260 likes | 614 Views
Chapter 9. ระบบย่อยของตัวแบบของ องค์กรแห่งการเรียนรู้ของ Marquardt. ตัวแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ Marquardt. จากบทที่แล้ว ตัวแบบของ Marquardt ประกอบด้วยระบบย่อย 5 ระบบ คือ 1) การเรียนรู้ 2) องค์กร 3) คน 4) เทคโนโลยี 5) ความรู้. ระดับ ปัจเจกบุคคล กลุ่ม / ทีม องค์กร. ทักษะ
E N D
Chapter 9 ระบบย่อยของตัวแบบของ องค์กรแห่งการเรียนรู้ของ Marquardt
ตัวแบบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ Marquardt • จากบทที่แล้ว ตัวแบบของ Marquardt ประกอบด้วยระบบย่อย 5 ระบบ คือ • 1) การเรียนรู้ • 2) องค์กร • 3) คน • 4) เทคโนโลยี • 5) ความรู้
ระดับ ปัจเจกบุคคล กลุ่ม/ทีม องค์กร ทักษะ การคิดเชิงระบบ รูปแบบความคิด การมุ่งสู่ความเป็นเลิศ การเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง การเสวนา การเรียนรู้ ประเภท เชิงปรับตัว เชิงคาดการณ์ เชิงปฏิบัติ ระบบย่อยด้านการเรียนรู้ (Learning Subsystem)
การเรียนรู้เป็นระบบย่อยหลักขององค์กรแห่งการเรียนรู้ เพราะเกิดขึ้นทั้งระบบบุคคล ระดับกลุ่ม และระดับองค์กร • ระดับของการเรียนรู้ • องค์กรแห่งการเรียนรู้จะมีระดับการเรียนรู้ 3 ระดับที่ไม่เหมือนกัน แต่สัมพันธ์กัน คือ • 1) การเรียนรู้ของปัจเจกบุคคล (Individual learning)หมายถึง การเปลี่ยนแปลงด้านทักษะ ความรู้ เจตคติและค่านิยมของแต่ละคน อันเกิดจากการเรียนรู้ด้วยตนเอง จากการสังเกต และศึกษาโดยอาศัยเทคโนโลยีเข้าช่วย • 2) การเรียนรู้ของกลุ่มหรือทีม (Group/Team Learning)หมายถึง การเพิ่มขึ้นของความรู้ ทักษะ และสมรรถนะภายในกลุ่ม ซึ่งสำเร็จลงด้วยการกระทำของกลุ่มนั่นเอง เช่น การแลกเปลี่ยนความรู้ การแบ่งปันความรู้ในกลุ่ม เป็นต้น
3) การเรียนรู้ขององค์กร (Organizational Learning)เป็นการยกระดับความสามารถในการปฏิบัติงาน ซึ่งเกิดจากการมุ่งมั่นในการปรับปรุงและพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั่วทั้งองค์กร • ประเภทของการเรียนรู้ • วิธีการเรียนรู้ต่อไปนี้จะแตกต่างกัน แต่จะคาบเกี่ยวกันในเชิงเสริมซึ่งกันและกัน ได้แก่ • 1) การเรียนรู้เชิงปรับตัว (Adaptive Learning)จะเกิดขึ้นเมื่อมีการครุ่นคิดพิจารณาทบทวนถึงประสบการณ์ในอดีต จากนั้นก็ปรับแก้การกระทำที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เช่น Lesson learned เป็นต้น
2) การเรียนรู้เชิงคาดการณ์ (Anticipatory Learning)คือกระบวนการแสวงหาความรู้โดยการคาดคิด จินตนาการเกี่ยวกับอนาคตในหลาย ๆ ลักษณะ เพื่อหลีกเลี่ยงผลลัพธ์ในทางลบที่อาจเกิดขึ้น เมื่อได้ลักษณะที่ดีที่สุดแล้ว จึงกำหนดแนวทางดำเนินการเพื่อบรรลุผลในอนาคตที่คาดหวัง • 3) การเรียนรู้เชิงปฏิบัติ (Action Learning) หมายถึง การสืบหาและพิจารณาไตร่ตรองเกี่ยวกับความเป็นจริง ณ. ปัจจุบันและนำเอาความรู้นั้นไปใช้พัฒนาบุคคล กลุ่ม และองค์กร • ทักษะสำหรับการเรียนรู้ในองค์กร • ทักษะ 5 ประการต่อไปนี้ คือสิ่งจำเป็นต่อการริเริ่มและขยายการเรียนรู้ในองค์กรให้ได้มากที่สุด ประกอบด้วย
