1.37k likes | 4.89k Views
การนำนโยบายสาธารณะ ไปสู่การปฏิบัติ (Public Policy Implementation). อาวุธ รื่นภาคพจน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน มหาวิทยาลัยขอนแก่น. การกำหนดนโยบาย ( policy Formulation ). การวิเคราะห์ผล สะท้อนกลับของนโยบาย ( policy feedback analysis ). การนำนโยบายไปปฏิบัติ ( policy implementation ).
E N D
การนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ(Public Policy Implementation) อาวุธ รื่นภาคพจน์ นักวิเคราะห์นโยบายและแผน มหาวิทยาลัยขอนแก่น
การกำหนดนโยบาย (policy Formulation) การวิเคราะห์ผล สะท้อนกลับของนโยบาย (policy feedback analysis) การนำนโยบายไปปฏิบัติ (policy implementation) การประเมินผลนโยบาย (policy evaluation) แสดงลักษณะความสัมพันธ์ขององค์ประกอบหลักของศาสตร์นโยบายศึกษา
Implementation = Black Box การก่อรูปและการกำหนดนโยบาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ การประเมินผล
แนวคิด Policy Goals Actual Goals IMPLEMENTATION “การนำนโยบายไปปฏิบัติ คือ กระบวนการ ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดเป้าประสงค์และการปฏิบัติเพื่อการบรรลุเป้าประสงค์” (Pressman & Wildavsky, 1973)
แนวคิด เพรสแมน (Jeffrey L. Pressman)และวิลดัฟสกี้(Aron Willldavsky)(1973)ได้ทำการศึกษาปัญหาการนำนโยบายการสร้างงานให้ชนกลุ่มน้อยไปปฏิบัติ ในปี ค.ศ. 1973 เขาได้นิยามการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นกระบวนการของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมายที่กำหนดไว้กับปฏิบัติการทั้งหลายที่มุ่ง(Geared)ไปสู่การกระทำให้บรรลุผล การนำนโยบายไปปฏิบัติคือความสามารถที่จะจัดการและประสานสิ่งที่จะเกิดขึ้นมาภายหลังในลักษณะที่เป็นลูกโซ่เชิงสาเหตุและผล ทั้งนี้เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่พึงปรารถนา แวน มิเตอร์(Donald S. Van Meter) และแวน ฮอร์น(Carl e. Van Horn)(1975)ที่กำหนดว่า การนำนโยบายไปปฏิบัติหมายความรวมถึงการดำเนินการโดยบุคลากรหรือกลุ่มบุคคลในภาครัฐหรือภาคเอกชน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวมุ่งที่จะก่อให้เกิดความสำเร็จโดยตรง ตามวัตถุประสงค์ จากการตัดสินใจดำเนินนโยบายที่ได้กระทำก่อนหน้านั้นแล้ว
แนวคิด Quade, Edward S. (1982)จากหนังสือ Analysis of Public Decisions พบว่า การนำนโยบายไปปฏิบัติในลักษณะของกระบวนการเปลี่ยนไปตามแผน โดยให้คำนิยามว่า การนำนโยบายไปปฏิบัติ หมายถึง กระบวนการจัดการกับแบบแผนการนำ เพื่อการเปลี่ยนแปลงโดยตรงตามอาณัติของนโยบายเพื่อเคารพต่อข้อกำหนดที่เกิดขึ้นจากการที่ได้ตัดสินใจไปก่อนแล้วการนำนโยบายไปปฏิบัติ Mazmanian, Daniel A. and Sabatier, Paul A.. (1983)จากหนังสือImplementationand Pubilc Policyพบว่า การนำนโยบายไปปฏิบัติก็คือ การดำเนินงานตามการ ตัดสินใจในเชิงนโยบายซึ่งปรากฏอยู่ในกฎหมาย ระเบียบการบริหารของราชการหรือการตัดสินใจของศาล กระบวนการนี้จะมีอยู่หลายขั้นตอน นับตั้งแต่การผ่านกฎหมายที่เป็นหลักของนโยบายออกมา มีการตัดสินใจหลายอย่างของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ มีการยินยอมทำตามนโยบายของกลุ่มเป้าหมายมีผลกระทบเกิดขึ้น และมีการทบทวนกฎหมายหลัก
เทคนิควิเคราะห์ในการนำนโยบายไปปฏิบัติเทคนิควิเคราะห์ในการนำนโยบายไปปฏิบัติ (Policy ImplementationAnalytical Technics) • เป็นช่วงที่จะต้องมีการแปลงนโยบายออกมาเป็นแผนงานและโครงการ ก็สามารถวิเคราะห์นโยบายได้โดยใช้ • เทคนิคการวิเคราะห์ข่ายงาน • การบริหารงานแบบคุณภาพ • การบริหารงานโดยยึดวัตถุประสงค์เป็นต้น
การนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติการนำนโยบายสาธารณะไปสู่การปฏิบัติ • การแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติมีขั้นตอนอย่างไร • ความสัมพันธ์ระหว่างการนำนโยบายไปปฏิบัติกับขั้นตอนนโยบายขั้นอื่นเป็นอย่างไร • เส้นทางเดินนโยบาย (policy path) คืออะไร • ปัจจัยความสำเร็จ/ล้มเหลวในการนำนโยบายไปปฏิบัติมีอะไรบ้าง
แสดงตัวแบบทั่วไปของกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติแสดงตัวแบบทั่วไปของกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ความยากง่ายของปัญหา สมรรถนะของ กฎหมายในการ กำหนดโครงสร้าง การนำนโยบาย ไปปฏิบัติ สภาพแวดล้อม ที่มีผลต่อการกระทำ นโยบายไปปฏิบัติ (ตัวแปรที่ไม่ใช่กฎหมาย) ขั้นตอนของกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ (ตัวแปรตาม) ผลผลิต การปฏิบัติ ผลกระทบ การรับรู้ การปรับปรุง นโยบาย ตามนโยบาย ที่แท้จริง ผลกระทบนโยบาย ของหน่วย ของกลุ่ม ของผลผลิต ของผลผลิต ครั้งใหญ่ ปฏิบัติ เป้าหมาย นโยบาย นโยบาย
ตัวแบบกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติของ Carl E.Van Horn &Donald S. Van Meter (1976) นโยบาย การสื่อสารระหว่างองค์กรและการขับเคลื่อนกิจกรรม ผลการปฏิบัติตามนโยบาย วัตถุประสงค์และมาตราฐานนโยบาย ลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฎิบัติ ความตั้งใจของ ผู้ปฏิบัติ ทรัพยากรนโยบาย เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่มา : Donald S. Van Meter and Carl E. Van Horn. “ The policy Implementation Process : A Conceptual Framework.” Administration & Society. Vol. 6 No.4 (February 1975) : p.463
ตัวแบบกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติของDaniel A.Mazmanian &Paul A. Sabatier (1989) • ความสามารถแก้ไขปัญหาได้ของสาระนโยบาย • การมีทฤษฎีสนับสนุนและมีหลักวิชาการอ้างอิง • ระดับความหลากหลายของพฤติกรรมที่ต้องการควบคุม • การระบุลักษณะและขนาดกลุ่มเป้าหมายขนาดความต้องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย • ลักษณะโครงสร้างการนำนโยบายไปปฏิบัติที่กำหนด • การมีทฤษฎีเที่ยงตรงรองรับ • ระดับความชัดเจนของวัตถุประสงค์นโยบาย • องค์กรที่นำนโยบายไปปฏิบัติได้รับการสนับสนุนทางการเงิน • การบูรณาการโครงสร้างการนำนโยบายไปปฏิบัติในแต่ละระดับลดหลั่นกัน • กำหนดแบบแผนการตัดสินใจไว้ชัดเจน • การมอบหมายงานชัดเจน • การเปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกมีส่วนร่วม • ตัวแปรที่มิใช่เนื้อหาสาระของนโยบาย • เงื่อนไขทางสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี • การสื่อสารมวลชนเพื่อพัฒนาความเข้าใจปัญหานโยบาย • การสนับสนุนสาธารณะ • เจตคติต่อนโยบายของกลุ่มผู้เลือกตั้ง • การสนับสนุนจากผู้มีอำนาจ • ข้อผูกพันและทักษะของภาวะผู้นำของข้าราชการที่นำนโยบายไปปฏิบัติ ขั้นตอนในกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ การปรับปรุงสาระ นโยบาย ผลผลิต นโยบายและแผน ที่นำไปปฏิบัติ ผลการปฏัติ ตามนโยบาย ของกลุ่มเป้าหมาย ผลกระทบที่แท้จริง (โดยตรง) จากผลผลิตนโยบาย ผลกระทบที่รับรู้ได้ (โดยอ้อม) จากผลผลิตนโยบาย
ขั้นตอนการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติขั้นตอนการแปลงนโยบายไปสู่การปฏิบัติ ระดับมหภาค: หน่วยงานในส่วนกลางซึ่งมีบทบาทควบคุมนโยบาย • ทำความเข้าใจในบริบท และสาระของนโยบาย • แปลงนโยบายให้เป็นแนวทาง แผนงาน โครงการ • มอบหมาย หรือส่งมอบแนวทาง แผนงาน โครงการสู่หน่วยปฏิบัติ ระดับจุลภาค: หน่วยงานส่วนภูมิภาคแลท้องถิ่นซึ่งมีบทบาทปฏิบัติ • ยอมรับนโยบาย รับแนวทาง แผนงาน โครงการเป็นส่วนหนึ่งของงาน • การระดมสรรพกำลัง ทรัพยากร และเครือข่ายความร่วมมือ • การดำเนินการปฏิบัติ ตรวจสอบ ติดตามและการสร้างต่อเนื่อง
