360 likes | 557 Views
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมโรงแรมรัตนโกสินทร์ จังหวัดเชียงใหม่. ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธาน แจ้งให้ที่ประชุมทราบ. ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕.
E N D
โครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารโครงการพัฒนาศักยภาพผู้บริหาร สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท วันที่ ๑๑ กันยายน ๒๕๕๕ ณ ห้องประชุมโรงแรมรัตนโกสินทร์ จังหวัดเชียงใหม่
ระเบียบวาระที่ ๑ เรื่องที่ประธาน แจ้งให้ที่ประชุมทราบ
ระเบียบวาระที่ ๒ เรื่องรับรองรายงานการประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕
สพป.ชัยนาท โดยกลุ่มอำนวยการ ได้จัดทำรายงาน การประชุม ครั้งที่ ๒/๒๕๕๕ ซึ่งประชุมไปเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๐๐ น. ณ ห้องประชุม เจ้าสามพระยา (ชั้น ๒) โรงเรียนชัยนาทพิทยาคม จำนวน ๓๖ หน้า และได้นำขึ้นWebsite ของ สพป.ชัยนาท เมื่อวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๕๕ เพื่อแจ้งผู้เข้าประชุมทราบ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งพิจารณา รับรองรายงานการประชุมทางระบบอินเตอร์เน็ต จากการตรวจสอบ ไม่ปรากฏผู้ขอแก้ไขรายงาน การประชุมดังกล่าว
ระเบียบวาระที่ ๓ เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมทราบ
๓.๑ ผลการดำเนินงานตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕รอบ ๙ เดือน ตามที่ สพป.ชัยนาท และ สถานศึกษาในสังกัด ได้ร่วมกัน ขับเคลื่อนตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ และตัวชี้วัด ตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๕ ตามกรอบแนวทางการดำเนินการที่ สพฐ. กำหนด พร้อมทั้ง รายงานผ่านระบบรายงานผลตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติ ราชการ (KPI Report System : KRS) และ ระบบรายงานผลตัวชี้วัด ตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี (Action plan Report System : ARS) โดยที่ สพป.ชัยนาท ได้รายงานผลการดำเนินการ รอบ ๖ เดือน (๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ – ๓๐ มีนาคม ๒๕๕๕) ไปแล้ว นั้น
การดำเนินงานตามตัวชี้วัดฯ ในรอบ ๙ เดือน (๑ ตุลาคม ๒๕๕๔ – ๓๐ มิถุนายน ๒๕๕๕) สพป.ชัยนาท ได้รายงานผลการดำเนินการผ่านระบบการรายงานผล เสร็จเรียบร้อยแล้ว ปรากฏผล ดังนี้
ทั้งนี้ มีตัวชี้วัดที่ สพป.ชัยนาท รายงานผลผ่านระบบฯ และยังรอการรับรองผล จาก สพฐ. ดังนี้ ๓.๑.๑ ตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ (KPI Report System : KRS)
๓.๑.๒ ตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติราชการประจำปี (Action plan Report System : ARS)
สพป.ชัยนาท ขอขอบคุณ รองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฯ กลุ่ม/หน่วย และ สถานศึกษาในสังกัด ที่ให้ความร่วมมือขับเคลื่อนตัวชี้วัด และรายงานข้อมูลผลการดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เป็นอย่างดี และหวังว่าจะได้รับความร่วมมือเช่นนี้ ในการดำเนินการ และรายงานข้อมูล รอบ ๑๒ เดือน ต่อไป
