920 likes | 1.48k Views
การประเมินผลนโยบาย. โดย ผศ. ดร. สุภาวดี มิตรสมหวัง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. มโนทัศน์การประเมิน. Assessment: กระบวนการต่าง ๆ ของการสังเคราะห์ข่าวสารเกี่ยวกับ บุคคล ซึ่งนำไปสู่ การประเมินคุณค่า ตามสภาพการณ์ของบุคคลนั้น ๆ เพื่อให้สามารถอธิบายและเข้าใจบุคคลนั้น ( Brown, 1983:15)
E N D
การประเมินผลนโยบาย โดย ผศ. ดร. สุภาวดี มิตรสมหวัง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มโนทัศน์การประเมิน • Assessment: กระบวนการต่าง ๆ ของการสังเคราะห์ข่าวสารเกี่ยวกับบุคคลซึ่งนำไปสู่การประเมินคุณค่าตามสภาพการณ์ของบุคคลนั้น ๆ เพื่อให้สามารถอธิบายและเข้าใจบุคคลนั้น (Brown, 1983:15) • Evaluation:กระบวนการค้นหาหรือตัดสินคุณค่าหรือจำนวนของบางสิ่งบางอย่าง โดยใช้มาตรฐานของการประเมิน รวมทั้งการตัดสินโดยอาศัยเกณฑ์ภายในและ/หรือเกณฑ์ภายนอก(Good, 1973: 220)
การประเมินผลในฐานะที่เป็นงานวิจัยการประเมินผลในฐานะที่เป็นงานวิจัย • Suchman ได้พัฒนาการประเมินให้มีความเป็นวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยการนำเอาระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์เข้ามาประยุกต์ใช้สำหรับการประเมินนโยบายและแผนงานทางด้านสาธารณะสุข • แม้จะมีการนำเอาวิธีการวิจัยมาใช้ในการประเมิน แต่การวิจัยประเมินและการประเมินไม่เหมือนกัน เนื่องจากการวิจัยประเมินไม่มีการตัดสินให้คุณค่าโดยบุคคลของผู้ประเมิน
การประเมินในฐานะที่เป็นงานวิจัยการประเมินในฐานะที่เป็นงานวิจัย • Evaluation เป็นคำที่ใช้ในการอธิบายและตัดสินคุณสมบัติบางอย่างของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล รวมทั้งกระบวนการและโครงการต่างๆ ว่ามีความเหมาะสม เป็นที่ยอมรับได้ในระดับสากลหรือไม่ • กระบวนการประเมินผลประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ - การเลือกสิ่งที่ต้องการประเมิน - การพัฒนาและการใช้กระบวนการเพื่ออธิบายสิ่งที่ต้องการประเมินนั้นอย่างถูกต้องแม่นยำ - การสังเคราะห์หลักฐานที่เป็นผลจากกระบวนการเหล่านี้ไปสู่การตัดสินใจขั้นสุดท้าย
ความหมายของการประเมินนโยบายความหมายของการประเมินนโยบาย • การประเมินนโยบาย คือ ขั้นตอนหนึ่งในกระบวนการนโยบาย ซึ่งจะให้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดำเนินการตามนโยบาย หรือ ผลการดำเนินการตามนโยบายว่า ตอบสนองความต้องการ หรือ มีคุณค่าหรือไม่เพียงใด
การประเมินผลนโยบาย • Andersons กล่าวว่า การประเมินผลนโยบาย หมายถึง กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการประมาณการณ์ การเปรียบเทียบผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติกับสิ่งที่คาดว่าจะเกิดขึ้น กิจกรรมเหล่านี้เป็นกิจกรรมทีกระทำอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา • Dye กล่าวว่า การประเมินนโยบาย หมายถึง การเรียนรู้เกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นเนื่องจากนโยบายสาธารณะ
ความสัมพันธ์ระหว่าง นโยบาย แผนงานและโครงการ • โดยปกติ นโยบาย แผนงาน และโครงการจะมีความสัมพันธ์กัน 3ลักษณะคือ - ความสัมพันธ์ด้านโครงสร้าง - ความสัมพันธ์ด้านวัตถุประสงค์และผลงาน และ - ความสัมพันธ์ด้านบริหาร
