1 / 48

บทที่ 6 ผังภาพการไหลของข้อมูล 2

บทที่ 6 ผังภาพการไหลของข้อมูล 2. อาจารย์เอกบดินทร์ เกตุขาว. การมหาลัยราชภัฏจันทรเกษม. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แบ่งก่อนมีสิทธิ์เลือกก่อน เรียงลำดับในการส่งรายชื่อ รายชื่อประกอบด้วย รหัส ชื่อ นามสกุล. หัวข้อการมหาลัยราชภัฏจันทรเกษม. ระบบหอพักนักศึกษา ระบบเช่าหนังสือ / วารสาร

donar
Download Presentation

บทที่ 6 ผังภาพการไหลของข้อมูล 2

An Image/Link below is provided (as is) to download presentation Download Policy: Content on the Website is provided to you AS IS for your information and personal use and may not be sold / licensed / shared on other websites without getting consent from its author. Content is provided to you AS IS for your information and personal use only. Download presentation by click this link. While downloading, if for some reason you are not able to download a presentation, the publisher may have deleted the file from their server. During download, if you can't get a presentation, the file might be deleted by the publisher.

E N D

Presentation Transcript


  1. บทที่ 6 ผังภาพการไหลของข้อมูล 2 อาจารย์เอกบดินทร์ เกตุขาว

  2. การมหาลัยราชภัฏจันทรเกษมการมหาลัยราชภัฏจันทรเกษม • ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน • แบ่งก่อนมีสิทธิ์เลือกก่อน เรียงลำดับในการส่งรายชื่อ • รายชื่อประกอบด้วย รหัส ชื่อ นามสกุล

  3. หัวข้อการมหาลัยราชภัฏจันทรเกษมหัวข้อการมหาลัยราชภัฏจันทรเกษม • ระบบหอพักนักศึกษา • ระบบเช่าหนังสือ/วารสาร • ระบบร้านขายเสื้อผ้า • ระบบยืม-คืนหนังสือห้องสมุด • ระบบร้านอาหาร • ระบบคลังยา • ระบบพัสดุ • ระบบร้านขายเบเกอรี่ • ระบบร้านขายดอกไม้

  4. บทที่ 6 ผังภาพการไหลของข้อมูล • การพัฒนาผังการไหลข้อมูล • ผังภาพระดับคอนเท็ค (Context Diagram) • ผังภาพระดับศูนย์ (Level 0) • ผังภาพระดับลูก (Child Diagram) • การเพิ่มระดับในผังภาพการไหลข้อมูล • การตรวจสอบผังภาพการไหลข้อมูล

  5. บทที่ 6ผังภาพการไหลของข้อมูล • ประเภทของผังการไหลข้อมูล • ผังการไหลข้อมูลเชิงตรรกะ (Logical DFD) • ผังการไหลข้อมูลเชิงกายภาพ (Physical DFD) • การสร้างแบบระบบใหม่ (System Modeling) • ผังการไหลข้อมูลเชิงกายภาพของระบบปัจจุบัน • ผังการไหลข้อมูลเชิงตรรกะของระบบปัจจุบัน • ผังการไหลข้อมูลเชิงตรรกะของระบบใหม่ • ผังการไหลข้อมูลเชิงกายภาพของระบบใหม่

  6. บทที่ 6ผังภาพการไหลของข้อมูล • การจัดประเภทการประมวลผล • ประมวลผลด้วยมือ • ประมวลผลแบบอัตโนมัติ • แบบกลุ่ม • แบบทันที • การแบ่งส่วนขบวนการ

  7. การพัฒนาผังการไหลข้อมูลการพัฒนาผังการไหลข้อมูล • การเขียนผังภาพการไหลข้อมูลเปรียบเสมือนการขับรถทางไกลไปยังเมืองที่ไม่คุ้นเคย • การเขียนผังภาพการไหลข้อมูลมีการเขียนจากภาพกว้างๆ ลงสู่รายละเอียดเรียกว่า การวิเคราะห์แบบบนลงล่าง (Top Down) • นักวิเคราะห์ต้องจัดการทำงานภายในองค์กรให้อยู่ใน 4 หมวด ได้แก่ ระบบภายนอก การไหลของข้อมูล ขบวนการ และแหล่งข้อมูล เพื่อช่วยกำหนดขอบเขตการทำงานของระบบ