๓.๒ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้รับบริการ ปีงบประมาณ ๒๕๕๕ ตามที่ สพป.ชัยนาท ได้จัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555 กับ สพฐ. โดยที่ “ร้อยละของระดับความพึงพอใจของผู้รับบริการ” เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่กำหนดไว้ในมิติภายนอก (การประเมินคุณภาพการให้บริการ) ของ คำรับรองการปฏิบัติราชการฯ และสพป.ชัยนาท ได้จัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจ และความเชื่อมั่นของผู้รับบริการที่มีต่อคุณภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษา ตามที่ สพฐ. กำหนดในคำรับรองฯ โดยประเมินความพึงพอใจ 4 ด้าน (23 ประเด็นย่อย) ได้แก่ ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ด้านเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ให้บริการ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านคุณภาพการให้บริการ และ ประเมินความเชื่อมั่น เกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการ (5 ประเด็นย่อย) พร้อมทั้งสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับ จุดเด่นที่ประทับใจในการให้บริการ และ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงการให้บริการ โดย ขอความร่วมมือสถานศึกษา เก็บข้อมูลจาก กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองนักเรียน และ นักเรียน คนละ 1 ชุด และรวบรวมส่ง สพป.ชัยนาท เพื่อประมวลผล และ ดำเนินการต่อไปนั้น
จากจำนวนแบบสอบถามฯ ที่เก็บรวบรวมได้ จำนวน 549 ฉบับ ผลการประเมินความพึงพอใจ และความเชื่อมั่นของผู้รับบริการที่มีต่อการจัดการเรียน การสอน ของสถานศึกษาในสังกัด สพป.ชัยนาท ประจำปีงบประมาณ 2555 สรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้รับบริการที่มีต่อผลการประเมินความพึงพอใจและความเชื่อมั่นของผู้รับบริการที่มีต่อ การจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ปีงบประมาณ ๒๕๕๕
ข้อ ประเด็นความคิดเห็น S.D. แปลค่า อันดับ ที่ ความพึงพอใจต่อเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ให้บริการ (๔.๓๐) (๐.๔๗) (มาก) (๒) ๗ เจ้าหน้าที่ให้บริการทางการศึกษาด้วยความสุภาพ เป็นมิตร อัธยาศัยดี ๔.๕๓ ๐.๕๘ มากที่สุด ๑ ๘ เจ้าหน้าที่ให้บริการทางการศึกษาด้วยความสะดวก รวดเร็ว ไม่เลือกปฏิบัติ ๔.๔๔ ๐.๖๓ มาก ๓ ๙ ความรู้ ความสามารถของครูผู้สอนในหลักสูตร/โปรแกรม วิชาต่าง ๆ ๔.๒๗ ๐.๖๒ มาก ๔ ๑๐ ความเพียงพอของจำนวนครูผู้สอนในแต่ละหลักสูตร ๓.๘๙ ๐.๘๘ มาก ๖ ๑๑ เทคนิคและทักษะในการถ่ายทอดความรู้ของครูผู้สอนให้ผู้เรียนเข้าใจ ๔.๒๒ ๐.๖๒ มาก ๕ ๑๒ ครูผู้สอนมีความเอาใจใส่การสอนและดูแลนักเรียน ๔.๔๖ ๐.๖๐ มาก ๒
ผลการประเมินจากแบบสำรวจรายการ พบว่า ๓.๒.๑ ความพึงพอใจของผู้รับบริการ ๑) ความพึงพอใจภาพรวม : ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมาก ( = ๔.๒๙) ๒) ความพึงพอใจภาพรวม รายด้าน : ผู้รับบริการมี ความพึงพอใจในระดับมากทุกด้าน โดยมีความพึงพอใจในด้านคุณภาพ การให้บริการสูงที่สุด ( = ๔.๓๓ ) รองลงมา คือ ด้านเจ้าหน้าที่ หรือบุคลากรที่ให้บริการ ( = ๔.๓๐) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (=๔.๒๘) และด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ( = ๔.๒๐) ตามลำดับ