ขั้นตอนของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในระดับมหภาคขั้นตอนของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในระดับมหภาค 1. ขั้นตอนของการแปลงนโยบายเป็นแนวทางปฏิบัติหรือออกมาในรูปของแผนงานหรือโครงการ ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลงนโยบายนี้สำคัญมาก เพราะหากเมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายให้เบี่ยงเบนไปจากวัตถุประสงค์แล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่าความล้มเหลวของนโยบายนั้นย่อมเกิดขึ้นตั้งแต่เบื้องแรกแล้ว จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่า มีหลายปัจจัยที่ส่งผลให้นโยบายต้องถูกแปรเปลี่ยนไปจากวัตถุประสงค์เดิม โดยปัจจัยที่จะส่งผลให้นโยบายต้องถูกแปรเปลี่ยนไปจากวัตถุประสงค์เดิมมีดังนี้ 1)ความคลุมเครือหรือขาดความเฉพาะเจาะจงของนโยบายเอง 2)ความหลากหลายในเป้าหมายของนโยบาย 3)หน่วยงานที่รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงนโยบายมีความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของนโยบายนี้เพียงไร 4)หน่วยงานที่รับผิดชอบในการเปลี่ยนแปลงนโยบายนั้นมีความร่วมมือและความจริงใจในการนำนโยบายไปปฏิบัติเพียงใด
ขั้นตอนของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในระดับมหภาคขั้นตอนของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในระดับมหภาค 2. ขั้นตอนการทำให้หน่วยงานในระดับท้องถิ่นยอมรับ(Adopt) แนวทาง แผนงานโครงการหรือผลของการแปลงนโยบายนั้นไปปฏิบัติต่อไป การที่ราชการบริหารส่วนกลางจะสามารถทำให้หน่วยปฏิบัติในระดับล่างหรือระดับท้องถิ่นยอมรับ และจัดทำโครงการสนองนโยบายที่ส่วนราชการวางไว้ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอ่าง เช่น ลักษณะของหน่วยงานท้องถิ่นนั้น สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม และการเมืองของท้องถิ่นนั้น ตลอดจนประโยชน์ที่รัฐบาล ควรจะให้กับหน่วยงานท้องถิ่นนั้น
ขั้นตอนของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในระดับจุลภาค (วรเดช จันทรศร,2545) ในขั้นตอนนี้มีความเกี่ยวพันกับการที่หน่วยงานในระดับท้องถิ่นจะทำการยอมรับนโยบายจากรัฐบาลหรือหน่วยงานส่วนกลางเข้าเป็นนโยบายระดับท้องถิ่นมากน้อยเพียงใด จะทำการปรับปรุงวิธีการในการปฏิบัติงานของตนเองให้สอดคล้องกับนโยบาย แนวทางการปฏิบัติงานตลอดจนแผนงานที่ส่วนกลางกำหนดไว้ให้เข้ากับสภาพแวดล้อมและวิธีการในการปฏิบัติงานของตนเสียเอง เมื่อมีการปรับเปลี่ยนอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ผลการปฏิบัติจะเป็นอย่างไร หน่วยงานท้องถิ่นตลอดจนผู้ปฏิบัติจะทำการยอมรับและถือเอานโยบายนั้นเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภารกิจประจำวันด้วยความต่อเนื่องเพียงใด นโยบายส่วนกลางนั้นจะถูก ยกเลิกหรือไม่ ความเกี่ยวพันดังกล่าว ถือได้ว่าเป็นคุณลักษณะสำคัญที่เกิดขึ้นในขั้นตอนระดับจุลภาค ซึ่งจะมีจุดที่หน่วยงานในท้องถิ่น ตลอดจนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องแต่ละฝ่ายจะต้องทำการตัดสินใจหรือปฏิสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกันไป ยิ่งไปกว่านั้นพฤติกรรมการตัดสินใจและการปฏิสัมพันธ์จะแปรเปลี่ยนไปตลอดเวลา
