เมื่อมีที่ดิน และอุปกรณ์เพิ่มขึ้นก็ ให้รวมเป็นของสหกรณ์
ประวัติของ“โรเบิต โอเวน“(1771-1858) ในปี 1825 โอเวนได้ทดลองจัดตั้งนิคม สหกรณ์ที่ สหรัฐอเมริกา บนพื้นที่ 75,000 ไร่ ชื่อว่า New Harmony ระยะ 1-2 ปีแรกเป็นที่นิยม มีผู้สมัครเป็น สมาชิกจำนวนมาก แต่ต่อมาเนื่องจากไม่เข้มงวดใน การรับสมาชิก และสมาชิกขาดความซื่อสัตย์ เห็นแก่ ตัว ทำให้ขาดทุน และต้องเลิกล้มไปในปี 1828
ประวัติของ“โรเบิต โอเวน“(1771-1858) ถึงแม้ว่าการดำเนินงานจะไม่สำเร็จ แต่อุดมการณ์ ตามแนวทางสหกรณ์ของ”โรเบิต โอเวน” ได้เป็น ที่เลื่อมใสของคนทั่วไป หลังจากนั้น ก็ได้มีผู้ พยายามสืบทอดเจตนารมณ์ จนกระทั่งประสบผล สำเร็จในที่สุด ต่อมาจึงได้มีการยกย่องให้ “โรเบิต โอเวน” เป็นบิดาของการสหกรณ์โลก
ชาร์ลส์ ฟูริเอ (1772-1837) เป็นนักเศรษฐศาสตร์ชาวฝรั่งเศส เห็นว่า การปฏิวัติใหญ่ไม่ได้ทำให้คนจนดีขึ้น จึงได้คิด โครงการใหม่ เรียกว่า“ฟาลังสแตร์ “(Phalangstere) ซึ่งได้แก่นิคมสหกรณ์ ชนิด สมบูรณ์แบบ
ชาร์ลส์ ฟูริเอ (1772-1837) กล่าวคือ ให้สหกรณ์แต่ละแห่งมีสถานที่กว้าง ขวางสำหรับสมาชิก 1,600 คนได้อาศัยอยู่ร่วม กันในอาคารใหญ่หลังเดียวกัน ปรับปรุงสิ่งแวด ล้อม และจัดสวัสดิการให้ทุกอย่างที่พอสามารถ ให้ดำรงชีพอยู่ได้
ชาร์ลส์ ฟูริเอ (1772-1837) สมาชิกจะมีทั้งคนมั่งมี และยากจน ต่างก็ประ กอบอาชีพที่ตนถนัด สมาชิกจะต้องถือหุ้นใน สหกรณ์ตามฐานะ และรายได้ของแต่ละคน โดย มีอุดมการณ์ในการช่วยเหลือกัน ซึ่งในที่สุดก็จะ ทำให้ทุกคนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ชาร์ลส์ ฟูริเอ (1772-1837) ความคิดเห็นของฟูริเอ กับของ โอเวน เป็นไป ในรูปของสหกรณ์เหมือนกัน แต่แตกต่างตรงที่ ของฟูริเอไม่เลิกล้มกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินของ เอกชนใครลาออกจะได้รับคืนค่าหุ้น แต่ของ โอเวน ทรัพย์สินทั้งหมดจะตกเป็นของสหกรณ์
นายแพทย์คิง(Dr.William King,1786-1865) ชาวอังกฤษ ได้มองสหกรณ์ตามแบบวิทยา ศาสตร์(Scientific)ว่าไม่ควรเป็นแต่เพียง ความเพ้อฝัน แต่จะต้องมีแนวทางปฏิบัติอัน แท้จริง จึงได้นำแนวคิดของ โรเบิต โอเวนมา ทำการแก้ไขให้รัดกุมขึ้น
นายแพทย์คิง(Dr.William King,1786-1865) โดยให้ความเห็นว่า -คนที่เดือดร้อนจะต้องรวมกันเป็นสมาคม รวมทุนกันเองในรูป ของการขายหุ้นและจัดตั้งเป็นร้านสหกรณ์ขนาดเล็กๆ ขึ้นก่อน -จำหน่ายสินค้าที่จำเป็น ให้สมาชิกทุกคนซื้อของในร้าน ผล กำไรให้สมทบเป็นทุนของสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือสมาชิกที่ เดือดร้อน หากสำเร็จก็จะขยายตัวเป็นนิคมสหกรณ์แบบ โอเวนได้
นายแพทย์คิง(Dr.William King,1786-1865) ในปี 1827 จึงได้ร่วมมือกับกรรมกรเมือง ไบรตัน จัดตั้งสมาคมสหกรณ์ขึ้นเพื่อจำหน่าย สินค้า และได้ออกนิตยสาร “นักสหกรณ์ “(The Cooperator)รายงานกิจการของร้านค้า รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับวิธีการสหกรณ์อย่างง่ายๆ
นายแพทย์คิง(Dr.William King,1786-1865) ในปี 1830 มีร้านสหกรณ์เกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ในต่อสหกรณ์หลายแห่งต้องขาดทุนและเลิก กิจการเนื่องจากมีคู่แข่งขันมาก และมีวิธีการใน การดำเนินงานที่ไม่จูงใจให้สมาชิกไปทำธุรกิจ ร่วม ทำให้ในระยะต่อมาร้านสหกรณ์ในแนวคิด ของนายแพทย์คิงจึงต้องเลิกล้มไป
นายแพทย์คิง(Dr.William King,1786-1865) แม้จะล้มเหลว แต่ถือได้ว่า นายแพทย์คิง ได้ทำประ โยชน์ให้แก่วงการสหกรณ์เป็นส่วนรวม โดยเป็นผู้ นำที่เผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับสหกรณ์ให้เป็นที่รู้จัก แพร่หลายขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นผู้วางแนวคิดใน การจัดตั้งร้านสหกรณ์ ที่ต่อมามีผู้นำไปใช้จัดตั้ง และประสบผลสำเร็จเป็นสหกรณ์แรกของโลก
ฟิลลิป บูเช(Phillip Buchez :1798-1865) นักเขียนชาวฝรั่งเศส ได้วางหลักการของ สหกรณ์ผู้ผลิตไว้ว่า สหกรณ์จะต้องเป็นสมาคม ของคนงานอย่างแท้จริง ในฐานะที่เป็นผู้ประ กอบการร่วมกัน โดยมีการเลือกผู้แทน 1-2 คน ให้เป็นตัวแทนในการบริหารงานสหกรณ์ด้วย
ฟิลลิป บูเช(Phillip Buchez :1798-1865) การทำงานของตัวแทนสมาชิกจะได้ค่า แรงจากสหกรณ์เช่นเดียวกับที่ได้รับจากโรง งานเอกชนโดยคิดตามความสามารถแห่งการ ทำงานของตัวแทนสมาชิกแต่ละคน