360 likes | 516 Views
ความคืบหน้าของการเจรจาใน WTO. โดย นางสาวศิรินารถ ใจมั่น ผู้อำนวยการสำนักเจรจาการค้าพหุภาคี กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 18 มกราคม 2548 โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี. เค้าโครงการบรรยาย. Background จุดเริ่มต้นของการเจรจารอบ Doha
E N D
ความคืบหน้าของการเจรจาในWTOความคืบหน้าของการเจรจาในWTO โดย นางสาวศิรินารถ ใจมั่น ผู้อำนวยการสำนักเจรจาการค้าพหุภาคี กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 18 มกราคม 2548 โรงแรมริชมอนด์ จ.นนทบุรี
เค้าโครงการบรรยาย • Background จุดเริ่มต้นของการเจรจารอบDoha • ความคืบหน้าของการเจรจาในปี 2547 และท่าทีของไทยในเรื่องที่เจรจาต่างๆ • นัยสำคัญของJuly Package • การเตรียมตัวของประเทศไทยและประเทศกำลังพัฒนา
จุดเริ่มต้นของการเจรจาการค้ารอบโดฮาจุดเริ่มต้นของการเจรจาการค้ารอบโดฮา • ที่ประชุมรัฐมนตรี WTO ครั้งที่ 4 ที่เมืองโดฮา ประเทศกาตาร์ เดือนพฤศจิกายน 2544 มีมติให้เริ่มการเจรจาการค้ารอบใหม่ เรียกว่า การเจรจารอบการพัฒนา (Development Round) หรือระเบียบการพัฒนาโดฮา (Doha Development Agenda: DDA) • การเจรจารอบโดฮามีกำหนดแล้วเสร็จในวันที่ 1 มกราคม 2548
เรื่องที่กำหนดให้เจรจาเรื่องที่กำหนดให้เจรจา เกษตร บริการ การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม จดทะเบียนไวน์ & สุรา กฎเกณฑ์ของ WTO สิ่งแวดล้อม การระงับข้อพิพาท การปฏิบัติตามพันธกรณีรอบอุรุกวัย อื่นๆ การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง การเสริมสร้างขีดความสามารถและความร่วมมือทางเทคนิค พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เศรษฐกิจขนาดเล็ก การค้า หนี้ และการเงิน การค้าและการถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่องที่กำหนดให้เจรจาตามปฏิญญาโดฮา • เรื่องที่จะต้อง • ตัดสินใจที่ MC5 • การลงทุน • นโยบายแข่งขัน • ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ • การอำนวยความสะดวกทางการค้า
การประชุมรัฐมนตรีองค์การการค้าโลก ครั้งที่ 5 ณ เมืองแคนคูน ประเทศเม็กซิโก • เป็นเพียง Mid-Term Review เท่านั้น ไม่ใช่เป็นการสิ้นสุดการเจรจา • กำหนดให้รัฐมนตรีตัดสินใจว่าจะเปิดการเจรจาหรือไม่ ในเรื่องการลงทุน นโยบายแข่งขัน ความโปร่งใสในการจัดซื้อโดยรัฐ และการอำนวยความสะดวกทางการค้า • ให้ take stock และให้ political guidance เรื่องที่มีปัญหาในการเจรจา
ประเด็นที่เป็นปัญหาในการเจรจาประเด็นที่เป็นปัญหาในการเจรจา • ความต้องการที่แตกต่างกันของประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา • ประเทศพัฒนาแล้ว • สหภาพยุโรป สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และเกาหลี ต้องการผลักดันให้เปิดการเจรจาเรื่อง Singapore Issues (การลงทุน นโยบายการแข่งขัน ความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และการอำนวยความสะดวกทางการค้า), services, และ NAMA • ไม่ต้องการเปิดเสรีสินค้าเกษตร