ความสัมพันธ์ระหว่าง นโยบาย แผนงานและโครงการ • ความสัมพันธ์ด้านโครงสร้าง - นโยบายใดจะสามารถปฏิบัติได้ จำเป็นต้องมีแผนงานและโครงการเป็นตัวรองรับ ตัวแผนงานจะเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายกับการนำไปปฏิบัติให้เห็นเป็นรูปธรรม และ เมื่อมีแผนงานก็ต้องมีกิจกรรมและการดำเนินการตามกิจกรรมที่กำหนดขึ้น ซึ่งส่วนมากต้องอาศัย งบประมาณ กำลังคน และเครื่องมือในการดำเนินการ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่กำหนดไว้ในวัตถุประสงค์ นโยบายที่ดีต้องมีแผนงานและโครงการที่สอดรับกันรองรับ นโยบายจึงจะบรรลุเป้าหมายและเกิดเป็นผลงานที่ชัดเจน
ความสัมพันธ์ระหว่าง นโยบาย แผนงานและโครงการ • ความสัมพันธ์ด้านวัตถุประสงค์และผลงาน - ตามปกติเมื่อนโยบายถูกแปลงเป็นแผนงานและโครงการ จะมีการกำหนดวัตถุประสงค์หลักและวัตถุประสงค์รองในแต่ละแผนงาน และโครงการด้วย เพื่อให้ผู้ปฏิบัติมีทิศทางของการปฏิบัติตามนโยบายที่ชัดเจน สิ่งที่ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งคือ วัตถุประสงค์ทั้งระดับแผนงานและโครงการต้องมีความสอดคล้องและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ความสัมพันธ์ระหว่าง นโยบาย แผนงานและโครงการ • ความสัมพันธ์ด้านการบริหาร - นโยบายจะบรรลุผล ต้องมีกระบวนการบริหารแผนงานและโครงการที่ดี ปรากฏในรูปของการวางระบบงานที่ชัดเจน จัดเตรียมบุคลากรให้เหมาะสม ดูความสอดคล้องของเวลาที่มีและปริมาณแผนงาน/โครงการที่ต้องดำเนินการ รวมตลอดจนการจัดเตรียมทรัพยากรสำหรับการดำเนินการตามแผนด้วย
ความจำเป็นที่ต้องประเมินนโยบายความจำเป็นที่ต้องประเมินนโยบาย • เพื่อให้ทราบว่า แผนงาน มาตรการและโครงการสอดรับกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และ ยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้หรือไม่ • เพื่อตรวจสอบว่าสิ่งที่องค์กรทำเกิดผลที่ต้องการ • เพื่อให้ทราบว่าสิ่งที่ดำเนินการบรรลุเป้าประสงค์ที่กำหนดไว้ (ผลลัพธ์) • เพื่อประมวลบทเรียนที่ดีที่เกิดขึ้นกับการดำเนินการตามนโยบาย • เพื่อนำจุดบกพร่องกลับมาแก้ไขในขณะที่ดำเนินนโยบายได้ทันท่วงที • เพื่อพัฒนานโยบายใหม่ให้ครอบคลุมผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholders)ที่มากขึ้น
พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน มี 7ยุค คือ • ยุครุ่งอรุณแห่งความเรืองปัญญา (คศ. 1600-1800) - William Petty & Thomas Hobbsพัฒนาความคิดคณิตศาสตร์การเมือง โดยใช้ข้อมูลตัวเลขเป็นมาตรวัดการประเมินเงื่อนไขปัญหาทางสังคม เป็นจุดกำเนิดของการใช้ข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวอย่างข้อมูลที่ใช้ได้แก่ ตัวเลขอัตราการเกิดอัตราการตาย อัตราการเจ็บป่วย การย้ายถิ่น เป็นต้น
พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน มี 7ยุค คือ • ยุคการสร้างแนวคิดการวัดและการประเมิน (ค.ศ. 1801-1900) ราชสำนักแต่งตั้งคณะบุคคลติดตามงานด้านการศึกษาของประเทศ หลังจากนั้นเริ่มมีการเก็บข้อมูลติดตามวิเคราะห์ปัญหาสังคมและรายงานผลอย่างตรงไปตรงมา เป็นต้นกำเนิดของการรวบรวมข้อมูลเพื่อติดตามการทำงานโครงการต่าง ๆ ของราชสำนัก ในสหรัฐอเมริกาได้นำมาใช้เช่นกัน เป็นผู้ตรวจสอบภายนอกของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น เพื่อติดตาม ควบคุม ตรวจสอบโครงการ ต่าง ๆที่ใช้เงินของรัฐ
พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน มี 7ยุค คือ • ยุคการสร้างแนวคิดการวัดและการประเมิน (ค.ศ. 1801-1900) - ในยุคนี้เริ่มมีการสร้างแนวคิดเรื่องการวัดผลทางการศึกษา เพื่อวิเคราะห์ผลสำเร็จของโครงการ คนริเริ่มคือ Joseph M. Rice เป็นคนแรกที่สร้างระบบการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของเด็กที่เข้าโครงการโปรแกรมการสอนวิธีสะกดคำของโรงเรียนต่าง ๆ โดยใช้คะแนนสอบเป็นเกณฑ์วัดการสอน สิ่งที่พบคือ ช่วงเวลาสอนไม่ได้ทำให้เด็กสะกดได้ดีขึ้น แสดงว่า โรงเรียนใช้เวลาไม่มีประสิทธิภาพ
พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน มี 7ยุค คือ • ยุคการวัดและการประเมินประสิทธิภาพ (ค.ศ. 1901-1930) เป็นยุคที่มีการปฏิรูปการบริหารการศึกษา จึงจำเป็นต้องสร้างเครื่องมือในการประเมินประสิทธิภาพของครูและโรงเรียน มีการสร้างเครื่องมือในการวัดคุณภาพการสอนมาตรฐาน เครื่องมือวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษามาตรฐาน งานที่มีชื่อเสียงคือ งานของ Robert Thorndike ซึ่งถือเป็นบิดาของการทดสอบ
พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน มี 7ยุค คือ • ยุคการวัดและการประเมินประสิทธิภาพ (ค.ศ. 1901-1930) - หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 มีความก้าวหน้าในด้านการพัฒนาแบบทดสอบมาตรฐาน ทำให้เกิดศูนย์ศึกษาการประเมินในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ อย่างแพร่หลาย • ยุคประเมินอิงวัตถุประสงค์ (ค.ศ. 1931-1945) เป็นยุคของการปฏิรูปการศึกษา มีโครงการเกิดขึ้นมากมาย จึงจำเป็นต้องประเมินว่าโครงการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ บุคคลที่มีบทบาทสำคัญ คือ Ralph W. Tylor
พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน มี 7ยุค คือ • ยุคการประเมินโดยใช้แบบสอบมาตรฐาน (ค.ศ. 1946-1957) - มีความเชื่อว่า การศึกษาที่ดีต้องมีเกณฑ์มาตรฐานที่ชัดเจน มีการพัฒนาระบบการจำแนกวัตถุประสงค์ในการเรียนรู้ของเด็กให้ชัดเจน ในด้านโครงการทางสังคมก็มีการสร้างระบบตรวจสอบและควบคุมการใช้เงินภาษีอากรเพื่อจัดทำโครงการสังคมสงเคราะห์ต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการตัดสินใจ
พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน มี 7ยุค คือ • ยุคการขยายตัวของทฤษฎีการประเมิน (ค.ศ. 1958-1972) ความสำเร็จของรัสเซียในการยิงจรวดสปุกท์นิคขึ้นสู่อวกาศ ทำให้สหรัฐอเมริการเริ่มหันมาปฏิรูปการศึกษาในประเทศ มีการพัฒนาหลักสูตรใหม่ ๆ ขึ้นใช้ในโรงเรียนทั่วประเทศ ทำให้ต้องมีการประเมินหลักสูตร และประเมินการใช้เงินเพื่อการปฏิรูปการศึกษา รัฐบาลสมัย John F. Kennedy กำหนดให้มีการประเมินผลการใช้เงิน จึงมีการกำหนดมโนทัศน์การประเมินเป็นครั้งแรก แต่ขาดตัวแบบที่ดีสำหรับการประเมิน
พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน มี 7ยุค คือ • ยุคการขยายตัวของทฤษฎีการประเมิน (ค.ศ. 1972-1983) - นักการศึกษาจึงได้พยายามเสนอแนวคิดสำหรับการประเมิน เช่น Scriven เสนอการประเมินแบบ Formative กับ Summative, Stufflebeam เสนอ CIPP Model, Provus เสนอการวิเคราะห์ความสอดคล้องและความไม่สอดคล้องระหว่างผลลัพธ์ของโครงการและมาตรฐานที่กำหนด