๓) ความพึงพอใจ รายประเด็นในแต่ละด้าน : ผู้รับบริการ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทุกประเด็นในทุกด้าน ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ : ประเด็นที่ ผู้รับบริการพึงพอใจ สูงที่สุด คือ การประชาสัมพันธ์การรับสมัครเรียน หลักสูตรที่เปิดรับสมัคร การให้คำปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับหลักสูตร และ แนะแนวการศึกษา เช่น มีประกาศ หรือป้ายประชาสัมพันธ์ และ วิธีการขั้นตอนในการรับสมัคร/ลงทะเบียนสะดวก รวดเร็ว ( = ๔.๒๒) และประเด็นที่พึงพอใจ ต่ำที่สุด คือ สื่อและเครื่องมือ/อุปกรณ์ที่ใช้ ในกิจกรรมมีความหลากหลาย และเหมาะสม ( = ๔.๑๕) ด้านเจ้าหน้าที่หรือบุคลากรที่ให้บริการ : ประเด็นที่ผู้รับบริการ พึงพอใจ สูงที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ให้บริการทางการศึกษาด้วยความสุภาพ เป็นมิตร อัธยาศัยดี ( = ๔.๕๓) และประเด็นที่พึงพอใจ ต่ำที่สุด คือ ความเพียงพอของจำนวนครูผู้สอนในแต่ละหลักสูตร ( = ๓.๘๙)
ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก : ประเด็นที่ผู้รับบริการพึงพอใจ สูงที่สุด คือ สถานที่ตั้งของโรงเรียนสะดวกในการเดินทางมาโรงเรียน( = ๔.๕๙) และประเด็นที่พึงพอใจ ต่ำที่สุด คือ การเปิดรับฟังข้อคิดเห็นต่อการให้บริการ เช่น กล่องรับความคิดเห็น แบบสอบถาม ( = ๔.๐๘) ด้านคุณภาพการให้บริการ : ประเด็นที่ผู้รับบริการ มีความพึงพอใจ สูงที่สุด คือ ความรู้/ทักษะ ที่ได้สามารถพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในการดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นคนดี และมีความสุข( = ๔.๓๘) และประเด็นที่พึงพอใจ ต่ำที่สุด คือ ได้รับบริการการเรียนการสอนตรงกับความต้องการ ( = ๔.๓๐)
๓.๒.๒ ความเชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการ : ผู้รับบริการมีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับคุณภาพการให้บริการในภาพรวม อยู่ในระดับมาก( = ๔.๓๕) โดยเชื่อมั่นว่า บุคลากรปฏิบัติงานโดยคำนึงถึงประโยชน์ของผู้รับบริการ และ บุคลากรมีการให้คำแนะนำ และคำปรึกษาที่สามารถนำไปปฏิบัติได้ สูงที่สุด ( = ๔.๓๙) และเชื่อมั่นว่าโรงเรียนมีการดำเนินการตามข้อเสนอแนะ และข้อร้องเรียนจากผู้รับบริการ รวมทั้งแจ้งผลให้ทราบด้วย ต่ำที่สุด ( = ๔.๒๘)
๓.๒.๓ ความคิดเห็น/ข้อเสนอแนะ ๑) จุดเด่นที่ประทับใจในการให้บริการ ได้แก่ ครูเอาใจใส่การสอน และเอาใจใส่ดูแลนักเรียน โรงเรียนมีการพัฒนา สะอาด ร่มรื่น สวยงาม ให้บริการด้วยมิตรไมตรี และเป็นกันเอง ไม่มีขั้นตอนมาก สะดวก รวดเร็ว ๒) ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการให้บริการ ได้แก่ ควรจัดครูให้เพียงพอ ควรจัดหาคอมพิวเตอร์ให้เพียงพอ และทันสมัย ควรปรับปรุงความสะอาดห้องสุขา ควรปรับปรุงสนาม ไม่ให้น้ำขัง