ประเด็นที่เป็นปัญหาในการเจรจาประเด็นที่เป็นปัญหาในการเจรจา ประเทศกำลังพัฒนา • ต้องการเปิดเสรีสินค้าเกษตร แต่ไม่ต้องการเจรจาเรื่องใหม่ๆ • ประเทศกำลังพัฒนาเช่น อินเดีย มาเลเซียและประเทศพัฒนาน้อยที่สุด ได้แก่ กลุ่มประเทศแอฟริกา แคริเบียนและแปซิฟิก (ACP) ต่อต้านการเจรจาเรื่อง Singapore Issues เพราะเห็นว่าเป็นประเด็นที่ค่อนข้างซับซ้อนและตนเองยังไม่มีความพร้อม แต่ให้ความสำคัญในเรื่องการแก้ไขปัญหาการปฏิบัติตามพันธกรณี ปัญหาความยากจน การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและการเสริมสร้างขีดความสามารถของประเทศกำลังพัฒนา
ผลการประชุมฯ • ประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้ • ที่ประชุมจึงมีมติให้ประธานคณะมนตรีใหญ่ร่วมกับผู้อำนวยการใหญ่ WTO สานงานต่อ และให้จัดการประชุมคณะมนตรีใหญ่ในระดับเจ้าหน้าที่ระดับสูง ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2546 เพื่อดำเนินการให้สามารถสรุปการเจรจาได้ภายในเวลาที่กำหนด
สาเหตุความล้มเหลว • ประเทศสมาชิกไม่สามารถตกลงกันได้เรื่อง Singapore Issues • ปัญหาเรื่องการอุดหนุนการส่งออกฝ้าย กลุ่มประเทศแอฟริกาเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยกเลิกการอุดหนุนแต่ไม่ประสบความสำเร็จ • ความไม่โปร่งใสในการเจรจา (หลายประเทศไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุม Green Room)
เหตุการณ์หลังแคนคูน • สหรัฐและสหภาพฯ มีหนังสือถึงรัฐมนตรี WTO เรียกร้องให้สมาชิกกลับมาเจรจากันอีกครั้งเพื่อไม่ให้ปี 2547 เป็นปีสูญเปล่า โดยเป้าหมายของการเจรจา คือ การจัดทำกรอบการเจรจาในเรื่องสำคัญให้เสร็จในเดือนกรกฎาคม 2547
สถานะล่าสุดของการเจรจาเรื่องสำคัญๆสถานะล่าสุดของการเจรจาเรื่องสำคัญๆ ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2547 ประเทศสมาชิกสามารถตกลงกันได้ เกี่ยวกับกรอบการเจรจาใน 4 เรื่อง JULY PACKAGE • การปฏิรูปสินค้าเกษตรโลก • การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม • การเปิดตลาดสินค้าบริการ • เปิดการเจรจาการอำนวยความสะดวกทางการค้า
การลด/ยกเลิกการอุดหนุนส่งออกการลด/ยกเลิกการอุดหนุนส่งออก • กำหนดวันยกเลิกการอุดหนุนส่งออกของทุกสินค้า โดย ให้ลด/ยกเลิกการอุดหนุนส่งออกทุกรูปแบบซึ่งรวมถึง • การให้สินเชื่อ / การค้ำประกัน / การรับประกันเพื่อการส่งออก ที่มีระยะเวลาชำระคืนเกิน 180 วัน • การระบายสต๊อกสินค้าส่วนเกินในรูปของการให้ความช่วยเหลือด้านอาหาร • การอุดหนุนส่งออกในรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อการส่งออก