  8. การพัฒนาผังภาพการไหลข้อมูลโดยวิเคราะห์แบบบนลงล่างการพัฒนาผังภาพการไหลข้อมูลโดยวิเคราะห์แบบบนลงล่าง • แบ่งกิจกรรมในธุรกิจลงเป็นหมวดหมู่ดังนี้ ระบบภายนอก (กิจกรรมภายนอกระบบ) การไหลของข้อมูล ขบวนการ และ แหล่งข้อมูล (แฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ) • สร้างผังภาพระดับคอนเท็ค (ContextDiagram)แสดงระบบภายนอกและการไหลของข้อมูลที่เข้าและออกจากระบบ แต่ยังไม่แสดงรายละเอียดอื่นๆ

  9. การพัฒนาผังภาพการไหลข้อมูลโดยวิเคราะห์แบบบนลงล่างการพัฒนาผังภาพการไหลข้อมูลโดยวิเคราะห์แบบบนลงล่าง • เขียนผังภาพระดับศูนย์เพื่อแสดงการทำงานทั่วไปของขบวนการ เริ่มแสดงแหล่งข้อมูลในระดับนี้ • สร้างผังภาพระดับลูกของแต่ละขบวนการที่แสดงในระดับศูนย์ • ตรวจสอบข้อผิดพลาดกำหนดชื่อที่มีความหมายต่อ ขบวนการ เส้นการไหลข้อมูล

  10. การพัฒนาผังภาพการไหลข้อมูลโดยวิเคราะห์แบบบนลงล่างการพัฒนาผังภาพการไหลข้อมูลโดยวิเคราะห์แบบบนลงล่าง • พัฒนาผังการไหลข้อมูลเชิงกายภาพจากผังการไหลข้อมูลเชิงตรรกะแยกแยะขบวนการที่ประมวลผลด้วยมือออกจากการประมวลผลอัตโนมัติ แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล และ รายงาน พร้อมทั้งเพิ่มการควบคุมเพื่อระบุการทำงานของขบวนการเสร็จสิ้น หรือเกิดข้อผิดพลาด • จัดกลุ่มขบวนการในผังภาพการไหลข้อมูลเชิงตรรกะว่าเป็นการประมวลผลด้วยมือ หรือ อัตโนมัติ ทั้งนี้เพื่อง่ายต่อการพัฒนาโปรแกรม และการนำไปใช้งาน

  11. ผังภาพระดับคอนเท็ค หรือ ระดับสูงสุด • ผังภาพระดับคอนเท็ค (Context Diagram) คือ ผังภาพระดับสูงสุด (Top Level) ที่ศึกษาถึงลักษณะโดยรวมของระบบ ภาพแสดงขบวนการหลักเพียง 1 ขบวนการ ขบวนการดังกล่าวถือเป็นหัวใจของการทำงานเพราะแทนการทำงานทั้งระบบ • ผังภาพคอนเท็ค เป็นตัวกำหนดขอบเขตการศึกษา สิ่งที่อยู่ภายนอกระบบนักวิเคราะห์ไม่ทำการวิเคราะห์เพราะอยู่นอกเหนือการควบคุม จึงไม่ต้องศึกษาในรายละเอียด หากระบบจำเป็นต้องเกี่ยวข้องเนื่องจากระบบภายนอกเป็นแหล่งต้นทาง (Source) และปลายทาง (Sinks) ของเอกสาร การแสดงในผังภาพควรอยู่นอกระบบ

  12. ผังภาพระดับคอนเท็ค หรือ ระดับสูงสุด • ไม่มีหมายเลขกำกับขบวนการในระดับสูงสุด ระบบภายนอกและเส้นหลักของการไหลข้อมูลบอกแหล่งที่มาที่ไปของข้อมูลเท่านั้นที่ถูกแสดง เพื่อให้ผังภาพเรียบง่าย ดังนั้นแหล่งเก็บข้อมูลจึงไม่ปรากฏในระดับนี้

  13. ผังภาพระดับคอนเท็ค หรือ ระดับสูงสุด ระบบภาย นอก 1 ข้อมูลเข้า 1 ชื่อระบบ ระบบภาย นอก 3 ข้อมูลออก ระบบภาย นอก 2 ข้อมูลเข้า 2 รูปผังภาพระดับคอนเท็ค

  14. ผังภาพระดับศูนย์ LEVEL 0 • ผังภาพระดับศูนย์ (Level 0) บางครั้งเรียกผังภาพระดับแม่ ใช้แสดงรายละเอียดเพิ่มเติมในผังภาพระดับคอนเท็ค สามารถทำได้โดยการแตกขั้นตอนการทำงาน • ขณะที่ข้อมูลเข้าและข้อมูลออกจากผังภาพแรกยังคงเดิมตลอดการแยกขั้นตอน • การแตกขั้นตอนทำให้เห็นการทำงานชัดเจนยิ่งขึ้น ปกติขบวนการอาจแตกย่อยได้ 3-9 ขบวนการ