ขั้นตอนของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในระดับจุลภาค (วรเดช จันทรศร,2545) ความเกี่ยวพันต่างๆ ในระดับจุลภาคนี้สามารถแยกได้เป็น 3 ขั้นตอนหลักคือ 1.ขั้นการระดมพลัง(Mobilization)หน่วยงานระดับท้องถิ่นจะต้องดำเนินการ ใน2 กิจกรรม คือ การพิจารณารับนโยบาย และการแสวงหาความสนับสนุน 2.ขั้นการปฏิบัติ(Deliverer implementation)ครอบคลุมถึงกระบวนการในการ ปรับเปลี่ยนโครงการที่ได้มีการยอมรับแล้วออกมาในรูปของการปฏิบัติจริง 3.ขั้นการสร้างความเป็นปึกแผ่นหรือความต่อเนื่อง(Institutionalization or continuation)เป็นความหวังของหน่วยงานส่วนกลางที่จะต้องฝากไว้กับผู้บริหาร ระดับท้องถิ่นและตัว ผู้ปฏิบัติในระดับท้องถิ่นเองเป็นสำคัญ ในส่วนตัวผู้บริหารระดับ ท้องถิ่นจะต้องเป็นตัวนำในการชักจูงให้ ผู้ปฏิบัติเห็นความสำคัญของนโยบายดังกล่าว อย่างต่อเนื่องและจะต้องหาทางแปลงนโยบายนั้นให้เป็นภารกิจประจำวันของผู้ปฏิบัติ ไปตลอด ในส่วนของผู้ปฏิบัติเองก็จะต้องพร้อมและมีความเต็มใจที่จะปฏิบัติตาม นโยบายนั้นโดยถาวร เสมือนหนึ่งเป็นภารกิจประจำวัน
กิจกรรม ผลลัพธ์ 1. การกำหนดนโยบาย การระบุประเด็นปัญหา การพัฒนาทางเลือก การเสนอทางเลือก กฎหมาย / พระราชบัญญัติ / นโยบายในรูปอื่น ข้อความเกี่ยวกับเป้าหมาย แนวทาง และผลที่คาดหวัง ก่อให้เกิด 2. การนำนโยบายไปปฏิบัติ การแปลความกฎหมาย / นโยบายในรูปอื่น การรวบรวมทรัพยากร การวางแผน การจัดองค์การ การดำเนินงาน ใช้เป็นกรอบ ป้อน กลับสู่ โครงการและแผนปฏิบัติการ ที่เป็นรูปธรรม ก่อให้เกิด นำไปสู่ 3.การประเมินผล เพื่อปรับหรือยกเลิกนโยบาย เร้าให้เกิด ผลการดำเนินงาน (ระยะสั้น) นำไปสู่ เร้าให้เกิด ผลกระทบอันเกิดจาก นโยบาย (ระยะยาว) ความสัมพันธ์ระหว่างการนำนโยบายไปปฏิบัติและขั้นตอนอื่นในกระบวนการนโยบาย ที่มา : ศุภชัย ยาวะประภาษ, นโยบายสาธารณะ. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพมหานคร. 2540
ตัวแบบกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติของ Carl E.Van Horn &Donald S. Van Meter (1976) นโยบาย การสื่อสารระหว่างองค์กรและการขับเคลื่อนกิจกรรม ผลการปฏิบัติตามนโยบาย วัตถุประสงค์และมาตราฐานนโยบาย ลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฎิบัติ ความตั้งใจของ ผู้ปฏิบัติ ทรัพยากรนโยบาย เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมือง ที่มา : Donald S. Van Meter and Carl E. Van Horn. “ The policy Implementation Process : A Conceptual Framework.” Administration & Society. Vol. 6 No.4 (February 1975) : p.463
ตัวแบบกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติตัวแบบกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ ของVan Meter and Van Horn เป็นตัวแบบที่ประกอบด้วยตัวแปร 6 ตัว ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างตัวนโยบาย กับผลการปฏิบัติตามนโยบาย
1.วัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบาย (policy standards and objectives) องค์ประกอบพื้นฐานสำคัญในกำหนดการปฏิบัติตามนโยบาย คือ วัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบาย เพราะวัตถุประสงค์และมาตรฐานของนโยบาย คือ ปัจจัยกำหนดรายละเอียดของเป้าหมายนโยบาย ในบางกรณีวัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบายโดยตัวของมันเอง เป็นตัวการที่ช่วยให้ง่ายต่อการวัด เช่น จำนวนชิ้นงาน ปริมาณของผู้ได้รับการจ้างงาน ความก้าวหน้าของแต่ละกิจกรรมของโครงการ ทั้งนี้การวัดผลการปฏิบัติตามนโยบายจะกระทำได้ชัดเจนเพียงใด ย่อมขึ้นอยู่กับความชัดเจนของการกำหนดมาตรฐานนโยบายและความชัดเจนของวัตถุประสงค์ของนโยบาย ในทางตรงกันข้ามหากวัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบายมีความคลุมเครือ และมีความขัดแย้งกัน ย่อมทำให้ยากต่อการวัด และยากต่อการนำไปปฏิบัติเพราะวัตถุประสงค์ของการศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติประการหนึ่ง คือ ความต้องการทราบว่านโยบายใดประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวอย่างไร การวัดความสำเร็จหรือความล้มเหลว คือ การพิจารณาระดับที่เป้าหมายและวัตถุประสงค์บรรลุผล หากวัตถุประสงค์และมาตรฐานนโยบายมีความชัดเจน และแสดงคุณสมบัติที่ง่ายต่อการวัด การประเมินคุณค่าของนโยบายก็จะกระทำได้ง่ายเช่นกัน ดังนั้นผู้กำหนดนโยบายควรเลือกถ้อยคำหรือข้อความในการเรียบเรียงแนวปฏิบัติและข้อกำหนด(guidelines and regulations)มาใช้อย่างพิถีพิถันให้สามารถสะท้อนเกณฑ์การประเมินการปฏิบัติตามนโยบายได้ชัดเจน
2.ทรัพยากรนโยบาย (policy resources) ทรัพยากรนโยบาย คือ สิ่งอำนวยความสะดวกต่อการบริหารนโยบาย ทรัพยากรนโยบายอาจรวมถึง เงินและสิ่งเสริมทั้งปวงที่กำหนดไว้ในแผนงานทรัพยากรเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่ช่วยส่งเสริม หรือช่วยให้ความสะดวกต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ทรัพยากรนโยบายที่เป็นตัวเงินเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้นโยบายบรรลุผล แต่การนำนโยบายไปปฏิบัติมีความต้องการ ทรัพยากรเสริมอื่นๆ อีกมาก และนอกจากนี้Edwards, George C. and Sharkansky, Ira ยังกล่าวว่าการนำนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลดีนั้นจะต้องมีทรัพยากรสนับสนุน อันได้แก่ จำนวนบุคลากร ข้อมูลที่ทันสมัย การมอบอำนาจหน้าที่ในการดำเนินงานการจัดสรรงบประมาณ การให้คำแนะนำและความช่วยเหลือแก่ผู้ปฏิบัติงานในระดับล่าง
3.การสื่อสารระหว่างองค์กร และ กิจกรรมการเสริมแรง (inter-organizational communication and enforcement activities) การสื่อสารระหว่างองค์การ คือ การสื่อสารเกี่ยวกับมาตรฐานงานและวัตถุประสงค์นโยบาย เพื่อให้ผู้นำนโยบายไปปฏิบัติแต่ละหน่วยงานที่รับผิดชอบแผนงาน โครงการมีความรู้ความเข้าใจสอดคล้องกัน หรือจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง การสื่อสารระหว่างองค์การ คือ ความต้องการให้ผู้ปฏิบัติเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับมาตรฐานและวัตถุประสงค์นโยบาย การสื่อสารภายในองค์การและระหว่างองค์การมิใช่เรื่องง่ายหากผู้กำหนดนโยบาย ไม่สามารถเรียบเรียงแนวปฏิบัติที่ต้องการให้ผู้ปฏิบัตินำไปใช้ให้ชัดเจนเป็นมาตรฐานเดียวกัน เพราะหากข้อกำหนดหรือแนวปฏิบัติไม่ชัดเจนอาจทำให้มีการแปลงสารเกิดขึ้นได้ง่าย หรือพร้อมที่จะเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ปฏิบัติได้ตลอดเวลา ดังนั้น การนำนโยบายไปปฏิบัติให้ความสำเร็จ ควรมีกลไกและกระบวนการเพื่อทำความเข้าใจตรงกันเกี่ยวกับมาตรฐานงานและวัตถุประสงค์ของนโยบายระหว่างฝ่ายบริหารกับผู้ปฏิบัติ
4.ลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ (characteristics of lamenting agencies) ลักษณะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ เป็นองค์ประกอบใหญ่ที่มีองค์ประกอบย่อยๆ หลายประการที่เป็นตัวกำหนดการปฏิบัติตามนโยบาย ได้แก่ สมรรถนะและขนาดของทีมงานในหน่วยงาน ระดับความเข้มข้นของการควบคุมบังคับบัญชาของหน่วยงานย่อยในกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติทรัพยากรทางการเมืองของหน่วยงาน การสนับสนุนจากนักกฎหมายและฝ่ายบริหารความมีชีวิตชีวาขององค์การ ระดับการสื่อสารระบบเปิดในองค์การ และความสัมพันธ์อย่างเป็นทางการ ไม่เป็นทางการระหว่างองค์การที่นำนโยบายไปปฏิบัติกับผู้กำหนดนโยบายหรือองค์การที่ประกาศใช้นโยบาย คุณลักษณะขององค์การที่กล่าวมา แสดงถึงศักยภาพและความสามารถที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติ
5.เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง (economic ,social and political conditions) องค์ประกอบด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง เคยได้รับการมองว่าเป็นปัจจัยสำคัญในฐานะที่เป็นตัวแปรสภาพแวดล้อมของผลิตผลนโยบายแม้ว่าองค์ประกอบด้านนี้จะมีผลกระทบอย่างมากต่อกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติโดยเฉพาะหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ การพิจารณาองค์ประกอบด้านนี้จะคำนึงถึงว่าการจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจให้หน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติมีความเพียงพอต่อการส่งเสริมให้แผนงานโครงการประสบความสำเร็จหรือไม่ ธรรมชาติของความเห็นสาธารณะเป็นอย่างไร จุดเด่นของนโยบายสัมพันธ์กับประเด็นนโยบายอย่างไร ชนชั้นนำชอบหรือไม่ชอบนโยบายที่นำไปปฏิบัติ กลุ่มหลากหลายในสังคม รวมทั้งกลุ่มผลประโยชน์ภาคเอกชนคัดค้านหรือสนับสนุน การนำนโยบายนั้นไปปฏิบัติ
6. ทัศนคติของผู้ปฏิบัติ (disposition of implementers) องค์ประกอบ5ประการ ที่กล่าวมาแล้ว จะถูกกลั่นกรองโดยความรู้สึกนึกคิดของผู้ปฏิบัติและจะมีการตอบสนองสามระดับซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการแสดงความสามารถ และความตั้งใจจริงของผู้ปฏิบัติ คือ 1.ความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบาย 2.ทัศนคติต่อนโยบาย และ 3.ความเข้มข้นของทัศนคติ นอกจากนี้Edwards and Sharkansky ยังกล่าวว่า ผู้นำนโยบายไปปฏิบัติไม่เพียงแต่จะต้องมีความรู้ความเข้าเกี่ยวกับนโยบายที่ต้องปฏิบัติเท่านั้น แต่จะต้องเป็นผู้ที่มีทัศนคติที่จะนำนโยบายนั้นไปปฏิบัติให้บรรลุด้วย โดยปกติผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ มักจะถูกครอบงำด้วยความคิดที่ว่าตัวนโยบายจะมีผลกับหน่วยงานและจะให้ผลประโยชน์ส่วนตัวมากน้อยเพียงใด ดังนั้น ผู้ปฏิบัติจะไม่ต่อต้านหากเขามีส่วนร่วมหรือรับรู้นโยบายตั้งแต่แรก
ตัวแบบกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติตัวแบบกระบวนการนำนโยบายไปปฏิบัติ
เส้นทางเดินนโยบาย (policy path) • กระบวนการหรือขั้นตอนการไหลเวียนของนโยบาย • ที่แสดงให้เห็นถึงการดำเนินไปของการเกิดขึ้นของนโยบายจากจุดเริ่มต้น หรือจุดกำเนิดนโยบาย • เคลื่อนสู่จุดเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนผ่านรูปของนโยบายในการนำไปปฏิบัติ • จนกระทั่งถึงจุดสิ้นสุดที่ผลผลิตของนโยบายได้รับการส่งมอบสู่ผู้รับบริการ • ซึ่งเป็นการเชื่อมโยงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างการกำหนดและการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ
นโยบาย ของรัฐ นโยบาย งบประมาณ กระแสการ กระจายอำนาจ กระแสการพัฒนา แผน และโครงการ กระทรวง มหาดไทย กระแสการปฏิรูประบบราชการ รายได้จากแหล่งอื่น สำนักงบประมาณ นโยบาย และแผน งบประมาณ แผน และ โครงการ แผน และ ประสานงาน นโยบาย รายได้ ของรัฐ ประสาน งาน งบประมาณ หน่วยวางแผนกลาง การ สนับสนุน ประสานงานต้องการ หน่วยจัดเก็บรายได้ แผน และ ประสานงาน งบประมาณ การสนับสนุน งบประมาณ การสนับสนุน ความ ต้องการ แผน และความ ต้องการ การสนับสนุน เงินภาษี บริการและ งบประมาณ ประสานงาน องค์กรปกครองท้องถิ่น ความ ต้องการ รพช.ส่วนกลาง บริการ ความ ต้องการ กระแสความ เข้มแข็งของชุมชน รพช.จังหวัด บริการ กระแสเศรษฐกิจ ที่หดตัวลง ประชาชน ศูนย์ รพช. ประชาสังคม ตัวอย่าง เส้นทางเดินนโยบาย
ปัจจัยความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติปัจจัยความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติ • ลักษณะของนโยบาย • วัตถุประสงค์ของนโยบาย • ความเป็นไปได้ทางการเมือง • ความเป็นไปได้ทางเทคนิคหรือทฤษฎี • ความเพียงพอของทรัพยากร • ลักษณะของหน่วยงานที่นำนโยบายไปปฏิบัติ • ทัศนคติของผู้นำนโยบายไปปฏิบัติ • ความสัมพันธ์ระหว่างกลไกต่างๆ ที่นำนโยบายไปปฏิบัติ
ปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติ การนำนโยบายไปปฏิบัติเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เพราะนโยบายแผนหรือโครงการทั้งหลาย แม้ว่าจะยกร่างเป็นอย่างดี เต็มไปด้วยหลักวิชาการ แต่ถ้าไม่ได้นำไปปฏิบัติแล้ว นโยบายนั้นก็ไม่ก่อให้เกิดผล ในทำนองเดียวกันนโยบายนั้นแม้ว่าจะเป็นนโยบายที่ดีและน่าเชื่อถือ แต่ถ้านำไปปฏิบัติอย่างไม่ถูกต้องจริงจังภายใต้สภาวการณ์ไม่เอื้ออำนวยแล้ว นโยบายนั้นก็ไม่สามารถประสบความสำเร็จหรือบรรลุเป้าหมายได้ดังนั้นการนำนโยบายไปปฏิบัติจึงเป็นขั้นตอนที่สำคัญ มีความสลับซับซ้อน และเข้าใจยากเพราะจะต้องเกี่ยวข้องกับบุคคลและหน่วยงานต่างๆ จำนวนมาก รวมทั้งต้องเผชิญกับปัจจัยทั้งภายในภายนอกองค์การ ที่มีผลต่อการนำนโยบายไปปฏิบัติ ในการนำนโยบายไปปฏิบัติมักจะประสบปัญหาทั้งระดับมหภาค(Macro)และในระดับ(Micro) (Paul Berman 1978 : 157 – 184)
ปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติ ในระดับมหภาค พบว่า นโยบายบางเรื่องที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนด แต่ไม่สามารถทำให้หน่วยงานในระดับท้องถิ่น นำนโยบายไปปฏิบัติในทิศทางที่ต้องการ ในระดับจุลภาคแม้ว่ารัฐบาลจะสามารถทำให้หน่วยงานปฏิบัติในระดับท้องถิ่น แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่แสดงว่า หน่วยงานเหล่านั้นจะสามารถนำนโยบายไปปฏิบัติได้ ทั้งนี้เพราะมีปัจจัยหลายอย่างที่เป็นอุปสรรคหรือไม่เอื้ออำนวยต่อการที่จะนำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุสำเร็จตามเป้าหมายของรัฐบาล ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ย่อมมีผลกระทบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของนโยบาย ปรากฏการณ์และปัญหาในลักษณะดังกล่าว ได้เกิดขึ้นอยู่เสมอ และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ดังนั้น การที่นโยบาย แผนหรือโครงการต่างๆ จะประสบความสำเร็จได้นั้น ผู้ที่มีหน้าที่นำนโยบายไปปฏิบัติจะต้องมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพการดำรงชีวิต ทัศนคติและพฤติกรรมของกลุ่มร่วมให้เกิดขึ้นในทุกฝ่าย การมีส่วนร่วมดังกล่าวจำเป็นต้องอาศัยสิ่งจูงใจ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการนำนโยบายไปปฏิบัติย่อมมีความเป็นไปได้สูง
ปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติ (วรเดช จันทรศร, 2545) ปัญหาในการนำนโยบายไปปฏิบัติครอบคลุมปัญหาต่างๆ 5 ด้านคือ 1.ปัญหาด้านสมรรถนะ 2.ปัญหาทางด้านการควบคุม 3.ปัญหาทางด้านความร่วมมือและการต่อต้านการเปลี่ยนแปลง 4.ปัญหาทางด้านอำนาจและความสัมพันธ์กับองค์การอื่นๆที่ เกี่ยวข้อง 5.ปัญหาทางด้านความสนับสนุนและความผูกพันขององค์การหรือ บุคคลสำคัญ
ปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติ (วรเดช จันทรศร, 2545) 1.ปัญหาทางด้านสมรรถนะ จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปัจจัยย่อยอีกหลาย ประการ คือ 1.1 ปัจจัยทางด้านบุคลากร ขึ้นกับเงื่อนไขหลายประการคือ ประการที่หนึ่ง นโยบายที่จะถูกนำไปปฏิบัตินั้นต้องการบุคลากรจำนวนเท่าใดประเภทใด และมีคุณสมบัติอย่างไร ประการที่สอง บุคลากรเหล่านั้นมีอยู่แล้วในระบบราชการหรือไม่ หากมีอยู่แล้วมีคุณภาพ ความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามนโยบายนั้นได้หรือไม่ มีความยินดีและตั้งใจที่จะมาเป็นผู้ร่วมปฏิบัติตามนโยบายหรือไม่ ประการที่สามหากไม่มีบุคลากรเหล่านั้นในระบบราชการหรือมีไม่เพียงพอหน่วยงานที่รับผิดชอบในการนำนโยบายไปปฏิบัติจะสามารถหาบุคลากรจากภาคเอกชนได้หรือไม่ จะมีความสามารถในการดึงดูดบุคลากรเหล่านั้นให้ปฏิบัติงานตามนโยบายหรือโครงการได้อย่างไร
ปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติ (วรเดช จันทรศร, 2545) 1.2 ปัจจัยทางด้านเงินทุน มีข้อจำกัดในการใช้เงินทุนและมีมาก หรือมีระเบียบข้อบังคับไว้มากจนขาดความยืดหยุ่นซึ่งจะเป็นการบั่นทอนสมรรถนะของหน่วยงานมากขึ้น 1.3 ปัจจัยทางด้านวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนปัจจัยทางด้านวิทยาการหรือเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในนโยบาย ซึ่งจะทวีมากขึ้น ถ้าหากหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ได้รับการสนับสนุนทางด้านวัสดุอุปกรณ์ อย่างเพียงพอ และทันต่อเวลา และหากผู้ปฏิบัติขาดความรู้หรือความเข้าใจในเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
ปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติ (วรเดช จันทรศร, 2545) 2.ปัญหาทางด้านการควบคุม มีมากน้อยเพียงใดขึ้นกับ ประการที่1ความสามารถของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการแปลงนโยบายว่าจะสามารถแปลงนโยบายนั้นๆ ออกมาเป็นแนวทางปฏิบัติ แผนงาน โครงการที่สอดคล้องกับความต้องการของนโยบายเพียงใด ประการที่2ขึ้นอยู่กับ กิจกรรมของนโยบาย แผนงาน หรือโครงการนั้นๆ ว่ามีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนเพียงใด ประการที่3ขึ้นอยู่กับการที่หน่วยปฏิบัติจะมีการกำหนดภารกิจตลอดจนมาตรฐานในการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับแนวทางการปฏิบัติงาน แผนงาน โครงการ เพียงใด
ปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติ (วรเดช จันทรศร, 2545) 3.ปัญหาทางด้านความร่วมมือและการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงมีเงื่อนไขหรือเหตุผลหลักๆ7ประการที่ส่งผลให้สมาชิกในองค์การหรือหน่วยปฏิบัติไม่ให้ความร่วมมือ คือ 3.1 สมาชิกขององค์การหรือหน่วยปฏิบัติเห็นว่านโยบายนั้นไม่ได้มาจากรากฐานความต้องการของตนที่แท้จริง หรือไม่เห็นความสำคัญของนโยบายนั้น 3.2 สมาชิกขององค์การหรือหน่วยปฏิบัติทำากรต่อต้านเพราะเห็นว่านโยบายนั้นมีผลทำให้ดุลยพินิจในการปฏิบัติงาน ตลอดจนพฤติกรรมในการปฏิบัติงานประจำของตนต้องเปลี่ยนแปลงไป 3.3หัวหน้าของหน่วยปฏิบัติไม่ได้ให้ความสนับสนุนนโยบายนั้น 3.4 สมาชิกขององค์การหรือหน่วยปฏิบัติทำการต่อต้าน เพราะเห็นว่าการปฏิบัติตามนโยบายนั้นจะส่งผลให้งบประมาณ อัตรากำลังของหน่วยงานต้องลดลงในระยะยาว อีกทั้งยังก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนในภารกิจและหน้าที่ของบุคลากร
ปัญหาการนำนโยบายไปปฏิบัติ (วรเดช จันทรศร, 2545) 3.5 สมาชิกขององค์การหรือหน่วยปฏิบัติเห็นว่า นโยบายนั้นถูกกำหนดขึ้นโดยฝ่ายบริหารที่ไม่เข้าใจว่าสภาพความเป็นจริงในการปฏิบัติงานหรือการให้บริการของผู้ปฏิบัติเป็นเช่นไร 3.6สมาชิกขององค์การหรือหน่วยปฏิบัติไม่เห็นด้วยกับสาระหรือวิธีการปฏิบัติในโครงการหรือนโยบายนั้นเพราะไม่ได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจดังกล่าว 3.7สมาชิกขององค์การหรือหน่วยปฏิบัติไม่ให้ความร่วมมือและต่อต้านเนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจว่าจะปฏิบัติตามนโยบายนั้นอย่างไร