210 likes | 670 Views
ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม ( Social Responsibility Theory ) . สมาชิกในกลุ่ม. นางสาวประภา ฝ่ายแก้ว นางสาวประภัสรา ประกอบสุข นางสาวอรนิภา เผยศิริ นางสาวอารดา ลอยเลื่อย นางสาวอนัญญา ทวีไกรกุล นางสาววิกานดา ตั้งเตรียมใจ สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ชั้นปีที่ 3. ความเป็นมา.
E N D
ทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม (Social Responsibility Theory)
สมาชิกในกลุ่ม นางสาวประภา ฝ่ายแก้ว นางสาวประภัสรา ประกอบสุข นางสาวอรนิภา เผยศิริ นางสาวอารดา ลอยเลื่อย นางสาวอนัญญา ทวีไกรกุล นางสาววิกานดา ตั้งเตรียมใจ สาขาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ชั้นปีที่ 3
ความเป็นมา • พฤติกรรมในทางลบของหนังสือพิมพ์เสรีในสหรัฐอเมริกาผลักดันให้นักคิดนักวิชาการเข้ามาช่วยนักหนังสือพิมพ์และผู้พิมพ์โฆษณาสร้างจรรยาบรรณสำหรับวิชาชีพมาตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 แต่ผู้ที่มีส่วนในการวางรากฐานทฤษฎีนี้เป็นอย่างมากก็คือ โจเซฟ พูลิทเซอร์ (Joseph Pulitzer) ที่ได้พยายามต่อสู้เพื่อตั้งสถาบันการศึกษาวารสารศาสตร์ขึ้น (ปัจจุบันนี้อยู่ในมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย นิวยอร์ค)
ได้เขียนเรื่องนี้ไว้ในวารสาร American Reviewเมื่อปี ค.ศ. 1904 ว่า“ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง ความรู้ถูกถ้วนที่สุดเกี่ยวกับปัญหาที่จะต้องเผชิญ และความรู้สึกรับผิดชอบทางศีลธรรมด้วยความจริงใจ สามอย่างนี้จะช่วยปกป้องวิชาชีพวารสารศาสตร์ให้พ้นจากความยอมจำนนต่อผลประโยชน์ทางธุรกิจที่เห็นแก่ตัวและเป็นศัตรูต่อสวัสดิการของประชาชน” (Joseph Pulitzer, อ้างถึงในสมควร กวียะ, 2545 : 91)
นับแต่นั้นมาการพูดถึงความรับผิดชอบก็ขยายกว้างออกไป หนังสือพิมพ์ต้องมีเสรีภาพตามแนวความคิดอิสรภาพนิยม แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีความรับผิดชอบควบคู่กันไปด้วย เกิดเป็นแนวความคิดเสรีนิยมอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเรียกกันว่า Neo-liberalism ในแนวความคิดนี้เสรีภาพถูกจำกัดขอบเขตด้วยความรู้สึกรับผิดชอบของผู้ประกอบวิชาชีพภายใต้จรรยาบรรณของสมาคมวิชาชีพ และโดยการควบคุมของสถาบันรัฐที่เป็นอิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาลหรือผู้ใด (Public but independent institutions)
อันที่จริงทฤษฎีเสรีนิยมแนวใหม่เพิ่งจะกลายเป็นทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคมอย่างชัดแจ้งในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง เมื่อคณะกรรมาธิการเสรีภาพสื่อมวลชน (Commission on Freedom of the Press) ได้ศึกษาและรายงานชื่อว่า สื่อมวลชนที่มีเสรีภาพและความรับผิดชอบ (A Free and Responsible Press) แม้ว่าผลงานของคณะกรรมาธิการจะได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากจากวงการวิชาชีพ แต่ส่วนใหญ่ก็มิได้ขัดแย้งในหลักการ จึงเท่ากับว่าช่วยตบแต่งให้ทฤษฎีนี้มีรูปร่างชัดเจนยิ่งขึ้น
ความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชนความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ของสื่อมวลชน • บทบาทหน้าที่ของสื่อมวลชนตามทฤษฎีนี้พัฒนามาจากทฤษฎีเสรีนิยมแบบดั้งเดิม แต่เจาะเน้นที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่เหล่านั้นให้เกิดผลดีต่อสังคมส่วนรวมอย่างแท้จริง • ประการแรกจะต้องถือเป็นภาระหน้าที่หลักที่จะให้บริการแก่ระบบการเมือง โดยการให้ข่าวสารและให้มีการอภิปรายโต้เถียงในเรื่องของส่วนรวมหรือกิจการสาธารณะ
ประการที่สองซึ่งเป็นหน้าที่รองลงมาก็คือ ควรจะต้องส่งเสริมกระบวนการประชาธิปไตยและให้ความสว่างทางปัญญา(Enlightening) แก่สาธารณชนเพื่อจะได้เกิดความสามารถในการปกครองตนเอง