1) การคิดเชิงระบบ (Systems Thinking)เป็นโครงร่างทางแนวคิดแบบหนึ่ง สำหรับทำให้แบบแผนต่าง ๆ สมบูรณ์ชัดเจนขึ้นและมันจะช่วยให้เรากำหนดได้ว่า ทำอย่างไรถึงจะเปลี่ยนแปลงแบบแผนพวกนั้นได้อย่างมีประสิทธิผล • 2) รูปแบบความคิด (Metal Models)คือ ข้อสันนิษฐานที่ฝังลึกอยู่ในความคิดของเราที่มีอิทธิพลต่อทรรศนะและการกระทำต่าง ๆ ของเรา ตัวอย่างเช่น รูปแบบความคิดหรือจินตนาการของเราที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ การทำงานหรือความรักในองค์กร จะมีอิทธิพลต่อปฏิสัมพันธ์และพฤติกรรมของเราในสถานการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับแนวความคิดเหล่านั้น • 3) การมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ (Personal Mastery)จะแสดงถึงความชำนาญในระดับสูงในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งต้องอาศัยความมุ่งมั่นต่อการเรียนรู้ตลอดเวลา เพื่อนำไปสู่ความเชี่ยวชาญ หรือ ความชำนาญในงานที่ทำเป็นพิเศษ
4) การเรียนรู้แบบชี้นำตนเอง (Self-directed Learning)คือ การที่ทุกคนตระหนักถึงและมีความรับผิดชอบในฐานะผู้เรียนคนหนึ่งที่มีความกระตือรือร้น การเรียนรู้แบบนี้ประกอบไปด้วย การรู้จักลักษณะในการเรียนรู้ของตนเอง ความสามารถในการประเมินความต้องการของตนเอง และสมรรถนะของตนเอง รวมไปถึงการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ทางธุรกิจเข้ากับความจำเป็นของการเรียนรู้ • 5) การเสวนา (Dialogue)หมายถึง การฟังและสื่อสารในระดับสูงระหว่างบุคคล ซึ่งต้องอาศัยการสำรวจประเด็นต่าง ๆ อย่างอิสระและสร้างสรรค์ และต้องอาศัยการครุ่นคิดพิจารณาเวลาผู้อื่นทักท้วงความเห็นของเรา นอกจากนั้นเราต้องมองให้ออกว่า แบบแผนต่าง ๆ ของการมีปฏิสัมพันธ์ในทีมอาจส่งเสริมหรือทำลายการเรียนรู้ได้
วิสัยทัศน์ การเรียนรู้ วัฒนธรรม โครงสร้าง กลยุทธ์ ระบบย่อยด้านองค์กร (Organization Subsystem) • ข้อสังเกต จะเห็นว่ามีการเรียนรู้อยู่ตรงกลาง นั่นหมายความว่า ระบบย่อยด้านการเรียนรู้ จะซึมเข้าไปอยู่ในทุกระบบย่อย
ระบบย่อยด้านองค์กรคือ การกำหนดให้กลุ่มคนมาทำงานร่วมกันอย่างมีแบบแผน มีกระบวนการต่าง ๆ เกิดขึ้น ดำเนินต่อเนื่องกันไป ประกอบด้วย • 1) วิสัยทัศน์(Vision)เป็นการรวมเอาความหวัง เป้าหมายและทิศทางในอนาคตขององค์กรเข้าไว้ด้วยกัน เปรียบเหมือนการสร้างภาพในอนาคตขึ้นมาภายในองค์กรแล้วผลักดันส่งผ่านออกไปภายนอก วัฒนธรรมขององค์กรแห่งการเรียนรู้จะค้ำจุนวิสัยทัศน์ของบริษัท ส่วนการเรียนรู้และผู้เรียนในองค์กรจะสร้างผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ ที่ดียิ่งขึ้นตลอดเวลา • ลองนึกถึงเรื่อง Core competency ขององค์กรที่คู่แข่งของเราเลียนแบบได้ยาก เราต้องการใช้ส่วนนี้ไปสร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ ๆ ขึ้นมา ดังนั้น วัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้จะช่วยเรื่องนี้ได้มาก
2) วัฒนธรรม (Culture)หมายถึง ค่านิยม ความเชื่อ วิธีปฏิบัติ พิธีการและประเพณีขององค์กร ซึ่งมีส่วนช่วยในการวางรูปแบบของพฤติกรรมและการรับรู้ตามสมัยนิยมของคนในองค์กร • วัฒนธรรมองค์กรขององค์กรแห่งการเรียนรู้ ก็คือวัฒนธรรมที่ยอมรับว่า การเรียนรู้มีความสำคัญต่อความสำเร็จทางธุรกิจอย่างแท้จริง และการเรียนรู้ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งในหน้าที่การงานทุกอย่างในองค์กร • วัฒนธรรมที่มีคุณค่าและปรับเปลี่ยนได้ง่ายนี้ จะสร้างความสัมพันธ์และเพิ่มพูนการเรียนรู้ โดยการสนับสนุนค่านิยมต่าง ๆ เช่น การทำงานเป็นทีม การบริหารจัดการตนเอง การเอื้ออำนาจแลการแบ่งปันซึ่งกันและกัน เป็นต้น