๓.๓ การเลือกตั้งและสรรหาอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครู ใน อ.ก.ค.ศ. แทนตำแหน่งที่ว่าง ๓.๓.๑ อนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครูใน อ.ก.ค.ศ. นายปรีชา กาญจนสมบัติ ข้าราชการครู โรงเรียนวัดฝาง จะเกษียณอายุราชการ ในวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๕ ทำให้ตำแหน่งดังกล่าว ว่างลง และวาระที่เหลืออยู่ของ อ.ก.ค.ศ. เกินกว่า ๙๐ วัน จึงต้องสรรหาอนุกรรมการผู้แทนข้าราชการครู ทดแทนตำแหน่งที่ว่างลง ภายใน ๖๐ วัน ๓.๓.๒ ผู้มีคุณสมบัติสมัครรับเลือกตั้ง และผู้มีสิทธิเลือกตั้ง คือ ข้าราชการครู และครูผู้ช่วยในสังกัด สพป.ชัยนาท ๓.๓.๓ สพป.ชัยนาท จะดำเนินการประกาศรับสมัคร และดำเนินการเลือกตั้ง ภายในต้นเดือนตุลาคม ๒๕๕๕ โดยให้ศูนย์ประสานงานทางการศึกษาเป็นหน่วยเลือกตั้งย่อย
๓.๔ การคัดเลือกนักเรียน และสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ ตามที่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท เป็นศูนย์ประสานงานการคัดเลือกนักเรียนและสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ระดับจังหวัด ของจังหวัดชัยนาท โดยได้ประชาสัมพันธ์ให้สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานทุกสังกัดในจังหวัดชัยนาท ทราบ และเชิญชวนให้ นักเรียน และสถานศึกษาที่มีคุณสมบัติ และความพร้อมเข้ารับการประเมินและคัดเลือก โดยให้เสนอชื่อ นักเรียน และสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๕ ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท นั้น สามารถดาวน์โหลดรายละเอียดระเบียบ และประกาศได้ที่หน้าเว็บไซต์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท หัวข้อ ข่าวประชาสัมพันธ์ สพป.ชัยนาทและขอรับคู่มือการประเมินได้ที่ กลุ่มส่งเสริมการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท
๓.๕ การลาออกตามมาตรการปรับปรุงอัตรากำลัง ของส่วนราชการ (เกษียณอายุก่อนกำหนด) ตามที่ สพป.ชัยนาท โดยอนุมัติของ อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ในคราวประชุมครั้งที่ ๖/๒๕๕๕ เมื่อวันที่ ๒๕ กรกฎาคม ๒๕๕๕ มีมติเห็นชอบให้ข้าราชการลาออก จำนวน ๕๙ ราย นั้น บัดนี้ สพฐ. พิจารณาแล้ว อนุมัติให้ออกทุกราย ฉะนั้นหากมีผู้ประสงค์ขอระงับการลาออก ให้ระงับภายในวันที่๑๔ กันยายน ๒๕๕๕
๓.๖ การสะท้อนผลหลังการอบรมโครงการพัฒนาครูทั้งระบบ ประจำปี ๒๕๕๕ ตามที่ กลุ่มบริหารงานบุคคล สพป.ชัยนาท ได้ส่งครูเข้ารับการอบรมตามโครงการพัฒนาครูทั้งระบบ ประจำปี ๒๕๕๕ ในวิชาภาษาไทยคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ (รวมการอบรมคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ทาง ETV) พลศึกษา การงานอาชีพและเทคโนโลยี แนะแนว บรรณารักษ์ปฐมวัย และสังคมศึกษา นั้น เพื่อสะท้อนผลหลังการอบรม จึงขอให้ครูผู้เข้ารับการอบรมทุกคนรายงานสรุปองค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ที่ได้จากการอบรมดังกล่าว ตามแบบที่กำหนดแต่ละคนเนื้อหาสาระความยาว ไม่เกิน ๒ หน้ากระดาษเอ ๔ ใช้แบบอักษร Angsana Newsขนาดตัวอักษร ๑๖ โดยจัดส่งฉบับจริง คนละ ๑ ฉบับ พร้อมบันทึกลงในแผ่น CD ในภาพรวมของโรงเรียนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ภายในวันที่ ๑๔กันยายน ๒๕๕๕
๓.๗ งบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๕ ที่โรงเรียนได้รับจัดสรร ตามที่ สพป.ชัยนาท ได้แจ้งจัดสรรงบประมาณให้โรงเรียนดำเนินการ ตามวัตถุประสงค์ของการจัดสรรแต่ละรายการไปแล้วนั้น ขอให้โรงเรียนตรวจสอบรายละเอียดงบประมาณ (ตามเอกสารที่แจกให้) ว่าได้รับงบประมาณตรงกับจำนวนเงินที่ได้รับจัดสรรหรือไม่ และโรงเรียนได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของการจัดสรรแล้วหรือไม่อย่างไร