  15. ผังภาพระดับศูนย์ LEVEL 0 • ขณะเดียวกันยังแสดงแหล่งเก็บข้อมูล และเส้นการไหลข้อมูลใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นในระดับรองลงมา • ผังภาพที่แตกขั้นตอนควรบรรจุลงในหนึ่งหน้ากระดาษ ภายหลังแตกผังภาพการไหลข้อมูลเป็นขบวนการย่อย • นักวิเคราะห์สามารถเติมรายละเอียดการเคลื่อนไหวของข้อมูล ส่วนเรื่องของการจัดการหรือข้อยกเว้นไม่ถูกดำเนินการใน 2 ถึง 3 ระดับแรกของผังภาพ

  16. ผังภาพระดับศูนย์ LEVEL 0 • ผังภาพระดับศูนย์เกิดจากการขยายการทำงานของผังภาพระดับคอนเท็ค แต่ละขบวนการมีหมายเลขกำกับ เช่น 1 2 3 ตามลำดับ เริ่มจากบนซ้ายไปล่างขวา • แหล่งเก็บข้อมูลหลัก ๆ (เช่น แฟ้มหลัก) และระบบภายนอกที่แสดงในระดับคอนเท็ครวมอยู่ในผังภาพระดับศูนย์

  17. ผังภาพระดับลูกChild Diagram • แต่ละขบวนการในผังภาพระดับแม่ หรือ ระดับศูนย์ สามารถแตกขั้นตอนเพื่อเพิ่มรายละเอียดในระดับลูกได้ ขั้นตอนที่ถูกแตกเรียกว่าขบวนการแม่ (Parent Process) และ ขบวนการย่อยลงมาเรียกว่าผังภาพระดับลูก (Child Diagram) • กฎการสร้างผังภาพระดับลูกมีว่าผังภาพระดับลูกไม่สามารถผลิตหรือรับข้อมูลที่ขบวนการแม่ไม่ได้ผลิตหรือรับ เส้นการไหลข้อมูลไม่ว่าเข้าหรือออกที่แสดงในขบวนการแม่ต้องแสดงในผังภาพระดับลูก

  18. ผังภาพระดับลูกChild Diagram • การกำหนดหมายเลขให้กับผังภาพระดับลูก อาศัยหมายเลขจากขบวนการแม่ มีจุดทศนิยมกำกับขบวนการที่แตกย่อย เช่น ขบวนการ 1.1 1.2 1.3 เป็นขบวนการลูกของขบวนการ 1 ในผังภาพระดับลูกหากมีการเพิ่มระดับอีกหมายเลขในขบวนการจะเพิ่มจุดทศนิยมอีกไปเรื่อยๆ เช่น 1.1.1 1.2.1 หรือ 1.3.1 • ระบบภายนอกไม่แสดงในผังภาพระดับลูก

  19. ผังภาพระดับลูกChild Diagram • เส้นการไหลข้อมูลที่ตรงกันระหว่างระดับแม่และระดับลูกเรียกว่าเส้นเชื่อมโยงข้อมูล (Interface Data Flow) แสดงด้วยเส้นลูกศรขีดออกหรือเข้าจากพื้นที่ว่างไปยังผังภาพระดับลูก • หากผังภาพระดับแม่แสดงแหล่งข้อมูลผังภาพระดับลูกต้องแสดงเช่นกัน

  20. ผังภาพระดับลูกChild Diagram • ผังภาพระดับล่างสามารถแสดงแหล่งข้อมูลที่ไม่ปรากฏในผังภาพระดับแม่ได้ เช่น การคำนวณภาษีในระดับลูกสามารถมีแฟ้มอัตราภาษีได้ สำหรับเส้นแสดงข้อผิดพลาด (Error Line) หรือเส้นควบคุมต่าง ๆ สามารถปรากฏในผังภาพระดับลูก โดยที่ผังภาพระดับแม่ไม่ปรากฏ • ขบวนการอาจมีหรือไม่มีการแตกขั้นตอนอีก ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของระบบ เมื่อสิ้นสุดการแตกขั้นตอนแต่ละขบวนการต้องทำหน้าที่ง่าย ๆ เพียงอย่างเดียวเรียกว่าขบวนการเบื้องต้น (Primitive Process)