การลดการอุดหนุนภายใน • ลดยอดรวมการอุดหนุนภายในลงอย่างมากจากระดับที่ ผูกพันไว้ • ประเทศที่ให้การอุดหนุนสูงจะต้องลดในอัตราที่มากกว่า • จะมีการกำหนดเพดานการอุดหนุนของแต่ละสินค้า • ในปีแรก ประเทศพัฒนาแล้วต้องลดยอดรวมการอุดหนุน ที่บิดเบือนการค้าทันทีร้อยละ 20
การเปิดตลาด • ลดภาษีสินค้าทุกรายการลง • อัตราภาษีสูงจะต้องลดลงมากกว่าอัตราภาษีต่ำ • ขยายโควตาภาษี / ลดอัตราภาษีในและนอกโควตา รวมถึงปรับปรุงวิธีการบริหารโควตาให้มีความโปร่งใส • ให้ความยืดหยุ่นแก่สินค้าอ่อนไหว อาทิ อนุญาตให้เปิด ตลาดโดยการขยายปริมาณโควตาภาษีแทนการลดภาษี
ประเด็นอื่นๆ • การเปิดตลาดสินค้าเกษตร จะต้องคำนึงถึงระดับการพัฒนาและความจำเป็นพิเศษของประเทศกำลังพัฒนาด้วย อาทิ • ความมั่นคงด้านอาหาร / การพัฒนาชนบท • ความอยู่ดีกินดี • การพึ่งสิทธิประโยชน์ทางการค้า • การพึ่งพาสินค้าโภคภัณฑ์เพียงบางรายการ • การเป็นผู้นำเข้าอาหารสุทธิ • การเปิดเสรีฝ่ายเดียวไปก่อนหน้านี้แล้ว
ท่าทีไทย การเปิดเสรีภาคเกษตรโลกจะทำให้สินค้าส่งออกสำคัญของไทย เช่น ข้าว น้ำตาล ส่งออกได้มากขึ้น จึงผลักดันการเจรจาในประเด็นหลักๆ ดังต่อไปนี้ • การอุดหนุนการส่งออก ให้ลดการอุดหนุนส่งออกอย่างมากโดยเร็ว เพื่อนำไปสู่การยกเลิกทั้งหมดภายในเวลาที่กำหนด • การอุดหนุนภายใน ให้ลดการอุดหนุนภายในที่บิดเบือนตลาดซึ่งประกอบด้วย การอุดหนุนภายในที่มีผลบิดเบือนตลาดโดยตรง (Amber box) การอุดหนุนภายที่เชื่อมโยงกับการจำกัดการผลิต (Blue box) และการอุดหนุนภายในขั้นต่ำที่สามารถทำได้ (De minimis) รวมทั้งทบทวนมาตรการอุดหนุนภายในที่ไม่บิดเบือนการค้า (Green box: เช่นโครงการของรัฐที่ทำการวิจัย, การกำจัดวัชพืช, การอบรมเกี่ยวกับการเกษตร) ให้มีความชัดเจนละรัดกุมมากขึ้น
ท่าทีไทย • การเปิดตลาด ให้ลดภาษีนำเข้าสินค้าเกษตรลง ขยายปริมาณการนำเข้าภายใต้ระบบโควตาภาษีมากขึ้น รวมทั้ง ปรับปรุงวิธีการจัดสรรโควตาให้มีความโปร่งใสและมีความแน่นอน • เรียกร้องให้มีการปฏิบัติที่เป็นพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา โดยไม่มีการแบ่งกลุ่มระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเอง
การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม (NAMA) • การกำหนดสูตรการลดภาษี ซึ่งประเทศสมาชิกตกลงใช้ สูตรการลดภาษีแบบ Non-linear • การลดภาษีรายสาขา • การลด/เลิกอุปสรรคทางการค้าในรูปที่มิใช่ภาษี (NTBs) • การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง
ท่าทีไทย • ให้การสนับสนุน โดยมีเป้าหมายที่จะขยายสินค้าออกของไทยไปยัง ประเทศพัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา • สำหรับเรื่อง การลดภาษีแบบรายสาขานั้น ไทยมีความประสงค์จะให้เป็นวิธีเสริมที่สมาชิกเข้าร่วมโดยสมัครใจซึ่ง critical mass ก็อาจเป็นวิธีหนึ่งที่จะพิจารณา
