170 likes | 479 Views
ข้อเสนอเพื่อพิจารณา เรื่อง “แนวทางการจัดสวัสดิการ ของพนักงานมหาวิทยาลัย ตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550. จำนวนบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล. ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2550. การเปลี่ยนสถานภาพของบุคลากร. บุคลากรที่ต้องปรับ/เปลี่ยนสถานภาพทันทีที่ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ
E N D
ข้อเสนอเพื่อพิจารณาเรื่อง “แนวทางการจัดสวัสดิการของพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550
จำนวนบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลจำนวนบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ข้อมูล ณ วันที่ 1 ตุลาคม 2550
การเปลี่ยนสถานภาพของบุคลากรการเปลี่ยนสถานภาพของบุคลากร • บุคลากรที่ต้องปรับ/เปลี่ยนสถานภาพทันทีที่ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ • พนักงานมหาวิทยาลัยเงินอุดหนุน 2,855 คน • อธิการบดี 1 คน • รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี 9 คน • บุคลากรที่ต้องตัดสินใจเปลี่ยนสถานภาพภายใน 60 วัน นับตั้งแต่พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 มีผลใช้บังคับ (ตั้งแต่ 17 ตุลาคม 2550) • คณบดี , ผู้อำนวยการวิทยาลัย/สถาบัน/สำนัก/ศูนย์ 33 คน • หัวหน้าภาควิชา และหัวหน้าส่วนราชการที่มีฐานะเทียบเท่าภาควิชา 122 คน (จำนวนภาควิชาทั้งหมด 127 ภาควิชา)
การเปลี่ยนสถานภาพของบุคลากรการเปลี่ยนสถานภาพของบุคลากร • บุคลากรที่สามารถแสดงเจตนาเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัย มหิดล พ.ศ.2550 • ข้าราชการ 8,026 คน • ลูกจ้างของส่วนราชการ (ลูกจ้างที่จ้างจากเงินงบประมาณ) 2,556 คน • บุคลากรที่ยังคงสถานภาพเดิม • พนักงานมหาวิทยาลัยเงินรายได้ 5,005 คน • ลูกจ้างเงินรายได้ 5,943 คน • พนักงานราชการ 74 คน • พนักงานวิทยาลัยในกำกับ 503 คน
แนวทางการจัดสวัสดิการการรักษาพยาบาลแนวทางการจัดสวัสดิการการรักษาพยาบาล สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่บุคลากรได้รับอยู่เดิมก่อนเปลี่ยนสถานภาพ • บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกันตามประเภทบุคลากร • ข้าราชการและลูกจ้างจากเงินงบประมาณมีสิทธิได้รับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ตามระเบียบของทางราชการ • พนักงานมหาวิทยาลัยเงินอุดหนุน พนักงานมหาวิทยาลัยจากเงินรายได้ และลูกจ้างที่จ้างเงินรายได้ สวัสดิการและสิทธิประโยชน์เป็นไปตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่บุคลากรได้รับอยู่เดิมก่อนเปลี่ยนสถานภาพสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่บุคลากรได้รับอยู่เดิมก่อนเปลี่ยนสถานภาพ ปัญหา • พนักงานมหาวิทยาลัยเงินอุดหนุน ประเภทประจำ • จ่ายเงินเดือนให้กับพนักงานเต็มตามวงเงินที่ได้รับจัดสรร • สายวิชาการเพิ่มขึ้น 70% สายสนับสนุนเพิ่มขึ้น 50% ของอัตราเงินเดือนข้าราชการแรกบรรจุ • มหาวิทยาลัยหักเงินเดือนไว้ 10% ตั้งแต่ปีงบประมาณ พ.ศ.2546 เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดสวัสดิการโดยให้มีสิทธิได้รับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาล และค่าเล่าเรียนบุตรเหมือนข้าราชการ • ปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 – 2550 จ่ายเกินกว่าจำนวนเงินที่หักจากเงินเดือนของพนักงานไว้ 10% ในอัตรา 22.73% และ 30.12% ตามลำดับและมีแนวโน้มสูงขึ้น โดยกลุ่มพนักงานที่เบิกค่ารักษาพยาบาลสูงเกิน 100,000 บาทต่อปี มีประมาณ 3% และเบิกค่ารักษาพยาบาลประมาณ 40% ของค่ารักษาพยาบาล
สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลหลังจากปรับเปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ.ใหม่ เมื่อพ.ร.บ. มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 มีผลใช้บังคับมหาวิทยาลัยมหิดล บุคลากรของมหาวิทยาลัยอยู่ภายใต้พระราชบัญญัติประกันสังคม ปัญหา • พระราชบัญญัติประกันสังคม ให้สิทธิการรักษาพยาบาลเฉพาะตัวพนักงานไม่ครอบคลุมถึงบุคคลในครอบครัว ต้องใช้สิทธิเฉพาะโรงพยาบาลที่เลือก และใช้สิทธิได้ตามที่กองทุนประกันสังคมกำหนดซึ่งมีข้อจำกัดกว่าการใช้สิทธิของข้าราชการ • มาตรา 73 วรรค 3 กำหนดไว้ว่าให้พนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับการบรรจุตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง (ข้าราชการและลูกจ้างของส่วนราชการ) ได้รับเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นไม่น้อยกว่าเงินเดือน ค่าจ้าง สวัสดิการ และประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่นที่เคยได้รับอยู่ก่อนเข้าเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยตามพ.ร.บ.ใหม่
หลักการและแนวทางในการจัดสวัสดิการการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยเมื่อเปลี่ยนสถานภาพหลักการและแนวทางในการจัดสวัสดิการการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยเมื่อเปลี่ยนสถานภาพ • สวัสดิการจากทางราชการในฐานะผู้รับบำนาญ • ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพ โดยเป็นผู้รับบำนาญให้ใช้สิทธิในฐานะผู้รับบำนาญจากทางราชการ ซึ่งสามารถใช้สิทธิได้เหมือนข้าราชการ โดยมหาวิทยาลัยขอยกเว้นการเข้าประกันสังคมสำหรับผู้รับบำนาญ • สวัสดิการจากกองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน และส่วนที่มหาวิทยาลัยจัดเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนด • พนักงานมหาวิทยาลัยจากเงินอุดหนุนเดิมที่ปรับสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 • พนักงานมหาวิทยาลัยที่เข้าใหม่ ตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 • ข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย โดยมิได้เป็นผู้รับบำนาญจากทางราชการ (เป็นสมาชิก กบข. ต่อเนื่อง หรือเป็นผู้รับบำเหน็จ)
ส่วนที่มหาวิทยาลัยจัดเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนดส่วนที่มหาวิทยาลัยจัดเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนด • พนักงานมหาวิทยาลัยที่ปรับสถานภาพมาจากพนักงานมหาวิทยาลัยเงินอุดหนุน และพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ.2550 • พนักงานมหาวิทยาลัย ใช้สิทธิการรักษาพยาบาลจากประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทนก่อน • บุคคลในครอบครัวของพนักงานมหาวิทยาลัย ใช้สิทธิสวัสดิการตามสิทธิพื้นฐานของ แต่ละบุคคลก่อน • มหาวิทยาลัยจัดสวัสดิการเพิ่มเติม ในส่วนที่ไม่สามารถเบิกได้ตามข้อ 1 หรือ 2 โดยกำหนดวงเงินไว้ไม่เกินคนละ 20,000 บาทต่อปี • กรณีมีความจำเป็นต้องเบิกสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเกินวงเงินที่กำหนดตามข้อ 3 พนักงานมหาวิทยาลัยอาจเบิกในส่วนที่เกินได้โดยจ่ายร่วมกับมหาวิทยาลัยเป็นสัดส่วนตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด (CO-Pay) • กรณีพนักงานมหาวิทยาลัยมิได้ใช้สิทธิเบิกสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเพิ่มเติม หรือใช้เพียงบางส่วนไม่เต็มวงเงิน มหาวิทยาลัยจะจัดประโยชน์ตอบแทนอื่นเพิ่มเติมให้กับพนักงาน ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
ส่วนที่มหาวิทยาลัยจัดเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนดส่วนที่มหาวิทยาลัยจัดเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่มหาวิทยาลัยกำหนด • พนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพมาจากข้าราชการและลูกจ้างประจำของส่วนราชการที่มิได้เป็นผู้รับบำนาญ • พนักงานมหาวิทยาลัย ใช้สิทธิการรักษาพยาบาลจากประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทนก่อน • บุคคลในครอบครัวของพนักงานมหาวิทยาลัย ใช้สิทธิสวัสดิการตามสิทธิพื้นฐานของแต่ละบุคคลก่อน • มหาวิทยาลัยจัดสวัสดิการเพิ่มเติม ในส่วนที่ไม่สามารถเบิกได้ตาม ข้อ 1 และ ข้อ 2 ให้เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามอัตราที่ข้าราชการมีสิทธิได้รับ