  21. การเพิ่มระดับในผังการไหลข้อมูลการเพิ่มระดับในผังการไหลข้อมูล • การเพิ่มระดับหรือการแตกขั้นตอน สิ้นสุดที่ขบวนการหนึ่ง ๆ ทำหน้าที่เฉพาะ และมีข้อมูลเข้าและออกจากขบวนการไม่มากมาย ขบวนการที่เพิ่มในแต่ระดับควรเขียนพอดีในหนึ่งหน้ากระดาษ (ประมาณ 2-9 ขบวนการ) • สิ่งที่ต้องคำนึงระหว่างการเพิ่มระดับมีดังนี้ • ความคงที่ระหว่างขบวนการ ข้อมูลเข้าและออกในระดับคอนเท็คต้องเหมือนกับข้อมูลเข้าและออกในระดับล่าง การแตกขั้นตอนมีความคงที่จะไม่มีข้อมูลใหม่เข้าหรือออกขบวนการที่ไม่เหมือนกับผังระดับสูงขึ้นไป

  22. สิ่งที่ต้องคำนึงระหว่างการเพิ่มระดับ (ต่อ) • การจัดระดับ คือ การจัดการกับแฟ้มข้อมูลเฉพาะที่ (Local File) อันได้แก่แฟ้มข้อมูลที่ใช้ในขบวนการใดขบวนการหนึ่ง แหล่งข้อมูลและการไหลข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายในขบวนการถูกปกปิดจนกว่าจะมีการแตกขบวนการลงไปอีก • การเพิ่มข้อมูลควบคุมในระดับล่าง สำหรับผังภาพการไหลข้อมูลระดับคอนเท็คจะไม่ปรากฏข้อมูลที่ใช้ควบคุม (ข้อความแสดงข้อผิดพลาดหรือข้อยกเว้น) เช่น ใบกำกับอาจไม่ถูกต้อง ผังภาพสามารถแสดงข้อมูลควบคุมได้ในระดับลูก (ระดับ 2 หรือระดับ 3)

  23. สิ่งที่ต้องคำนึงระหว่างการเพิ่มระดับ(ต่อ)สิ่งที่ต้องคำนึงระหว่างการเพิ่มระดับ(ต่อ) • การตั้งชื่อฉลากอย่างมีความหมาย การกำหนดชื่อเส้นการไหลข้อมูลและขบวนการต่างๆนั้น ชื่อที่ตั้งควรบอกผู้อ่านว่าเกิดอะไรขึ้น ชื่อควรแสดงการทำงานที่ถูกต้อง • ชื่อที่ตั้งไม่ควรเป็นชื่อเอกสาร เช่น ใบกำกับเพราะในใบกำกับมีข้อมูลหลายอย่าง นักวิเคราะห์จึงสนใจหมายเลขจำนวนเงิน ฯลฯ แต่ไม่สนใจตัวกระดาษ เพราะเวลาวิเคราะห์ใช้แต่ข้อมูลส่วนแบบฟอร์มกระดาษไม่ได้รับความสนใจ

  24. สิ่งที่ต้องคำนึงระหว่างการเพิ่มระดับ(ต่อ)สิ่งที่ต้องคำนึงระหว่างการเพิ่มระดับ(ต่อ) • การกำหนดชื่อให้กับขบวนการ ชื่อขบวนการบ่งบอกถึงลักษณะหรือ กิจกรรมของขบวนการนั้น ๆ เช่น ควบคุมสินค้า (Inventory Control)การซื้อ (Purchasing)และ ขาย (Sale)เป็นชื่อสามัญ ๆ เกินไปในผังภาพการไหลข้อมูลเชิงตรรกะควรใช้ชื่อ การปรับปรุงสินค้าในมือ ( Adjust Quantity On Hand) เตรียมการสั่งซื้อ ( Prepare Purchase Order)หรือ การปรับปรุงยอดขาย (Adjust Sale Order) เพื่อบอกลักษณะการประมวลผลได้ชัดขึ้น • แนวทางในการกำหนดชื่อขบวนการ

  25. แนวทางในการกำหนดชื่อขบวนการ(ต่อ)แนวทางในการกำหนดชื่อขบวนการ(ต่อ) • เลือกชื่อที่แสดงถึงกิจกรรมที่กระทำใช้คำกริยาและวัตถุประสงค์ที่ได้ร่วมกับกิจกรรม เช่น ปรับปรุงยอดขาย • ชื่อแสดงถึงการทำงานที่สมบูรณ์ เช่น ขบวนการทำงาน 2 อย่าง คือ ตรวจสอบและแก้ไข การตั้งชื่อขบวนการว่าการตรวจสอบใบกำกับอย่างเดียวไม่เพียงพอ เพราะแสดงการทำงานเพียงอย่างเดียว • เลือกชื่อขบวนการที่แสดงถึงการเชื่อมระหว่างข้อมูลเข้าและออก • หลีกเลี่ยงชื่อที่คลุมเครือ เช่น ขบวนการ(Process) ทบทวน(Review) หรือจัดการ( Handle)หรือ จัดระบบ (Organize)