พัฒนาการของการประเมินพัฒนาการของการประเมิน มี 7ยุค คือ • ยุคเป็นวิชาชีพ (ค.ศ. 1983-ปัจจุบัน) - เป็นยุคของการสร้างมาตรฐานการประเมิน การกำหนดแนวทางการประเมินที่เป็นวิชาชีพ ทำให้มีการสร้างกรอบการประเมิน และกำหนดจริยธรรมในการทำงานที่ชัดเจน มีการสอนและการวิจัยอย่างแพร่หลาย มีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านวารสารทางวิชาการเป็นจำนวนมาก
ประเภทของการประเมินผลนโยบายประเภทของการประเมินผลนโยบาย • ประเภทการประเมินผลนโยบาย ตามกรอบที่นากามูระและสมอล (Nagamura & Small)นำเสนอในปี 1980 การกำหนดประเภทการประเมินผลนโยบายของนากามูระและสมอลจะเน้นที่ผู้ที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเป็นสำคัญ ซึ่งประกอบด้วย
ประเภทของการประเมินผลนโยบายประเภทของการประเมินผลนโยบาย - การประเมินผลโดยอาศัยหลักเกณฑ์ทางการเมือง ผู้ประเมินมักเป็นนักการเมืองที่กำหนดนโยบาย และผู้ที่ได้รับมอบให้นำนโยบายไปปฏิบัติ - การประเมินผลโดยอาศัยคนกลางภายนอก ส่วนมากจะว่าจ้างนักวิชาการเป็นผู้ติดตามและประเมินผลนโยบาย การประเมินแบบนี้ต้องคำนึงถึงหลักดังนี้
หลักของการประเมินผลนโยบายหลักของการประเมินผลนโยบาย - การมีเป้าหมายของการดำเนินนโยบายที่ชัดเจน - การจัดลำดับความสำเร็จของโครงการเชิงปริมาณ - ประกอบด้วยข้อสรุปที่เชื่อมโยงเป้าหมายของผู้กำหนดนโยบาย และผลสำเร็จของโครงการที่ชัดเจน
โมเดลการประเมิน • ทฤษฎีจุดมุ่งหมายของการประเมิน - การประเมินแบบอิงเป้าหมาย (Goal-based Evaluation) - การประเมินแบบไม่อิงเป้าหมาย (Goal-free Evaluation) - การประเมินก่อนดำเนินงาน (Formative Evaluation) และ การประเมินหลังเสร็จสิ้นการดำเนินงาน (Summative Evaluation)
โมเดลการประเมิน • ทฤษฎีการกำหนดคุณค่า - ทุกสิ่งมีคุณค่า คุณค่าที่มีของสิ่งต่าง ๆ ในโลกมี 2 แบบ คือ คุณค่าในตัวเอง (Internal Value)กับคุณค่าภายนอก (External Value) - การที่จะประเมินคุณค่าภายในของอะไรก็ตามได้ต้องมีเกณฑ์และตัวชี้วัดที่กำหนดคุณค่าของสิ่งที่ประเมินไว้ก่อน จึงจะเทียบเคียงได้ว่ามีคุณค่าตามที่กำหนดหรือไม่ เกณฑ์ที่เปรียบเทียบเป็นเกณฑ์ Absolute - การประเมินคุณค่าภายนอกของอะไรก็ตาม ต้องสัมพันธ์กับบริบทภายนอกซึ่งมีส่วนในการให้ค่าของสิ่งที่ทำการประเมิน คุณค่าแบบนี้เป็นเรื่องความรู้สึกมากกว่ามีเกณฑ์มาตรฐาน ส่วนมากวัดในรูปผลกระทบ เกณฑ์ที่เปรียบเทียบเป็นเกณฑ์สัมพัทธ์ (Relative)
โมเดลการประเมิน • ทฤษฎีการกำหนดเกณฑ์ - การประเมินตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ หรือหากไม่มีก็สร้างเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อใช้ในการประเมิน - เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินมี 2 แบบ คือ เกณฑ์สัมพัทธ์ (Relative Criteria) เป็นเกณฑ์เปรียบเทียบกับสิ่งที่เคยประเมินมาก่อน และเกณฑ์สัมบูรณ์ (Absolute Criteria) เป็นเกณฑ์ที่พัฒนามาจากหลักการและเหตุผลของมาตรฐานของสิ่งที่ประเมิน หรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ยอมรับทางวิชาชีพ