3) กลยุทธ์ (Strategy)จะสัมพันธ์กับแผนปฏิบัติการ วิธีการ กลวิธี และขั้นตอนที่จะทำให้องค์กรบรรลุวิสัยทัศน์และเป้าหมายที่กำหนดไว้ ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ กลยุทธ์ต่าง ๆ จะทำให้เกิดทั้งการเรียนรู้ การถ่ายโอน และการนำการเรียนรู้ไปใช้ประโยชน์ในทุก ๆ การปฏิบัติงานของบริษัท • 4) โครงสร้าง (Structure)จะประกอบด้วย แผนก ฝ่าย ระดับและองค์ประกอบต่าง ๆ ของบริษัท โครงสร้างขององค์กรแห่งการเรียนรู้จะเป็นแบบระนาบ (Flat) มีความคล่องตัวสูง ทำให้ การติดต่อประสานงาน การไหลเวียนของข้อมูล ความรับผิดชอบแต่ละหน่วยงาน และความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกองค์กรเป็นไปด้วยดี
ผู้จัดการ และผู้นำ พนักงาน ลูกค้า ชุมชน หุ้นส่วนและ พันธมิตรธุรกิจ ซัพพลายเออร์ และผู้ขาย ระบบย่อยด้านคน (People Subsystem) คน
1) ผู้จัดการและผู้นำ (Managers & Leaders)ต้องเป็นผู้ฝึกสอน เป็นพี่เลี้ยง และ เป็นแบบอย่างให้กับผู้อื่น ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องสร้างและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ให้กับผู้คนรอบข้าง • 2) พนักงาน (Employee)ต้องได้รับการเอื้ออำนาจและคาดหวังว่าจะได้เรียนรู้ อีกทั้งยังมีการวางแผนเกี่ยวกับสมรรถนะในอนาคต กล้าที่จะเสี่ยงและลงมือปฏิบัติการ รวมถึงต้องแก้ปัญหาเป็น • 3) ลูกค้า (Customer)จะมีส่วนร่วมในการระบุความต้องการผลิตภัณฑ์และบริการ รวมถึงการฝึกอบรม ถือได้ว่า มีส่วนในการเชื่อมต่อการเรียนรู้ขององค์กร • 4) หุ้นส่วนและพันธมิตรทางธุรกิจ (Business Partners & Alliances)จะได้รับประโยชน์จากการแบ่งปันสมรรถนะและความรู้ต่าง ๆ
5) ซัพพลายเออร์และผู้ขาย (Supplier & Vendors)จะได้รับการฝึกอบรมและมีบทบาทร่วมในโปรแกรมการสอนต่าง ๆ • 6) ชุมชน (Community)อันได้แก่ กลุ่มต่าง ๆ ทางสังคม ทางเศรษฐกิจและการศึกษา ซึ่งมีส่วนในการให้และรับการเรียนรู้ • จากที่กล่าวมาทั้งหมด เราจะเห็นว่า เรื่องสมรรถนะและการฝึกอบรม/พัฒนาที่เราเรียนผ่านกันมาแล้ว จะเข้ามาเกี่ยวข้องกับระบบย่อยตัวนี้ค่อนข้างมาก
การสร้างความรู้ การแสวงหาข้อมูล และสารสนเทศ การประยุกต์ใช้และ การทำให้ถูกต้อง การจัดเก็บ ความรู้ ความรู้ การถ่ายโอนและ เผยแพร่ความรู้ การวิเคราะห์และ ทำเหมืองข้อมูล ระบบย่อยด้านความรู้ (Knowledge Subsystem)
1) การแสวงหาความรู้ (Acquisition)คือการสะสมข้อมูลและสารสนเทศที่มีอยู่ทั้งภายในและภายนอกองค์กร • 2) การสร้างความรู้ (Creation)ความรู้ใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นโดยอาศัยกระบวนการมากมายที่แตกต่างกันออกไป เริ่มตั้งแต่นวัตกรรมไปจนถึงการวิจัยที่สลับซับซ้อนซึ่งต้องอาศัยความวิริยะอุตสาหะ นอกจากนี้มันยังอาจเกิดจากความสามารถในการมองเห็นการเชื่อมโยงรูปแบบใหม่ ๆ และ/หรือ ผนวกองค์ประกอบของความรู้เดิมที่มีอยู่ สร้างเป็นความรู้ใหม่ขึ้นมา • 3) การจัดเก็บองค์ความรู้ (Storage)หมายถึง การจัดกลุ่มเพื่อเก็บรักษาองค์ความรู้ ที่มีค่าขององค์กร เพื่อให้พนักงานเข้าถึงได้ง่าย ทุกเวลา ทุกสถานที่