  26. สิ่งที่ต้องคำนึงระหว่างการเพิ่มระดับ(ต่อ)สิ่งที่ต้องคำนึงระหว่างการเพิ่มระดับ(ต่อ) • ใช้ชื่อขบวนการในระดับต่ำที่ชัดเจนมาช่วยกำหนดชื่อขบวนการที่เกี่ยวข้องกันในระดับสูง • การประเมินความถูกต้องของผังภาพการไหลข้อมูล หัวใจสำคัญอย่างหนึ่งของการออกแบบคือ การตรวจสอบความถูกต้องของ ผังภาพการไหลข้อมูลข้อผิดพลาด การหดหาย และการไม่คงที่ของระบบ เกิดได้หลายสาเหตุ รวมถึงการเขียนผังรูปที่ไม่ถูกต้อง การผิดพลาดอาจแสดงถึงการไม่มีประสิทธิภาพของระบบ หรือสถานะการณ์ที่ผู้ใช้ไม่ได้ระวังถึงการทำงานของขบวนการ

  27. สิ่งที่ต้องคำนึงระหว่างการเพิ่มระดับ(ต่อ)สิ่งที่ต้องคำนึงระหว่างการเพิ่มระดับ(ต่อ) • คำถามต่อไปนี้ช่วยในการประเมินผล ผังภาพการไหลข้อมูล • มีส่วนไหนของ ผังภาพการไหลข้อมูลที่ไม่มีชื่อ • มีที่เก็บข้อมูลใดที่ข้อมูลเข้าไม่เคยอ้างอิงถึง • มีขบวนการใดที่ไม่รับข้อมูลเข้า • มีขบวนการใดที่ไม่ผลิตข้อมูลออก • มีขบวนการใดที่ทำกิจกรรมมากกว่าหนึ่ง หากมีต้องแยกย่อยขบวนการลงไป • มีแหล่งข้อมูลใดที่ไม่เคยใช้อ้างอิง

  28. สิ่งที่ต้องคำนึงระหว่างการเพิ่มระดับ(ต่อ)สิ่งที่ต้องคำนึงระหว่างการเพิ่มระดับ(ต่อ) • คำถามต่อไปนี้ช่วยในการประเมินผล ผังภาพการไหลข้อมูล(ต่อ) • มีการใช้ข้อมูลที่คลุมเครือในขบวนการใด • มีข้อมูลที่เกินจำเป็นในแหล่งข้อมูลหรือไม่ • มีข้อมูลเข้าในขบวนการมากเกินกว่าการใช้ผลิตข้อมูลออก • มีเอเลี่ยน (Aliases) หรือ ข้อมูลแปลกปลอมเข้ามาในระบบหรือไม่ หากมีชื่อเอเลี่ยนเหล่านี้ต้องแสดงในพจนานุกรมข้อมูล(Data Dictionary)หรือไม่ การมีชื่อแปลกปลอมแสดงถึงความไม่คงที่ • แต่ละขบวนการเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกัน แต่ละขบวนการขึ้นกับข้อมูลที่รับเท่านั้น

  29. ประเภทผังภาพการไหลข้อมูลประเภทผังภาพการไหลข้อมูล • ผังภาพการไหลข้อมูลมี 2 ประเภท คือ เชิงตรรกะ ,เชิงกายภาพ • ผังภาพการไหลข้อมูลเชิงตรรกะ แสดงถึงนโยบายการทำงานของธุรกิจ อธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นรวมถึงข้อมูลที่ต้องการ และการทำงานของแต่ละขบวนการโดยไม่คำนึงถึงอุปกรณ์ สถานที่ หรือบุคคล • ผังภาพการไหลข้อมูลเชิงกายภาพ เน้นการทำงานของระบบด้านกายภาพมากกว่า การทำงานของระบบจึงรวมถึง อุปกรณ์ โปรแกรม แฟ้มข้อมูล และบุคคลที่เกี่ยวข้องในระบบ

  30. ประเภทผังภาพการไหลข้อมูลประเภทผังภาพการไหลข้อมูล • หากบริษัทมีการส่งข้อมูลจากบุคคลในแผนกหนึ่ง มีการเก็บสมุดแฟ้มโดยบุคคลต่าง ๆ นักวิเคราะห์สามารถเปลี่ยน ผังภาพเชิงกายภาพ เชิงตรรกะ • แผนก การไหลข้อมูล • บุคคล จุดเริ่มต้น / จบ • สมุด/แฟ้ม แหล่งข้อมูล / สื่อบันทึก • สถานที่, ตึก, ห้อง - • ภารกิจ/กิจกรรม ขบวนการ