เกณฑ์ที่นิยมใช้ในการประเมินนโยบายเกณฑ์ที่นิยมใช้ในการประเมินนโยบาย • ตัวชี้วัดในการประเมินของดันน์ (ต่อ) - ความเป็นธรรม (Equity) - การตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมาย (Responsiveness) - ความเหมาะสม (Appropriateness)
เกณฑ์ที่นิยมใช้ในการประเมินนโยบายเกณฑ์ที่นิยมใช้ในการประเมินนโยบาย เกณฑ์การประเมินที่นำเสนอโดย OE CD/DAC ของธนาคารโลก - ประสิทธิภาพ (Efficiency) - ประสิทธิผล (Effectiveness) - ความเกี่ยวข้องระหว่างโครงการ แผนงานและนโยบาย (Relevence) - ผลกระทบ (Impact) - ความยั่งยืน (Sustainability)
เกณฑ์ที่นิยมใช้ในการประเมินนโยบายเกณฑ์ที่นิยมใช้ในการประเมินนโยบาย เกณฑ์ที่นำเสนอโดย Harward Business School - Balance Scored Card หรือ BSC ซึ่งมีประเด็นที่ต้องประเมิน เมื่อนำนโยบายไปปฏิบัติ เป็นแผนงาน และโครงการ ปัจจุบันหน่วยราชการไทยจะใช้กรอบนี้เป็นแนวทางในการกำหนดตัวชี้วัดในการประเมินผลการปฏิบัติงานของหน่วยงาน
เกณฑ์ที่นิยมใช้ในการประเมินนโยบายเกณฑ์ที่นิยมใช้ในการประเมินนโยบาย มิติที่ประเมินใน Balance Scorecard - มิติทางด้านการเงิน - มิติด้านการบริหารงานภายใน - มิติด้านความพึงพอใจของลูกค้า - มิติด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ภายในองค์กรและการสร้างนวัตกรรมใหม่
ข้อควรพิจารณาในการประเมินผลนโยบายข้อควรพิจารณาในการประเมินผลนโยบาย • เงื่อนไขที่จะทำให้การประเมินผลนโยบาย ประสบความสำเร็จ - ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน - ต้องดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน - มีการกำหนดเกณฑ์การวัดที่ชัดเจน (KPI) - มีการเก็บข้อมูลเพื่อใช้ในการประเมินครบถ้วน ถูกต้อง
โมเดลการประเมิน • ทฤษฎีรูปแบบการประเมิน - การประเมินในปัจจุบันมีรูปแบบหลักอยู่ 2 ประเภท คือ มิติวัตถุประสงค์กับมิติวิธีการ - พวกเน้นวัตถุประสงค์ จะเน้นการออกแบบการประเมินให้สามารถตอบโจทย์ของการบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ แผนงานและนโยบายต่าง ๆ บทบาทของนักประเมินอยู่ที่การตัดสินคุณค่าว่าสิ่งที่ประเมินสอดคล้องกับสิ่งที่วางแผนไว้หรือไม่ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่วางไว้หรือไม่
โมเดลการประเมิน • ทฤษฎีรูปแบบการประเมิน - พวกเน้นวิธีการ จะใช้ความสำคัญกับกระบวนการได้มาซึ่งข้อมูลเพื่อการตัดสินคุณค่า วิธีการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการตัดสินคุณค่ามี 2 แบบ คือ วิธีการเชิงระบบและวิธีการธรรมชาติ - วิธีการเชิงระบบ เน้นการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการตัดสินคุณค่าแบบปรนัย (Objective) เน้นความเป็นกลางของข้อมูล ใช้เครื่องมือมาตรฐาน ให้คุณค่าเชิงเดียว ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
โมเดลการประเมิน • ทฤษฎีรูปแบบการประเมิน แนวคิดการประเมินที่เน้นวิธีระบบ มีดังนี้ • System Analysis: เน้นการประเมินปัจจัยนำเข้า กระบวนการและผลผลิต • Cost-related Analysis : เน้นการตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณทุกขั้นตอนของการทำงาน • Goal-based Approach: เน้นการประเมินโดยอิงวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