การเปิดตลาดการค้าบริการการเปิดตลาดการค้าบริการ การเจรจาด้านนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือการเปิดตลาดและการจัดทำกฏเกณฑ์ การเปิดตลาด การเจรจาเปิดตลาดมีความคืบหน้ามากกว่าการเจรจาจัดทำกฏเกณฑ์ ปัจจุบันมีสมาชิกยื่นข้อเสนอเปิดตลาดเบื้องต้น (initial offer) จำนวน 48 ประเทศจาก 148 ประเทศ ส่วนสมาชิกที่ยื่นไปแล้วต้องยื่นข้อเสนอเปิดตลาดฉบับปรับปรุงใหม่ ภายในเดือน พ.ค. 48
การเปิดตลาดการค้าบริการการเปิดตลาดการค้าบริการ การจัดทำกฏเกณฑ์การค้าบริการ ไม่มีความคืบหน้ามากนัก หลายประเด็นยังตกลงกันไม่ได้ เช่นมาตรการปกป้องฉุกเฉิน (ESM) การอุดหนุน การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ และหลักเกณฑ์ในการกำหนดกฏระเบียบในประเทศ
ท่าทีไทย • ไทยซึ่งได้เข้าร่วมกับสมาชิก 17 ประเทศร่วมกันผลักดันให้สมาชิกที่ยังไม่ได้ยื่น initial offer ต้องดำเนินการโดยเร็ว โดยมีเป้าหมายที่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และบรูไน • ไทยต้องการให้ความคืบหน้าของการเจรจาเปิดตลาดและเจรจาด้านกฏเกณฑ์มีความคืบหน้าไปพร้อมกัน โดยเฉพาะเรื่องมาตรการป้องกันฉุกเฉิน
การอำนวยความสะดวกทางการค้าการอำนวยความสะดวกทางการค้า • เปิดให้มีการเจรจาว่าด้วยความตกลงด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า ซึ่งจะช่วยลดขั้นตอนทางการค้าที่ยุ่งยาก (Red Tape) ของพิธีการทางศุลกากรและลดต้นทุนในการส่งสินค้าข้ามพรมแดน • ประเทศพัฒนาแล้วให้ความช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา ในเรื่อง infrastructure building and capacity building
การอำนวยความสะดวกทางการค้าการอำนวยความสะดวกทางการค้า • การปฏิบัติตามพันธกรณีจะขึ้นอยู่กับความพร้อมและความสามารถของประเทศกำลังพัฒนา โดยไม่จำเป็นจะต้องลงทุนในระบบโครงสร้างพื้นฐานมากไปกว่าความสามารถที่มีอยู่ • ประเทศพัฒนาแล้วจะต้องคำนึงถึงต้นทุนที่จะเกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากการปฏิบัติตามพันธกรณีของประเทศกำลังพัฒนา
ท่าทีไทย • สนับสนุนการเจรจาครั้งนี้เพราะเห็นว่าจะได้รับประโยชน์ เนื่องจากมีการศึกษาว่าปัญหาการอำนวยความสะดวกทางค้าเป็นปัญหาสำคัญของผู้ประกอบการไทย • คาดการได้ว่าการเจรจาจะสามารถลดต้นทุนการส่งออกได้ถึงร้อยละ 5-15 และช่วยลดความยุ่งยากในด้านพิธีการศุลกากรลงด้วยโดยเฉพาะธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก
Implication ของ July Package • July Package เป็นก้าวสำคัญที่จะช่วยให้การเจรจารอบโดฮาคืบหน้าและเสริมสร้างความมั่นใจต่อระบบการค้าพหุภาคีและ WTO ซึ่งเป็นสถาบันที่มีกฎเกณฑ์ มีกระบวนการยุติข้อพิพาทที่เชื่อถือได้ และสมาชิกทุกประเทศมีความทัดเทียมกัน (one man one vote – egalitarian in the world economy despites size of economy) • ข้อผูกพันการปฏิรูปสินค้าเกษตรนับเป็นความสำเร็จของประเทศกำลังพัฒนาที่สามารถรวมพลังผลักดันประเทศพัฒนาแล้วยกเลิกมาตรการการอุดหนุนการส่งออกและลดการอุดหนุนการผลิตสินค้าเกษตรลงอย่างเป็นรูปธรรม