  31. รายการที่ปรากฏในผังเชิงกายภาพ • ผังภาพเชิงกายภาพสามารถแสดงสิ่งต่อไปนี้ • แยกแยะการประมวลผลด้วยมือหรืออัตโนมัติ • อธิบายรายละเอียดขบวนการมากกว่าผังเชิงตรรกะ • แสดงลำดับการทำงานของขบวนการ • แสดงแหล่งข้อมูลชั่วคราว • ระบุชื่อแฟ้มข้อมูล และอุปกรณ์การพิมพ์ • มีการเพิ่มเส้นควบคุมเพื่อประกันการทำงานของขบวนการ

  32. รายการที่ปรากฏในผังเชิงกายภาพรายการที่ปรากฏในผังเชิงกายภาพ • การประมวลผลด้วยมือ เช่น การเปิดเมล์ คีย์ข้อมูลแบ็ทไฟล์ การตรวจสอบแบบฟอร์ม ฯลฯ • ขบวนการ เพิ่ม ลบ เปลี่ยนแปลง และปรับปรุงแก้ไขเรคอร์ด • การคีย์ข้อมูลและขบวนการตรวจสอบ • ขบวนการจัดลำดับของเรคอร์ด • ขบวนการผลิตเอาต์พุต

  33. รายการที่ปรากฏในผังเชิงกายภาพรายการที่ปรากฏในผังเชิงกายภาพ • ขบวนการจัดลำดับของเรคอร์ด • ขบวนการผลิตเอาต์พุต • แฟ้มพักข้อมูล หรือ แฟ้มชั่วคราว • ชื่อแฟ้มที่เก็บข้อมูล • การควบคุมแสดงการสิ้นสุดงาน หรือข้อผิดพลาด

  34. System Modelingการสร้างแบบของระบบใหม่ • การสร้างแบบของระบบใหม่ (System Modeling) คือ การสร้างแบบจำลองผังการไหลข้อมูลบนกระดาษ เพื่อให้เห็นลักษณะการทำงานของระบบใหม่ และทำการแก้ไขปรับปรุงในสิ่งที่บกพร่องก่อนที่ระบบใหม่จะถูกพัฒนาและใช้งานจริง กระบวนการสร้างแบบของระบบใหม่ทำให้ประหยัดต้นทุน และ เพิ่มความมั่นใจว่าระบบใหม่มีประสิทธิภาพดีกว่าระบบปัจจุบัน

  35. System Modelingการสร้างแบบของระบบใหม่ • การวิเคราะห์ระบบเริ่มจากการศึกษากิจกรรมที่เกิดขึ้นจริงในระบบปัจจุบัน • สร้างแบบเชิงกายภาพของระบบปัจจุบัน (Current PhysicalModel) • จากนั้นจึงสร้างแบบเชิงตรรกะของระบบปัจจุบัน (Current Logical Model) • พร้อมเพิ่มระบบใหม่หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ต้องการเข้าในผังเชิงตรรกะของแบบระบบใหม่ (New LogicalModel) • ทำการปรับปรุงจนได้รูปแบบที่เหมาะสมจึงสร้างแบบเชิงกายภาพของระบบใหม่ (New PhysicalModel)

  36. System Modelingการสร้างแบบของระบบใหม่ • การพัฒนาผังภาพการไหลข้อมูลเชิงตรรกะในระบบปัจจุบัน ช่วยให้เห็นการทำงานที่ชัดเจนและเป็นจุดเริ่มต้นที่จะพัฒนาผังภาพการไหลข้อมูลของระบบใหม่ ขบวนการใดที่ไม่จำเป็นถูกตัดออก ส่วนข้อกำหนดใหม่เกี่ยวกับกิจกรรม ข้อมูลเข้า ข้อมูลออก และแหล่งข้อมูลถูกเพิ่มเติมเข้าในระบบใหม่ การดำเนินการเช่นนี้สร้างความมั่นใจว่าสิ่งจำเป็นในระบบเก่ายังคงอยู่ในระบบใหม่ เมื่อการสร้างแบบเชิงตรรกะจากระบบใหม่แล้วเสร็จ แบบเชิงกายภาพของระบบใหม่จึงถูกพัฒนา