โมเดลการประเมิน • ทฤษฎีรูปแบบการประเมิน แนวคิดการประเมินที่เน้นวิธีระบบ มีดังนี้ • Discrepancy Approach: ตรวจสอบความสอดคล้องของการทำงานตั้งแต่เริ่มวางแผน การดำเนินการ การเสร็จสิ้นโครงการ ว่า เป็นไปตามสิ่งที่คาดหวังหรือไม่ • PERT : ตรวจสอบการใช้ทรัพยากรตามแผนงานว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่ มีจุดบกพร่องอะไรบ้างที่ต้องแก้ไข • CIPP : เน้นประเมิน บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลกระทบ
โมเดลการประเมิน • ทฤษฎีรูปแบบการประเมิน - วิธีเชิงธรรมชาติ เป็นวิธีการเข้าถึงข้อมูลเพื่อการตัดสินคุณค่าโดยวิธีการธรรมชาติ ไม่มีการสร้างกรอบแนวคิด หรือกำหนดเกณฑ์การให้คุณค่าล่วงหน้า เน้นการเก็บข้อมูลโดยการสังเกต ตีความข้อมูลโดยการเชื่อมโยงเหตุผล การสังเกตและการวิเคราะห์เบื้องต้นกับการเก็บข้อมูลเชิงลึก จนได้ข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งที่ให้คุณค่าหลายมิติ
โมเดลการประเมิน • ทฤษฎีรูปแบบการประเมิน แนวคิดที่ใช้วิธีการประเมินธรรมชาติ • การประเมินแบบมีส่วนร่วม : เน้นการมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายในการกำหนดเกณฑ์การประเมิน การหาข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ลึกและหลากหลาย ให้โอกาสทุกฝ่ายนำเสนอมุมมองการทำงานและการให้คุณค่าสิ่งที่ดำเนินการได้ที่แตกต่างกัน ไม่ปิดกั้นด้วยข้อมูลที่นักประเมินกำหนดมาก่อน
โมเดลการประเมิน • ทฤษฎีการประเมินการดำเนินงาน (Performance Evaluation) - ตัดสินคุณค่าของการดำเนินงาน เพื่อพัฒนาให้ดีขึ้น - ต้องศึกษาวิสัยทัศน์ พันธกิจและจุดมุ่งหมายขององค์กร วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของกระบวนการดำเนินงาน เพื่อเทียบกับมาตรฐานที่กำหนดไว้ หรือ ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง - ตัวอย่างที่ดีข้อการที่หน่วยราชการไปทำความตกลงกับ กพร. ว่าจะทำอะไรบ้าง แล้วกำหนดเกณฑ์ความสำเร็จเอาไว้ (Pulbic Agreement)
โมเดลการประเมิน • ทฤษฎีการประเมินการดำเนินงาน (Performance Evaluation) - เวลาประเมินต้องเปรียบเทียบผลผลิต/ ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้ กับความสามารถดำเนินการกิจกรรมต่าง ๆ ให้ได้ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่ทำความตกลงไว้ - ต้องมีการกำหนดปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในการดำเนินการกิจกรรมตามที่กำหนดไว้ด้วย เพื่อสร้างเงื่อนไขของการดำเนินงาน หากไม่เป็นไปตามเงื่อนไข ก็จะได้มีเหตุผลสนับสนุนพอเพียง
ประเภทของการประเมินผลนโยบายประเภทของการประเมินผลนโยบาย • ฮาวเร็ตและราเมศ (Howlett และ Ramesh) ได้แบ่งประเภทการประเมินผลนโยบายเป็น 3 ประเภท - การประเมินโดยฝ่ายตุลาการ - การประเมินด้านการบริหาร - การประเมินโดยประชาชนและระบบย่อยทางการเมือง
ประเภทของการประเมินผลนโยบายประเภทของการประเมินผลนโยบาย • การประเมินด้านการบริหาร เน้นการประเมินด้านการบริหารงานตามแผนงาน/โครงการ เป็นการประเมินเชิงระบบ ซึ่งมักจะประกอบด้วยการประเมินปัจจัยนำเข้า ผลผลิต ความพอเพียงของผลงานหรือประสิทธิผล การประเมินประสิทธิภาพ และ การประเมินกระบวนการดำเนินการ