ประการที่สามควรจะต้องพิทักษ์รักษาสิทธิของบุคคลโดยคอยเฝ้าดูรัฐบาล (Watchdog against government) • ประการที่สี่ควรจะต้องให้บริการแก่ระบบเศรษฐกิจ โดยเน้นส่งเสริมผลประโยชน์ของผู้ซื้อผู้ขายสินค้าและบริการด้วยสื่อการโฆษณาแต่รายได้จากการนี้จะต้องไม่บั่นทอนอิสรภาพของสื่อมวลชน
ประการที่ห้าควรจะต้องให้ความบันเทิงแก่สาธารณชน แต่มีเงื่อนไขว่าจะต้องเป็นความบันเทิงที่ “ดี” มีคุณภาพ • ประการที่หกควรจะต้องหลีกเลี่ยงไม่เสนอเนื้อหาเรื่องราวที่อาจนำไปสู่การประกอบอาชญากรรม ความรุนแรง ความไม่สงบเรียบร้อยของบ้านเมือง หรือการก้าวร้าวต่อชนกลุ่มน้อย
ประการที่เจ็ดสื่อมวลชนควรจะต้องเป็นพหุนิยม คือสะท้อนความคิดเห็นที่แตกต่างกัน รวมทั้งเปิดโอกาสให้ใช้สิทธิโต้ตอบ
คณะกรรมาธิการเสรีภาพสื่อมวลชน (The Commission on Freedom of the press) ในสหรัฐอเมริกา ได้เสนอแนะหลักการปฏิบัติหน้าที่อย่างมีความรับผิดชอบของสื่อมวลชนไว้ดังนี้
สื่อมวลชนจะต้องเสนอสิ่งที่เป็นจริงเข้าใจได้ และเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเหตุการณ์ประจำวัน • สื่อมวลชนควรทำหน้าที่เป็นเวทีการแลกเปลี่ยนการวิพากษ์วิจารณ์ • สื่อมวลชนควรให้ภาพที่เป็นตัวแทนของกลุ่มต่างๆในสังคม • สื่อมวลชนควรนำเสนอค่านิยมของสังคมให้ชัดเจน • สื่อมวลชนควรให้ประชาชนมีโอกาสเข้าถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นในแต่ละวันได้อย่างเต็มที่
ลักษณะความรับผิดชอบของสื่อมวลชนลักษณะความรับผิดชอบของสื่อมวลชน 1.ความเป็นอิสระ(Freedom)ได้แก่ ความเป็นอิสระที่จะรู้(Freedom to know)ความเป็นอิสระที่จะบอก(Freedom to tell) และความเป็นอิสระในการค้นหาความจริง(Freedom to find out) แม้ว่าสื่อมวลชนจะมีอิสระในด้านต่างๆข้างต้น แต่ก็จำเป็นต้องใช้ความเป็นอิสระเหล่านั้นอย่างมีความรับผิดชอบ และในขณะเดียวกัน ก็ต้องปกป้องความเป็นอิสระของตนจากการแทรกแซงของสิ่งต่างๆ
2. ต้องไม่เสนอข่าวในลักษณะที่อาจทำให้เสียความยุติธรรมในการพิจารณาคดี(Fair Trial) 3. ต้องไม่เสนอในเรื่องที่เป็นความรับของทางราชการ(Government Secrecy) 4. ต้องเสนอข่าวด้วยความถูกต้อง (Accuracy)หากมีความผิดพลาดในการเสนอข่าวสื่อมวลชนจะต้องแก้ไขข่าวนั้นในทันที เช่น ถ้าเสนอข่าวผิดหนึ่งประโยค ก็ต้องแก้ไขประโยคนั้นในหน้าเดียวกันในตำแหน่งเดียวกันที่ผิดพลาด
5.ต้องเสนอข่าวอย่างตรงไปตรงมา (Objective)โดยแยกแยะระหว่างเนื้อข่าวและความคิดเห็น 6.ต้องเสนอข่าวโดยเสมอภาคกัน(Balance) โดยเสนอข่าวจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวที่เกิดขึ้น 7.ต้องไม่แทรกแซงสิทธิส่วนบุคคล(Privacy)
8.ต้องอ้างถึงแหล่งที่มาของข่าวได้(Using Source Responsibly)เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ แต่ในบางกรณีที่ผู้ให้ข่าวอาจไม่ต้องการเปิดเผยตัวเพราะกลัวว่าอาจได้รับอันตราย ก็เป็นความรับผิดชอบของสื่อมวลชนที่จะปิดข่าวไว้ 9.ต้องเสนอรายการบันเทิงในรูปแบบที่หลากหลาย(Pluralism in Programming)
สรุป • จะเห็นได้ว่าทฤษฎีความรับผิดชอบทางสังคม แตกต่างจากทฤษฎีเสรีนิยมหรืออิสรภาพนิยมตรงประเด็นที่ว่า เสรีภาพมิได้เป็นแต่เพียงอิสรภาพที่ไร้จุดหมายปลายทาง และเสนอสนองสิทธิมนุษยชนในการแสดงออกเท่านั้น หากจะต้องเป็นอิสรภาพที่นำไปสู่การสร้างสรรค์ผลประโยชน์ของส่วนรวมให้เกิดผลอย่างจริงจัง สื่อมวลชนมิได้เกิดมาเพื่อเป็นเครื่องมือของบุคคลหรือกลุ่มบุคคลเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องเป็นเครื่องมือสื่อสารที่สร้างความสัมฤทธิผลให้กับสังคมด้วย สรุปได้ว่าเสรีภาพเชิงลบ (negative freedom) ได้กลายมาเป็นเสรีภาพเชิงบวก (positive freedom) นั่นเอง
จบการนำเสนอ ขอบคุณค่ะ