  37. การจัดประเภทการประมวลผลการจัดประเภทการประมวลผล • ประเภทการประมวลผล (Data Processing) • การประมวลผลด้วยมือ (Manual Data Processing) • การประมวลผลอัตโนมัติ (Automatic Data Processing) • แบบกลุ่ม (Batch Processing) คำนึงถึง Job Stream • แบบทันที (Online Processing) • การแบ่งส่วนขบวนการ (Partition Process) คือการระบุว่าขบวนการใดในผังภาพการไหลข้อมูลที่ต้องใช้โปรแกรมแยกหรือร่วมกัน

  38. การแบ่งส่วนขบวนการเพื่อการประมวลผลการแบ่งส่วนขบวนการเพื่อการประมวลผล • สาเหตุที่ต้องแบ่งส่วนขบวนการ • เนื่องจากมีผู้ใช้ระบบหลายกลุ่มอยู่ต่างที่กัน จึงต้องแยกการทำงานของโปรแกรมออกจากกัน เช่น ขบวนการรับคืนสินค้า และการรับเงินจากลูกค้า ทั้ง 2 ขบวนการต่างก็ปรับปรุงการเงินของลูกค้า แต่การปฏิบัติเกิด 2 แหล่งต่างผู้ใช้ • เนื่องจากเวลา หากสองขบวนการมีการปฏิบัติการต่างระยะเวลากัน ควรแยกการประมวลผลออกจากกัน

  39. การแบ่งส่วนขบวนการเพื่อการประมวลผลการแบ่งส่วนขบวนการเพื่อการประมวลผล • สาเหตุที่ต้องแบ่งส่วนขบวนการ(ต่อ) • ลักษณะงานที่คล้ายกัน เมื่อขบวนการมีลักษณะการทำงานเหมือนกันและมีการประมวลผลแบบกลุ่ม ขบวนการเหล่านี้ควรทำงานภายในโปรแกรมเดียวกัน เช่น การปรับปรุงยอดลูกค้าทุก ๆ สิ้นเดือน มีการทำยอดจากขบวนการคืนสินค้า หักออกจากยอดขบวนการซื้อ เพื่อแสดงยอดดุลปัจจุบัน การอ่านขบวนการทั้ง 2 นี้สามารถรวมเป็น 1 โปรแกรม

  40. การแบ่งส่วนขบวนการเพื่อการประมวลผลการแบ่งส่วนขบวนการเพื่อการประมวลผล • สาเหตุที่ต้องแบ่งส่วนขบวนการ(ต่อ) • เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยการรวมการทำงานของการประมวลผลแบบกลุ่มหลายกลุ่มเข้าด้วยกัน เช่น การทำรายงานหลาย ๆ ฉบับที่ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมาก อาจผลิตรายงานในโปรแกรมเดียวกัน เพื่อประหยัดเวลาดำเนินการ (Runtime)

  41. การแบ่งส่วนขบวนการเพื่อการประมวลผลการแบ่งส่วนขบวนการเพื่อการประมวลผล • สาเหตุที่ต้องแบ่งส่วนขบวนการ(ต่อ) • ความถูกต้องของข้อมูล การจัดการประมวลผลทำให้ข้อมูลมีความถูกต้อง เช่น แผนกลูกหนี้ต้องออกรายงานแสดงยอดรับชำระจากลูกหนี้ ขณะที่ยอดดังกล่าวต้องแสดงในใบเสร็จเพื่อให้แก่ลูกค้า หากรายงานถูกประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ต่างเครื่องกัน และเป็นเวลาเดียวกับอีกเครื่องทำการปรับปรุงแฟ้มหลักลูกค้าแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้ไม่คงที่ ขาดความคงที่ของระบบ

  42. การแบ่งส่วนขบวนการเพื่อการประมวลผลการแบ่งส่วนขบวนการเพื่อการประมวลผล • สาเหตุที่ต้องแบ่งส่วนขบวนการ(ต่อ) • ความปลอดภัย ขบวนการบางอย่างอาจต้องแยกโปรแกรมเพื่อลักษณะความปลอดภัย เช่น โปรแกรมเพิ่มลูกค้า ควรแยกออกจากโปรแกรมปรับปรุงการเงินลูกค้า เนื่องจากการเพิ่มข้อมูลลูกค้ามีพนักงานหลายคนดำเนินการได้ แต่การเงินเฉพาะพนักงานที่มีอำนาจเท่านั้นที่ดำเนินการ ดังนั้นการใช้รหัสผ่านจึงเป็นสิ่งจำเป็น