สวัสดิการเกี่ยวกับเงินออมสวัสดิการเกี่ยวกับเงินออม • มหาวิทยาลัยจัดตั้ง “กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ” • ระยะแรกกำหนดอัตราในการส่งเงินสะสมของพนักงานมหาวิทยาลัยในอัตรา 3% ของอัตราเงินเดือน และมหาวิทยาลัยสมทบในอัตราที่เท่ากัน (ในระยะต่อไปมหาวิทยาลัยอาจพิจารณากำหนดเพิ่มอัตราเงินสะสมและเงินสมทบในอัตราก้าวหน้าตามระยะเวลาของการเป็นสมาชิก) • พนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพมาจากข้าราชการและเป็นสมาชิก กบข.ต่อเนื่อง ไม่สามารถสมัครเข้าเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้
แนวทางการดำเนินการในส่วนของมหาวิทยาลัยแนวทางการดำเนินการในส่วนของมหาวิทยาลัย • มหาวิทยาลัยส่งเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราร้อยละ 5 ของอัตราเงินเดือนพนักงาน ไม่เกิน 750 บาทต่อคนต่อเดือน ส่งเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนในอัตราร้อยละ 0.2 ของอัตราเงินเดือนพนักงานต่อคนต่อปี สูงสุดไม่เกินคนละ 480 บาทต่อปี และส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพในอัตราร้อยละ 3 ของอัตราเงินเดือนพนักงานต่อคนต่อเดือน • พนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพมาจากข้าราชการ หรือลูกจ้างของส่วนราชการที่มิได้เป็นผู้รับบำนาญ ให้มหาวิทยาลัยกันเงินที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาลเข้ากองทุนสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลและหรือกองทุนอื่นที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ในอัตรา 30 % ก่อนนำไปกำหนดเป็นอัตราเงินเดือนของพนักงานมหาวิทยาลัยกลุ่มนี้ (อัตราเงินเดือนของพนักงานกลุ่มนี้จะน้อยกว่าอัตราเงินเดือนของกลุ่มผู้รับบำนาญประมาณ 20%) • ให้ยกเลิกการหัก 10% ของพนักงานมหาวิทยาลัยเงินอุดหนุนประเภทประจำ โดยในระหว่าง 3 เดือนที่ยังไม่มีสิทธิใช้สวัสดิการจากประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทนให้ยังคงได้รับสวัสดิการเหมือนเดิมก่อนปรับสถานภาพ (หักเงินเดือน 10% ระยะเวลา 3 เดือน โดยใน 3 เดือนนี้มหาวิทยาลัยจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมทั้งในส่วนของพนักงานและของมหาวิทยาลัย)
ข้อเสนอเพื่อพิจารณาเรื่อง “เงินเดือน เงินประจำตำแหน่งของพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550”
หลักการ • ใช้หลักการ Broadbandingกำหนดกระบอกเงินเดือนสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยตาม พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550 • ใช้แนวทางบริหารจัดการกำหนดเงินเดือนและสวัสดิการและ สิทธิประโยชน์ให้อยู่ในวงเงินที่ได้รับจัดสรรจากรัฐบาล • พนักงานมหาวิทยาลัยที่เปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการให้ได้รับเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง ในอัตราไม่น้อยกว่าเดิม • สายวิชาการ/วิจัย -ใช้อัตราเงินเดือนข้าราชการก่อนเปลี่ยนสถานภาพคูณ อัตราไม่เกิน 1.5 • สายสนับสนุน -ใช้อัตราเงินเดือนข้าราชการก่อนเปลี่ยนสถานภาพคูณ อัตราไม่เกิน 1.3 • มหาวิทยาลัยต้องกำหนดกลไกในการกำหนดเงินเดือนให้เป็นมาตรฐาน มีความเหมาะสมกับภาระงาน ความรับผิดชอบของแต่ละตำแหน่ง รวมทั้งวางระบบการประเมินที่มีตัวชี้วัดชัดเจน โปร่งใส
MAX 180,000 72,000 MINระดับสูง MINระดับกลาง 43,000 35,000 MINระดับต้น ระดับต้น หมายถึง ตำแหน่ง รองคณบดี / หัวหน้าภาควิชา หรือเทียบเท่า ระดับกลางหมายถึง ตำแหน่ง คณบดี / รองอธิการบดี หรือเทียบเท่า ระดับสูง หมายถึง ตำแหน่งอธิการบดี
MAX 150,000 20,000 ป.เอก 15,000 ป.โท MIN