ประเภทของการประเมินผลนโยบายประเภทของการประเมินผลนโยบาย • การประเมินโดยฝ่ายตุลาการ เป็นการประเมินที่เน้นเรื่องความถูกต้องของข้อกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับนโยบายสาธารณะที่เกิดขึ้น เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ที่มีการกำหนดกฎหมายกำกับ ต้องดูว่า นโยบายการแปรรูปฯดังกล่าวชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มีกฎกระทรวงรองรับนโยบายหรือไม่ ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ (เช่น นโยบายการปราบผู้มีอิทธิพล อาจจะขัดกับสิทธิขั้นพื้นฐานของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรองรับก็ได้)
ประเภทของการประเมินผลนโยบายประเภทของการประเมินผลนโยบาย • การประเมินโดยประชาชนและระบบย่อยทางการเมือง - เน้นการประเมินทัศนคติของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการใช้นโยบายของรัฐ ตัวอย่างเช่น การประเมินความพึงพอใจของประชาชนต่อการนำนโยบายสามสิบบาทรักษาทุกโรค เป็นต้น
ขั้นตอนการประเมิน • กาว (Gow) ได้สรุปขั้นตอนการประเมินผลเป็น 4 ขั้นตอนคือ - การกำหนดเป้าหมายและหลักเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน - พัฒนาตัวแบบการวิจัยประเมินผลที่เหมาะสมกับเป้าหมายและเกณฑ์ดังกล่าว - สร้างมาตรวัด และเก็บรวบรวมข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนการประเมิน • เยาวดี วิบูลย์ศรี ได้กำหนดขั้นตอนในการติดตามและประเมินผลการนำนโยบายไปปฏิบัติในระดับโครงการไว้ในหนังสือ การประเมินโครงการ: แนวคิดและแนวทางปฏิบัติ (2544)ไว้ดังนี้ - การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับโครงการ - การกำหนดวัตถุประสงค์การประเมิน
ขั้นตอนการประเมิน (ต่อ) - การกำหนดขอบเขตการประเมิน - การพิจารณากำหนดตัวบ่งชี้และแหล่งข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล - การสรุปผลการประเมิน
ขั้นตอนการประเมิน • สุวิมล ติรกานันท์ ได้กำหนดขั้นตอนในการติดตามและประเมินผลการนำนโยบายไปปฏิบัติในระดับโครงการไว้ในหนังสือ การประเมินโครงการ: แนวทางสู่การปฏิบัติ (2544)ไว้ดังนี้ - การศึกษารายละเอียดของสิ่งที่ถูกประเมินและการศึกษาความต้องการของผู้ใช้ ผลประเมิน - การกำหนดประเด็นในการประเมิน/การกำหนดตัวชี้วัดและการพัฒนาตัวชี้วัด - การออกแบบการประเมิน (การกำหนดกลุ่มตัวอย่าง วิธีวิเคราะห์ข้อมูลและ การเสนอรายงาน
ขั้นตอนการประเมิน - การเก็บรวบรวมข้อมูล - การวิเคราะห์ข้อมูล - การสรุปผลการประเมิน - การเขียนรายงาน
ขั้นตอนการติดตามและประเมินผลขั้นตอนการติดตามและประเมินผล แผนงาน Best Practices 1.ระบบการติดตาม ช่วงเวลา/ผลผลิต Milestone/Benchmarking Upgraded Performance โครงการ Data Variable Indicators Source & 2.ระบบประเมินผล วัตถุประสงค์ หลัก เกณฑ์-ผลลัพธ์ (Achievement) 3.กำหนดการ Who/How Report Timing จาก อุทิศ ขาวเธียร /มี.ค./2544
ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประเมินนโยบายปัญหาที่เกิดขึ้นจากการประเมินนโยบาย ด้านผู้ประเมิน • ผู้ประเมินขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องที่ประเมิน • ผู้ประเมินขาดความเข้าใจในวัตถุประสงค์ของนโยบายที่ถูกต้อง • ผู้ประเมินวิเคราะห์ขอบเขต กรอบแนวคิด และตัวชี้วัดในการประเมินบกพร่อง