4) การวิเคราะห์และการทำเหมืองข้อมูล (Analysis & Data Mining)จะเกี่ยวข้องกับเทคนิคในการวิเคราะห์ข้อมูล การปรับโครงสร้าง การสร้างคลังจัดเก็บความรู้และการดูแลความรู้ให้ถูกต้อง ทันสมัย ส่วนการทำเหมืองข้อมูลจะทำให้องค์กรสามารถค้นหาความหมายหรือรูปแบบของข้อมูลที่มีอยู่ได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น • 5) การถ่ายโอนและเผยแพร่ความรู้ (Transfer & Dissemination)คือ การเคลื่อนย้ายข้อมูลและความรู้ เพื่อให้กระจายออกไปทั่วทั้งองค์กร • 6) การประยุกต์ใช้และการทำให้ถูกต้อง (Application & Validation)เป็นการนำเอาความรู้ไปประยุกต์ใช้และทำการประเมินผลถึงประโยชน์ที่เกิดขึ้น
ระบบย่อยด้านเทคโนโลยี (Technology Subsystem) • ระบบย่อยทางด้านเทคโนโลยีจะประกอบด้วย เครือข่ายเทคโนโลยีและเครื่องมือที่จัดการกับข้อมูลต่าง ๆ ที่ช่วยสนับสนุนให้คนในองค์กรเข้าถึงความรู้และมีการแลกเปลี่ยนสารสนเทศและการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน โดยจะรวมไปถึงตัวระบบและกระบวนการทางเทคโนโลยี ตลอดจนโครงสร้างของความร่วมมือที่จะทำให้เกิดทักษะในการประสานงาน การสอนงาน และทักษะเกี่ยวกับความรู้ด้านอื่น ๆ • ระบบย่อยนี้ยังครอบคลุมถึงการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์และวิธีการในการเรียนรู้ที่ก้าวหน้าไปมาก ๆ เช่น การจำลองแบบ การประชุมทางไกล การเรียนโดยอาศัยสื่ออิเล็กทรอนิคส์ เป็นต้น
เทคโนโลยี การจัดการความรู้ การเพิ่มพูนความรู้
1) เทคโนโลยีสำหรับจัดการความรู้ (Technology for Managing Knowledge)หมายถึง เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์ที่รวบรวม แบ่งกลุ่ม จัดเก็บและถ่ายโอนข้อมูลไปทั่วทั้งองค์กร • 2) เทคโนโลยีสำหรับเพิ่มพูนการเรียนรู้ (Technology for Enhancing Knowledge)เช่น การใช้วิดีโอ การใช้ E-Learning เป็นต้น
องค์กรที่สามารถประสานระบบย่อยทั้ง 5 เข้าด้วยกัน จะ • 1) คาดการณ์และปรับตัวให้เข้ากับอิทธิพลของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้รวดเร็วยิ่งขึ้น • 2) เร่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการและการบริการใหม่ ๆ ได้เร็วยิ่งขึ้น • 3) มีความชำนาญในการเรียนรู้จากคู่แข่งและผู้ร่วมงานมากขึ้น • 4) ทำให้การถ่ายโอนความรู้จากส่วนหนึ่งขององค์กรไปยังอีกส่วนหนึ่งได้รวดเร็วกว่าเดิม • 5) เรียนรู้จากความผิดพลาดได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น • 6) ใช้พนักงานทุกระดับให้เป็นประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ • 7) ลดเวลาในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์ลง
8) กระตุ้นให้เกิดการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องได้ทั่วทั้งองค์กร • 9) ดึงดูดพนักงานที่ดีที่สุดให้ทำงานกับองค์กร • 10) เพิ่มความผูกพันและความคิดสร้างสรรค์ของพนักงาน
จบหัวข้อ9 • คำถาม ………..