  43. ตัวอย่างการสร้างแบบระบบใหม่ของบริษัทเช่าวีดีโอตัวอย่างการสร้างแบบระบบใหม่ของบริษัทเช่าวีดีโอ • บริษัทเช่าวีดีโอมีนโยบายให้ยืมวีดีโอฟรี เป็นโบนัส สำหรับสมาชิกที่มียอดสะสมการเช่าวีดีโอในปริมาณมากกว่าที่กำหนด เพื่อจะได้ส่วนแบ่งการตลาดที่มากขึ้น ดังนั้นโปรแกรมการให้โบนัสถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบเช่าวีดีโอ การพัฒนาผังภาพการไหลข้อมูลเชิงตรรกะ

  44. ตัวอย่างการสร้างแบบระบบใหม่ของบริษัทเช่าวีดีโอตัวอย่างการสร้างแบบระบบใหม่ของบริษัทเช่าวีดีโอ • การสร้างผังภาพเชิงตรรกะระดับคอนเท็คของบริษัทเช่า วีดีโอ • ก่อนเขียนผังภาพระดับบนสุดได้นั้น นักวิเคราะห์ต้องสรุปกิจกรรมภายในร้าน ข้อสรุปได้จากการสัมภาษณ์เจ้าของร้าน และรายการที่สรุปได้มีดังนี้

  45. ตัวอย่างการสร้างแบบระบบใหม่ของบริษัทเช่าวีดีโอตัวอย่างการสร้างแบบระบบใหม่ของบริษัทเช่าวีดีโอ • ลูกค้าต้องสมัครเป็นสมาชิกโดยกรอกข้อมูลลงในใบสมัคร บริษัทจึงออกบัตรสมาชิก • ทุกครั้งที่ใช้บริการสมาชิกต้องแสดงบัตรและวีดีโอที่ต้องการยืมให้พนักงาน เพื่อรวมเงินและออกใบเสร็จพร้อมกำหนดวันที่คืนวีดีโอ แต่ละเรคอร์ดถูกบันทึกสำหรับแต่ละรายการที่ยืมวีดีโอ • เมื่อลูกค้าคืนวีดีโอ หากช้าเกินกำหนด หมายเหตุและค่าปรับถูกบันทึกในเรคอร์ด

  46. ตัวอย่างการสร้างแบบระบบใหม่ของบริษัทเช่าวีดีโอตัวอย่างการสร้างแบบระบบใหม่ของบริษัทเช่าวีดีโอ • ลูกค้าสามารถจ่ายค่าปรับในการยืมครั้งต่อไป • ทุกสิ้นเดือนยอดการยืมวีดีโอถูกทบทวน สำหรับลูกค้าที่มียอดสะสมเกินระดับโบนัสประจำเดือนที่กำหนด เช่นมากกว่า 1,000.- บาท บริษัทส่งจดหมายขอบคุณที่ใช้บริการพร้อมคูปองเพื่อยืมวีดีโอฟรี ขึ้นอยู่กับยอดยืมในแต่ละเดือน • ทุกสิ้นปีข้อมูลเช่าวีดีโอของสมาชิกถูกตรวจสอบ ลูกค้าที่มียอดสะสมระหว่างปีเกินโบนัสประจำปี จะได้รับจดหมายขอบคุณ คูปองยืมวีดีโอฟรีและใบรับวีดีโอฟรี (หากมีการรับโบนัสประจำเดือนเกิน 3 ครั้ง)

  47. ตัวอย่างการสร้างแบบระบบใหม่ของบริษัทเช่าวีดีโอตัวอย่างการสร้างแบบระบบใหม่ของบริษัทเช่าวีดีโอ • การเขียนผังภาพระดับคอนเท็คแสดงภาพโดยรวมจึงเรียบง่าย เนื่องจากระบบติดต่อกับลูกค้าและเก็บยอดยืมอยู่เสมอ ดังนั้นระบบจึงมีลูกค้าเป็นระบบภายนอก

  48. ตัวอย่างการสร้างแบบระบบใหม่ของบริษัทเช่าวีดีโอตัวอย่างการสร้างแบบระบบใหม่ของบริษัทเช่าวีดีโอ • ผังภาพเชิงตรรกะระดับศูนย์ของบริษัทเช่าวีดีโอ • ผังภาพระดับศูนย์หรือระดับแม่ แสดงกิจกรรมหลักของบริษัทโดยขบวนการหนึ่ง ๆ แทนกิจกรรมหลักเพียงกิจกรรมเดียว แต่ละขบวนการถูกวิเคราะห์เพื่อหาสิ่งนำเข้าที่จำเป็นเพื่อผลิตสิ่งนำออกที่ต้องการ

More Related