๓.๘ แนวทางการบริหารจัดการแท็บเล็ต (Tablet) ตามที่ สพฐ. ได้แจ้งบัญชีจัดสรร Tablet ให้นักเรียนชั้น ป.๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ ระยะที่ ๑ ในสังกัด สพฐ. จำนวน ๑,๔๔๐ เครื่อง และสังกัด สช. จำนวน ๒๐๘ เครื่องและได้ส่งมอบให้โรงเรียนไปแล้ว ดังนี้ ๓.๘.๑ ในสังกัด สช. ส่งมอบให้ ๓ โรงเรียน รวม ๒๐๘ เครื่อง ๓.๘.๒ ในสังกัด สพฐ. ส่งมอบให้ ๖๐ โรงเรียน รวม ๑,๒๗๒ เครื่อง คงเหลือ ๑๖๘ เครื่อง (รวมเครื่องที่ใช้การไม่ได้ ๓ เครื่อง) ซึ่งกันไว้ให้กลุ่มนิเทศฯ ใช้ในการอบรมฯ จำนวน ๑๖๕ เครื่อง
สรุป โรงเรียนที่ยังไม่ได้รับ Tabletจำนวน ๑๒๒ โรงเรียน(รวมโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ชัยนาท) ทั้งนี้ จะจัดสรรให้โรงเรียนละ ๑ เครื่อง สำหรับ Tablet ส่วนที่เหลือ จัดให้โรงเรียนลำดับต่อไปตามบัญชีจัดสรรได้อีก ๔ โรงเรียน ได้แก่ ๑. โรงเรียนไกรราษฎร์วิทยา อ. หันคาจัดสรรให้ ๓ เครื่อง ๒. โรงเรียนบ้านเขาเกล็ด อ. หนองมะโมงจัดสรรให้ ๔ เครื่อง ๓. โรงเรียนบ้านชัฏฝาง อ. หันคาจัดสรรให้ ๒๑ เครื่อง ๔. โรงเรียนเทพรัตน์ อ. สรรคบุรีจัดสรรให้ ๒๓ เครื่อง
สำหรับ Tablet ที่โรงเรียนรับไปใช้งานแล้วมีความผิดปกติหรือใช้งานไม่ได้ ต้องการส่งซ่อมให้ติดต่อขอรับใบส่งซ่อมที่ กลุ่มนโยบายและแผนเพื่อลงทะเบียน และให้โรงเรียนกรอกข้อมูลลงในแบบฟอร์ม ก่อนนำส่งที่ศูนย์บริการสาขาย่อย OTPCภาคกลาง ของจังหวัดชัยนาท ซึ่งตั้งอยู่ที่ ๑/๑-๒(ตรงข้ามสถานีขนส่งชัยนาท) ถ.พหลโยธิน ต. เขาท่าพระอ. เมืองจ. ชัยนาท ๑๗๐๐๐ ต่อไป (ตัวอย่างแบบฟอร์มตามเอกสารที่แจก)
๓.๙ โรงเรียนเครือข่ายที่มีระบบบริหารจัดการ ด้านการเงิน บัญชี และพัสดุ ตามแนวปฏิบัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของทางราชการ ด้วย หน่วยตรวจสอบภายใน สพป.ชัยนาท มีความประสงค์ให้โรงเรียนในแต่ละศูนย์ประสานงาน ที่มีระบบการบริหารจัดการ ด้านการเงิน บัญชี และพัสดุ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ แนวปฏิบัติ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ของทางราชการ เป็นโรงเรียนเครือข่ายที่โรงเรียนในแต่ละศูนย์ประสานงาน สามารถไปศึกษาดูระบบ การดำเนินงานได้ ดังนี้
จากรายชื่อโรงเรียนดังกล่าว หน่วยตรวจสอบภายใน จะออกติดตามตรวจสอบโรงเรียนเครือข่าย ตามแผนปฏิบัติการประจำปี ๒๕๕๖ เพื่อให้การปฏิบัติงานในการด้านการเงิน บัญชี และพัสดุ ของโรงเรียนเครือข่าย มีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบสามารถให้คำแนะนำ และเป็นที่ปรึกษาของโรงเรียนข้างเคียงได้ โดย สพป.ชัยนาท จะออกประกาศเกียรติบัตรให้โรงเรียนเครือข่าย หากโรงเรียนใดตามรายชื่อข้างต้น ไม่ต้องการที่จะเป็นโรงเรียนเครือข่าย ขอให้แจ้งหน่วยตรวจสอบภายใน
๓.๑๐ อบรมเชิงปฏิบัติการโปรแกรมบัญชีสำเร็จรูป ระบบการควบคุมการเงินของหน่วยงานย่อย พ.ศ. ๒๕๔๔ ๓.๑๑ การเร่งรัดเบิกจ่ายงบประมาณปี พ.ศ. ๒๕๕๕ สพป.ชัยนาท
ระเบียบวาระที่ ๔ เรื่องที่เสนอให้ที่ประชุมพิจารณา
ระเบียบวาระที่ ๕ เรื่องอื่น ๆ