Implication ของ July Package (ต่อ) • ไทยจะได้รับประโยชน์มากโดยเฉพาะในรายการสินค้าที่ไทยเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก เนื่องจาก ปัจจุบัน ประเทศพัฒนาแล้วที่เป็นคู่แข่งของไทยให้การอุดหนุนภายใน อุดหนุนการส่งออก และเรียกเก็บภาษีนำเข้าสินค้าส่งออกสำคัญของไทยในอัตราที่สูงมาก ดังนี้
Implication ของ July Package (ต่อ) • สหภาพฯ และสหรัฐฯ ให้การอุดหนุนการผลิตสินค้าข้าวสูงถึง 556 ล้านยูโรและ 607 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และให้การอุดหนุนการผลิตน้ำตาลถึง 5,800 ล้านยูโรและ 1,100 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามลำดับ • สหภาพฯ และสหรัฐฯ ให้การอุดหนุนการส่งออกสินค้าข้าว 30 ล้าน ยูโร และ 200 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และสหภาพฯ ให้การอุดหนุนส่งออกน้ำตาล 400 ล้าน ยูโร • ญี่ปุ่นเรียกเก็บภาษีนำเข้าข้าวนอกโควตาในอัตราที่สูงมากถึง 1,000 % แคนาดาเรียกเก็บภาษีนำเข้าเนื้อไก่นอกโควตาสูงถึง 238%
Implication ของ July Package (ต่อ) • การลดภาษีสินค้าอุตสาหกรรมเป็นประโยชน์ในการขยายการส่งออกของไทยไปยังประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนาที่มีศักยภาพในการเปิดตลาดใหม่ๆ (มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมคิดสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 75 ของการส่งออกทั้งหมด) • การอำนวยความสะดวกทางการค้าจะเป็นประโยชน์ต่อ ผู้นำเข้าและส่งออก เพราะจะช่วยลดความยุ่งยากในด้านพิธีการศุลกากรและลดต้นทุนการส่งออกได้ถึงร้อยละ 5-15
การเตรียมตัวของประเทศไทยการเตรียมตัวของประเทศไทย
มติคณะรัฐมนตรีล่าสุด “ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเตรียมปรับตัว เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการเจรจาอย่างเต็มที่ ”
การเตรียมตัวของประเทศไทยการเตรียมตัวของประเทศไทย โดยรวมแล้วภาครัฐบาลและเอกชนควรมีการประสานงานกันมากขึ้น เพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเจรจาอย่างสูงสุด ภาครัฐบาล • เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมมากขึ้นในกระบวนการร่างนโยบาย • เนื่องจากผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศบางรายยังขาดความเข้าใจในเรื่องของข้อตกลงต่างๆและการเจรจาที่ดำเนินอยู่ จึงควรจัดทำฐานข้อมูลให้เพียงพอต่อความต้องการ
การเตรียมตัวของประเทศไทยการเตรียมตัวของประเทศไทย ภาคเอกชน • ควรทำการศึกษานัยสำคัญของการเจรจาทางการค้าที่ดำเนินอยู่ (เช่นการเจรจาเปิดเสรีสินค้าอุตสาหกรรม (NAMA) ซึ่งมีผลกระทบสูงต่อภาคธุรกิจ) เพื่อกำหนดแผนในการรับมือและเพื่อที่จะได้ให้ความร่วมมือในการปรึกษากับภาครัฐบาลได้อย่างเต็มที่